Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิด หลักการการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน และสาธารณภัย - Coggle Diagram
แนวคิด หลักการการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน และสาธารณภัย
แนวคิด
1) Anglo-American Model (AAM)
2) Franco-German Model (FGM)
ความหมาย
การเจ็บป่วยฉุกเฉินคือ การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน จําเป็นต้องดําเนินการช่วยเหลือ และการดูแลรักษาทันที อาจเกิดจากภาวะต่างๆ เช่น การเกิดโรคในระบบต่างๆ ของร่างกาย การบาดเจ็บ การเกิดโรคติดต่อ และโรคติดเชื้อ เป็นต้น
การเจ็บป่วยวิกฤต คําว่า วิกฤต มาจากคําที่ใช้ในภาษาอังกฤษ คือ“Crisis”และ“Critical” ทั้งสองคํานี้ มีความหมายที่ใกล้เคียงกันมาก จึงนํามาใช้สับเปลี่ยนกันอยู่เสมอ แต่การนําคําทั้งสองคํานี้มาใช้ในการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤต จะทําให้มองเห็นความแตกต่างกันได้
อุบัติเหตุ (Accident)คือ อุบัติการณ์ซึ่งเกิดขึ้น โดยไม่คาดหมายมาก่อน ทําให้เกิดการบาดเจ็บตายและการสูญเสียทรัพย์สินโดยที่เราไม่ต้องการ ถ้าอุบัติเหตุมีขนาดใหญ่ เรียกว่าDisaster ความรุนแรงแบ่งออกเป็น อุบัติเหตุปกติที่เกิดขึ้นทุกวัน เช่น อุบัติเหตุจากการจราจร และสาธารณภัยวินาศภัย ที่มีผลกระทบต่อสังคมและต้องระดมคนมาช่วยเหลือ
ผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน หมายถึง ผู้ที่ทีอาการหนักรุนแรงต้องการการดูแลจากเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง โดยใช้หลักและกระบวนการพยาบาลที่สมบูรณ์ เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะคุกคามชีวิต มี
ลักษณะทางคลินิก
ไม่รู้สึกตัว ชัก เป็นอัมพาต
หยุดหายใจ หายใจช้ากว่า 10 ครั้งต่อนาที หรือเร็วกว่า 30 ครั้งต่อนาที หายใจลำบากหรือหอบเหนื่อย
คลำชีพจรไม่ได้หรือชีพจรช้ากว่า 40 หรือเร็วกว่า 30 ครั้ง/นาที
ความดันโลหิต Systolic ต่ำกว่า 80 มม.ปรอท หรือ Diastolic สูงกว่า 130 มม.ปรอท
ตกเลือดเลือดออกมากซีดมาก
เจ็บปวดทุรนทุรายกระสับกระส่าย
มือเท้าซีดเย็น เหงื่อออกมาก
อุณหภูมิของร่างกายต่ำกว่า 35 เซลเซียส หรือสูงกว่า 40 เซลเซียส
ถูกพิษจากสัตวT เช่น งู หรือสารพิษชนิดต่างๆ
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสาธารณภัย / ภัยพิบัติ (Disaster)
ภัย (Hazard) หมายถึง เหตุการณTหรือปรากฏการณ์ใดๆที่สามารถที่ทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิต
ความเสียหายต่อทรัพย์สินความเป็นอยู่ และสิ่งแวดล้อม
สาธารณภัย / ภัยพิบัติ (Disaster) หมายถึง ภัยที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเกิดจากธรรมชาติหรือจากการ
กระทำของมนุษย์แล้วก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต เกิดความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สิน สังคม
เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนภัยอื่นๆ อันมีผลกระทบต่อสาธารณช่น ไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติ มีผู้ทำให้
เกิดขึ้นอุบัติเหตุ หรือเหตุอื่นใด้ ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตร่างกายของประชาชน หรือความเสียหายแก่
ทรัพย์สินของประชาชน หรือของรัฐ และให้หมายความรวมถึง ภัยทางอากาศและการก่อวินาศกรรมด้วย
(“มาตรา๔; พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยพ.ศ.๒๕๕๐”) จนเกินขีดความสามารถของชุมชนที่
จะใช้ทรัพยากรของตนในการรับมือและจัดการกับภัยพิบัติและผลกระทบของภัยพิบัติได
การจัดระดับความรุนแรงของสาธารณภัยทางสาธารณสุข
ความรุนแรงระดับที่ 1 : สาธารณภัยที่เกิดขึ้นทั่วไปหรือมีขนาดเล็ก ซึ่งสำนักงานสาธารณสุขในระดับ
อำเภอสามารถจัดการได้ตามลำพัง
ความรุนแรงระดับที่ 2 : สาธารณภัยขนาดกลาง หน่วยงานสาธารณสุขระดับอำเภอไม่สามารถจัดการ
ได้ ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในการจัดการเข้าระงับภัย
ความรุนแรงระดับที่ 3 : สาธารณภัยขนาดใหญ่ ที่มีผลกระทบรุนแรงกว้างขวาง หรือสาธารณภัยที่
จำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญหรืออุปกรณ์พิเศษ ต้องอาศัยการสนับสนุนจากหน่วยงานหลายส่วนราชการ
ภายในเขตจังหวัด /จังหวัดใกล้เคียง และระดับเขต ซึ่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดไม่สามารถควบคุม
สถานการณ์และจัดการระงับภัยได้ ให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขระดับเขตเข้าควบคุมสถานการณ์
และระดมทรัพยากรจากจังหวัดใกล้เคียงภายในเขตเข้าจัดการระงับภัย และหากไม่สามารถจัดการได้ให้
รายงานโดยให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเข้าควบคุมสถานการณ์
ความรุนแรงระดับที่ 4 : สาธารณภัยขนาดใหญ่ ที่มีผลกระทบรุนแรงยิ่ง นายกรัฐมนตรีหรือรอง
นายกรัฐมนตรี ที่นายก ฯ มอบหมายให้เป็นผู้ควบคุมสถานการณ์ ในด้านการแพทย์และการสาธารณสุข
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ดำเนินการควบคุมสถานการณ์กรณีที่ได้รับมอบหมายจากนายก ฯ
หรือ รองนายก ฯ
หลักการพยาบาลสาธารณภัย
การบรรเทาภัย (Mitigation) : กิจกรรมต่าง ๆ ที่ดำเนินการเพื่อลดหรือกำจัดโอกาสในการเกิดหรือ
ลดผลกระทบของการเกิดภัยพิบัติได้แก่ การจัดทำโครงการบรรเทาภัยก่อนเกิดภัย การจัดทำข้อมูลพื้นที่เสี่ยง
ภัย การเฝ้าระวังหรือระบบการมีข่าวกรองที่ดีในการแจ้งภัยล่วงหน้า โดยการบูรณาการทรัพยากรจากทุก
ภาคส่วน
การเตรียมความพร้อม (Preparedness) : การรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน เป็นระยะต่อเนื่องจากการ
บรรเทาภัย โดยการเตรียมคนให้พร้อม มีแผนที่ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน มีการฝึกอบรมความรู้และทักษะ รวมถึง
การซ้อมแผนและการเตรียมพร้อมของทรัพยากรที่จำเป็น การจัดระบบการสื่อสารที่จำเป็นในภาวะฉุกเฉิน
การตอบโต้เหตุการณ์ฉุกเฉิน (Response) ต้องมีการดำเนินการทันเมื่อเกิดภัย โดยยึดตามหลัก
CSCATT
การควบคุมยับยั้งโรคและภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ต้องจัดให้มีระบบเฝ้าระวังภายใน 5 วันหลังภัย
พิบัติ
การบูรณะฟื้นฟู (Recovery) เป็นระยะสุดท้ายในการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ซึ่งต้อง
ดำเนินไปเรื่อยๆ จนกว่าทุกอย่างจะกลับสู่ภาวะปกติหรือใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด โดยเน้นให้มีระบบเฝ้า
ระวังโรคติดต่อและส่งมอบภารกิจให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การฟdeนฟูทางด้านจิตใจของผู้ประสบภัยและ
ครอบครัว
คุณสมบัติพยาบาลสำหรับจัดการสาธารณภัย
มีความรู้ทางการพยาบาลและมีประสบการณ์การปฏิบัติงานการพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินและวิกฤต และ
ด้านการรักษาโรคเบื้องต้นได้
มีความรู้ด้านสาธารณภัย มีความสามารถในการประเมินสถานการณ์และคาดการณ์ถึงปัญหาสุขภาพที่
จะเกิดจากสาธารณภัยชนิดต่างๆ รวมทั้งมีความสามารถให้การพยาบาลได้ครอบคลุมทุกระยะของการเกิดภัย
มีทักษะในการตัดสินใจที่ดี มีความเป็นผู้นำ และสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างถูกต้อง
เหมาะสม
มีทักษะในการสื่อสาร และการบันทึกข้อมูลต่างๆได้อย่างถูกต้องครบถ้วนชัดเจน
มีวุฒิภาวะที่เหมาะสมกับสถานการณ์