Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ(Peripheral arterial disease/PAD/Arterial…
หลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ(Peripheral arterial disease/PAD/Arterial occlusion)
โรคหลอดเลือดตีบ หมายถึงหลอดเลือดแดงขนาดกลาง หรือเส้นใหญ่ มีการสะสมของไขมันและแคลเซี่ยมที่ผนังด้านในของหลอดเลือดแดง เมื่อสะสมมีขนาดใหญ่พอ ก็จะทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะน้อยลง
สาเหตุ คือการที่ผนังหลอดเลือดแดง (intima)ได้รับอัตรายซึ่งอาจจะเกิดจาก
แรงดันของความดันโลหิต
การอักเสบจากโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกัน
โรคติดเชื้อบางชนิดเช่น Chlamydia pneumoniaeor Helicobacter pylori) หรือเชื้อไวรัสบางตัวเช่น cytomegalovirus
สารเคมีในร่างกาย เช่น ไขมัน Cholesterol น้ำตาล เป็นต้น
อาการ คล้ายหลอดเลือดแดงอักเสบเฉียบพลัน
ถ้าหลอดเลือดตีบไม่รุนแรงมีอาการปวดรุนแรงบริเวณที่หลอดเลือดแดงไปเลี้ยง เช่นบริเวณ แขน ขา น่อง ขณะทำกิจกรรมหรือเดิน ถ้าพักจะหาย
คลำชีพจรบริเวณปลายมือปลายเท้าเบาลง
ถ้ามีการอุดตันรุนแรงคืออุดตับแบบสมบูรณ์หรือเกือบสมบูรณ์
ปวดขามากแม้ขณะพัก
ปลายมือปลายเท้า เย็น ซีด
คลำชีพจรปลายเท้าไม่ได้
การพยาบาล
แบบประคับประคอง
การเดินเป็นวิธีการที่ดีที่สุด กระตุ้นให้เดินจนกระทั่งเริ่มปวด แล้วหยุด เมื่อหายปวดเริ่มเดินใหม่ การเดินจะทำให้หลอดเลือดที่ขามีการสร้างขึ้นใหม่ ช่วยทำให้เดินได้นานขึ้น ปวดน้อยลง
หลีกเลี่ยงการประคบน้้ำแข็งหรือน้ำร้อน
สวมรองเท้าที่ใส่พอดี
หลีกเลี่ยงอาหารที่ให้พลังงานมากเกินไป หรืออาหารมันมากเกินไป
แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีวิตามินบีมาก
แนะนำการดูแลเท้าและการบริหารเท้า
การออกกำลังกาย
การควบคุมระดับไขมันในเลือด
การควบคุมความดันโลหิต และโรคเบาหวาน
การรักษาด้วยยา
การใช้ยา โดยใช้ ยาต้านเกร็ดเลือด Anti-Platelet Agents
Anticoagulation Agents – ยาละลายลิ่มเลือด
การผ่าตัด
การทำ Balloon angioplastyแพทย์จะสอดสายเข้าไปหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบ แล้วเอาบอลลูนดันส่วนที่ตีบให้ขยายพร้อมทั้งใส่ขดลวด
การผ่าตัด Bypass โดยการใช้เส้นเลือดเทียมต่อข้ามส่วนที่ตัน
การพยาบาลหลังผ่าตัด
จัดท่านอนราบขาเหยียดตรง ห้ามงอ ห้ามเอาหมอนรองใต้เข่าเนื่องจากมีระบบไหลเวียนเลือดลดลง
สังเกตออาการ Bleeding, pain, infection, ขาดเลือด, หายใจและวิตกกังวล
เฝ้าระวังภาวะเลือดออกง่ายเนื่องจากได้รับยา Anticoagulance ได้แก่ heparin
คำแนะนำป้องกันกลับเป็นซ้ำ ได้แก่ งดบุหรี่ ควบคุมไขมันในเลือด เบาหวาน และความดันโลหิต
สังเกตอาการผิดปกติ 6 P ได้แก่ ปวดขามาก ไข้ แขนขาอ่อนแรง เย็น คลำชีพจรไม่ได้ แผลตัดเชื้อให้มาพบแพทย์