Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 (1) แนวคิด หลักการการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน - Coggle Diagram
บทที่ 5 (1)
แนวคิด หลักการการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน
แนวคิดระบบการแพทย์ฉุกเฉินมีสองโมเดล ซึ่งมีความแตกต่างกัน
Anglo-American Model (AAM)
ประเทศที่ใช้ : ไทย สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย
จำนวนผู้ป่วย : ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการ
นำส่งไปยังโรงพยาบาล มีเพียงจำนวนน้อย
ที่ได้รับการดูแล ณ จุดเกิดเหตุ
ค่าใช้จ่าย : แพงกว่า FGM
ปรัชญาหรือจุดประสงค์หลัก : Scoop and run
เวลาสำหรับการประคับประคอง
อาการในสถานที่เกิดเหตุสั้น
และนำผู้ป่วยส่งยังสถานพยาบาลให้เร็วที่สุด
(นำผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด)
แนวคิดการเชื่อมต่อองค์กร : ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
เป็นส่วนหนึ่งขององค์การความปลอดภัยสาธารณะ
องค์การที่เกี่ยวข้อง : ภายใต้บริการ
จะเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพ
Franco-German Model (FGM)
ประเทศที่ใช้ : เยอรมนี ฝรั่งเศส กรีซ มอลต้า ออสเตรีย
จำนวนผู้ป่วย : ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการ
รับการรักษา ณ จุดเกิดเหตุ
มีเพียงจำนวนน้อยที่นำส่งโรงพยาบาล
ค่าใช้จ่าย : ถูกกว่า AAM
ปรัชญาหรือจุดประสงค์หลัก :
Stay and Stabilize ให้เวลานานในการ
ดูแลอาการในสถานที่เกิดเหตุ
และนำการรักษาไปยังสถานที่เกิดเหตุ
(นำบริการโรงพยาบาลมาหาผู้ป่วย)
แนวคิดการเชื่อมต่อองค์กร :
ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
เป็นส่วนหนึ่งขององค์การสาธารณสุข
องค์การที่เกี่ยวข้อง : องค์การที่เกี่ยวข้องการ
บริการความปลอดภัยของสาธารณะ เช่น ตำรวจ สถานีดับเพลิง
ความแตกต่างระหว่าง Crisis care และ Critical Care
Crisis care
เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยการรักษา จึงมุ่งเน้นแก้ไขอาการที่ปรากฏอันตราย โดยเฉพาะระบบของร่างกายที่มีการล้มเหลว เพื่อแก้ไขภาวะล้มเหลว หรือรักษา
สภาพการทำงานของระบบนั้น
Critical Care
เพื่อดำรงรักษาชีวิต มุ่งเน้นแก้ไขอาการที่ปรากฏในครั้งแรก และการป้องกันไม่ให้เข้าสู่สถานการณ์คับขัน ซึ่งในการประคับประคองจะให้ความสำคัญ กับทุกระบบไม่ให้นำไปสู่สภาวะที่เป็นปัญหาต่อไป
ผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน
มีลักษณะทางคลินิก ดังนี้
ไม่รู้สึกตัว ชัก เป็นอัมพาต
หยุดหายใจ หายใจช้ากว่า 10 ครั้ง/นาที
หรือเร็ว กว่า 30 ครั้ง/นาที
หายใจลำบากหรือหอบเหนื่อย
คลำชีพจรไม่ได้ หรือชีพจรช้ากว่า 40
หรือเร็วกว่า 30 ครั้ง/นาที
ตกเลือดเลือดออกมากซีดมาก
ความดันโลหิต Systolic ต่ำกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท
หรือ Diastolic สูงกว่า 130 มิลลิเมตรปรอท
เจ็บปวดทุรนทุรายกระสับกระส่าย
มือเท้าซีดเย็น เหงื่อออกมาก
อุณหภูมิของร่างกายต่ำกว่า 35 เซลเซียส
หรือสูงกว่า 40 เซลเซียส
ถูกพิษจากสัตวT เช่น งู หรือสารพิษชนิดต่างๆ
ผู้ป่วยวิกฤต
มีลักษณะดังนี้
ผู้ป่วยที่สามารถรักษาได้ เช่น ผู้ป่วยที่หมดสติ ผู้ป่วยที่มีระบบการหายใจล้มเหลว ถ้าไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะเสียชีวิตในอัตราสูง
ผู้ป่วยที่มีอัตราตายสูง เช่น ผู้ป่วย Septic Shock
ผู้ป่วยที่มีแนวโน้มที่จะมีอาการรุนแรง เช่น ผู้ป่วย myocardialin farction
ผู้ป่วยที่อัตราตายสูง แม้จะได้รับการรักษา
เช่น ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
ผู้บาดเจ็บจากสาธารณภัย
แบ่งตามความรุนแรงได้ ดังนี้
กลุ่มอาการไม่รุนแรง หากผู้ป่วยเดินได้
อาจถือว่าอาการไม่หนัก
กลุ่มอาการหนัก ต้องหามนอนหรือนั่ง
มีอาการแสดงยังคลุมเครือ
ต้องใช้การตรวจอย่างละเอียด
กลุ่มอาการหนักมาก หรือสาหัสต้องการ
การรักษาโดยด่วนหรือช่วยชีวิตทันที
กลุ่มผู้ป่วยเสียชีวิต เป็นกลุ่มที่หมดหวังในการรักษา