Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลงานอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับสหสาขาวิชาชีพ - Coggle Diagram
การพยาบาลงานอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับสหสาขาวิชาชีพ
คุณภาพของน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค
คุณภาพของน้ำ 3 ลักษณะ
1. คุณลักษณะทางกายภาพ
คือ ลักษณะของน้ำที่สามารถวิเคราะห์ได้โดยใช้ ประสาทสัมผัส ได้แก่ ความขุ่น สี รสชาด กลิ่น และอุณหภูมิ
2. คุณลักษณะทางเคมี
คือ คุณสมบัติของน้ำที่เกิดจากสารประกอบต่างๆทั้งสารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ และโลหะหนักเจือปน เช่น สารหนู แคดเมียม ไซยาในด์ ตะกั่ว ปรอท สารประกอบเหล่านี้ท้าให้คุณภาพของน้ำเปลี่ยนแปลงไป น้ำที่มีค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ต่ำกว่า 7 จะมีสภาพเป็นกรด (มีรสเปรี้ยว) น้ำที่มีค่าpH สูงกว่า 7 จะมีฤทธิ์เป็นด่าง (มีรสฝาด) น้ำบริสุทธิ์จะมีค่า pH เท่ากับ 7 โดยทั่วไปน้ำดื่มจะมีค่า pH อยู่ในช่วง 6.5 ถึง 8.5
3. คุณลักษณะทางชีวภาพ
จุลินทรีย์เป็นตัวกำหนดคุณลักษณะทางชีวภาพของน้ำ จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคในมนุษย์มีความรุนแรงตั้งแต่เจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยหรือถึงขั้นเสียชีวิต น้ำดื่ม น้ำใช้ในชีวิตประจ้าวันจะต้องไม่มีเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรคปนเปื้อน เช่น แบคทีเรีย โปรโตซัว ไวรัส หนอนพยาธิการตรวจสอบคุณภาพน้าทางชีวภาพนิยมตรวจ หาโคลิฟอร์มแบคทีเรียจ้าพวก Escherichia coli (E.coli) ซึ่งอาศัยในล้าไส้ของคนและสัตว์เลือดอุ่น โดยหากตรวจพบ E.coli ในตัวอย่างน้ำหรืออาหาร หมายความว่าตัวอย่างที่ตรวจสอบนั้น ถูกปนเปื้อนด้วยอุจจาระจึงไม่ปลอดภัยต่อการน้ามาอุปโภคบริโภค
แหล่งน้้าเพื่อการอุปโภคบริโภค มี 3 แหล่ง
1) น้ำฝน
2) น้ำผิวดิน
หมายถึง น้้าที่ขังอยู่บนผิวโลก
3) น้ำใต้ดิน
หมายถึง น้้าที่ซึมแทรกและถูกกักขังอยู่ตามช่องว่างของเม็ดดิน หิน กรวดหรือทราย ซึ่งอยู่ใต้ผิวโลก
การขุดบ่อมี 2 ประเภท
บ่อน้้าตื้น หมายถึง บ่อที่มีความลึกไม่เกิน 10 ฟุต (3 เมตร)
บ่อน้้าลึกหรือบ่อบาดาล หมายถึง หมายถึง บ่อที่มีความลึกเกินกว่า 3 เมตร
การใช้น้ำในการอุปโภคบริโภคจะต้องจัดทำบ่อน้ำให้ถูกหลักสุขาภิบาล
สถานที่ตั้งของบ่อควรเป็นที่สูง น้ำท่วมไม่ถึง อยู่ห่างจากแหล่งทิ้งสิ่งปฏิกูล ห่างจากส้วมตั้งแต่ 30เมตรขึ้นไป กรณีมีเนื้อที่ไม่มากหรือในโรงเรียน บ่อบาดาลควรห่างจากแหล่งโสโครกอย่างน้อย 10 เมตร
บ่อต้องลึกกว่า 3 เมตร บ่อบาดาลจัดว่าเป็นน้ำที่สะอาดเหมาะสำหรับบริโภค เพราะแบคทีเรีย เชื้อโรค และสิ่งสกปรกที่ปนอยู่จะถูกดินกรองเอาไว้ ไม่สามารถซึมผ่านดินลงได้ถึง 3 เมตร
มีวงขอบบ่อเพื่อป้องกันดินพัง ยาหรือฉาบด้วยซีเมนต์รอบๆขอบบอเสนอ และฉาบให้ลึกอย่างน้อย10 ฟุตนับจากผิวดินลงไป เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำจากภายนอกบ่อซึมเข้าไปในบ่อได้
ท้าชานซีเมนต์รอบปากบ่อ รัศมีไม่น้อยกว่า 2 ฟุต (60 เซนติเมตร) นับจากขอบบ่อ
1 more item...
การผลิตน้ำสะอาด
การปรับปรุงคุณภาพน้้าแบ่งเป็น 2 ประเภท
1. การปรับปรุงคุณภาพน้ำทางกายภาพ
1.1 การต้ม
การต้มน้้าให้เดือดประมาณ 20 นาที จะสามารถท้าลายเชื้อโรคและไข่
หนอนพยาธิได้ การต้มยังช่วยปรับปรุงคุณภาพน้้าทางด้านเคมีได้
1.2 การใช้ตะแกรง
มักถูกใช้เป็นกระบวนการแรกของระบบปรับปรุงคุณภาพน้้า
1.3 การกรอง
มีวัตถุประสงค์เพื่อก้าจัดสารแขวนลอยออกจากน้้า
1.4 การตกตะกอน
เป็นกระบวนการทางกายภาพเพื่อแยกอนุภาคของแข็งออกจากน้้าโดย
อาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก
1.5 การกลั่น
เป็นวิธีที่จะทำให้น้้าสะอาดที่สุด
1.6 การเติมอากาศและการลดอากาศ
2. การปรับปรุงคุณภาพน้ำทางเคมี
อาศัยกระบวนการทางเคมีที่ส้าคัญ
2.1 การสร้างตะกอน
วัตถุประสงค์ของการสร้างตะกอนเพื่อกำจัดความขุ่น สี และจุลชีพต่างๆในน้ำ สารสร้างตะกอนที่นิยมใช้ คือสารส้ม เนื่องจากมีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย และสร้างตะกอนได้ดี
2.2 การดูดซับ
วัตถุประสงค์หลักของการดูดซับ คือ การกำจัดสารละลายอินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของกลิ่น สี และรสในน้ำ สารดูดซับที่นิยมคือ ถ่านกัมมันต์ซึ่งท้ามาจากวัสดุ เช่น ไม้ ถ่านหินกะลามะพร้าว
2.3 การฆ่าเชื้อโรคในน้ำโดยใช้สารเคมี
ในระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำนิยมใช้คลอรีนในการฆ่าเชื้อโรค เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่ายและราคาถูก
การผลิตน้้าประปา
มีขั้นตอน ดังนี้
1 more item...
การบำบัดน้ำเสียและการควบคุมมลพิษทางน้ำ
มี 3 ลักษณะ
1. ลักษณะทางกายภาพ
คือ ของแข็งหรือสารที่แขวนลอยละลายในน้้า ความขุ่น น้้าเสียมีอุณหภูมิสูงกว่าน้้าธรรมดาเล็กน้อย มีสีเทาปนน้้าตาลอ่อนๆ หากไม่ได้รับการ บ้าบัดจะกลายเป็นสีด้า น้้าเสียใหม่มักไม่มีกลิ่น หากเก็บไว้หลายวันจะมีกลิ่นเหม็นเน่าที่ [เกิดจากแก๊สต่างๆที่ละลายอยู่ในน้้าเสีย
2. ลักษณะทางเคมี
ลักษณะทางเคมีของน้้าเสียขึ้นอยู่กับสารพิษที่ถูกปล่อยออกมา คือ สารอินทรีย์
สารอนินทรีย์ และก๊าซ
2.1 สารอินทรีย์ส่วนใหญ่
มาจากพืชและสัตว์ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน
การตรวจวัดคุณภาพน้้าที่นิยม คือ
ออกซิเจนละลาย (Dissolved Oxygen [DO]) เป็นการตรวจวัดปริมาณ ออกซิเจนที่ละลายในน้้า หากมีการระบายของเสียที่เป็นสารอินทรีย์ลงไปในน้้า จุลินทรีย์ จะใช้ออกซิเจนที่ละลายน้้าในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ท้าให้ค่าออกซิเจนลดลง น้้าที่มี คุณภาพดีต้องมีค่า DO มากกว่า 6.0มิลลิกรัมต่อลิตร
ความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ (Biochemical Oxygen Demand (BOD)) ถ้าบีโอดีมีค่ามาก แสดงว่าแหล่งน้้านั้นมีปริมาณสารอินทรีย์มากท้าให้จุลินทรีย์ต้องใช้ ออกซิเจนปริมาณมาก ค่าบีโอดีมีความสัมพันธ์กับค่าออกซิเจนละลายน้้า ค่าบีโอดีสูงจะ ท้าให้ออกซิเจนละลายน้้ามีค่าต่ำ น้้าที่มีคุณภาพดีต้องมีค่าบีโอดี น้อยกว่า 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร
2.2 สารอนินทรีย์
พารามิเตอร์สำคัญของการตรวจวัดสารอนินทรีย์ในน้้า ได้แก่ ในโตรเจนคลอไรด์ หากตรวจพบคลอไรด์ในน้้าเป็นปริมาณมากแสดงว่าน้้ามีการปน เปื้อนสิ่งปฏิกูล ความเป็นกรด-ด่าง (pH) น้้าที่มีปัญหามลพิษ คือ น้้าที่มีค่า pH สูงกว่า 9.0 หรือ ต่้ากว่า 5.0 สารอนินทรีย์ยังรวมถึงสารประกอบที่เป็นพิษและโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว สารหนู ไซยาไนด์ ปรอท สังกะสี ส่วนใหญ่ถูกปล่อยออกมาจากน้้าทิ้งของโรงงาน อุตสาหกรรมและเกษตรกรรม
2.3 ก๊าซ
ก๊าซที่ท้าให้เกิดมลพิษ คือ ไฮโดรเจนซัลไฟด์และมีเทน
ไฮโดรเจนซัลไฟด์ เป็นก๊าชไม่มีสี มีกลิ่นเหมือนไข่เน่า ไม่ติดไฟ เกิดจาก การปนเปื้อนของ สารอินทรีย์จ้านวนมาก ส่งผลให้มีออกซิเจนละลายต่ําจนเกิดการย่อย สลายในสภาวะไม่มีออกซิเจน
มีเทน เป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ติดไฟได้ง่าย เมื่อผสมกับอากาศแล้วจุด ระเบิดได้และมีพิษเกิดจากการย่อยสลายในสภาวะไม่มีออกซิเจน ก๊าซมีเธนเป็นตัวบ่งชี ว่าน้้านั้นไม่มีออกซิเจนละลายน้้าและมีการปนเปื้อนสารอินทรีย์มาเป็นเวลานาน
3. ลักษณะทางชีวภาพ
ใช้จุลินทรีย์เป็นตัวบ่งชี้มลพิษของน้้า จุลินทรีย์ที่นิยมตรวจหา คือ
3.1 ปริมาณโคลิฟอร์มทั้งหมด (Total Coliform) โคลิฟอร์มเป็นกลุ่มของแบคทีเรีย
3.2 แบคทีเรียกลุ่มฟิคอลโคลิฟอร์ม (Fecal Coliform) ที่ส้าคัญคือ อี.โคไล (Escherichia
coli (E.coli]) ซึ่งมีความทนทานต่อคลอรีนมากกว่าจุลินทรีย์ชนิดอื่น
การบำบัดน้ำเสีย (Waste Water treatment)
1. การบำบัดทางกายภาพ (Physical treatment)
เป็นวิธีการแยกเอาสิ่งเจือปน ออกจากน้้าเสีย เช่น ของแข็งขนาดใหญ่ กระดาษ พลาสติก เศษอาหาร กรวด ทราย ไขมัน และน้้ามัน โดยใช้อุปกรณ์ในการบำบัดทางกายภาพ คือ ตะแกรงดักขยะ ถังดักกรวด ทราย ถังดักไขมันและน้้ามัน และถังตกตะกอน เป็นการลดปริมาณของแข็งทั้งหมดที่มีใน น้้าเสีย
2. การบำบัดทางเคมี (Chemical treatment)
วิธีนี้ใช้สำหรับน้้าเสียที่มีส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ค่า pH สูงหรือต่ำเกินไป มีสารพิษ มีโลหะหนัก มีของแข็งแขวนลอยที่ตกตะกอนยาก มีไขมันและน้้ามันที่ละลายน้้า มีในโตรเจนหรือฟอสฟอรัสสูง มีเชื้อโรคปนเปื้อนในน้้า อุปกรณ์ที่ใช้ในการบ้าบัดน้้าเสียโดยวิธีทางเคมี ได้แก่ ถังกวนเร็ว ถังกวนช้า ถังตกตะกอน ถังกรอง และถังฆ่าเชื้อโรค
3.การบำบัดทางชีวภาพ (Biological treatment)
เป็นวิธีบำบัดน้้าเสียโดยใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดสิ่งเจือปนในน้้าเสียโดยเฉพาะสารคาร์บอนอินทรีย์ ไนโตรเจน และ ฟอสฟอรัส ความสกปรกเหล่านี้จะถูกใช้เป็นอาหารและเป็นแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ ในยังเลี้ยงเชื้อเพื่อการเจริญเติบโต ท้าให้น้้าเสียมีค่าความสกปรกลดลง ระบบบำบัดน้้าเสียที่อาศัยหลักการทางชีวภาพ เช่น ระบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ (Activate Sludge) ระบบแผ่นจานหมุนชีวภาพ (Rotating Biological Contactor)
กรรมวิธีกำจัดน้ำเสีย มี 2 วิธี
1. การกำจัดโดยไม่ใช้กรรมวิธี
1.1 การทำให้เจือจาง
โดยน้าน้้าเสียปล่อยทิ้งในแม่น้้าล้าคลอง หนอง บึง ทะเล ต้องพิจารณาให้มีอัตราส่วนของน้้าเสียต่อน้้าอย่างน้อย 1 ต่อ 50 ส่วน
1.2 การปล่อยทิ้งบนพื้นดิน
การปล่อยให้น้้าซึมลงใต้ดิน ทำได้โดยต่อท่อส่งน้้าทิ้งให้ไหลซึมลงใต้ดิน
การปล่อยน้้าให้ไหลไปตามพื้นดิน แล้วปล่อยให้ระเหยไปในอากาศและ ซึมลงไปในดิน ในชนบทนิยมปล่อยน้้าที่ใช้แล้วให้ไหลไปตามสวน ท้องนา
2. การกำจัดโดยใช้กรรมวิธี
2.1 การปรับปรุงสภาพขั้นแรก
เป็นวิธีแยกเอาของแข็งแขวนลอยออกจากน้้า
2.2 การปรับปรุงสภาพขั้นที่สอง
เป็นการปรับปรุงทางชีววิทยาโดยใช้จุลินทรีย์ทำลายสารอินทรีย์ที่ละลายในน้้าทิ้ง มีขั้นตอนดังนี้
การท้าลายสารอินทรีย์ที่ละลายในน้้าทิ้ง โดยใช้สารอินทรีย์เหล่านั้นเป็นอาหารของจุลินทรีย์ในสภาวะที่มีออกซิเจนจากการเติมลงไปหรือมีตามธรรมชาติ ตะกอนที่เกิดขึ้นจะเป็นมวลของจุลชีพและสามารถแยกออกได้โดยการตกตะกอน การท้าลายสารอินทรีย์ที่ละลายในน้้าทิ้งมีหลายวิธี เช่น กระบวนการตะกอนจุลินทรีย์ (Activated sludge process)
การตกตะกอนขั้นที่สอง เป็นกระบวนการแยกตะกอนที่เกิดจากการปรับปรุงสภาพทางชีววิทยา ถังตกตะกอนขั้นนี้มีลักษณะคล้ายถังตกตะกอนขั้นแรกแต่มีระยะกักน้อยกว่า
การฆ่าเชื้อโดยใช้คลอรีนประมาณ 10-15 มิลลิกรัมต่อน้้า 1 ลิตรเพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้้าก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้้าสาธารณะ
2.3 การกำจัดตะกอน
ตะกอนที่ได้จากถังตกตะกอนขั้นแรกและขันที่สองยัง ถือว่าเป็นตะกอนดิบ จ้าเป็นต้องน้าไปย่อยในถังย่อยตะกอนก่อน ซึ่งเป็นกระบวนการย่อยโดยไม่ใช้อากาศภายใต้การควบคุมอุณหภูมิและความเป็นกรดด่างอย่างเหมาะสม และให้มีระยะเวลาย่อยประมาณ1-2 เดือน การย่อยดังกล่าวจะเกิดก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้น สามารถใช้เป็นแก๊สหุงต้มได้
สุขาภิบาลอาหาร
หมายถึง
กระบวนการจัดการและควบคุมอาหาร ภาชนะ อุปกรณ์ ผู้สัมผัสอาหาร และสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องในทุกกิจกรรมตั้งแต่ การเตรียมวัตถุดิบ การขนส่ง การปรุง การเก็บรักษา การถนอมอาหาร และการจ้าหน่ายอาหาร เพื่อให้อาหารสะอาด ปลอดภัยจากเชื้อโรค พยาธิ และสารเคมี ซึ่งเป็นอันตรายหรืออาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย สุขภาพอนามัย และการดำรงชีวิตของผู้บริโภค
แนวทางการดำเนินงานด้าน
สุขาภิบาลอาหารส้าหรับสถานที่จ้าหน่ายอาหาร
ดังนี้
1. สถานที่ประกอบและจำหน่ายอาหาร
ต้องสะอาด เป็นระเบียบและจัดเป็นสัดส่วน
โต๊ะเตรียม
-ปรุงอาหาร และผนังเตาไฟต้องท้าด้วยวัสดุที่ท้าความสะอาดง่าย (เช่น สแตนเลสกระเบื้อง) มีสภาพดี
ไม่เตรียมหรือปรุงอาหารบนพื้นและบริเวณหน้าหรือในห้องน้้า ห้องส้วม และต้องเตรียม
-ปรุงอาหารบนโต๊ะที่สูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม.
สถานที่เตรียม -ปรุงอาหารมีการระบายอากาศ กลิ่น และควันจากการทำอาหารได้ดี เช่น การใช้ปล่องระบายควัน หรือพัดลมดูดอากาศ
2. ตัวอาหาร น้ำ น้ำแข็ง เครื่องดื่ม
อาหารสดต้องล้างให้สะอาดก่อนน้ามาปรุงหรือเก็บ การเก็บอาหารประเภท กางๆต้องแยกเก็บเป็นสัดส่วน ไม่ปะปนกัน วางสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม. หรือเก็บใน เป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ดิบเก็บในอุณหภูมิที่ต่้ากว่า 5 องศาเซลเซียส
อาหารที่ปรุงส้าเร็จแล้ว เก็บในภาชนะที่สะอาดมีการปกปิด วางสูงจากพื้น อย่างน้อย 60 ซม
ใช้สารปรุงแต่งอาหารที่ปลอดภัย มีเครื่องหมายรับรองอาหารของทางราชการ
อาหารและเครื่องดื่มต้องอยู่ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท มีคุณภาพดี เก็บเป็นระเบียบ วางสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม.
น้้าดื่ม เครื่องดื่ม น้้าผลไม้ ต้องสะอาด ใส่ในภาชนะที่สะอาด มีฝาปิด มี ก็อกหรือทางรินน้้าหรือมีอุปกรณ์ที่มีด้ามส้าหรับตักโดยเฉพาะ และวางสูงจากพื้นอย่าง น้อย 60 ซม.
น้้าแข็งที่ใช้บริโภคต้องสะอาด เก็บในภาชนะที่สะอาด มีฝาปิด ใช้อุปกรณ์ ที่มีด้ามส้าหรับคีบหรือตักโดยเฉพาะ วางสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม. และต้องไม่มี สิ่งของอย่างอื่นแช่รวมไว้
3. ภาชนะอุปกรณ์
ภาชนะอุปกรณ์ เช่น จาน ชาม ช้อน ส้อม ต้องท้าด้วยวัสดุที่ไม่เป็นอันตราย เช่น สแตนเลสกระเบื้องเคลือบขาว แก้ว อลูมิเนียม สังกะสีเคลือบขาว เมลามีนสีขาว หรือสีอ่อน สำหรับตะเกียบต้องเป็นไม้ไม่ตกแต่งสี หรือใช้พลาสติกสีขาว
ภาชนะใส่น้้าส้มสายชู น้้าปลา และน้้าจิ้ม ต้องท้าด้วยแก้วหรือกระเบื้องเคลือบขาว มีฝาปิด ช้อนตักท้าด้วยกระเบื้องเคลือบขาวหรือสแตนเลส ส้าหรับเครื่องปรุงรสอื่นๆต้องใส่ในภาชนะที่ทำความสะอาดง่าย มีฝาปิด และสะอาด
เขียงและมีดต้องมีสภาพดี แยกใช้ระหว่างเนื้อสัตว์สุก เนื้อสัตว์ดิบ ผักและ ผลไม้ มีฝาชีครอบ(ยกเว้นครัวที่มีการป้องกันแมลงวัน)
ล้างภาชนะโดยใช้น้้ายาล้างภาชนะ แล้วล้างด้วยน้้าสะอาด 2 ครั้ง หรือล้างด้วยน้้าไหล กรณีที่มีการระบาดของโรคในระบบทางเดินอาหารควรฆ่าเชื้อโดยใช้น้้าร้อนลวก หรือใช้น้้าผสมคลอรีนเข้มข้น 100 มิลลิกรัมต่อลิตรแช่นาน 2 นาที
ใช้อ่างล้างภาชนะอุปกรณ์ที่มีท่อระบายน้้าที่ใช้การได้ดี อย่างน้อย 2 อ่าง อุปกรณ์การล้างต้องวางสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม.
จาน ชาม ถ้วย แก้วน้้า ฯลฯ เก็บคว่้าในภาชนะ/ตะแกรงวางสูงจากจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม.
ช้อน ส้อม ตะเกียบ วางตั้งเอาด้ามขึ้นในภาชนะโปร่ง สะอาด หรือวางเป็นระเบียบในภาชนะโปร่งสะอาดและมีการปกปิด เก็บสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม.
4. การรวบรวมขยะและน้ำโสโครก
ใช้ถังขยะที่ไม่รั่วซึม และมีฝาปิด
มีท่อหรือรางระบายน้้าที่มีสภาพดีไม่แตกร้าว ระบายน้้าจากห้องครัวและที่ล้างภาชนะอุปกรณ์ลงสู่ท่อระบายหรือแหล่งบ้าบัดได้ดี และต้องไม่ระบายน้้าเสียลงสู่แหล่งน้้าสาธารณะโดยตรง
มีบ่อดักเศษอาหารและดักไขมันที่ใช้การได้ดีก่อนระบายน้้าเสียทิ้ง
5. ห้องน้ำ ห้องส้วม
ห้องน้้า ห้องส้วมต้องสะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็น มีน้้าใช้เพียงพอ
ห้องส้วมแยกเป็นสัดส่วน ประตูไม่เปิดสู่บริเวณที่เตรียม
ปรุงอาหาร และเก็บภาชนะอุปกรณ์ หรือที่เก็บอาหาร
มีอ่างล้างมือที่ใช้การได้ดีอยู่ในบริเวณห้องส้วม และมีสบู่ใช้ตลอดเวลา
6.ผู้สัมผัสอาหาร (ผู้ปรุง ผู้เสิร์ฟ)
1 more item...
การควบคุมสัตว์ อาร์โทรปอดและสัตว์กัดแทะ
แมลงและสัตว์สามารถนำโรคมาสู่มนุษย์ได้ใน 2 ลักษณะ
1) นำโรคโดยตรง
เกิดขึ้นเมื่อถูกกัดหรือต่อยจะมีการถ่ายเชื้อโรคเข้าสู่มนุษย์ เช่น ยุงน้าเชื้อไข้มาลาเรีย ไข้เลือดออก
2) การนำโรคโดยการเป็นสื่อสัมผัส
เนื่องจากแมลงมีขนเมื่อหากินในที่สกปรกจะเป็นสื่อน้าเชื้อโรคไปปะปนกับอาหารหรือเครื่องดื่มท้าให้แพร่โรคได้ เช่น แมลงวัน แมลงสาบ เป็นพาหะนำโรคอุจจาระร่วง
แมลงและสัตว์นำโรคที่ต้องควบคุมและป้องกัน ดังนี้
ยุง
ยุงที่เป็นปัญหาสาธารณสุข คือ
ยุงกันปล่อง
(พาหะน้าเชื้อไข้มาเลเรีย)
ยุงลาย
(น้าเชื้อไข้เลือดออก ไข้เหลือง โรคเท้าช้าง)
ยุงรำคาญ
(น้าเชื้อไข้สมองอักเสบ)
ยุงเสือ
(น้าเชื้อโรคเท้าช้าง ไข้เหลือง ไข้สมองอักเสบ)
วิธีการควบคุมยุง
มีดังนี้
1. การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์โดยการปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
1.1 การระบายน้้า
อาจท้าเป็นร่องระบายน้้า ทางระบายน้้าใต้ดิน เพื่อให้น้้าไหลสะดวก ไม่มีน้้าขัง
1.2 การถมที่
อาจถมด้วยดิน ขี้เถ้า แกลบ ขี้เลื่อย หรือวัสดุอื่นที่ไม่บูดเน่า
1.3 การให้สุขศึกษาแก่ประชาชน
เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เช่น ไม่ปล่อยให้หญ้าบริเวณบ้านรก
2. การควบคุมยุงตามระยะต่างๆของวงจรชีวิตยุง
2.1 ระยะไข่
ทำได้โดยการขัดล้างตามผิวภาชนะที่น้้าขังต่างๆ
2.2 ระยะลูกน้้าและตัวโม่ง
เป็นวิธีกำจัดยุงที่ได้ผลดีกว่าระยะอื่นๆ เนื่องจาก ลูกน้้าและตัวโม่งอยู่ในภาชนะขังน้้าต่างๆทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกบ้าน ทำได้โดย
ปิดฝาภาชนะเก็บน้้าให้มิดชิด โดยปิดปากภาชนะด้วยผ้ามุ่ง ตาข่ายไนลอน ชนิดตาถี่ หรือ พลาสติกก่อนชั้นหนึ่งแล้วจึงปิดฝาด้านนอก
ภาชนะที่ปิดฝาไม่ได้ เช่น บ่อซีเมนต์ในห้องน้้าให้ใส่ทรายก้าจัดลูกน้้าใน อัตราส่วน 10 กรัมต่อน้้า 100 ลิตร หรือใส่ปลาหางนกยูง 2-10 ตัว
คว่ำภาชนะที่ไม่ใช้ประโยชน์หรือหาสิ่งปกคลุมให้มิดชิด
เก็บท้าลายเศษวัสดุและเศษภาชนะ เช่น ให้แตก กะลา ยางรถยนต์เก่า กระป๋อง ขวด
ใส่เกลือครึ่งช้อนชา น้้าส้มสายชู 2 ช้อนชา หรือผงซักฟอกครึ่งช้อนชาลง ในถ้วยรองขาตู้กับข้าว โดยเปลี่ยนน้้าใหม่และใส่สารดังกล่าวใหม่ทุกเดือนจะท้าให้ยุงลาย ไม่วางไข่ หรือเทน้้าเดือดลง ในถ้วยรองขาตู้กันมดทุก 7 วัน เพื่อฆ่าลูกน้้า
เปลี่ยนถ่ายน้้าในแจกัน เทน้้าที่ยังอยู่ในจานรองกระถางต้นไม้ทิ้งทุก 7 วัน
ใช้สารเคมีกำจัดลูกน้้า เช่น น้้ามันก๊าด น้้ามันดีเซล ดีดีที ทรายอะเบต การควบคุมวิธีนี้มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
3. ระยะตัวเต็มวัยหรือยุง
แมลงวัน
ที่เป็นปัญหาต่อการสาธารณสุข คือ
แมลงวันบ้านและ แมลงวันหัวเขียว
ซึ่งเป็นพาหะน้าโรคระบบทางเดินอาหารร้ายแรงหลายชนิดมาสู่คน เช่น โรคอุจจาระร่วง บิด โปลิโอ ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค การควบคุมและป้องกันแมลงวันใช้หลักการ ดังนี้
1. การควบคุมแมลงวันภายในอาคารและที่พักอาศัย
1.1 กำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฎิกูลอย่างเหมาะสม เช่น เก็บกักมูลฝอยเปียกภายในบ้านโดยการเก็บไว้ในถุงพลาสติกซึ่งบรรจุในถังโลหะหรือถังพลาสติกที่มีฝาปิด มิดชิด น้าขยะมูลฝอยไปกำจัดให้เหมาะสมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง บ้ารุงรักษาห้องน้้า ห้องส้วมให้สะอาด ท่อระบายอากาศของส้วมต้องมีตะแกรงป้องกันไม่ให้แมลงวันเข้าไป การเก็บมูลสัตว์อาจเก็บไว้ในภาชนะที่มีการปกปิดมิดชิดไม่รั่วหรือซึม แล้วน้าไปฝังกลบ น้าไปตากแดดให้แห้ง หรือน้าไปผสมหญ้าท้าเป็นปุ๋ย
1.2 ใช้วิธีทางกลและทางกายภาพ เช่น ประตูหน้าต่างต้องมีตะแกรงหรือมุ่ง ลวดกันไว้ การท้าลายโดยใช้กาวดักแมลงวันตัวแก่ ในห้องครัวต้องมีตู้หรือฝาชีครอบ อาหารเพื่อป้องกันแมลงวัน
1.3 ใช้วิธีทางเคมี โดยการใช้ยาฆ่าแมลงวันตัวอ่อนและตัวแก่
1 more item...
แมลงสาบ
แมลงสาบเป็นพาหะนำโรคติดต่อในระบบทางเดินอาหารเป็นส่วนใหญ่ เช่น ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค หนอนพยาธิ วิธีจัดการและควบคุมแมลงสาบ มีดังนี้
1. ป้องกันไม่ให้แมลงสาบเข้าสู่ตัวอาคาร
โดยใช้ตะแกรงหรือติดมุ่งลวดตามประตู หน้าต่าง ท้าลายที่ซ่องสุม เก็บกวาดบริเวณรอบบ้านให้สะอาด อุดช่องว่างหรือรอยแยกต่าง ๆ ที่จะเข้าสู่อาคาร
2. ควบคุมแมลงสาบภายในอาคารหรือที่พักอาศัย
โดยซ่อมแซมรอยแตกภายในอาคารหรือตามท่อน้ำประปาเพื่อท้าลายแหล่งที่อยู่ของแมลงสาบ เก็บอาหารให้มิดชิด เก็บรักษาสิ่งของต่างๆภายในบ้านหรือที่พักอาศัยให้สะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อไม่ ให้เป็นที่หลบซ่อนของแมลงสาบ เก็บกักมูลฝอยเปียกโดยใช้ภาชนะที่ปกปิดป้องกันไม่ให้แมลงสาบเข้าไปได้ ท้าลายโดยใช้เหยื่อล่อต่างๆ เช่น กาวดัก กรดบอริคผสมแป้งใช้สารฆ่าแมลงที่มีขายตามท้องตลาด เช่น มาลาไทออนหรือไบกอนในรูปของสเปรย์ หรือใช้ผงบอแรกวางไว้ตามทางเดินของแมลงสาบ เช่น ใต้อ่างล้างมือ ใต้อ่างอาบน้ำ
หนู
สายพันธุ์ที่นำโรคมาสู่มนุษย์ได้มี 3 ชนิด คือ หนูนอร์เวย์ หนูหลังคา และหนูหริ่ง
ซึ่งเป็นพาหะน้าโรคติดต่อมาสู่มนุษย์เช่น กาฬโรค ไข้ไทฟัส เลปโตสไปโรสิส และโรคไข้หนูกัด (rat-bite fever) การป้องกันและควบคุมประชากรหนูมีวิธีการ
ดังนี้
1. การควบคุมป้องกันหนูในที่พักอาศัย
ทำได้โดยเก็บอาหารให้มิดชิด เก็บมูลฝอย ที่เปียกในภาชนะที่ทนต่อการกัดแทะของหนู และวางไว้สูงจากพื้นมากกว่า 45 เซนติเมตร เก็บผ้า กระดาษหรือวัสดุอื่นที่หนูต้องการใช้เป็นอาหารไว้ในที่เข้าไปไม่ได้ ดูแลไม่ให้มีน้้า ขังภายในบ้านหรือบริเวณบ้าน เก็บรักษาถุงใส่เมล็ดพืช เช่น ข้าว ข้าวโพดให้มิดชิด และไม่ เก็บไว้ที่เดิมนานเกิน 2 เดือน อุดรูรั่วตามผนังบ้าน ท่อน้้า หรือช่องว่างอื่นๆ ที่หนูจะเข้าไปสู่ ภายในตัวอาคารที่พักอาศัย สร้างเครื่องกีดขวางทางเดินของหนูตามท่อและสายไฟ
2. การควบคุมป้องกันหนูในชุมชน
โดยการออกกฎหมายหรือข้อบังคับเพื่อให้ ประชาชนตระหนักถึงการดูแลบ้านและสถานที่สาธารณะให้สะอาด มีการกำจัดขยะ มูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพ กำจัดแหล่งที่อยู่อาศัยและอาหารของหนู เช่น รังหนู กองมูลฝอย รักษาความสะอาดของคอกสัตว์เลี้ยง ใช้กับดักและเหยื่อล่อ
การกำจัดขยะ มูลฝอย
ขยะมูลฝอย คือ
สิ่งของที่เสื่อมคุณภาพ ชำรุด หรือหมดสภาพการใช้งาน อาจมี ขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ขยะมูลฝอยมีแหล่งกำเนิดมาจากหลายแหล่ง เช่น อาคารที่พักอาศัย โรงงานอุตสาหกรรม ขยะมูลฝอยมี 3 ประเภท ได้แก่
1. ขยะมูลฝอยเปียก
ได้แก่ เศษอาหาร พืชผัก อินทรียวัตถุอื่นๆที่สามารถย่อย สลายเน่าเปื่อยได้ง่าย มีความชื้นสูง และส่งกลิ่นเหม็นได้อย่างรวดเร็ว
2. ขยะมูลฝอยแห้ง
ได้แก่ เศษกระดาษ เศษผ้า แก้ว โลหะ ไม้ พลาสติก ยาง ทั้งที่ เผาไหม้และ เผาไหม้ไม่ได้
3. ขยะมูลฝอยอันตราย
ได้แก่ ของเสียที่เป็นพิษมีฤทธิ์กัดกร่อนและระเบิดได้ง่าย ต้องใช้วิธีท้าลายเป็นพิเศษเช่น สารฆ่าแมลง ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่รถยนต์ หลอดไฟ สเปรย์ฉีดผม
การเก็บรวบรวมขยะมูลฝอย
การรวบรวมขยะที่ถูกต้องภายในบ้านควรใช้ภาชนะที่น้ำไม่สามารถจะรั่วซึมและภาชนะต้องมีฝาปิดมิดชิด ใช้ถุงพลาสติกบรรจุภายในถังเพื่อให้สะดวกต่อการขนส่ง ถังรองรับขยะมูลฝอย
ควรแยกตามประเภทของขยะ
ดังนี้
1. ถังสีเขียว
ใช้สำหรับรองรับขยะมูลฝอยที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว สามารถน้าไปท้าปุ๋ยหมักได้ เช่น ผัก ผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้
2. ถังสีเหลือง
ใช้สำหรับรองรับขยะมูลฝอยที่สามารถน้ามารีไซเคิลหรือขายได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ
3. ถังสีแดง
ใช้สำหรับรองรับขยะมูลฝอยที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ขวดยา ถ่านไฟฉาย กระป๋องสีสเปรย์ กระป๋องยาฆ่าแมลง ภาชะบรรจุสารอันตรายต่างๆ
4. ถังสีฟ้า
ใช้รองรับขยะมูลฝอยที่ย่อยสลายไม่ได้ ไม่เป็นพิษ และไม่คุ้มค่าในกา รีไซเคิล เช่น พลาสติก ห่อลูกอม ซองบะหมี่สำเร็จรูป ถุงพลาสติก โฟมและฟอล์ยที่เปื้อนอาหาร
สำหรับถุงพลาสติก
แต่ละถังให้แยกสีโดยใช้เชือกมัดปากถุงสีเดียวกันกับสีถัง รองรับขยะมูลฝอยในแต่ละประเภท
วิธีการกำจัดขยะมูลฝอย
2 more items...
สุขาภิบาลที่พักอาศัย
1. ความต้องการพื้นฐานทางด้านร่างกาย
พิจารณา ปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่
1.1 การระบายอากาศ (Ventilation)
ที่พักอาศัยควรมีพื้นที่ของประตู หน้าต่าง และช่องระบายอากาศ เป็นพื้นที่รวมกันไม่น้อย กว่าร้อยละ 10-15 ของพื้นที่ และจะต้องมีพื้นที่หน้าต่างที่สามารถเปิดได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 45 ของพื้นที่ทั้งหมด
1.2 เสียงรบกวน (Noise)
เสียงในที่พักอาศัยไม่ควรเกิน 40-50 เดซิเบล (เอ) เสียงการสนทนากันตามปกติ ไม่ควรดังเกิน 60 เดซิเบล (เอ) ส่วนเสียงภายในบ้านขณะนอนหลับไม่ควรเกิน 30 เดซิเบล (เอ)
1.3 แสงสว่าง (Lighting)
แสงสว่างที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับลักษณะของกิจกรรม เช่น ที่จอดรถ ควรมีความเข้มของแสงสว่าง 50 ลักซ์ (Lux) ช่องทางเดินภายในอาคารอยู่อาศัยรวม ห้องพักในโรงแรมหรืออาคารอยู่อาศัยรวม ห้องน้้า ห้องส้วมของโรงงาน โรงเรียน โรงแรม ส้านักงานหรืออาคารอยู่อาศัยรวม ควรมีความเข้มของแสงสว่าง 100 ลักซ์ เป็นต้น
3. การป้องกันโรคติดต่อ
โดยการจัดที่พักอาศัยให้มีสิ่งแวดล้อมที่สะอาดและเหมาะสม เพื่อป้องกัน
ไม่ให้ผู้อยู่อาศัยได้สัมผัสกับตัวการที่ท้าให้เกิดโรคหรือพาหะน้าโรคติดต่อ ต่างๆ
4. การป้องกันอุบัติเหตุอุบัติเหตุคือ
4.1 อุบัติเหตุจากการพลัดตกหกล้ม
เช่น ตกบันได ตกหน้าต่าง ตกลงมาจากที่สูง ควรป้องกันโดยการออกแบบก่อสร้างและเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม เช่น การท้าราวบันได มีแถบกันลื่นที่บันไดแต่ละขั้น จัดให้มีแสงสว่างตรงทางขึ้นลงหรือบริเวณทางเดินภายใน บ้านอย่างพอเพียง
1 more item...
2. ความต้องการพื้นฐานทางด้านจิตใจและสังคม
2.1 ความเป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัยและความเป็นสัดส่วนเพื่อประโยชน์ ใช้สอยตามความเหมาะสม
2.2 การท้าให้ผู้อยู่อาศัยเกิดความปลอดภัย ได้แก่ การได้อาศัยในที่พักอาศัยมี การออกแบบที่ดีและเหมาะสม เช่น มีอาณาเขตชัดเจน โครงสร้างของอาคารมั่นคงแข็งแรง สิ่งแวดล้อมภายในมีความถูกต้องเหมาะสม สิ่งแวดล้อมบริเวณข้างเคียงมีความปลอดภัย จากภัยพิบัติต่างๆ
2.3 มีพื้นที่ว่างพอที่จะใช้อยู่อาศัย พักผ่อน และออกกำลังกายโดยไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บ ที่อยู่อาศัยควรมีพื้นที่ว่างเพื่อใช้ประโยชน์ดังกล่าวไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ส่วนที่เป็นตัวอาคารของที่พักอาศัย
2.4 การตั้งบ้านเรือนอยู่ในที่ที่ห่างไกลจากบริเวณที่มีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น สถานที่ก่อสร้าง สถานบันเทิง โรงงานอุตสาหกรรม ถนนไฮเวย์
2.5 การมีที่อยู่อาศัยที่สามารถท้าความสะอาดได้ง่าย มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย