Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การสร้างคำ - Coggle Diagram
การสร้างคำ
๑. คำประสม
หมายถึง การเอาคำมารวมกันให้เกิดความหมายใหม่ (คำประสม = คำต้น + คำเติม)
คำประสมจะมีความหมายโดยตรงหรือโดยนัยก็ได้
คำประสมเกิดจากคำต่างชนิดรวมกันเมื่อปะสมกันแล้วอาจเป็นคำชนิดเดิมหรือชนิดใหม่ก็ได้
แม่(นาม) + น้ำ(นาม) = แม่น้ำ (นาม)
ห่อ (กริยา) + หมก (กริยา) = ห่อหมก (นาม)
ถ้าขึ้นต้นด้วย การ ของ เครื่อง ควา ช่าง ชาว ผู้ ที่ นัก หมอ มักเป็นคำประสม
๓. คำซ้ำ
หมายถึง การใช้คำเดิมซ้ำกันสองครั้ง คำที่ใช้ซ้ำสามาถแทนด้วยไม้ยมก (ๆ) ได้
ความหมายของคำซ้ำ ได้แก่ บอกลักษณะ บอกพหูพจน์ เพิ่มจำนวน บอกความถี่(ความต่อเนื่อง) ไม่เจาะจง อ่อนลง เน้นย้ำ เปลี่ยนความหมาย
๒. คำซ้อน
มี ๒ ประเภท
๒.๑ คำซ้อนเพื่อความหมาย
(๑) คำซ้อนที่เกิดจากการนำคำที่ความหมายเหมือนกันมาซ้อนกัน
เช่น ใหญ่โต สวยงาม
(๒) คำซ้อนที่เกิดจากการนำคำที่ความหมายคล้ายกันมาซ้อนกัน
เช่น เงินทอง เพชรพลอย
(๓) คำซ้อนที่เกิดจากการนำคำที่ความหมายตรงข้ามกันมาซ้อนกัน
เช่น เป็นตาย ร้ายดี ถี่ห่าง
๒.๒ คำซ้อนเพื่อเสียง ต้องมีพยัญชนะต้นเป็นเสียงเดียวกันโดยที่แต่ละคำจะมีความหมายหรือไม่มีก็ได้
เช่น เกะกะ งอแง จอแจ
๔. คำสมาส
เป็นการสร้างคำแบบบาลีลันสกฤต โดยแบ่งเป็น ๒ วิธี คือ
สมาสแบบไม่มีสนธิ(ชนคำ)
เช่น คุณธรรม (คุณ+ธรรม) ราชการ (ราช +การ) สัตวแพทย์(สัตว์ + แพทย์) ชีววิทยา (ชีวะ+วิทยา)
ถ้าเจอคำใดที่ลงท้ายด้วย ธรรม ศาสตร์ สถาน ศึกษา กิจ กรรม วิทยา กร ภาพ ศิลป์ การ ภัย = มักเป็นคำสมาสแบบไม่มีสนธิ
สมาแบบมีสนธิ (เชื่อมคำ)
๑. สระสนธิ
เช่น ชลาลัย (ชล+อาลัย) ปรมินทร์ (ปรม+อินทร์) ราชูปถัมภ์ (ราช+อุปถัมภ์) จุฬาลงกรณ์ (จุฬา +อลงกรณ์) สุริยโยทัย (สุริยะ+ อุทัย)
๒. พยัญชนะสนธิ
จำเป็นคำไปเลยเพราะมีแค่ไม่กี่คำ ได้แก่
พรหมชาติ อาตมภาพ รโหฐาน มโนภาพ เตโชธาตุ นิรทุกข์ นิรภัย ทุรชน ทรชน ฯลฯ
๓. นิคหิตสนธิ สังเกตคำที่ขึ้นต้นด้วย สง สัง สัม สัญ สัณ สมา สมุ สโม