Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 (2) หลักการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน - Coggle Diagram
บทที่ 5 (2)
หลักการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน
หลักทั่วไปในการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน
เพื่อช่วยชีวิต เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจ
หรือหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ต้องรีบช่วยหายใจ
หรือในกรณีที่ผู้ป่วยมีบาดแผลเลือดออก
ต้องรีบห้ามเลือดทันที
ป้องกันและบรรเทาไม่ให้เกิดอาการรุนแรงถึงขั้นวิกฤต เช่น การทำแผล การใส่เฝือกชั่วคราว กระดูกที่หัก
การดามกระดูกคอ การจัดท่านอนที่เหมาะสม
การให้ความอบอุ่นร่างกาย
การบันทึกเหตุการณ์อาการและการช่วยเหลือ
ผู้บาดเจ็บ เพื่อเป็นประโยชน์ในการรักษาต่อไป
การส่งต่อรักษา หลังจากให้การช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยแล้ว ต้องรีบเคลื่อนย้ายนำส่งโรงพยาบาล
การพยาบาลสาธารณภัย
ประเภทของอุบัติภัยหมู่แบ่งตาม
ขีดความสามารถของสถานพยาบาล
Multiple casualties
ทั้งจำนวนและความรุนแรงของผู้ป่วยไม่เกินขีดความสามารถของโรงพยาบาล ผู้ป่วยที่มีภาวะคุกคามต่อชีวิต (life Threatening) จะได้รับการรักษาก่อน
Mass casualties
ทั้งจำนวนและความรุนแรงของผู้ป่วย
เกินขีดความสามารถของโรงพยาบาลและทีมผู้รักษา
ผู้ป่วยที่มีโอกาสรอดชีวิตมากที่สุด
โดยใช้เวลาและทรัพยากรน้อยที่สุด
จะได้รับการรักษาก่อน
ระยะของหลักการพยาบาลสาธารณภัย
ระยะป้องกันหรือลดผลกระทบ (บรรเทาทุกข์)
การลดความเสี่ยง และป้องกันโรค
ส่งเสริมสุขภาพ
การพัฒนาและวางแผนนโยบาย
ระยะเตรียมความพร้อม
ปฏิบัติตามหลักกฎหมาย
ปฏิบัติด้วยความรับผิดชอบ
ปฏิบัติตามหลักจริยธรรม
สื่อสารและการแบ่งปันข้อมูล
ให้การศึกษาและการเตรียมความพร้อม
ระยะรับมือ (ตอบสนองภาวะภัยพิบัติ)
ดูแลทางด้านจิตใจ
ปฏิบัติตามแผน/การดำเนินงาน
ดูแลประชาชนกลุุมเปราะบาง
ประเมินสถานการณ์อยู่เสมอ
ดูแลบุคคลและครอบครัว รวมถึงชุมชน
ระยะพักฟื้น (ฟื้นคืนสภาพ)
ฟื้นฟูสภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน
เน้นให้มีระบบเฝ้า
ระวังโรคติดต่อและส่งมอบภารกิจ
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
หลักการบริหารจัดการในที่เกิดเหตุและรักษาผู้บาดเจ็บ
D – Detection คือ การประเมินสถานการณ์ว่าเกินกำลังหรือไม่
I - Incident command คือ ระบบการบัญชา
เหตุการณ์และผู้ดูภาพรวมของการปฏิบัติการทั้งหมด
S – Safety and Security คือ การประเมินความ ปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในที่เกิดเหตุ
A – Assess Hazards คือ การประเมินสถานที่เกิด
เหตุเพื่อระแวดระวังวัตถุอันตรายต่างๆ
ที่อาจเหลือตกค้างในที่เกิดเหตุ
S – Support คือ การเตรียมอุปกรณ์และทรัพยากร
ที่จำเป็นต้องใช้ในที่เกิดเหตุ
T – Triage/Treatment คือ การคัดกรองและให้การ รักษาที่รีบด่วนตามความจำเป็นของผู้ป่วย
โดยการใช้หลักการของ MASS Triage Model
เพื่อคัดแยกผู้ป่วยแบ่งเป็นกลุ่มตาม ID-me
ได้อย่างรวดเร็ว
E – Evacuation คือ การอพยพผู้บาดเจ็บระหว่างเหตุการณ
1 more item...
ระบบทางด่วน (Fast track/Pathway system)
เป็นแนวทางของระบบบริการสุขภาพ
ที่ช่วยนำผู้ป่วยให้เข้าถึงบริการ
ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานอย่างทันเวลา
และลดระยะเวลาการรักษา
ในผู้ป่วยกลุ่มอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน
เพื่อให้ได้รับการรักษาเฉพาะทาง
ที่มีศักยภาพสูงกว่า
บทบาทพยาบาลกับระบบทางด่วน
การประเมินเบื้องต้นโดยใช้ความรู้ ความสามารถเฉพาะโรค
การรายงานแพทย์ผู้รักษาเพื่อตัดสินใจสั่งการรักษา
การประสานงานผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร
การจัดการและดูแลขณะส่งต่อ
การให้การดูแลตามแผนการรักษาภายใต้ระยะเวลาที่จำกัด
การติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง
การให้ความช่วยเหลือเมื่อมีความผิดปกติ
และ ติดตามการประเมินผลลัพธ์
การดำเนินงานเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานในภาพรวม
การจัดระบบให้มีการทบทวน
และพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
หลักดำเนินการ
การจัดทำควรเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ
ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล
เจ้าหน้าที่ในส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
มาร่วมดำเนินการ
จัดทำแผนภูมิการดูแลผู้ป่วย พร้อมกำหนดลักษณะ
ผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วนที่เข้าระบบทางด่วน
จัดทำแนวปฏิบัติลำดับการปฏิบัติ
ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยตั้งแต่ผู้ป่วย
มาถึงประตูโรงพยาบาล หรือห้องฉุกเฉิน
พร้อมกำหนดหน้าที่ต่างๆของผู้ที่เกี่ยวข้อง
จัดทำรายการตรวจสอบ (check list)
สำหรับการลงข้อมูล ตรวจสอบข้อมูลต่างๆ
ฝึกอบรมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้มีความรู้และสามารถดำเนินการตามระบบทางด่วน
แผนการปฏิบัติต้องเน้นย้ำเวลาเป็นสำคัญ
ต้องมี แผนปฏิบัติการรองรับ
เพื่อให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
กำหนด clinical indicator เพื่อการติดตามและ ประเมินผลในแต่ละขั้นตอนของระบบทางด่วน
สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน
หลักการดูแลผู้บาดเจ็บ (Trauma life support)
เป็นระบบสำหรับการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บเพื่อให้ได้
ใช้แหล่งประโยชน์ที่เหมาะสมและคุ้มค่า
ลดอัตราการเสีย มีชีวิตที่ป้องกันได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
การเข้าถึงหรือรับรู้ว่ามีเหตุเกิดขึ้น (Access)
การเข้าถึงช่องทางสำหรับการติดต่อในการแจ้ง
เมื่อมีเหตุเกิดขึ้น ประชาชนทุกระดับการศึกษา
ทุกพื้นที่ต้องสามารถเข้าถึงระบบหรือช่องทางนี้ได้
โดยการเข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
ที่มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องมีหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน
เป็นหมายเลขเดียวที่สามาถใช้ได้ทั่วประเทศ
มีศูนย์รับแจ้งเหตุและศูนย์สั่งการเพื่อติดต่อประสานงาน
การดูแลในระยะก่อนถึงโรงพยาบาล (Prehospital care)
คือ การจัดให้มีการดูแลผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุ
โดยมีบุคลากรที่ได้รับการอบรมให้ความรู้ความสามารถ
ในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ การช่วยฟื้นคืนชีพ
การจำแนกผู้บาดเจ็บ ให้การรักษาเบื้องต้น
โดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก
การดูแลในระยะที่อยู่โรงพยาบาล (Hospital care)
คือ การดูแลรักษาในโรงพยาบาลตั้งแต่
การคัดแยก ระบบทางด่วนฉุกเฉิน การวินิจฉัย
การรักษาตามความเร่งด่วน รวมถึงการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤต
หอผู้ป่วย การฟื้นฟู ซึ่งทุกขั้นตอน
จะต้องกระทำถูกต้องตามหลักวิชาชีพและมีประสิทธิภาพ
การฟื้นฟูสภาพ และการส่งต่อ (Rehabilitation & transfer)
คือการดูแลต่อเนื่องในรายที่พบัญหาหรือต้องได้รับการฟื้นฟู
เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีภายหลัง
จากการได้รับการรักษาในโรงพยาบาล
ขณะเดียวกันด้านการส่งต่อ อาจแบ่งเป็นการส่งต่อในกรณีที่
ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงเกินความสามารถในการรักษา
จำเป็นต้องส่งต่อไปยังสถานพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า
หรือมีความเชี่ยวชาญกว่า อีกกรณีหนึ่งคือ
การส่งกลับไปยังโรงพยาบาลเดิมหรือต้นสังกัดเมื่ออาการดีขึ้น