Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเบื้องต้นทางศัลยกรรม, image - Coggle Diagram
การพยาบาลเบื้องต้นทางศัลยกรรม
Wound Types
ลักษณะการแยกหรือฉีกขาดออกของผิวหนังที่ปกคลุมร่างกาย
Open wound
บาดแผลที่มีการฉีกขาด หรือแยกออกของผิวหนังร่วมด้วย ได้แก่ cut wound, lacerated wound, penetrating wound
Closed wound
บาดแผลที่ไม่มีการฉีกขาดของผิวหนัง โดยการบาดเจ็บเกิดขึ้นใต้ผิวหนังลงไป ได้แก่ contusion, ecchymosis, subgaleal hematoma
ตามลักษณะที่แสดงออกของบาดแผล
Contusion wound
บาดแผลที่มีการฟกช้ำของเนื้อเยื่ออ่อน บาดแผลชนิดนี้เป็นบาดแผลแบบปิด
Puncture wound
แผลถูกทิ่มแทง มีรูเข้าของแผลเล็ก ซึ่งอาจมีเชื้อแบคทีเรีย หรือสิ่งแปลกปลอมจากภายนอกถูกดันเข้าไปในก้นแผลได้ โดยที่บาดแผลภายนอกดูดีและเล็กมาก บาดแผลชนิดนี้อาจมีอวัยวะภายในได้รับอันตราย
Laceration wound
แผลฉีกขาด ทั้งฉีกขาดตื้นและเป็นแผลลึก เกิดจากแรงกระทำต่อแผลทำให้ขอบแผลรุ่งหริ่ง หรืออาจมีเนื้อเยื่อบางส่วนหายไปได้
Avulsion wound
แผลที่มีส่วนของผิวหนังแยกจากชั้น subcutaneous tissue เป็นแผลแบบ Avulsion flap ซึ่งการเย็บแผลแบบนี้กลับคืนอาจทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะอาจเย็บขอบของแผลผิดมุมได้ และอาจมีเนื้อเยื่อบริเวณมุมของแผลตายได้
Crush injury wound
เป็นแผลที่ได้รับแรงกดจากภายนอกสูงทำให้ผิวหนังถูกบดช้ำบางส่วน พบเนื้อเยื่อที่ช้ำตายมาก ซึ่งควร debride ออก ก่อนที่จะทำการปิดแผล มิฉะนั้นจะเป็นสาเหตุของการอักเสบติดเชื้อได้
Suture wound
ชนิดของการเย็บแผล
Vertical mattress suture
ใช้ในรายที่บาดแผลมีขนาดค่อนข้างลึก มีแรงดึงของขอบแผลค่อนข้างมาก
Subcuticular suture
เย็บบาดแผล บริเวณที่ตื้นไม่ลึกมาก เย็บดึงขอบผิวหนัง (Skin) ชิดเข้าหากัน
Continuous overhand suture
เหมาะสำหรับการเย็บแผลที่มีขนาดตื้นแต่ยาว ประหยัดไหมและเวลา
Half buried Horizontal mattress suture
เย็บบาดแผลที่เป็นรูปสามเหลี่ยมปลายแหลม ไม่ต้องการให้แรงกดบริเวณด้านบนส่วนปลายของผิวหนังที่ถูกทำลายและสามารถช่วยลดการเกิดเนื้อตายบริเวณส่วยปลายลงได้
Single interrupted suture
เป็นการเย็บที่ใช้บ่อยที่สุด เหมาะสำหรับการเย็บบาดแผลทั่วไปที่มีความลึก ไม่มากนัก
วิธีการเย็บ
เลือกเข็มให้เหมาะกับเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่จะเย็บ
2.การถือที่จับเข็ม (needle holder) ควรจับให้ด้ามอยู่ในอุ้งมือ และนิ้วชี้วางบริเวณข้อต่อ จับเข็ม1 ใน 3 ทางด้านโคนเข็ม
3.เวลาตักเข็ม ควรให้ปลายเข็มตั้งฉากกับพื้นผิวที่เราจะเย็บ โดยตักลึก 0.5 ซม.. ระยะไหมยาว 1 ซม. แล้วตักเข็มให้ไปโผล่อีกด้านของแผล ไหมแต่ละอันห่างกัน 0.5 ซม
การผูกปมด้วยเครื่องมือ needle holder การผูกปมที่ถูกต้องควรเป็น square หรือ surgical knot เพื่อไม่ให้ปมเลื่อนหลวมออกได้
5.ตัดไหมโดยปลายด้ายให้ยาวประมาณ 1 ซม.
Skin staples
เย็บบาดแผลโดยลวดเย็บ ส่วนใหญ่มักจะทำหลังผ่าตัดโดยแพทย์เนื่องจากสะดวก รวดเร็ว ใช้เวลาน้อย
Skin adhesive strips
เย็บบาดแผลบริเวณบาดแผลที่ตื้น แผลสะอาด ขอบแผลเรียบมีขนาดเล็ก ไม่มีเลือดซึม สามารถดึงขอบของบาดแผลชิดติดกันได้ง่าย ผู้บาดเจ็บไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการเย็บแผล เช่น เด็กเล็ก
ระยะเวลาที่แนะนำให้ตัดไหม
-แผลที่บริเวณใบหน้า ตัดไหมประมาณวันที่ 5
-แผลที่หนังศีรษะ ตัดไหมประมาณวันที่ 7 – 10
-บริเวณข้อ, มีการเคลื่อนไหว ตัดไหมประมาณวันที่ 10 – 14
Incision and Drainage
ฝี (Abscess or furuncle)
ถ้าอยู่ลึกจะต้องกรีดเอาหนองออก การใช้ Hot packs และทำ incision and drainage โดยใช้มีดปลายแหลมเบอร์ 11 ใช้ยาปฏิชีวนะหากพบ ฝีบริเวณหน้า จมูก ยาที่ใช้ dicloxacillin, cloxacillin
ฝีฝักบัว (carbuncle)
ต้องตรวจปัสสาวะทุกรายว่าเป็นเบาหวานหรือไม่
ยาฆ่าเชื้อ cloxacillin, erythromycin หรือ lyncomycin เป็นต้น ให้กินยาแก้ปวด ประคบความร้อน ถ้ามีหนองผ่าตัดเอาหนองออก โดยกรีดแผลเป็นรูปกากบาท เมื่อกรีดเอาหนองออกแล้ว ตัดเอาผิวหนังบางส่วนออก
เล็บขบ (Ingrown toenail or onychocryptosis)
ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น cloxacillin 250-500 mg วันละ 4 ครั้ง ถ้าแพ้ยากลุ่ม penicillin ให้ใช้ erythromycin ถ้ามีหนองให้ผ่าเอาหนองออก อาจถอดเล็บ หรือตัดบางส่วนของเล็บออก