Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลงานอนามัยสิ่งแวดล้อม - Coggle Diagram
การพยาบาลงานอนามัยสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อม (Environment) หมายถึง
สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวมนุษย์ อาจเป็นสิ่งที่ เป็นรูปธรรม มองเห็นหรือสัมผัสได้ เช่น มนุษย์ พืช สัตว์ ดิน น้ำ อากาศ สิ่งของ หรือเป็น นามธรรมที่ไม่สามารถมองเห็นหรือสัมผัสด้วยประสาทสัมผัสอื่นๆได้ เช่น ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ สามารถจำแนกประเภทของสิ่งแวดล้อมได้
ลักษณะของการเกิด
1. สิ่งแวดล้อมที่เกิดตามธรรมชาติ (Natural environment)
2. สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-made environment)
องค์ประกอบของสิ่งแวดล้อม
1. สิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ (Physical environment)
2.สิ่งแวดล้อมด้านเคมี (Chemical environment)
3. สิ่งแวดล้อมด้านชีวภาพ (Biological environment)
4. สิ่งแวดล้อมด้านสังคม (Social environment)
1. กลุ่มทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resources)
4 ประเภท ดังนี้
1.1 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น (Inexhaustible natural resources)
จำแนกเป็น 2 ประเภท
1) ประเภทที่คงสภาพเดิมไม่เปลี่ยนแปลง (Immutable)
ได้แก่ พลังงานจาก ดวงอาทิตย์ ลม อากาศ ฝุ่น แม้กาลเวลาจะผ่านไปนานเท่าใดก็ตามสิ่งเหล่านี้ก็ยังคง ไม่เปลี่ยนแปลง
2) ประเภทที่มีการเปลี่ยนแปลง (Mutable)
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเนื่อง มาจากการใช้ประโยชน์ อย่างผิดวิธี เช่น การใช้ที่ดิน การใช้น้ำโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง ท้าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านกายภาพ และด้านคุณภาพ เกิดน้าเน่าเสีย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์
1.2 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วทดแทนได้ (renewable natural resources)
ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วทดแทนได้ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า มนุษย์ ความสมบูรณ์ของดิน คุณภาพของน้้า และทัศนียภาพที่สวยงาม ฯลฯ
1.3 ทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ (Recyclable natural resources)
เช่น แร่ธาตุ ได้แก่ เหล็กทองแดง อะลูมิเนียม ดีบุกตะกั่ว แก้ว ฯลฯ
1.4 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดสิ้นไป (Exhausting natural resources)
ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน เป็นต้น
2. กลุ่มทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-made Resources)
แบ่งเป็น 2 ประเภท
2.1 กลุ่มทรัพยากรชีวกายภาพ (Bio-physical Resources)
เช่น การเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การประมง การพลังงาน เขื่อน ไปจนถึงทรัพยากรที่เกิดขึ้นเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิต เช่น การประปา การสื่อสารโทรคมนาคม การคมนาคม การท่องเที่ยว
2.2 กลุ่มทรัพยากรเศรษฐสังคม (Socio-economic resources)
เช่น วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ศาสนา กฎหมาย เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง การศึกษา การสาธารณสุข ฯลฯ
อนามัยสิ่งแวดล้อม
งานอนามัยสิ่งแวดล้อม
จึงเป็นงานที่มุ่งเน้นการป้องกันโรคที่เกิด จากสิ่งแวดล้อมโดยใช้วิธีการจัดการและควบคุมสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ทั้งด้าน กายภาพ เคมี ชีวภาพ และสังคม องค์การอนามัยโลกได้กำหนดขอบเขตงานอนามัยสิ่งแวดล้อมไว้เป็นแนวทางให้ประเทศต่างๆ เลือกดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของตนเองตามความจำเป็นและตามความสามารถ
1) การจัดหาน้้าสะอาดในการอุปโภค บริโภค
2) การควบคุมมลพิษทางน้้า
3) การจัดการเกี่ยวกับขยะมูลฝอยและของเสียที่มีลักษณะเป็นของแข็ง ได้แก่ การรวบรวมหรือ
จัดเก็บ การขนส่ง และการก้าจัดที่ถูกหลักสุขาภิบาล
4) การควบคุมสัตว์อาร์โทรปอดและสัตว์ฟันแทะ สัตว์อาร์โทรปอด เช่น ยุง แมลงวัน แมลงสาบ เห็บ หมัด ไร สัตว์ฟันแทะ เช่น หนู
5) การควบคุมมลพิษของดิน
6) การสุขาภิบาลอาหาร
7) การควบคุมมลพิษทางอากาศ
8) การป้องกันอันตรายจากรังสี
9) อาชีวอนามัย
10) การควบคุมมลพิษทางเสียง
11) ที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมใกล้เคียง คือ การจัดให้ที่อยู่อาศัยและจัดสิ่งแวดล้อมต่างๆ ให้ถูก
สุขลักษณะเพื่อการมีสุขภาพทางกายและสุขภาพจิตที่ดี
12) การผังเมือง เป็นการก้าหนดแนวทางการพัฒนาเมืองในอนาคต
13) งานอนามัยสิ่งแวดล้อมด้านการคมนาคม หมายถึง การควบคุมดูแลให้สิ่ง ต่างๆ ที่ใช้ในการคมนาคมทั้งทางบก ทางน้้าและทางอากาศให้มีสุขอนามัยปลอดภัย เหมาะสมในการใช้งานป้องกันมิให้เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคมิให้เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค
14) การป้องกันอุบัติเหตุ อุบัติภัยต่างๆ
15) การสุขาภิบาลของสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สวนสาธารณะ
16) การด้าเนินงานสุขาภิบาลเมื่อเกิดโรคระบาด เหตุฉุกเฉิน ภัยพิบัติ และการอพยพย้ายถิ่น
สรุปความสำคัญของอนามัยสิ่งแวดล้อม
1) ลดอัตราป่วยและอัตราตายของประชาชน เนื่องจากงานอนามัยสิ่งแวดล้อมจะ ควบคุมไม่ให้ปัจจัยก่อโรคด้านสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุให้เกิดโรค
2) สร้างเสริมสุขภาพของประชาชน ท้าให้ประชาชนได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี
3) สร้างสุนทรียภาพและความเจริญในชุมชน การจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีจะท้าให้ชุมชนสะอาด เรียบร้อยสวยงาม ดูแล้วสบายตา สบายใจ รวมทั้งสามารถส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้
4) ส่งเสริมเศรษฐกิจของชุมชน การจัดสิ่งแวดล้อมที่ประสบผลสำเร็จสามารถลดอัตราการป่วยและอัตราตายของประชาชนได้ จึงสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วย การจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดียังสามารถเพิ่มผลผลิตให้แก่ชุมชน เช่น การจัดการเรื่องน้้าในชุมชนให้สะอาดท้าให้ประชาชนสามารถใช้น้ำในการเกษตรได้
ปัญหาสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อสุขภาพ
ได้รับเชื้อโรคหรือสิ่งที่ท้าให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ เช่น เชื้อโรค สารพิษ ที่อาจก่อให้ โรคร้ายแรงได้ทั้งในระยะเฉียบพลันและระยะเรื้อรัง
ได้รับเชื้อโรคหรือสารพิษที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกรรมพันธุ์
ภูมิต้านทานโรคต่ำลง อันเนื่องมาจากสารพิษและสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม
เกิดความความเดือดร้อนร้าคาญและไม่สะดวกสบายจากการได้รับการ เกวนจากมลพิษ เช่น เสียงดัง กลิ่นเหม็น อากาศมีหมอกควัน
โรคต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในพื้นที่เกิดการระบาดขึ้น และแพร่กระจายไปได้อย่าง รวดเร็ว และทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น
เกิดผลเสียต่อสุขภาพจิตจากการอยู่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมเป็นมลภาวะ
ของเสียและมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม (Waste and pollution)
แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
มลพิษทางน้ำ
สาเหตุ
1) น้้าเสียจากชุมชน
เกิดจากกิจกรรมการใช้น้าในชีวิตประจ้าวัน การช้าระร่างกาย การขับถ่าย การปรุงอาหาร การซักล้าง น้้าเสียเหล่านี้มักมี และจุลินทรีย์โคลิฟอร์มปนเปื้อนเป็นส่วนใหญ่
2) น้้าเสียจากอุตสาหกรรม
เกิดจากกระบวนการผลิตต่างๆ มักปนเป็น เคมีและโลหะหนัก
3) น้้าเสียจากเกษตรกรรม
มักปนเปื้อนด้วยมูลสัตว์และสารเคมีก้าจัดศัตรูพืช
1 more item...
ผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางน้้า 4 ประเภท
1. โรคหรือความเจ็บป่วยที่มีน้ำเป็นสื่อในการแพร่กระจาย (Waterborne disease
เกิดจากการดื่มน้ำที่ปนเปื้อนด้วยเชื่อโรคประเภทต่างๆ ตลอดจนสารเคมี โลหะหนักรวะ การปรุงอาหารโดยใช้น้ำไม่สะอาดที่ปนเปื้อนด้วยเชื้อโรคและสารเคมี เป็นสาเหตุให้ โรคอุจจาระร่วง บิด ไทฟอยด์ ตับอักเสบเอ
2. โรคหรือความเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการขาดแคลนน้ำสะอาด (Water-wat504 diseases)
การใช้น้ำที่ไม่สะอาดในการช้าระล้างท้าความสะอาดร่างกาย เสื้อผ้า และ เครื่องนุ่งห่ม เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อตามเยื่อบุตา ผิวหนัง เช่น ริดสีดวงตา หิด แผล ยื่น คันตามผิวหนัง
1 more item...
3. โรคหรือความเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากเชื้อโรคหรือสัตว์น้าโรคที่มีวงจรชีวิต อาศัยอยู่ในน้ำ (Water-based diseases)
ที่สำคัญคือ พยาธิใบไม้ในตับ พยาธิใบไม้ในเลือด
มลพิษทางอากาศ
ผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษอากาศ
1. ฝุ่นละออง
ฝุ่นที่มีขนาดใหญ่มากกว่า 10 ไมครอนจะถูกกรองออกโดยระบบ ทางเดินหายใจส่วนบนส่วนฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน จะรอดจากการกรองเข้าไป ถึงปอดได้ ฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5ไมครอนสามารถเข้าไปถึงถุงลมปอด ฝุ่นละออง ขนาดเล็กท้าให้เกิดการระคายเคืองและมีผลให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ หากองค์ ประกอบในฝุ่นเป็นโลหะหนัก เช่น ซิลิกา แอสเบสตอสจะทำให้เป็นโรคปอดชนิดต่าง ๆ รวมทั้งมะเร็งปอด
2. ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO3)
เนื่องจากก๊าซชนิดนี้ละลายน้ำได้น้อย เมื่อ บุคคลรับสัมผัสมักเกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบนได้น้อย แต่จะมี ผลต่อระบบทางเดินหายใจส่วนล่างท้าให้เกิดการระคายเคืองในถุงลมปอด ส่วนผลเรื้อรัง ท้าให้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง
3. ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
ก๊าซชนิดนี้ละลายน้ำได้และเกิดเป็นกรดซัลฟิวริก ท้าให้ผู้สัมผัสมีอาการระคายเคืองตาและระคายระบบทางเดินหายใจส่วนบนอย่างรุนแรง ส่วนผลเรื้อรังท้าให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคหอบหืดหากได้รับสัมผัสจะมี อาการรุนแรงขึ้น
1 more item...
ขยะและของเสียอันตราย
ผลกระทบต่อสุขภาพจากการก้าจัดของเสียที่ไม่มีประสิทธิภาพ
1.การแพร่กระจายของเชื้อโรคและสัตว์ที่เป็นพาหนะ
เช่น หนู แมลงสาบ แมลงวัน สัตว์เหล่านี้มักก่อให้เกิดโรคที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุข เช่น อุจจาระร่วง อหิวาตกโรค
2. น้ำเสียจากกองขยะมูลฝอย (Leachate)
มีความสกปรกสูงและมีสภาพเป็น จะมีทั้งสารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ เชื้อโรค และโลหะหนักต่างๆ หากน้ำจากขยะมูลฝอยรั่วไหลปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม จะเป็นผลให้เกิดอันตรายและเกิดมลพิษในสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำเสียชึมลงสู่แหล่งน้ำใต้ดินจะเกิดปัญหาต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนที่ใช้น้ำในการอุปโภค บริโภค หากน้ำเสียไหลลงสู่แหล่งน้ำจะส่งผลกระทบต่อพืชและสัตว์น้ำ
3. ขยะมูลฝอยก่อให้เกิดมลพิษในอากาศ
ขยะมูลฝอยที่มีการทับถมจะเกิดการ ย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ทำให้เกิดก๊าซต่างๆที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เช่น มีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ และไฮโดรเจนซัลไฟด์ (ก๊าซไข่เน่า) นอกจากนี้ ฝุ่นและไอละอองจาก กองขยะมูลฝอยยังก่อให้เกิดปัญหาในระบบทางเดินหายใจ และโรคผิวหนังอื่นๆได้
1 more item...
มลพิษทางดิน
ปัญหามลพิษทางดินสามารถจ้าแนก ได้ 3 ลักษณะ
ดินเป็นมลสารที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษ มลสาร (Pollutant)
ที่อยู่ในดินบางอย่างสามารถสลายตัวได้โดยอาศัยจุลินทรีย์ในดิน ในขณะที่บางส่วนยังคงค้างอยู่ในดินเป็นระยะเวลานาน ส่วนประกอบในดินเป็นตัวกำหนดความรุนแรงของปัญหามลพิษทางดิน หากส่วนประกอบของดินมีเชื้อโรค สารกำจัดศัตรูพืช หรือสารพิษอื่นๆ เมื่อดินเหล่านี้ถูกพัดไปในอากาศหรือแหล่งน้ำ จะท้าให้อากาศหรือแหล่งน้ำเกิดการปนเปื้อนสารมลพิษตามไปด้วย
ดินเป็นแหล่งรองรับสารพิษ
ดินท้าหน้าที่ดูดซับสารพิษหรือโลหะหนักจากอากาศ จากน้ำที่ใช้ในอุตสาหกรรมหรือกิจกรรมในชีวิตประจ้าวันของมนุษย์ เนื่องด้วยดินมีคุณสมบัติ ที่มีประจุจึงสามารถดูดซับสารเคมีหรือสารพิษที่มีประจุได้ ท้าให้สารพิษหรือโลหะลดความเป็นพิษลงหรือไม่เกิดสารใหม่ที่มีความเป็นพิษรวมถึงจุลินทรีย์ในดินยังสามารถสร้างกลไกที่ลดความเป็นพิษของสารพิษและโลหะหนักได้ด้วย แต่หากดินต้องรับมลสารมากเกินไป โดยเฉพาะมลสารที่ย่อยสลายไม่ได้หรือต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนานในการย่อยสลาย เช่นพลาสติก โฟม ก็จะท้าให้เกิดปัญหามลพิษทางดินขึ้น มีผลท้าให้ความ สามารถของดินที่จะเป็นแหล่งธาตุอาหารลดลง ผลผลิตที่ได้ก็อาจจะลดลง หรือผลผลิตที่ได้อาจไม่เหมาะแก่การบริโภคเนื่องจากมีสารพิษสะสมเกินกว่าระดับปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์
ดินเป็นพิษ
เป็นสภาวะที่ดินไม่สามารถท้าหน้าที่รองรับของเสียและสารพิษต่างๆ โดยวิธีการดูดซับไว้ที่อนุภาคของดินได้ ปัญหาที่เกิดจากดินเป็นพิษมีทั้งปัญหาทางตรง และทางอ้อม เช่น มีการเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในดิน ความสามารถในการย่อยสลายของจุลินทรีย์เปลี่ยนแปลงไป พืชที่ปลูกบนพื้นดินที่เป็นพิษจะมีปัญหาเรื่องคุณภาพของพืช โดยพืชจะดูดดึงสารพิษบางชนิดไปสะสมไว้ที่ส่วนต่างๆ เมื่อมนุษย์หรือสัตว์นำมาบริโภคก็ จะมีปัญหาด้านสุขภาพ ปริมาณผลผลิตทางการเกษตรลดลง เนื่องจากสารพิษบางชนิดก่อให้เกิดสภาวะหรือเงื่อนไขที่พืชไม่สามารถดูดธาตุอาหารพืชจากดินได้
บทบาทหน้าที่ของพยาบาลชุมชนในด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
เป็นผู้ให้ความรู้และคำแนะนำ (Educator)
เป็นผู้ให้คำปรึกษา (Counselor)
เป็นผู้ประสานงาน (Coordinator)
เป็นผู้บริหารจัดการ (Manager)
เป็นผู้ดำเนินการวิจัย (Researcher)
เป็นผู้นำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Leader or change agent)
Cary & Mood (Cary, & Mood, 2000) ได้เพิ่มเติมบทบาทพยาบาลที่สำคัญ ในงานด้านอนามัย
สิ่งแวดล้อม
ดังต่อไปนี้
1. Community involvement
เป็นผู้ชักนำ กระตุ้น สนับสนุน หรือเป็นสื่อกลาง ประสานงาน จัดประชุม ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาแก้ไขปัญหา หรือตัดสินใจในการกระท้า หรือกิจกรรมใดๆ ที่จะมีผลกระทบต่อชุมชนส่วนรวม “empowering them to act as their own advocates” เช่น การท้าประชาพิจารณ์เรื่องการสร้างโรงงานอุตสาหกรรม เหมือง ฝาย หรือ เขื่อน ในพื้นที่ของชุมชน อย่างไรก็ดีผู้การท้าหน้าที่เป็นสื่อกลาง ต้องระมัดระวังควบคุมอารมณ์ความรู้สึกที่รุนแรงของชุมชน ที่อาจเกิดขึ้นขณะประชุม
2. Individual and population risk assessment
เป็นผู้ประเมินความเสี่ยงของ บุคคลครอบครัว และชุมชน โดยใช้กระบวนการพยาบาลในการติดตามสอบสวนหา สาเหตุการเกิดโรคอันมีสาเหตุจากสิ่งแวดล้อม เช่น โรคฉี่หนู โรคไข้เลือดออก วัณโรค โรคระบบทางเดินหายใจอันมีสาเหตุจากมลพิษอากาศและโรคพิษจากโลหะหนัก เป็นต้น รวมทั้งหาแนวทางในการให้การช่วยเหลือดูแล แก้ไข หรือส่งต่อ ซึ่งในบทบาทนี้พยาบาล ต้องเป็นผู้อุทิศตน (advocacy) ทั้งต่อบุคคล และชุมชน และรวมทั้งศึกษาวิจัย(researcher) เพื่อหาสาเหตุและควบคุมปัจจัยอันตรายในสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ
3. Risk Communication
เป็นผู้สื่อสารความเสี่ยง โดยการให้ข้อมูลหรือท้าความ เข้าใจแก่บุคคลครอบครัว และชุมชน ถึงปัจจัยอันตรายในสิ่งแวดล้อมที่มีต่อสุขภาพของ มนุษย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ลดความหวาดกลัว และเพื่อ แก้ไขหรือปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้มีความปลอดภัยมากขึ้น “Given the right information to the right people at the right time"