Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ - Coggle Diagram
การพยาบาลอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ
ควาหมายของอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย” (Occupational Health and Safety) หมายถึง การดูแลสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้ประกอบอาชีพ ซึ่งรวมถึงการปูองกันอันตรายและ ส่งเสริมสุขภาพอนามัย เพื่อคงไว้ซึ่งสภาพร่างกายและ จิตใจที่สมบูรณ์ ตลอดจนสถานะความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ ประกอบอาชีพทั้งมวล
ปัญหาสุขภาพของคนทำงาน
โรคจากการประกอบอาชีพ
หมายถึง โรคที่เกิดจากการ ทํางานสัมผัส กับปัจจัยคุกคามสุขภาพอนามัย เช่น คนงานโรงงานผลิตแบตเตอรี่ที่สัมผัส สารตะกั่วในงาน แล้วปุวยเป็นโรค พิษตะกั่ว คนงานที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีการสูญเสีย การได้ยินที่เกิดจากการทํางานสัมผัสเสียง เป็นต้น
(1) โรคที่เกิดขึ้นจากสารเคมี
ตัวอย่างเช่น
1) เบริลเลียมหรือสารประกอบของเบริลเลียม
2) แคดเมียม หรือสารประกอบของแคดเมียม , วาเนเดียม หรือสารประกอบของวาเนเดียม
3) ฟอสฟอรัส หรือสารประกอบของฟอสฟอรัส , พลวง หรือสารประกอบของพลวง
(2) โรคที่เกิดขึ้นจากสาเหตุทางกายภาพ
โรคหูตึงจากเสียง
โรคจากความสั่นสะเทือน
โรคจากความกดดันอากาศ
โรคจากรังสีแตกตัว
โรคจากรังสีความร้อนม, โรคที่เกิดขึ้นจากสาเหตุทางกายภาพอื่น ซึ่งพิสูจน์ได้ว่ามีสาเหตุ เนื่องจากการทํางาน
(3) โรคที่เกิดขึ้นจากสาเหตุทางชีวภาพ ได้แก่ โรคติดเชื้อ หรือโรคปรสิตเนื่องจากการทำงาน
(4) โรคระบบหายใจที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน
โรคกลุ่มนิวโมโคนิโอสิส เช่น ซิลิโดสิส แอสเบสโทลิส, โรคปอดจากโลหะหนัก, รคปอดจากอะลูมิเนียม หรือสารประกอบของอะลูมิเนียม, โรคระบบหายใจอื่น ซึ่งพิสูจน์ได้ว่ามีสาเหตุเนื่องจากการ เป็นต้น
(5) โรคผิวหนังที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน
1) โรคผิวหนังที่เกิดจากสาเหตุทางกายภาพ เคมี หรือชีวภาพอื่น ซึ่งพิสูจน์ได้ว่ามีสาเหตุเนื่องจากการทํางาน
2) โรคด่างขาวจากการทํางาน
3) โรคผิวหนังอื่น ซึ่งพิสูจน์ได้ว่ามีสาเหตุเนื่องจากการทํางาน
(6) โรคระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูก ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานหรือสาเหตุจาก ลักษณะงานที่ จำเพาะหรือมีปัจจัยเสี่ยงสูงในสิ่งแวดล้อมการทำงาน
(7) โรคมะเร็งที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานโดยมีสาเหตุจาก
อสเบสตอส (ใยหิน) น้ามันดิน หรือผลิตภัณฑ์จากน้ามันดิน เช่น น้ามัน เบนซิดีน และเกลือของสารเบนซิดีน ถ่านหิน น้ามันเกลือแร่ รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากการกลั่น อนุพันธ์ของไนโตรและอะมิโนของเบนซิน เนื่องจากการทํางาน
(8) โรคอื่น ๆ ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงาน
อุบัติเหตุการบาดเจ็บจากการประกอบอาชีพ
หมายถึง อุบัติเหตุที่ เกิดขึ้นใน ภาวะการจ้างงานที่ทําให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต เครื่องจักร สิ่งของ อาจจะเกิดขึ้นในทันทีทันใด หรือในช่วง เวลาถัดไป โดยอุบัติเหตุนั้นอาจเกิดขึ้นในสถานที่ทํางาน หรือนอกสถานที่ทํางานก็ได้
การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe act) หมายถึง การกระทําหรือการปฏิบัติงานของคนมีผลทํา ให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อตนเองและผู้อื่น เช่น การทํางานขาดความรอบคอบ ขาดความระมัดระวัง ใช้เครื่อง ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ไม่ถูกวิธี
สภาพของงานที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe condition) หมายถึง สภาพของโรงงงานอุตสาหกรรม สภาพเครื่องจักร สภาพกระบวนการผลิต อุปกรณ์การผลิต ไม่มีความปลอดภัยที่เพียงพอ ส่งผลให้คนทํางาน ต้องเกิดอุบัติเหตุ เช่น การออกแบบโรงงานไม่สมบูรณ์ วางผังโรงงานไม่ถูกต้อง โครงสร้างอาคารชํารุด
โรคเกี่ยวเนื่องกับงาน
หมายถึง่นมีส่วนส่งเสริมให้ คนทํางานเจ็บปุวย ทําให้โรคที่เป็นอยู่กําเริบ รุนแรงขึ้น หรือทําให้ระยะแฝงของโรคสั้นลงหรือปุวยเป็นโรคเร็วขึ้น
ปัจจัยเกี่ยวกับบุคคล (Workers)
1.1 เพศ การที่เพศหญิงและชายมีลักษณะทางสรีระวิทยา พฤติกรรมสุขภาพ และลักษณะการทํางาน ต่างกันเป็นสาเหตุให้มีโอกาสเกิดการเจ็บปุวยด้วยโรคบางโรคต่างกัน
1.2 ความรู้และระดับการศึกษา ผู้ที่มีการศึกษาสูงสามารถใช้แหล่งประโยชน์ได้ดีกว่าผู้ที่มีระดับการศึกษาที่ต่ํากว่า ทําให้มีการเรียนรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองได้ดี
1.3 อายุการที่มีอายุต่างกันทําให้มีโอกาสเกิดการเจ็บปุวยด้วยโรคที่แตกต่างกัน
1.4 พฤติกรรมสุขภาพ
1.5 ความไวต่อการเกิดโรค คนทํางานที่ปุวยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง
ปัจจัยเกี่ยวกับงาน (Working Condition)
เช่น การทํางานแบบซ้ําซาก เช่น งานทอผ้าด้วยมือ งานกวาดถนน พนักงานพิมพ์ดีด มี โอกาสเกิดการบาดเจ็บสะสมของข้อมือ (Repetitive disorders หรือ Cumulative disorders) รวมถึงการ บาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
ปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงาน (Working environment)
3.1 ปัจจัยคุกคามด้านกายภาพ (Physical hazards)
3.1.1 ความร้อน ากภายในร่างกายโดยจะได้รับจากกระบวนการเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย (Metabolism) และจากภายนอกร่างกาย คือ ได้รับจากสภาพแวดล้อมในการทํางานEnvironmental heat) เช่น สภาพการ ทํางาน
3.1.2 ความเย็น การทํางานในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำมาก เช่น อุตสาหกรรมห้องเย็น ความ เย็นเกินไปเป็นสาเหตุให้ร่างกายเกิด ความเครียด ร่างกายจะปรับตัวเพื่อปูองกันการสูญเสียความร้อนออกจากร่างกาย
3.1.3 เสียง การ ได้รับเสียงดังเกินกว่ามาตรฐานเป็นเวลานานจะทําให้เกิด ความพิการของหูอย่างถาวร
3.1.4 ความกดดันบรรยากาศที่ผิดปกติการเปลี่ยนแปลงระดับความกดดันของบรรยากาศจะ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของก๊าซในร่างกาย
3.1.5 ความสั่นสะเทือน เกิดจากการเคลื่อนไหวของเครื่องมือและเครื่องจักรกล เช่น เครื่องเจาะ ถนนเกิด อันตรายต่อ ข้อต่อ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เส้นประสาท หลอดเลือด ถ้าอาการเกิดขึ้นมากจะทําให้อวัยวะ ส่วนนั้น เมื่อยล้า เจ็บปวด เวียนศีรษะ คลื่นไส้ เป็นตะคริว
3.1.6 รังสี
1) รังสีที่แตกตัวจะก่อให้เกิดอันตรายได้มาก เช่น รังสีแกมม่า รังสีเอกซ์ อนุภาคแอลฟา
2) รังสีชนิดที่ไม่แตกตัว ได้แก่ แสงอุลตราไวโอเลต อินฟราเรท ไมโครเวฟ เป็นต้น
3.2 ปัจจัยคุกคามด้านชีวภาพ (Biological hazards)
หมายถึง การที่ร่างกายได้รับการติดเชื้อจากการทํางานที่ต้องสัมผัสกับ ตัวเชื้อโรคต่างๆ (Infectious agents) ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ปรสิต แล้วทําให้เกิดการเจ็บป่วยขึ้น ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ เช่น หวัด วัณโรค
3.3 ปัจจัยคุกคามด้านเคมี (Chemical hazards)
สารเคมีที่ใช้ในกระบวนการ ผลิตในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ตัวทําละลาย ฝุุน ฟูม ควัน ก๊าซ ละออง หรือไอระเหย สารเคมี เข้าสู่ร่างกายทางการหายใจ การ รับประทาน และการสัมผัสทางผิวหนัง เป็นสาเหตุให้คน ทํางานเกิดโรคและความเจ็บปุวยทั้งเฉียบพลัน
1) โรคพิษของสารหนู (Arsenic poisoning) เกิดจากการสัมผัสสารหนูเข้าสู่ ร่างกายทางการ หายใจเอาฝุุนผงของสารหนูเข้าไป การกิน และการดูดซึมผ่านทางผิวหนัง
2) โรคพิษของสารตะกั่ว (Lead poisoning) ตะกั่วเป็นโลหะที่ใช้ในอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่จะเข้า สู่ร่างกายโดยการหายใจ เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปสะสมในกระดูก ระบบไหลเวียนโลหิต กล้ามเนื้อ ก่อให้เกิดพิษ ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง
3) โรคจากพิษของสารแคดเมียม (Cadmiun poisoning) แคดเมียมเป็นโลหะที่มีคุณสมบัติอ่อน นุ่ม งอได้ มีสีเงินปนขาว ทนต่อการกัดกร่อน คนงานที่ทํางานเชื่อม หลอม หรือเคลือบโลหะด้วยแคดเมียมเสี่ยง ต่อการหายใจเอาไอระเหยของแคดเมียมเข้าไป ทําให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อเมือก เป็นอันตรายต่อปอด
4) โรคพิษจากสารปรอท (Mercury poisoning) ปรอทเป็นโลหะเหลวที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมไฟฟ้า ยากําจัดแมลง เป็นผลให้การทํางานของอวัยวะต่างๆถูกทําลาย สูญเสียหน้าที่ไป ปรอทจะทําลายไต เยื่อบุลําไส้
3.4 ปัจจัยคุกคามด้านการยศาสตร์ (Ergonomics)
หมายถึง การศึกษาลักษณะของ มนุษย์เพื่อออกแบบที่อยู่อาศัย และสิ่งแวดล้อมในการทํางาน ให้เหมาะสมกับคนที่ทํางาน หรือเป็นการศึกษา คนจากสิ่งแวดล้อมในการทํางาน เพื่อนําไปสู่การออกแบบปรับปรุงงาน และการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมการทํางานให้เหมาะสมกับคน
การทํางานในสภาพการทํางานที่ไม่ปลอดภัยอาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ หรือ ไม่สุข สบายได้ เช่น การยกของโดยไม่ใช้รถยก การทํางานบนพื้นที่มีลักษณะเปียกลื่น
โดยมีปัจจัยที่สําคัญคือการจัด สถานที่ทํางานไม่เหมาะสม เช่น ลักษณะเก้าอี้เตี้ยหรือสูงเกินไป ไม่มีที่พักแขน การที่คนทํางานอยู่ในท่าที่ต้อง ก้มหรือเงยเป็นระยะเวลานาน
3.5 ปัจจัยคุกคามด้านจิตสังคม
ด้านกายภาพ
การบาดเจ็บในบุคลากรโรงพยาบาลที่พบมาก ได้แก่ เข็มฉีดยาทิ่มตํา แผลพุพอง หู เสื่อมจากการสัมผัสเสียงดัง ความผิดปกติของยีนส์จากการสัมผัสรังสี
ด้านชีวภาพ
การสัมผัสปัจจัยคุกคามด้านชีวภาพที่พบมาก ได้แก่ การติดเชื้อไวรัสในระบบ ทางเดินหายใจ การติดเชื้อพวกสเตรป หัด หัดเยอรมัน คางทูม วัณโรค มีส่วนน้อยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือ HIV จากการถูกเข็มทิ่มตํา
ด้านสารเคมี
มีการใช้สารเคมีหลายชนิดในโรงพยาบาล เช่น ยารักษาโรค ยาระงับความรู้สึกที่ ใช้ ในห้องผ่าตัด น้ํายาฆ่าเชื้อโรค ปรอท เคมีบําบัด ก่อให้เกิดโรคในระบบผิวหนัง ความผิดปกติทางพันธุกรรม
ด้านการยศาสตร์
ปัจจัยด้านการศาสตร์ที่มีผลต่อภาวะสุขภาพของคนทํางานได้แก่ ลักษณะการ ทํางานที่ต้องเคลื่อนไหวด้วยท่าทางซ้ําๆ ท่าทางผิดจากธรรมชาติ การทํางานที่ต้อง ออกแรงกด ดัน ยก ดึง แบก หาม ทูน ส่งผลให้เกิดแรงกดดัน ดึงรั้งต่อเส้นเลือด กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและกระดูก เช่น การยกผู้ปุวย ก่อให้เกิดปัญหาของระบบโครง ร่างและกล้ามเนื้อ เช่น ปวดหลัง ปวดเอว
ด้านจิตสังคม
การทํางานในโรงพยาบาลอาจก่อให้ความเครียด วิตกกังวล ไม่มีสมาธิในการทํางาน รวมถึงก่อให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร อ่อนล้า ปวดศีรษะ โรคหัวใจ
การป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ
การค้นหาสิ่งคุกคามสุขภาพ โดยการศึกษาขั้นตอนการผลิต วัสดุที่ใช้ในการผลิต และแผนผังของ สถานประกอบกิจการ
การค้นหาปัจจัยคุกคามสุขภาพที่เกิดจากการทํางาน เป็นการเฝูาระวังสิ่งแวดล้อมในการทํางาน ได้แก่ การสํารวจตรวจสอบสภาพการทํางานและสิ่งแวดล้อมในการทํางาน เพื่อประเมินความเสี่ยงที่อาจ ก่อให้เกิดการเจ็บปุวยและบาดเจ็บจากการทํางาน
การใช้มาตรการควบคุม มาตรการในการปูองโรคและการบาดเจ็บจากการทํางาน
3.1 มาตรการที่ใช้กับสถานประกอบการ ประกอบด้วยการควบคุมปูองกันโดย การประยุกต์ใช้ ความรู้ทางด้านวิศวกรรม
การควบคุมที่ต้นตอหรือแหล่งกำเนิด (Source)
กําจัดหรือเปลี่ยนแปลง เครื่องมือเครื่องจักร วัสดุ อุปกรณ์ ที่เป็น อันตราย ไปใช้สิ่งที่มีความ ปลอดภัยมากกว่า
การเลือกวัตถุดิบหรือสารเคมีที่ไม่ก่อให้เกิดพิษแทนการใช้วัตถุดิบ หรือสารเคมีที่มีพิษ เช่น การใช้ วัตถุดิบอื่นทดแทนแอสเบสตอสหรือแร่ใยหิน
ใช้กระบวนการผลิตที่มีอันตรายน้อยทดแทนกระบวนการผลิตที่มีอันตรายมาก
ใช้วิธีปิดปกคลุมกระบวนการผลิตหรือเครื่องจักรให้มิดชิดเพื่อ ปูองกันไม่ให้มลพิษกระจายไปสู่ บริเวณที่มีคนทํางาน
การใช้ระบบระบายอากาศเฉพาะแห่งเพื่อดูดจับสารพิษ ฝุุน ไอควัน หรือไอน้ําจากบริเวณ แหล่งกําเนิด
3.1.2 การควบคุมที่ทางผ่าน (path)
เป็นวิธีปูองกันเพื่อมิให้ปัจจัยคุกคามที่มาจากแหล่งกําเนิดไปสู่ ตัวคนทํางาน วิธีนี้มีประสิทธิภาพรองจากวิธีแรก เมื่อใช้วิธีแรก แล้วไม่สามารถควบคุมปัจจัยอันตรายให้อยู่ใน ระดับที่ปลอดภัยได้
3.2 มาตรการที่ใช้กับผู้ประกอบอาชีพ
การให้ความรู้และคำแนะนำ
การใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Devices) ด้แก่ การให้คนทํางานใส่อุปกรณ์ปูองกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น ปลั๊กอุดหู ที่ครอบหู หน้ากาก ถุงมือ
การบริหารจัดการ การบริหารจัดการให้เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพ ในการทํางาน (Administrative Controls) โดยการสร้างพฤติกรรมการทํางานที่ปลอดภัย เพื่อลดการสัมผัสปัจจัยอันตรายใน การทํางาน
การคัดกรองและการเฝ้าระวังการเกิดโรคจากการประกอบอาชีพ (Screening and Surveillance ) ได้แก่การตรวจสุขภาพผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งจะตรวจเมื่อแรกเข้าทํางาน จากนั้นจะมีการตรวจเป็น ระยะๆ ขณะทํางานเป็นการเฝ้าระวังสุขภาพ
หลักการป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุจากการประกอบอาชีพ
วิศวกรรม (Engineering) คือ การใช้หลักและวิชาความรู้ทางด้านวิศวกรรมในทุกแขนง เพื่อ แก้ไขปรับปรุงสภาพการณ์ทางกายภาพต่างๆทุกชนิดที่เกี่ยวข้องให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งานหรือ ปฏิบัติงาน สภาพการณ์ทางกายภาพ
2.การศึกษา (Education) คือ การอบรมและแนะนําพนักงานทุกๆคน ตลอดจนหัวหน้างานและ ผู้เกี่ยวข้องทุกคนในโรงงาน ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย
3.การออกกฎบังคับ (Enforcement) คือ การกําหนดวิธีการทํางาน หรือวิธีการปฏิบัติเพื่อความ ปลอดภัยขึ้นมาเป็นมาตรฐาน พร้อมออกกฎระเบียบและข้อบังคับ ให้พนักงานและผู้เกี่ยวข้องทุกคนได้ปฏิบัติ ตามวิธีการทํางานหรือวิธีการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยนั้น ๆ
ความหมายและความสำคัญของการพยาบาลอาชีวอนามัย
เป็นการพยาบาลเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มุ่งเน้นการส่งเสริม
ปกป้อง และคงไว้ซึ่งสุขภาพของคนทํางาน
ภายใต้บริบทของสภาวะแวดล้อมการทํางานที่ปลอดภัย
และเอื้อ ต่อสุขภาพ รวมถึงการปูองกันผลกระทบทางสุขภาพที่
อาจเกิดขึ้นจากสิ่งคุกคามในการทํางาน
บทบาทหน้าที่ของพยาบาลในงานอาชีวอนามัย
มุ่งเน้นทางด้านการส่งเสริม ป้องกัน
และฟื้นฟูสุขภาพของคนทํางาน ภายใต้สิ่งแวดล้อมการทํางานที่ปลอดภัยและมีสุขอนามัย กษณะการทํางานมีความเป็นอิสระสูงในการตัดสินใจ
บริการพยาบาลอาชีวอนามัย ต้องประกอบด้วยกิจกรรมที่ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ การปูองกัน
โรคและอันตรายจากการทํางาน การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ปฏิบัติงาน
ขอบเขตการทำงานการพยาบาลอาชีวอนามัย
การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สามารถนําหลักการควบคุมและปูองกันโรคมาประยุกต์ใช้ใน
การให้บริการอาชีวอนามัย ดังนี้
การป้องกันระดับปฐมภูมิมุ่งเน้นเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และคงไว้ ซึ่งภาวะสุขภาพของคนทํงาน
การป้องกันระดับทุติยภูมิเป็นการปูองกันในระยะแรกของการเกิดโรคเพื่อค้นหาโรคในระยะ เริ่มแรก ทําให้สามารถให้การรักษาได้ทันท่วงทีและจํากัดความพิการ
การป้องกันระดับตติยภูมิมีจุดมุ่งหมายเพื่อคงไว้ซึ่งความสามารถในการทําหน้าที่ของร่างกาย
การประเมินสุขภาพและเฝ้าระวังสิ่งคุกคามในการทำงาน โดยการตรวจสุขภาพร่างกายก่อนเข้า ทํางานเพื่อจัดลักษณะงานให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล และใช้ในการเฝูาระวังภาวะสุขภาพ ของคนทํางาน
3.การเฝ้าระวังสถานที่ทำงานและการตรวจประเมินปัจจัยคุกคามในการทำงาน โดยการเดินสํารวจ สถานที่ทํางาน กระบวนการผลิต และวัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อค้นหาปัจจัยคุกคามสุขภาพการตรวจวัดระดับหรือปริมาณของปัจจัยคุกคามในสภาพแวดล้อมการทํางาน
การให้บริการระดับปฐมภูมิและการจัดการรายกรณี เป็นการดูแลสุขภาพเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็น โรคและการบาดเจ็บที่เกิดจากการทํางานและปัญหาสุขภาพอื่นๆ
การให้คำปรึกษา เป็นการช่วยเหลือคนทํางานในการแก้ปัญหา เพื่อให้เข้าใจสาเหตุของปัญหา เสนอแนะทางเลือก และให้การสนับสนุน นอกจากนี้พยาบาลยังสามารถให้คําปรึกษาแก่คนทํางาน
การบริหารจัดการ พยาบาลมีบทบาทหน้าที่หลักในการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยในสถาน ประกอบการ โดยจะต้องคํานึงถึงเป้าหมาย
การวิจัย พยาบาลควรทําการวิจัยหรือร่วมดําเนินการวิจัย เพื่อนําผลการวิจัยมาใช้ในการส่งเสริม สุขภาพและปูองกันโรคจากการทํางาน
การจัดการด้านกฎหมายและจริยธรรม การที่สถานประกอบกิจการมีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแล ด้านความปลอดภัยให้แก่คนทํางาน
การประสานการทำงานกับชุมชน การที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในชุมชน อาจส่งผลกระทบต่อ สุขภาพอนามัยของประชาชนที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีวอนามัย
1) พระราชบัญญัติประกันสังคม
2) พระราชบัญญัติเงินทดแทน
3) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
4) พระราชบัญญัติโรงงาน
5) พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย