Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะ Birth Asphyxia, krovoizliyanie-v-mozg-u…
การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะ Birth Asphyxia
ความหมาย
ภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด หมายถึงภาวะที่ทารกแรกเกิดไม่สามารถหายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นผลให้ขาดสมดุลของการแลกเปลี่ยนก๊าซ ทำให้มีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ มีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์และมีสภาพเป็นกรดในกระแสเลือด
กลไกการเกิด
การไหลเวียนเลือดทางสายสะดือขัดข้อง มีการหยุดไหลเวียนหรือไหลเวียนลดลง
ไม่มีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่รก ซึ่งเกิดจากรกมีการแยกตัวออกจากมดลูก
มีการน าออกซิเจนหรือสารอาหารจากมารดาไปยังทารกโดยผ่านทางรกไม่เพียงพอ
ปอดทารกขยายไม่เต็มที่และการไหลเวียนเลือดยังคงเป็นแบบทารกในครรภ์ไม่สามารถปรับเป็นแบบทารกหลังคลอดได้และไม่พัฒนาเป็นแบบผู้ใหญ่
พยาธิสรีรภาพ
ภาวะขาดออกซิเจนแรกเกิด (Birth asphyxia / Perinatal asphyxia) หมายถึง ภาวะที่ทารกแรกเกิดไม่สามารถหายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เลือดขาดออกซิเจน (hypoxemia) คั่งco2 ภาวะเลือดเป็นกรด
อาการและอาการแสดง
ระยะตั้งครรภ์หรือก่อนคลอด
ทารกเคลื่อนไหวมากกว่าปกติ ต่อมาจะมีการเคลื่อนไหวน้อยลงกว่าปกติ อัตราเต้นของหัวใจระยะแรกมากกว่า 160 ครั้ง/นาที ต่อมาช้าลง
ระยะคลอด
พบขี้เทาปนในน้ำคร่ำ
ระยะหลังคลอด
ระบบทางเดินปัสสาวะ
ปัสสาวะน้อยลง
ไม่ถ่ายปัสสาวะ
hematuria
การเปลี่ยนแปลงทางเมตาบอลิซึม
เกิดภาวะhypoglycemia แคลเซี่ยมต่ำ โปแตสเซียมสูง>>>ทารกชัก>>เสupชีวิต
ระบบหัวใจและการไหลเวียนเลือด
หัวใจเต้นเร็ว ผิดซีด หายใจแบบgasping มีmetabolic acidosis อุณหภูมิร่างกายต่ำ ความดันโลหิตต่ำ
การเปลี่ยนแปลงในปอด
ทารกคลอดครบกำหนดเกิดภาวะPPHN และ ทารกคลอดก่อนกำหนด เกิดภาวะRDS
ระบบประสาท
ถ้าขาดออกซิเจนนาน จะซึม หยุดหายใจบ่อย หัวใจเต้นช้า ม่านตาขยายไม่ตอบสนองต่อแสง ไม่มีDoll's eye movement มักเสียชีวิตลง
Hypoxic ischemic encephalopathy (HIE) สูญเสียกำลังกล้ามเนื้อ ชัก ระดับความรู้สึกตัวผิดปกติ
ระบบทางเดินอาหาร
ลำไส้ตอบสนองต่อO2ลดลงทำให้หยุดทำงาน เกิดอาการท้องอืด หากรุนแรงอาจเกิดลำไส้เน่าตาย(NEC)
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ค่า arterial blood gas คือ PaCO2>80 mmHg, PaO2<40 mmHg, PH<7.1
ระดับน้ำตาลในเลือด 30 mg%
ค่าของcalcium <8 mg%
ระดับ potasssium ในเลือดสูง
การวินิจฉัย
ประวัติการคลอด
การตรวจร่างกาย การประเมินคะแนน APGAR
-สีผิว
-อัตราการหายใจ เริ่มจากไม่สม่ำ เสมอไปจนหยุดการหายใจ
-การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ
-การตอบสนองเมื่อถูกกระตุ้น
-อัตราการเต้นของหัวใจ
อาการและอาการแสดง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การพยาบาล
เช็ดตัวทารกให้แห้งทันทีหลังคลอดและห่อตัวรักษาความอบอุ่นของร่างกาย เพื่อลดการใช้ออกซิเจน
สังเกตอาการขาดออกซิเจน เช่น ริมฝีปากและปลายมือปลายเท้าซีด เขียว หายใจปีกจมูกบาน
ดูแลให้ได้ร้ับอาหารและสารน้ำตามแผนการรักษา ให้นมทางสายยางโดยตองตรวจสอบตำแหน่งของสาย
ยางให้อยู่ในกระเพาะอาหารเสมอ และบันทึกจํานวนนมที่ได้รับในแต่ละมื้อ และตรวจสอบดูปริมาณของนมหรือน้้ำย่อยก่อนให้นมทุกครั้ง
กระตุ้นประสาทสัมผัส และส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา อารมณ์ สังคมและจิตใจ เพื่อให้ทารกมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย
ให้บิดาและมารดามีส่วนร่วมในการดูแลทารก
และเปิดโอกาสให้เข้าเยี่ยมทารกเป็นประจำ พูดคุยกับบิดามารดาเกี่ยวกับอาการของทารก
การควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ในระดับปกติ 36.8-37.2 องศาเซลเซียส จัดให้ทารกนอนอยู่ในตู้อบ เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนจากผิวกายของทารก
การดูแลการหายใจและการให้ออกซิเจน โดยดูดเสมหะในท่อหลอดลมคอ ปากและจมูก โดยใช้ความดันระหว่าง 60-80 mmHg ไม่ควรนานเกิน 10-15 นาทีและใหออกซิเจนก่อนและหลังดูดเสมหะทุกครั้ง ใช้ผ้าหนุนบริเวณคอและไหล่ เพื่อให้ทางเดินหายใจตรงอากาศผ่านเข้าออกได้สะดวก
ดูแลป้องกันการติดเชื้อโดยปฏิบัติการพยาบาลด้วยวิธีการที่ปลอดเชื้ออย่างเคร่งครัด
ดูแลความสะอาดของร่างกาย
ดูแลให้พักผ่อน
การรักษาตามความรุนแรงของการขาดออกซิเจน
Mild asphyxia (Apgar 5-7) มีอาการ cyanosis เล็กน้อย มีการหายใจตื้นๆ กล้ามเนื้ออ่อนแรง อัตราเต้นของหัวใจมากกว่า 100ครั้ง/นาที
Moderate asphyxia ( Apgar score 3-4) ทารกมี cyanosis เพราะความสามารถในการหายใจอ่อนมาก ความตึงตัวของกล้ามเนื้ออ่อนมาก Reflex irritability น้อย อัตราเต้นของหัวใจน้อยกว่า100ครั้ง/นาที
Severe asphyxia ( Apgar score 0-2) ทารกมีภาวะขาดออกซิเจนอย่างมาก เป็นกรดในกระแสเลือดสูง ทารกมี cyanosisมาก ไม่มีความสามารถในการหายใจ ช่วยหายใจด้วยออกซิเจน 100% ผ่าน bag
นางสาวยัสมีน ดเลาะ รหัส 611001038 เลขที่ 39