Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Placenta previa
รกเกาะต่ำ, นส พัชรวรินทร์ วงษ์พรหม 63019919,…
Placenta previa
รกเกาะต่ำ
ความหมาย
เป็นความผิดปกติที่รกมีการเกาะใกล้หรือคลุมบริเวณปากมดลูกในด้าน Cervical internal os หรือฝังตัวบริเวณส่jวนล่างของมดลูก Lower uterine segment
อาการ
รกเเกาะต่ำเกิดขึ้นได้ในช่วงไตรมาสที่ 2 ถึงต้นไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์
- ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่ออายุครรภ์ได้ 28 - 30 สัปดาห์
- มีเลือดสีแดงสดไหลออกมาจากทางช่องคลอด มักไม่มีความเจ็บปวดใดๆ
- ปวด เจ็บแปลบๆ
- ผิวซีด หายใจสั้น ชีพจรอ่อนเต้นเร็ว
- ความดันในเลือดลดต่ำลง โลหิคจาง
ลักษณะการเกิดรกเกาะต่ำ
Marginal Previa
- รกจะอยู่ที่บริเวณส่วนล่างของมดลูก ทำให้เสียเลือดมากขณะคลอด คลอดทางช่องคลอดได้หรืออาจต้องผ่าคลอด
Partial Previa
- รกจะปิดขวางคลุมบริเวณปากมดลูกบางส่วน ต้องผ่าคลอด
Low-Lying Placenta
- รกจะอยู่บริเวณด้านล่างใกล้กับขอบของปากมดลูก จะเกิดขึ้นในช่วงเริ่มต้นถึงช่วงกลางของการตั้งครรภ์ แต่ยังคลอดทางช่องคลอดได้ตามปกติ
Complete Previa
- รกปิดคลุมปากมดลูกทั้งหมด คลอดทางช่องคลอดไม่ได้ ต้องผ่าคลอด ทำให้เสียเลือดมาก มีความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด
สาเหตุ
- หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป
- จำนวนบุตร มีบุตรหลายคนพบประมาณร้อยละ 80 เคยมีประวัติรกเกาะต่ำมาก่อน จะมีโอกาสเกิดรกเกาะต่ำซ้ำได้
- การมีแผลที่ผนังมดลูก
- เคยได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องหรือผ่าตัดบริเวณมดลูกมาก่อน
- การขูดมดลูกที่มีสาเหตุมาจากการแท้งหรือการคลอดก่อนกำหนด
- การตั้งครรภ์แฝด รกมีขนาดใหญ่ขึ้น การเกาะตัวของรกจะปกคลุมถึงบริเวณส่วนล่างของมดลูก
- มดลูกมีการหดรัดตัวมากกว่าปกติ ทำให้ไข่ที่ถูกผสมแล้วเดินทางไปฝังตัวที่ตอนล่างของมดลูก
- ความผิดปกติของรก รกมีขนาดใหญ่
- มีความผิดปกติของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยง decidua ซึ่งเป็นผลจากการอักเสบติดเชื้อ ทำให้เยื่อบุผนังมดลูกเหี่ยว รกจึงเกาะลงมาที่ส่วนล่างของมดลูก
- หญิงตั้งครรภ์ที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่
การวินิจฉัยรกเกาะต่ำ
- สัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์ จะตรวจด้วยการอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด หรือ ทางหน้าท้อง เพื่อหาตำแหน่งของรก
การรักษา
ภาวะรกเกาะต่ำ
- ขึ้นอยู่กับเลือดที่ไหลออกมาจากช่องคลอด พิจารณาถึงลักษณะและปริมาณของเลือดที่ไหลออกมา
- กรณีที่ไม่มีเลือดออกหรือเลือดออกเล็กน้อย แนะนำให้นอนพักบนเตียง
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์
- การออกกำลังกาย
เลือดออกมาก
- ให้นอนพักที่โรงพยาบาล ให้เลือด ให้ยาป้องกันการคลอดก่อนกำหนด เตรียมการผ่าคลอด คำนึงถึงความปลอดภัยของมารดาและทารกเป็นสำคัญ
- ให้ยา Corticosteroids เพื่อเร่งการพัฒนาของปอดทารก
เลือดออกไม่หยุด
- ภาวะเคลียดของทารกในครรภ์ จะผ่าคลอดฉุกเฉิน ถึงแม้ว่าจะยังไม่ครบกำหนดคลอดก็ตาม
ภาวะรกเกาะต่ำในหญิงตั้งครรภ์ระยะแรกๆส่วนมากจะดีขึ้นเองโดยไม่ต้องรักษา เพราะเมื่อมดลูกโตขึ้นจะดึงรกเคลื่อตัวขึ้นเรื่อยๆจนอยู่ในตำแหน่งที่ปกติ คือ ด้านบนของมดลูก
ภาวะแทรกซ้อนของรกเกาะต่ำ
- การคลอดก่อนกำหนด
- รกฉีกขาดหรือมีเลือดออก
- ภาวะโลหิตจางกับทารก
- ต้องผ่าคลอด
การป้องกันรกเกาะต่ำ
- การรักษาสุขภาพ
- งดการสูบบุหรี่
การพยาบาล
- เฝ้าระวังภาวะตกเลือดหลังคลอด
- ป้องกันการติดเชื้อ
- ส่งเสริมความสุขสบายและให้ข้อมูลที่จำเป็นในการดูแลตนเอง
- ประเมินชีพจร การหายใจ ความดันโลหิต
- การหดรัดตัวของมดลูก
- เลือดที่ออกทางช่องคลอดทุก 15 นาที 4 ครั้ง ทุก 30 นาที 2 ครั้ง และทุก 1 ชั่วโมง จนกว่าจะปกติ จากนั้นทุกๆ 4 ชั่วโมง
- อุณหภูมิร่างกาทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินภาวะตกเลือดและภาวะติดเชื้อหลังคลอด
- ดูแลให้ได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก ตามแผนการรักษา เพื่อช่วยให้การหดรัดตัวของมดลูกดี ป้องกันการตกเลือด
- วัดระดับยอดความสูงของยอดมดลูกวันละ 1 ครั้ง (ยกเว้นแผลผ่าตัดคลอด) ถ้ามดลูกไม่ลดขนาดลงแสดงถึงการติดเชื้อที่มดลูก
- สังเกตลักษณะสีและปรืมาณของน้ำคาวปลา เพื่อประเมินภาวะติดเชื้อ
- ประเมินภาวะซีด และปริมาณเลือดที่ออก
- ติดตามผลการตรวจทางห้องปฎิบัติการ
- ช่วยเหลือให้มีการปรับตัวในระยะหลังคลอดอย่างเหมาะสม
- ช่วยเหลือในการดูแลบุตรเพื่อลดความเครียด และความวิตกกังวล
- ส่งเสริมการพักผ่อนให้เพียงพอ
- ดูแลแนะนำอาหารที่มีประโยชน์ อาหารประเภทโปรตีน และธาตุเหล็ก
- ดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อยวันล่ะ 8 แก้ว
- แนะนำการรักษาความสะอาดร่างกายและทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธ์ุภายนอกทุกครั้งหลังการขับถ่ายการเปลี่ยผ้าอนามัยเมื่อชุ่ม
ให้ข้อมูลสำหรับการคลอดในครั้งต่อไป
- ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการคุมกำเนิดการเว้นระยะการมีบุตรอย่างน้อย 1-2 ปี เพื่อให้ผนังมดลูกมีความเหมาะสมในการฝั่งตัวของไข่
- การตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์
- การมาฝากครรภ์ทันที่เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์
- มารดาที่มีบุตรเพียงพอแล้วควรคุมกำเนิดอย่างถาวร
- การซักประวัติ
- การตรวจร่างกาย
- การส่งตรวจพิเศษ
-
-
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
-
-
เกณฑ์การประเมิน
สัญญาณชีพปกติชีพจร น้อยกว่าหรือเท่ากับ 90ครั้ง/นาที อัตราการหายใจระหว่า 18-24 ครั้งต่อนาที ความดันโลหิต มากกว่าหรือเท่ากับ 100/60 มิลลิเมตรปรอท
กิจกรรมการพยาบาล
- ประเมินสัญญาณชีพทุก 1 ชั่วโมง เพื่อประเมืนอาการเปลี่ยนแปลง ถ้าผิดปกติรายงานแพทญ์เพื่อการรักษาทันที
- ให้มารดาใส่ผ้าอนามัย สังเกตและบันทึกลักษณะจำนวนเลือดที่ออกทางช่องคลอด้พื่อประเมินการเสียเลือด
- เตรียมมารดาเพื่อรับการตรวจและผ่าตัดให้พร้อมในกรณีเลือดออกมาก
- สังเกตและบันทึกการหดรัดตัวของมดลูกทุก 15 นาที เนื่องจากการหดรัดตัวของมดลูกจะทำให้เลือดออกมากขึ้น
- สังเกตและประเมินอาการต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด ได้แก่ ภาวะซีด กระสับกระส่าย เหงือออก ตัวเย็น ใจสั่น และอาการเจ็บปวด
-
เอกสารอ้างอิง
ชฎาภรณ์ วัฒนวิไล.(2558). การพยาบาลสตรีที่มีภาวะฉุกเฉินในระยะตั้งครรภ์และระยะคลอด.กรุงเทพมหานคร : วี.พริ้นท์(1991) จำกัด
พรพรรณ ภูสาหัส.(2559). เรียนรู้สูติศาสตร์จากศัพท์.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อัสสัมชัญ