Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
งานชิ้นที่2 การพยาบาลงานอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับสหสาขาวิชาชีพ -…
งานชิ้นที่2
การพยาบาลงานอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับสหสาขาวิชาชีพ
งานอนามัยสิ่งแวดล้อมเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับสหสาขาวิชาชีพ ที่พยาบาลชุมชนจะต้องทำงานร่วมกับบุคลากรจากหลายฝ่าย ทั้งนี้กล่าวถึงงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับบทบาทของพยาบาลชุมชน ได้แก่
การจัดหาน้ำเพื่อบริโภคและอุปโภค
คุณภาพของน้้าเพื่อการอุปโภคบริโภค สามารถก้าหนดคุณภาพของน้้าได้ 3 ลักษณะ ดังนี้
1. คุณลักษณะทางกายภาพ
คือ ลักษณะของน้้าที่สามารถวิเคราะห์ได้โดยใช้ ประสาทสัมผัส ได้แก่
ความขุ่น สี รสชาด กลิ่น และอุณหภูมิ
2. คุณลักษณะทางเคมี
คือ คุณสมบัติของน้ำที่เกิดจากสารประกอบต่างๆทั้งสารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ และโลหะหนักเจือปน เช่น สารหนู แคดเมียม ไซยาในด์ ตะกั่ว ปรอท สารประกอบเหล่านี้ทำให้คุณภาพของน้ำเปลี่ยนแปลงไป
น้ำที่มีค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ต่ำกว่า7 จะมีสภาพเป็นกรด(มีรสเปรี้ยว)
น้ำที่มีค่า pH สูงกว่า 7 จะมีฤทธิ์เป็นด่าง (มีรสฝาด) น้้าบริสุทธิ์จะมีค่า pH เท่ากับ 7 โดยทั่วไปน้ำดื่มจะมีค่า pH อยู่ในช่วง 6.5 ถึง 8.5
3. คุณลักษณะทางชีวภาพ
จุลินทรีย์เป็นตัวกำหนดคุณลักษณะทางชีวภาพของน้ำ จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคในมนุษย์มีความรุนแรงตั้งแต่เจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยหรือถึงขั้นเสียชีวิต น้ำดื่ม น้้าใช้ในชีวิตประจำวันจะต้องไม่มีเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรคปนเปื้อน โดยหากตรวจพบ
E.coli
ในตัวอย่างน้ำหรืออาหาร หมายความว่า ตัวอย่างที่ตรวจสอบนั้น ถูกปนเปื้อนด้วยอุจจาระจึงไม่ปลอดภัยต่อการนำมาอุปโภคบริโภค แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค มี 3 แหล่ง คือ
1) น้ำฝน
น้ำฝนจัดเป็นน้ำที่ใสสะอาด บริสุทธิ์ และมีคุณภาพดีที่สุด แต่หากหลังคา หรือภาชนะกักเก็บน้ำไม่สะอาดจะทำให้น้ำฝนปนเปื้อน และไม่เหมาะที่จะน้ามาอุปโภคบริโภคโดยไม่ผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้้า
2) น้ำผิวดิน
หมายถึง น้ำที่ขังอยู่บนผิวโลก แหล่งน้ำผิวดิน มีทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น การที่น้ำผิวดินไหลไปตามที่ต่างๆ จะทำให้มีการปนเปื้อนอนุภาคต่างๆบนพื้นดินทั้งที่เป็นสาร อินทรีย์และสารอนินทรีย์ จึงท้าให้น้ำผิวดินมีคุณภาพทางกายภาพไม่ดีและมีจุลินทรีย์ปนเปื้อนสูง
3) น้ำใต้ดิน
หมายถึง น้ำที่ซึมแทรกและถูกกักขังอยู่ตามช่องว่างของเม็ดดิน หิน กรวดหรือ ทราย ซึ่งอยู่ใต้ผิวโลก น้ำใต้ดินมีคุณภาพด้านกายภาพและชีวภาพดีกว่าแหล่งน้้าผิวดิน เนื่องจากผ่านการกรองโดยชั้นตัวกลางธรรมชาติขณะซึมลึกลงใต้ดิน แต่น้ำมักมีความกระด้าง
การขุดบ่อมี 2 ประเภท คือ
บ่อน้ำตื้น หมายถึง บ่อที่มีความลึกไม่เกิน 10 ฟุต (3 เมตร)
บ่อน้ำลึกหรือบ่อบาดาล หมายถึง หมายถึง บ่อที่มีความลึกเกินกว่า 3 เมตร
การใช้น้ำในการอุปโภคบริโภคจะต้องจัดทำบ่อน้ำให้ถูกหลักสุขาภิบาล ดังนี้
สถานที่ตั้งของบ่อควรเป็นที่สูง น้ำท่วมไม่ถึง อยู่ห่างจากแหล่งทิ้งสิ่งปฏิกูล ห่างจากส้วมตั้งแต่ 30 เมตรขึ้นไป กรณีมีเนื้อที่ไม่มากหรือในโรงเรียน บ่อบาดาลควรห่างจากแหล่งโสโครกอย่างน้อย 10 เมตร
บ่อต้องลึกกว่า 3 เมตร บ่อบาดาลจัดว่าเป็นน้ำที่สะอาดเหมาะสำหรับบริโภค เพราะแบคทีเรีย เชื้อโรค และสิ่งสกปรกที่ปนอยู่จะถูกดินกรองเอาไว้ ไม่สามารถซึมผ่านดินลงได้ถึง 3 เมตร
มีวงขอบบ่อเพื่อป้องกันดินพัง ยาหรือฉาบด้วยซีเมนต์รอบๆขอบบอเสนอ และฉาบให้ลึกอย่างน้อย 10 ฟุตนับจากผิวดินลงไป เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำจากภายนอกบ่อซึมเข้าไปในบ่อได้
ทำชานซีเมนต์รอบปากบ่อ รัศมีไม่น้อยกว่า 2 ฟุต (60เซนติเมตร) นับจากขอบบ่อ
มีรางระบายน้ำห่างจากบ่อไม่น้อยกว่า 5 ฟุต (1.5 เมตร) เพื่อระบายน้ำที่ขังอยู่บนชานซีเมนต์
มีฝาปิดบ่อ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อให้มีความแข็งแรงในการที่จะใช้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ
การผลิตน้ำสะอาด
แหล่งน้ำที่มนุษย์นำมาใช้ในการอุปโภคบริโภคอาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคหรือสารเคมี จึงต้องทำการปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนน้ามาใช้ การปรับปรุงคุณภาพน้ำแบ่งเป็น 2 ประเภท
1. การปรับปรุงคุณภาพน้ำทางกายภาพ
1.1 การต้ม
การต้มน้้าให้เดือดประมาณ 20 นาที จะสามารถท้าลายเชื้อโรคและไข่
หนอนพยาธิได้ การต้มยังช่วยปรับปรุงคุณภาพน้้าทางด้านเคมีได้
1.2 การใช้ตะแกรง
มักถูกใช้เป็นกระบวนการแรกของระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ โดยติดตั้ง
ตระแกรงในจุดที่น้าน้ำดิบจากแหล่งน้ำดิบเข้าสู่ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำเพื่อป้องกันการอุดตันและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับระบบ
1.3 การกรอง
มีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดสารแขวนลอยออกจากน้ำ เช่น อนุภาค ของดิน
ตะกอน ตัวอย่างของสารกรอง คือ ทราย และถ่าน แต่ที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือทราย
1.4 การตกตะกอน
เป็นกระบวนการทางกายภาพเพื่อแยกอนุภาคของแข็งออกจากน้ำโดย
อาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก มีวิธีการ คือ การตกตะกอนจมตัวเอง และการตกตะกอนหลังการเติมสารเคมีเพื่อทำให้ของแข็งมีขนาดใหญ่ขึ้น น้ำหนักมากขึ้น และตกตะกอนได้ง่าย คือ การเติมสารส้มเพื่อกำจัดความขุ่น
1.5 การกลั่น
เป็นวิธีที่จะทำให้น้ำสะอาดที่สุด หลักในการทำน้ำกลั่น คือ การต้มน้ำให้เดือดเป็นไอน้ำแล้วให้ไอน้ำผ่านท่อที่เย็น ไอน้ำจะรวมตัวเป็นหยดน้ำและไหลลงในภาชนะที่สะอาดสำหรับรองรับและเก็บน้ำกลั่น น้ำที่ได้จากการกลั่นไม่นิยมน้ามาดื่มเพราะมีรสจืด นิยมใช้ทางการแพทย์และ
งานอุตสาหกรรม
1.6 การเติมอากาศและการลดอากาศ
การเติมอากาศเป็นกระบวนการทางกายภาพเกี่ยวกับการนำอากาศเข้าสู่มวลของน้ำ ส่วนการลดอากาศเป็นกระบวนการนำก๊าซต่างๆที่ละลายอยู่
ในน้ำ เช่น ก๊าซออกซิเจน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ออกจากมวลของน้ำการเติมออกซิเจนลงไปในน้ำจะทำให้น้้าเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ทำให้เหล็กและแมงกานีสที่อยู่ในรูปสารละลายเปลี่ยนรูปเป็นของแข็งจึงแยกตัวออกจากน้ำได้ง่ายขึ้น รวมถึงทำให้ก๊าซ กลิ่น และรสสามารถระเหยได้ง่ายขึ้น
2. การปรับปรุงคุณภาพน้ำทางเคมี
2.1 การสร้างตะกอน
เป็นการเติมและผสมสารเคมีที่ช่วยในการสร้างตะกอนลงไปในน้ำดิบ เพื่อให้ของแข็งที่จมตัวไม่ได้หรือของแข็งที่มีอนุภาคขนาดเล็กๆรวมตัวกันเป็นของแข็งที่มีขนาดใหญ่และหนักขึ้น ทำให้จมตัวได้ง่ายขึ้น วัตถุประสงค์ของการสร้างตะกอนเพื่อกำจัดความขุ่น สี และจุลชีพต่างๆในน้ำ สารสร้างตะกอนที่นิยมใช้ คือสารส้มเนื่องจากมีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย และสร้างตะกอนได้ดี
2.2 การดูดซับ
เป็นกระบวนการเกาะติดของก๊าซหรือสารละลายบนพื้นผิวของแข็ง ที่
เรียกว่า ตัวดูดซับ วัตถุประสงค์หลักของการดูดซับ คือ การกำจัดสารละลายอินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของกลิ่น สี และรสในน้ำ สารดูดซับที่นิยมคือ ถ่านกัมมันต์ซึ่งทำมาจากวัสดุ เช่น ไม้ ถ่านหิน กะลามะพร้าว
2.3 การฆ่าเชื้อโรคในน้ำ
โดยใช้สารเคมีการฆ่าเชื้อโรคในน้ำสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้ความร้อนหรือการต้มให้เดือด การใช้รังสีอัลตราไวโอเลต และการใช้สารเคมีต่างๆ เช่น โบรมีน ไอโอดีน คลอรีน ในระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำนิยมใช้คลอรีนในการฆ่าเชื้อโรค เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่ายและราคาถูก
การผลิตน้ำประปา
มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตน้ำให้สะอาดปลอดภัยและเพียงพอสำหรับประชาชน มีขั้นตอนดังนี้
1) การท้าให้น้ำสัมผัสกับอากาศ (Aeration)
โดยการทำให้น้ำแตกกระจายเป็นฝอยเล็กๆ เพื่อให้สารเคมีบางอย่างที่ละลายอยู่ในน้ำกลายเป็นสารที่ตกตะกอน แล้วสามารถก้าจัดออกได้โดยการกรอง
2) การผสมสารเคมีลงไปในน้ำ(Coagulation)
โดยการผสมสารส้มหรือปูนขาวลงไป เพื่อให้สารต่างๆที่อยู่ในน้ำเกิดตะกอนเร็วขึ้น รวมทั้งเพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของน้้าให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
3) การตกตะกอน (Sedimentation)
เป็นการทำให้ตะกอนที่เกิดขึ้นตกลงไปยังกันถังตกตะกอน
โดยการให้น้ำอยู่นิ่งๆหรือไหลช้าๆในอัตราไม่เกิน 3 ฟุตต่อนาที
4) การกรอง (Filtration)
เป็นการแยกเอาตะกอนหรือความสกปรกที่มีอยู่ในน้ำออกให้หมด
5) การทำลายเชื้อโรค (Disinfection)
โดยการใส่คลอรีนลงไปในน้ำที่ผ่านการกรองมาแล้ว น้ำที่มี
ความสะอาดปลอดภัยต้องมีปริมาณคลอรีนเหลืออยู่ในน้้าประมาณ 0.2-1.0 ส่วนในล้านส่วน
6) การเก็บน้ำในถังส้าหรับเก็บน้ำ (Clear wel)
เพื่อทิ้งระยะเวลาในการทำลายเชื้อโรคของคลอรีน
และเป็นการสำรองน้ำไว้จ่ายให้แก่ประชาชน
7) การจ่ายน้้า (Distribution)
เพื่อให้ประชาชนได้ใช้น้ำในการอุปโภคบริโภคตลอดเวลา
การบำบัดน้ำเสียและการควบคุมมลพิษทางน้ำ
ลักษณะของน้ำเสียที่เป็นมลพิษ มี 3 ลักษณะ ดังนี้
1. ลักษณะทางกายภาพ
คือ ของแข็งหรือสารที่แขวนลอยละลายในน้ำ ความขุ่น น้ำเสียมีอุณหภูมิสูงกว่าน้ำธรรมดาเล็กน้อย มีสีเทาปนน้ำตาลอ่อนๆ หากไม่ได้รับการ บำบัดจะกลายเป็นสีดำ น้ำเสียใหม่มักไม่มีกลิ่น หากเก็บไว้หลายวันจะมีกลิ่นเหม็นเน่าที่ เกิดจากแก๊สต่างๆที่ละลายอยู่ในน้้าเสีย
2. ลักษณะทางเคมี
ลักษณะทางเคมีของน้ำเสียขึ้นอยู่กับสารพิษที่ถูกปล่อยออกมา คือ สารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ และก๊าซ
2.1 สารอินทรีย์
ส่วนใหญ่มาจากพืชและสัตว์ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน การย่อย
สลายสารอินทรีย์ต้องใช้ออกซิเจนจำนวนมากส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ ลดลง การตรวจวัดคุณภาพน้ำที่นิยม คือ
-
ออกซิเจนละลาย (Dissolved Oxygen [DO])
เป็นการตรวจวัดปริมาณ ออกซิเจนที่ละลายในน้ำ หากมีการระบายของเสียที่เป็นสารอินทรีย์ลงไปในน้ำ จุลินทรีย์ จะใช้ออกซิเจนที่ละลายน้ำในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ทำให้ค่าออกซิเจนลดลง น้ำที่มี คุณภาพดีต้องมีค่า DO มากกว่า 6.0 มิลลิกรัมต่อลิตร
ความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ (Biochemical Oxygen Demand (BOD))
ถ้าบีโอดีมีค่ามาก แสดงว่าแหล่งน้ำนั้นมีปริมาณสารอินทรีย์มากทำให้จุลินทรีย์ต้องใช้ ออกซิเจนปริมาณมาก ค่าบีโอดีมีความสัมพันธ์กับค่าออกซิเจนละลายน้ำ ค่าบีโอดีสูงจะ ทำให้ออกซิเจนละลายน้ำมีค่าต่ำ น้ำที่มีคุณภาพดีต้องมีค่าบีโอดี น้อยกว่า 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร
2.2 สารอนินทรีย์
พารามิเตอร์สำคัญของการตรวจวัดสารอนินทรีย์ในน้ำ ได้แก่ ในโตรเจน
คลอไรด์ หากตรวจพบคลอไรด์ในน้ำเป็นปริมาณมากแสดงว่าน้ำมีการปน เปื้อนสิ่งปฏิกูล ความเป็นกรด-ด่าง (pH) น้ำที่มีปัญหามลพิษ คือ น้ำที่มีค่า pH สูงกว่า 9.0 หรือ ต่้ากว่า 5.0 สารอนินทรีย์ยังรวมถึงสารประกอบที่เป็นพิษและโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว สารหนู ไซยาไนด์ ปรอท สังกะสี ส่วนใหญ่ถูกปล่อยออกมาจากน้ำทิ้งของโรงงาน อุตสาหกรรมและเกษตรกรรม
2.3 ก๊าซ
ก๊าซที่ท้าให้เกิดมลพิษ คือ ไฮโดรเจนซัลไฟด์และมีเทน
ไฮโดรเจนซัลไฟด์
เป็นก๊าชไม่มีสี มีกลิ่นเหมือนไข่เน่า ไม่ติดไฟ เกิดจาก การปนเปื้อนของ
สารอินทรีย์จำนวนมาก ส่งผลให้มีออกซิเจนละลายต่ำจนเกิดการย่อย สลายในสภาวะไม่มีออกซิเจน
มีเทน
เป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ติดไฟได้ง่าย เมื่อผสมกับอากาศแล้วจุด ระเบิดได้และมีพิษ เกิดจากการย่อยสลายในสภาวะไม่มีออกซิเจน ก๊าซมีเธนเป็นตัวบ่งชี ว่าน้ำนั้นไม่มีออกซิเจนละลายน้ำและมีการปนเปื้อนสาอินทรีย์มาเป็นเวลานาน
3. ลักษณะทางชีวภาพ
ใช้จุลินทรีย์เป็นตัวบ่งชี้มลพิษของน้ำ จุลินทรีย์ที่นิยมตรวจหา คือ
3.1 ปริมาณโคลิฟอร์มทั้งหมด (Total Coliform)
โคลิฟอร์มเป็นกลุ่มของแบคทีเรีย ที่มีอยู่ในลำใส้ของสัตว์เลือดอุ่นและถูกปล่อยออกมาพร้อมกับอุจจาระ น้ำบริโภคกำหนด ให้มีค่าพีเอ็นของโคลิฟอร์มไม่เกิน 2.2 ต่อน้้า 100 มิลลิลิตร
3.2 แบคทีเรียกลุ่มฟิคอลโคลิฟอร์ม (Fecal Coliform)
ที่สำคัญคือ อี.โคไล (Escherichia coli (E.coli]) ซึ่งมีความทนทานต่อคลอรีนมากกว่าจุลินทรีย์ชนิดอื่น น้ำบริโภคต้องไม่พบฟิคอลโคลิฟอร์ม
การบำบัดน้ำเสีย (Waste Water treatment)
1. การบำบัดทางกายภาพ (Physical treatment)
เป็นวิธีการแยกเอาสิ่งเจือปน ออกจากน้ำเสีย
เช่น ของแข็งขนาดใหญ่ กระดาษ พลาสติก เศษอาหาร กรวด ทราย ไขมัน และน้้ามัน โดยใช้อุปกรณ์ในการบำบัดทางกายภาพ คือ ตะแกรงดักขยะ ถังดักกรวด ทราย ถังดักไขมันและน้้ามัน และถังตกตะกอน เป็นการลดปริมาณของแข็งทั้งหมดที่มีใน น้ำเสีย
2. การบำบัดดทางเคมี (Chemical treatment)
เป็นวิธีบ้าบัดน้ำเสียโดยใช้กระบวนการ ทางเคมี
เพื่อทำปฏิกิริยากับสิ่งเจือปนในน้ำเสีย วิธีนี้ใช้ส้าหรับน้ำเสียที่มีส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ค่า pH สูงหรือต่ำเกินไป มีสารพิษ มีโลหะหนัก มีของแข็งแขวนลอยที่ตกตะกอนยาก มีไขมันและน้ำมันที่ละลายน้ำ มีในโตรเจนหรือฟอสฟอรัสสูง มีเชื้อโรคปนเปื้อนในน้ำ อุปกรณ์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียโดยวิธีทางเคมี ได้แก่ ถังกวนเร็ว ถังกวนช้า ถังตกตะกอน ถังกรอง และถังฆ่าเชื้อโรค
3.การบำบัดทางชีวภาพ (Biological treatment)
เป็นวิธีบำบัดน้ำเสียโดยใช้จุลินทรีย์ในการกำจัด
สิ่งเจือปนในน้ำเสียโดยเฉพาะสารคาร์บอนอินทรีย์ ไนโตรเจน และ ฟอสฟอรัส ความสกปรกเหล่านี้จะถูกใช้เป็นอาหารและเป็นแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ ในยังเลี้ยงเชื้อเพื่อการเจริญเติบโต ท้าให้น้ำเสียมีค่าความสกปรกลดลง ระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยหลักการทางชีวภาพ เช่น ระบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ (Activate Sludge)
กรรมวิธีกำจัดน้ำเสีย มี 2 วิธี
1.การกำจัดโดยไม่ใช้กรรมวิธี
การทำให้เจือจาง
โดยนำน้ำเสียปล่อยทิ้งในแม่น้ำลำคลอง หนอง บึง ทะเล ต้องพิจารณาให้มีอัตราส่วนของน้ำเสียต่อน้ำอย่างน้อย 1 ต่อ 50 ส่วน
การปล่อยทิ้งบนพื้นดิน
การปล่อยให้น้ำซึมลงใต้ดิน ท้าได้โดยต่อท่อส่งน้ำทิ้งให้ไหลซึมลงใต้ดิน
การปล่อยน้ำให้ไหลไปตามพื้นดิน แล้วปล่อยให้ระเหยไปในอากาศและ ซึมลงไปในดิน
2. การกำจัดโดยใช้กรรมวิธี
การปรับปรุงสภาพขั้นแรก
เป็นวิธีแยกเอาของแข็งแขวนลอยออกจากน้ำและการตกตะกอนขั้นแรกโดยปล่อยน้ำทิ้งเข้าไปในถังตกตะกอนและให้มีระยะกักประมาณ 1-2 ชั่วโมง
การปรับปรุงสภาพขั้นที่สอง
เป็นการปรับปรุงทางชีววิทยาโดยใช้จุลินทรีย์ทำลายสารอินทรีย์ที่ละลายในน้ำทิ้ง
การกฎจัดตะกอน
การย่อยดังกล่าวจะเกิดก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้น สามารถใช้เป็นแก๊สหุงต้มได้ ตะกอนที่ย่อยแล้วต้องถูกนำไปทำให้แห้งบนลานทรายตกตะกอนหรือเครื่องกรองสูญญากาศ ตะกอนที่แห้งแล้วสามารถใช้เป็นปุ๋ยหรือทิ้งโดยไม่ก่อให้เกิดกลิ่นรำคาญ
สุขาภิบาลอาหาร
หมายถึง
กระบวนการจัดการและควบคุมอาหาร ภาชนะ อุปกรณ์ ผู้สัมผัสอาหาร และสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องในทุกกิจกรรมตั้งแต่ การเตรียมวัตถุดิบ การขนส่ง การปรุง การเก็บรักษา การถนอมอาหาร และการจ้าหน่ายอาหาร เพื่อให้อาหารสะอาด ปลอดภัยจากเชื้อโรค
1. สถานที่ประกอบและจำหน่ายอาหาร
ต้องสะอาด เป็นระเบียบและจัดเป็นสัดส่วน
โต๊ะเตรียม-ปรุงอาหาร และผนังเตาไฟต้องทำด้วยวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย (เช่น สแตนเลส กระเบื้อง) มีสภาพดี
ไม่เตรียมหรือปรุงอาหารบนพื้นและบริเวณหน้าหรือในห้องน้้า
2. ตัวอาหาร น้ำ น้ำแข็ง เครื่องดื่ม
อาหารสดต้องล้างให้สะอาดก่อนนำมาปรุงหรือเก็บ การเก็บอาหารประเภท กางๆต้องแยกเก็บเป็นสัดส่วน ไม่ปะปนกัน วางสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม. หรือเก็บใน เป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ดิบเก็บในอุณหภูมิที่ต่้ากว่า 5 องศาเซลเซียส
อาหารที่ปรุงสำเร็จแล้ว เก็บในภาชนะที่สะอาดมีการปกปิด วางสูงจากพื้น อย่างน้อย 60 ซม.
ใช้สารปรุงแต่งอาหารที่ปลอดภัย มีเครื่องหมายรับรองอาหารของทางราชการ
อาหารและเครื่องดื่มต้องอยู่ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท มีคุณภาพดี เก็บเป็นระเบียบ วางสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม.
3. ภาชนะอุปกรณ์
ภาชนะอุปกรณ์ เช่น จาน ชาม ช้อม ส้อม ต้องท้าด้วยวัสดุที่ไม่เป็นอันตราย
-ล้างภาชนะโดยใช้น้ำยาล้างภาชนะ แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด 2 ครั้ง หรือล้างด้วยน้ำไหล
-ใช้อ่างล้างภาชนะอุปกรณ์ที่มีท่อระบายน้ำที่ใช้การได้ดี อย่างน้อย 2 อ่าง อุปกรณ์การล้างต้องวางสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม.
จาน ชาม ถ้วย แก้วน้ำ ฯลฯ เก็บคว่ำในภาชนะ/ตะแกรงวางสูงจากจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม.
ช้อน ส้อม ตะเกียบ วางตั้งเอาด้ามขึ้นในภาชนะโปร่ง สะอาด หรือวางเป็นระเบียบในภาชนะโปร่งสะอาดและมีการปกปิด เก็บสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม.
4. การรวบรวมขยะและน้ำโสโครก
ใช้ถังขยะที่ไม่รั่วซึม และมีฝาปิด
มีท่อหรือรางระบายน้ำที่มีสภาพดีไม่แตกร้าว ระบายน้ำจาก
ห้องครัวและที่ล้างภาชนะอุปกรณ์ลงสู่ท่อระบายหรือแหล่งบำบัดได้ดี และต้องไม่ระบายน้ำเสียลงสู่แหล่งน้้าสาธารณะโดยตรง
มีบ่อดักเศษอาหารและดักไขมันที่ใช้การได้ดีก่อนระบายน้ำเสียทิ้ง
5.ห้องน้ำห้องส้วม
ห้องน้้า ห้องส้วมต้องสะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็น มีน้ำใช้เพียงพอ
ห้องส้วมแยกเป็นสัดส่วน ประตูไม่เปิดสู่บริเวณที่เตรียม-ปรุงอาหาร และเก็บภาชนะอุปกรณ์ หรือ
ที่เก็บอาหาร
มีอ่างล้างมือที่ใช้การได้ดีอยู่ในบริเวณห้องส้วม และมีสบู่ใช้ตลอดเวลา
6.ผู้สัมผัสอาหาร (ผู้ปรุง ผู้เสิร์ฟ)
มีสุขนิสัยที่ดี เช่น ตัดเล็บให้สั้น ไม่สูบบุหรี่ขณะปฏิบัติงาน แต่งกายสะอาด สวมเสื้อมีแขน ผูกผ้ากันเปื้อนที่สะอาด สวมหมวกหรือเน็ทคลุมผม
ล้างมือให้สะอาดก่อนเตรียม-ปรุงอาหาร ใช้อุปกรณ์ในการหยิบจับอาหารที่ปรุงส้าเร็จแล้ว
หากมีบาดแผลที่มือต้องปกปิดแผลให้มิดชิด หลีกเลี่ยงการท้างานที่มีโอกาสสัมผัสอาหาร
ผู้สัมผัสอาหารที่เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถติดต่อไปยังผู้บริโภคโดยมีน้และอาหารเป็นสือ ให้หยุดปฏิบัติงานจนกว่าจะรักษาให้หายขาด
การควบคุมสัตว์อาร์โทรปอดและสัตว์กัดแทะ
1) นำโรคโดยตรง
เกิดขึ้นเมื่อถูกกัดหรือต่อยจะมีการถ่ายเชื้อโรคเข้าสู่มนุษย์ เช่น ยุงน้าเชื้อไข้มาลาเรีย ไข้เลือดออก
2) การนำโรคโดยการเป็นสื่อสัมผัส
เนื่องจากแมลงมีขนเมื่อหากินในที่สกปรกจะเป็นสิ่งนำเชื้อโรคไป
ปะปนกับอาหารหรือเครื่องดื่มท้าให้แพร่โรคได้ เช่น แมลงวัน แมลงสาบ เป็นพาหะนำโรคอุจจาระร่วง
แมลงและสัตว์นำโรคที่ต้องควบคุมและป้องกัน
ยุง
ยุงที่เป็นปัญหาสาธารณสุข คือ
ยุงกันปล่อง (พาหะนำเชื้อไข้มาเลเรีย)
ยุงลาย (นำเชื้อไข้เลือดออก ไข้เหลือง โรคเท้าช้าง)
ยุงรำคาญ (นำเชื้อไข้สมองอักเสบ)
ยุงเสือ (นำเชื้อโรคเท้าช้าง ไข้เหลือง ไข้สมองอักเสบ)
วิธีการควบคุมยุง มีดังนี
1. การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์
โดยการปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
1.1 การระบายน้ำ
อาจทำเป็นร่องระบายน้ำ ทางระบายน้ำใต้ดิน เพื่อให้น้ำไหลสะดวก ไม่มีน้ำขัง
1.2 การถมที่
อาจถมด้วยดิน ขี้เถ้า แกลบ ขี้เลื่อย หรือวัสดุอื่นที่ไม่บูดเน่า
1.3 การให้สุขศึกษาแก่ประชาชนเพื่อก้าจัดแห
2. การควบคุมยุงตามระยะต่างๆของวงจรชีวิตยุง
2.1 ระยะไข่
ทำได้โดยการขัดล้างตามผิวภาชนะที่น้ำขังต่างๆ
2.2 ระยะลูกน้ำและตัวโม่ง
เป็นวิธีกำจัดยุงที่ได้ผลดีกว่าระยะอื่นๆ เนื่องจาก ลูกน้ำและตัวโม่งอยู่ในภาชนะขังน้ำต่างๆทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกบ้าน
3. ระยะตัวเต็มวัยหรือยุง
กำจัดได้หลายวิธี ได้แก่ การพ่นสารเคมี การใช้กับดักยุง การป้องกันมิให้ยุงกัดโดยใช้มุ่งลวด นอนกางมุ่ง ใช้ยาทากันยุง หรือใช้ยาจุดไล่ยุง
แมลงวัน
แมลงวัน ที่เป็นปัญหาต่อการสาธารณสุข คือ แมลงวันบ้านและ แมลงวันหัวเขียว ซึ่งเป็นพาหะน้าโรคระบบทางเดินอาหารร้ายแรงหลายชนิดมาสู่คน เช่น โรคอุจจาระร่วง บิด โปลิโอ ไทฟอยด์
อหิวาตกโรค การควบคุมและป้องกันแมลงวัน
ใช้หลักการ ดังนี้
1. การควบคุมแมลงวันภายในอาคารและที่พักอาศัย
1.1 กำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฎิกูลอย่างเหมาะสม
เช่น เก็บกักมูลฝอยเปียกภายในบ้านโดยการเก็บไว้ในถุงพลาสติกซึ่งบรรจุในถังโลหะหรือถังพลาสติกที่มีฝาปิด
1.2 ใช้วิธีทางกลและทางกายภาพ
เช่น ประตูหน้าต่างต้องมีตะแกรงหรือมุ่ง ลวดกันไว้
1.3 ใช้วิธีทางเคมี
โดยการใช้ยาฆ่าแมลงวันตัวอ่อนและตัวแก่
2. การป้องกันและควบคุมแมลงวันในชุมชน
2.1 การบำรุงรักษาความสะอาดในสถานที่ต่างๆ
เช่น มีตู้กับข้าวหรือภาชนะ ปิดอาหารป้องกันแมลงวันตอม เช่น ฝาชี ใช้ตาข่ายกันแมลงวัน
2.2 การมีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลตามหลักสุขาภิบาล
โดยไม่ให้มีแมลงวันเข้าไป สัมผัสกับสิ่งปฏิกูล เช่น หลุมเก็บกักสิ่งปฏิกูลต้องปิดมิดชิดหรือมีน้ำหล่อที่หัวส้วม ท่อ ระบายอากาศควรมีตะแกรงครอบเพื่อไม่ให้แมลงวันเข้าสู่หลุมส้วมได้
2.3 มีการกำจัดมูลฝอยในชุมชนที่ถูกต้องและเหมาะสม
เช่น เก็บกวาดถนนไม่ ให้เกิดมูลฝอยตกค้างเกลื่อนกลาดตามท้องถนน
2.4 จัดให้มีการบำบัดและกำจัดน้ำเสียในชุมชนที่ถูกต้องและเหมาะสม
ไม่ปล่อยให้ไหลนอง
ตามพื้นเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวัน
แมลงสาบ
แมลงสาบมักอาศัยหลบซ่อนตัวอยู่ตามซอกมุม ขอบประตูหน้าต่าง รอยต่อของอุปกรณ์
ต่างๆ ด้วยเหตุนี้แมลงสาบจึงเป็นพาหะนำโรคติดต่อในระบบทางเดินอาหารเป็นส่วนใหญ่ เช่น ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค หนอนพยาธิ วิธีจัดการและควบคุมแมลงสาบ
มีดังนี้
1. ป้องกันไม่ให้แมลงสาบเข้าสู่ตัวอาคาร
โดยใช้ตะแกรงหรือติดมุ่งลวดตามประตู หน้าต่าง ท้าลายที่ซ่องสุม เก็บกวาดบริเวณรอบบ้านให้สะอาด อุดช่องว่างหรือรอยแยกต่าง ๆ ที่จะเข้าสู่อาคาร
2. การควบคุมป้องกันหนูในชุมชน
โดยการออกกฎหมายหรือข้อบังคับเพื่อให้ ประชาชนตระหนักถึงการดูแลบ้านและสถานที่สาธารณะให้สะอาด มีการกำจัดขยะ มูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพ ก้าจัดแหล่งที่อยู่
อาศัยและอาหารของหนู เช่น รังหนู กองมูลฝอย รักษาความสะอาดของคอกสัตว์เลี้ยง ใช้กับดักและเหยื่อล่อ
การกำจัดขยะมูลฝอย
1. ขยะมูลฝอยเปียก
ได้แก่ เศษอาหาร พืชผัก อินทรียวัตถุอื่นๆที่สามารถย่อย สลายเน่าเปื่อยได้ง่าย มีความชื้นสูง และส่งกลิ่นเหม็นได้อย่างรวดเร็ว
2. ขยะมูลฝอยแห้ง
ได้แก่ เศษกระดาษ เศษผ้า แก้ว โลหะ ไม้ พลาสติก ยาง ทั้งที่ เผาไหม้และ เผาไหม้ไม่ได้
3. ขยะมูลฝอยอันตราย
ได้แก่ ของเสียที่เป็นพิษมีฤทธิ์กัดกร่อนและระเบิดได้ง่าย ต้องใช้วิธีทำลายเป็น
พิเศษเช่น สารฆ่าแมลง ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่รถยนต์ หลอดไฟ
การเก็บรวบรวมขยะมูลฝอย
1. ถังสีเขียว
ใช้ส้าหรับรองรับขยะมูลฝอยที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว สามารถนำไปทำปุ๋ยหมักได้ เช่น ผัก ผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้
2. ถังสีเหลือง
ใช้ส้าหรับรองรับขยะมูลฝอยที่สามารถน้ามารีไซเคิลหรือขายได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ
3. ถังสีแดง
ใช้ส้าหรับรองรับขยะมูลฝอยที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ภาชะบรรจุสารอันตรายต่างๆ
4. ถังสีฟ้า
ใช้รองรับขยะมูลฝอยที่ย่อยสลายไม่ได้ ไม่เป็นพิษ และไม่คุ้มค่าในกา รีไซเคิล
วิธีการกำจัดขยะมูลฝอย
การทิ้งหรือถมที่
2.การเผา
การฝัง
การนำขยะไปเลี้ยงสัตว
การหมัก
การกำจัดสิ่งปฏิกูล
1) สิ่งปฏิกูลต้องไม่ปนเปื้อนต่อผิวดิน
2) สิ่งปฏิกูลต้องไม่ปนเปื้อนต่อน้ำใต้ดิน
3) สิ่งปฏิกูลต้องไม่ปนเปื้อนต่อน้้าผิวดิน
4) ต้องไม่เป็นที่อยู่อาศัยของแมลงและสัตว์ต่างๆ
5) ต้องไม่มีการขนถ่ายอุจจาระสด หรือหากจำเป็นต้องขนถ่ายให้ทำการขนถ่ายน้อยที่สุด
6) ต้องปราศจากกลิ่นเหม็นรบกวนหรือสภาพที่น่ารังเกียจ
ส้วมซึม
ส้วมหลุม
ส้วมถังเท
ส้วมถังเคมี
ส้วมถังเกรอะ
สุขาภิบาลที่พักอาศัย
1. ความต้องการพื้นฐานทางด้านร่างกาย
การระบายอากาศ (Ventilation)
เสียงรบกวน (Noise)
แสงสว่าง (Lighting)
2. ความต้องการพื้นฐานทางด้านจิตใจและสังคม
3. การป้องกันโรคติดต่อ
4. การป้องกันอุบัติเหตุอุบัติเหตุ
อุบัติเหตุจากการพลัดตกหกล้ม
อุบัติเหตุจากอัคคีภัย
อุบัติเหตุจากไฟฟ้า