Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะขาดออกซิเจน (Birth asphyxia), นางสาวปาริฉัตร หอมหวล 611001027 เลขที่…
ภาวะขาดออกซิเจน (Birth asphyxia)
ทารกแรกเกิดที่ไม่สามารถหายใจได้อ่างมีประสิทธิภาพ เป็นผลให้ขาดสมดุลของการแลกเปลี่ยนก๊าซ ทำให้มีระดับเลือดในออกซิเจนต่ำ (hypoxia) มีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ (hypercapnia) และมีสภาพเป็นกรดในกระแสเลือด (metabolic acidosis)
กลไกการเกิด
การไหลเวียนเลือดทางสะดือขัดข้อง มีการหยุดไหลเวียนหรือไหลเวียนลดลง เช่น สายสะดือถูกกดทับจากการเจ็บครรภ์หรือขณะคลอด
ไม่มีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่รก เกิดจากรกมีการแยกตัวออกจากมดลูกทำให้เลือดไหลเวียนมายังทารกไม่ได้
การนำออกซิเจนหรือสารอาหารจากมารดาไปยังทารก โดยผ่านทางรกไม่เพียงพอ เช่น มารดามีภาวะความดันโลหิตสูง อาการช็อค สูญเสียเลือด
ปอดทารกขยายไม่เต็มที่และการไหลเวียนเลือดยังคงเป็นแบบทารกในครรภ์ ไม่สามารถปรับเป็นแบบทารกหลังคลอดได้ และไม่พัฒนาเป็นผู้ใหญ่
อาการและอาการแสดง
ระยะตั้งครรภ์หรือก่อนคลอด
ทารกเคลื่อนไหวมากกว่าปกติและต่อมามีการเคลื่อนไหวน้อยลง อัตราเต้นของหัวใจในระยะแรกเร็ว > 160 ครั้ง/นาที ต่อมาจึงช้าลง
ระยะคลอด
พบขี้เทาปนในน้ำคร่ำ
ระยะหลังคลอด
หลังคลอดทันที
APGAR < 7
คะแนน ตัวเขียว ไม่หายใจเอง ตัวนิ่ม ปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นลดลง หัวใจเต้นช้า ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงและอาการและอาการแสดง ดังนี้
ในปอด ทำให้หลอดเลือดในปอดหดตัว ความดันในปอดสูงขึ้น เลือดไปเลี้ยงปอดได้น้อย ในทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะเกิดภาวะ RDS ส่วนทารกคลอดครบกำหนดเกิดภาวะ PPHN ทารกจะแสดงอาการหายใจหอบ ตัวเขียว
ในระบบหัวใจและการไหลเวียนของหลอดเลือด การขาดออกซิเจนในระยะแรกเลือดไปเลี้ยงสมอง หัวใจและต่อมหมวกไต ทำให้เลือดที่ไปเลี้ยง ผิวหนัง ลำไส้ กล้ามเนื้อไตลดลง ส่งผลให้หัวใจต้นเร็ว ซีด หายใจแบบ gasping มี metabolic acidosis
ในระบบประสาท ถ้าขาดออกซิเจนนานทารกซึม หยุดหายใจบ่อย หัวใจเต้นช้า ไม่มี Doll's eye movement และเสียชีวิต ถ้าขาดออกซิเจนในในเวลาสั้น หรือกู้ชีพได้สำเร็จ จะแสดงอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ดูดนมได้ไม่ดี การเปลี่ยนแปลงในสมอง เรียกว่า HIE ลักษณะ คือ
3.1 สูญเสียกำลังกล้ามเนื้อ ทารกครบกำหนดอ่อนที่กล้ามเนื้อต้นแขน คลอดก่อนกำหนดอ่อนแรงที่กล้ามเนื้อขา ถ้ากำลังกล้ามเนื้อดีขึ้นเร็วใน 1-2 วันแรกทารกทมักรอดและมีสมองปกติ ถ้ายังอ่อนแรงใน 4-5 วันแรกมักเสียชีวิตหรือรอดชีวิตแต่สมองพิการ ถ้ามีกล้ามเนื้อเกร็งภายใน 24 ชั่วโมงแรกมารกมักรอดชีวิตแต่สมองพิการ
3.2 ชัก เห็นภายใน 12-24 ชั่วโมงแรก คือ ทำปากขมุบขมิบ กระพริบตาถี่ๆ ต่อมาจะชัก เกร็ง กระตุก กระหม่อมหน้าโป่งตึงเล้กน้อย
3.3 ระดับความรู้สึกผิดปกติ ใน 5 วันแรกถ้าทารกตื่นตัวผิดปกติหรือซึมลงอาจกลับเป็นแกติได้ ถ้าหมดสติหรือไม่รู้สึกตวจะเสียชีวิต
3.4 ระบบทางเดินอาหาร ลำไส้บีบตัวชั่วคราว ทำให้ขี้เทาอยู่ในครรภ์ เสี่ยงต่อการสำลักขี้เทา ทารกที่คลอดก่อนกำหนดอายุครรภ์ < 34 สัปดาห์ จะมีอาการท้องอืดมาด เยื่อบุลำไส้ถูกทำลสย ถ้าขาดออกซิเจนนานเสี่ยงต่อลำไส้อักเสบเน่าตาย
3.5 เมตาบอลิซึม จะแสดงอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ แคลเซียมต่ำ โปแตสเซียมสูง ทำให้ชักหรือเสียชีวิต
3.6 ระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะน้อย ไม่ถ่ายปัสสาวะ หรือปัสสาวะเป็นเลือด
3.7 ผลตรวจทางห้องปฏิบีติการ - PaCO2 > 80 mmHg, PaO2 <40 mmHg, pH <7.1 - ค่าระดับน้ำตาล < 30 mg% - Ca <8 mg% - K+ สูง
การวินิจฉัยโรค
ประวัติการคลอด
การตรวจร่างกาย เช่น คะแนน APGAR
อาการและอาการแสดง
การตรวจทางห้องปฏิบัตการ
การรักษา
การให้ความอบอุุ่น
ดูแลภายใต้ความร้อน (radiant warmer) หรือหลอดไฟที่เปิดอุ้นไว้ แล้วเช็ดผิวหนังให้แห้งอย่างรวดเร็วด้วยผ้าแห้งและอุ่น แล้วเอาผ้าเปียกออก ห่อตัวทารกด้วยผ้าอุ่นผืนใหม่ หรือวางทารกไว้บนหน้าท้องหรือหน้าอกแม่โดยให้สำผัวกับผิวหนังโดยตรง
ทำให้ทางเดินหายใจโล่ง
กรณีไม่มีขี้เทาปนในน้ำคร่ำ
หลังคลอดไหล่เสร็จใช้ลูกสุบยางแดงดูดสิ่งคัดหลั่งในปากและจมูกให้หมด เมื่อคลอดลำตัวแล้ให้วางทารกในท่านอนหงายและดูดสิ่งคัดหลั่งด้วยสายสายดูดเสมหะเบอร์ 8F ต่อกับลูกสูบยางแดงหรือความดันสุญญากาศไม่เกิน 100 mmHg
กรณีมีขี้เทาปน
ต้องรีบดูดขี้เทาออกทันทีหลังคลอดด้วยสายดูดเสมหะ เบอร12F-14F แล้วจึงทำคลอดลำตัว ถ้าทารกไม่หายใจให้ใส่ endotracheal tube ดูดขี้เทาออกจากคอหอยและหลอดคอให้มากที่สุด
การกระตุ้นทารก
เช็ดตัวและดูดเมือกออกจากปากและจมูก ถ้าทารกยังไม่ร้องหรือหายใจไม่เพียงพอให้ลูบหลัง หน้าแก ดีดสนเท้า ซึ่งจะได้ผลดีในกรณี primary apnea
การให้ออกซิเจน
ในทารกที่มีตัวเขียว หายใจช้า หรือหายใจลำบาก ให้ออกซิเจน 100% ที่ผ่านความชุ่มชื่นและอุ่น ผ่านที่ Mask หรือท่อออกซิเจน เปิดออกซิเจน 5 ลิตร/นาที
การช่วยหายใจ
การช่วยด้วยแรงดันบวก โดยใช้ mask และ bag มีข้อบ่งชี้ คือ
-หยุดหายใจหรือหายใจแบบ gasping - อัตราเต้นหัวใจ < 100 ครั้ง/นาที - เขียวขณะให้ออกซิเจน 100%
ประเมินว่าการช่วยหายใจเพียงพอหรือไม่ ได้จาก
การขยายตัวของปอดทั้ง 2 ข้าง และฟังเสียงหารหายใจ
การมีสีผิวดีขึ้น
อัตราการเต้นหัวใจปกติ หลังการให้ออกซิเจน 100% นาน 3 วินาทีประเมินว่าทารกสามารถหายใจเองได้หรือไม่ ถ้า HR =100 ครั้ง/นาที ค่อยๆ ลดการช่วยหายใจด้วยแรงดันบวกและหยุดให้ ถ้า HR<100 ครั้ง/นาที ช่วยหายใจด้วย mask และ bag และใส่ท่อหลอดลมคอ ถ้า HR<60 ครั้ง/นาที ให้นวดหัวใจและพิจารณาใส่ท่อหลอดลมคอ
การใส่ท่อหลอดลมคอ
เมื่อต้องช่วยหายใจด้วยแรงดันบวกนาน
เมื่อช่วยหายใจด้วย mask หรือ bag แล้วไม่ได้ผล
เมื่อต้องการดูดสิ่งคัดหลั่งในหลอดลมคอ กรณีมีขี้เทาเปื้อนน้ำคร่ำ
เมื่อต้องการนวดหัวใจ
ทารกมีไส้เลื่อนกระบังลม น้ำหนักตัว < 1000 gm.
การนวดหัวใจ
ข้อบ่งชี้ คือ HR<60 ครั้ง/นาที ขณะที่ช่วยหายใจด้วยออกซิเจน 100% นาน 3 วินาที โดยนวดตำแหน่ง 1/3 ของกระดูกสันอก ลึกประมาณ 1/3 ของความหนาของทรวงอกและอัตราส่วนระหว่างการนวดและช่วยหายใจเป็น 3:1
การให้ยา
Epineprine
เมื่อ HR <60 ครั้ง/นาที หลังช่วยหายใจด้วยออกซิเจน 100% และนวดหัวใจนานเกิน 30 วินาที ให้ยาผ่านทางหลอดเลือดจะทำให้เลือดไปยังหัวใจและสมองดีขึ้น หัวใจเต้นแรงและเร็วขึ้น
สารเพิ่มปริมาณ
เมื่อทารกมีภาวะ hypovolemic โดยให้ NSS หรือ Ringer's lactate
Naloxone hydrochroride
ใช้กับทารกี่มารดาได้รับสารเสพติดที่กดการหายใจภายใน 4 ชั่วโมงก่อนคลอดภายหลังช่วยหายใจแล้ว
การพยาบาล
เตรียมทีมบุคคลากร เครื่องมือให้พร้อมก่อนคลอด
ดูดสิ่งคัดหลั่งให้มากที่สุดก่อนคลอดลำตัว
เช็ดตัวทารกให้แห้งทันทีหลังคลอดและห่อตัวเพื่อให้ความอบอุ่น เพื่อลดการใช้ออกซิเจน
บันทึก RR และ HR ภายหลังทารกคลอด
สังเกตอาการขาดออกซิเจน เช่น ริมฝีปากและปลายมือปลายเท้าซีด เขียว หายใจปีกจมูกบาน
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ดูแลให้ได้รับอาหารและสารน้ำตามแผนการรักษา
ดูแลความสะอาดของร่างกาย การนอนหลับพักผ่อน และส่งเสริมสัมันธภาพกับมารดา
พยาธิสภาพ
ทารกมีภาวะขาดออกซิเจนส่งผลให้มีประมาณออกซิเจนในเลือดต่ำ เกิดการคั่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนเลือดในร่างกาย เลือดจึงไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญในร่างกาย คือ สมอง หัวใจ และต่อมหมวกไต อวัยวะอื่นๆ เลือดจึงไปเลี้ยงได้น้อยลง จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด คือ ทารกมีอาการหายใจแบบขาดอากาศหรือหายใจเร็ว ตามด้วยหายใจไม่สม่ำเสมอ หัวใจเต้นช้าลง ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขทารกจะหยุดหายใจ ถ้าไม่ช่วยแก้ไขทารกจะพยายามหายใจใหม่อีกครั้งแต่ไม่สม่ำเสมอ แล้วจะทรุดลงไปและหยุดหายใจอย่างถาวร ซึ่งการขาดออกซิเจนเกิดปฏิกิริยาเผาพลาญโดยไม่ใช้ออกซิเจน ทำให้ร่างกายเกิดภาวะ Metabolic acidosis ถ้าขาดออกซิเจนรุนแรงแล้วไม่ได้รับการแก้ไขภายใน 8 นาทีหลังการขาดออกซิเจนทารกจะเสียชีวิตมันที
นางสาวปาริฉัตร หอมหวล 611001027 เลขที่ 28