Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ - Coggle Diagram
การพยาบาลอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ
ควาหมายของอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
กระทรวงแรงงานซึ่งทําหน้าที่ในการกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความ ปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานได้ให้
นิยามไว้ในกฎกระทรวงว่า “ความปลอดภัย อา ชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน” หมายความว่า
การกระทํา หรือสภาพการทํางานซึ่งปลอดจาก เหตุอันจะทําให้เกิดการประสบอันตราย การเจ็บปุวย หรือความเดือดร้อนรําคาญอันเนื่องจากการทํางานหรือ เกี่ยวกับการทํางาน (กระทรวง แรงงาน, 2549)
ปัญหาสุขภาพของคนทำงาน
แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1) โรคจากการประกอบอาชีพ/โรคเหตุอาชีพ
หมายถึง
โรคที่เกิดจากการ ทํางานสัมผัส กับปัจจัยคุกคามสุขภาพอนามัย เช่น คนงานโรงงานผลิตแบตเตอรี่ที่สัมผัส สารตะกั่วในงาน แล้วปุวยเป็นโรค พิษตะกั่ว คนงานที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีการสูญเสีย การได้ยินที่เกิดจากการทํางานสัมผัสเสียง เป็นต้น
8 กลุ่มโรค (กระทรวงแรงงาน, 2550) ดังนี้
(1) โรคที่เกิดขึ้นจากสารเคมี
(2) โรคที่เกิดขึ้นจากสาเหตุทางกายภาพ
(3) โรคที่เกิดขึ้นจากสาเหตุทางชีวภาพ ได้แก่ โรคติดเชื้อ หรือโรคปรสิตเนื่องจากการทำงาน
(4) โรคระบบหายใจที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน
(5) โรคผิวหนังที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน
(6) โรคระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูก ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานหรือสาเหตุจาก ลักษณะงานที่จำเพาะหรือมีปัจจัยเสี่ยงสูงในสิ่งแวดล้อมการทำงาน
(7) โรคมะเร็งที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน
(8) โรคอื่น ๆ ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงาน
2) โรคเกี่ยวเนื่องกับงาน (Work-related disease)
หมายถึง โรคที่การทํางานมีส่วนส่งเสริมให้ คนทํางานเจ็บป่วย ทําให้โรคที่เป็นอยู่กําเริบ รุนแรงขึ้น หรือทําให้ระยะแฝงของโรคสั้นลงหรือป่วยเป็นโรคเร็วขึ้น เช่น มีญาติป่วยเป็นความดัน โลหิตสูงและคนงานก็มีโรคความดันโลหิตสูงด้วย ประกอบกับงานมีมากและความเร่งรีบในการทํางาน จึงทําให้ โรคความดันโลหิตสูงมีความรุนแรงขึ้นหรือเกิดโรคแทรกซ้อนตามมา เช่น เส้นเลือดในสมองแตก
สาเหตุของโรคจากการประกอบอาชีพและโรคเกี่ยวเนื่องกับงาน
เกิดจาก 3 ปัจจัย ได้แก่
1. ปัจจัยเกี่ยวกับบุคคล (Workers) ลักษณะส่วนบุคคลที่มีผลต่อสุขภาพ ได้แก่
1.1 เพศ
การที่เพศหญิงและชายมีลักษณะทางสรีระวิทยา พฤติกรรมสุขภาพ และลักษณะการทํางาน ต่างกันเป็นสาเหตุให้มีโอกาสเกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคบางโรคต่างกัน เช่น คนทํางานเพศชายที่มีการสูบบุหรี่ เมื่อทํางานที่มีโอกาสได้รับสารเคมีจาก การสูดดมย่อมมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งปอดได้มากกว่าเพศหญิง
1.2 ความรู้และระดับการศึกษา
ผู้ที่มีการศึกษาสูงมักจะมีทักษะในการแสวงหา ความรู้ ซักถาม และ สามารถใช้แหล่งประโยชน์ได้ดีกว่าผู้ที่มีระดับการศึกษาที่ต่ำกว่า ทําให้มีการเรียนรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองได้ดี
1.3 อายุ
การที่มีอายุต่างกันทําให้มีโอกาสเกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคที่แตกต่างกัน คนทํางานที่มีอายุ มากย่อมมีโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคจากการทํางานมากกว่าคนทํางานที่อายุน้อยเนื่องมาจากความเสื่อมของ ร่างกายตามวัย เช่น การเกิดโรคหูเสื่อมในผู้สูงอายุโดยทั่วไปเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการได้ยินจะเสื่อมตามวัย อย่างไรก็ตามหากทํางานในบริเวณที่มีเสียงดังจะทําให้มีโอกาสเกิดหูเสื่อมเพิ่มมากขึ้น
1.4 พฤติกรรมสุขภาพ
เป็นปัจจัยสําคัญที่มีผลกระทบต่อสุขภาพคนทํางาน ยกตัวอย่างการศึกษา ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินของคนงานที่สัมผัสเสียงดังในสนามบินประเทศเกาหลี พบว่า การใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงมีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (Hong & Kim, 2001)
1.5 ความไวต่อการเกิดโรค
คนทํางานที่ปุวยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง หากทํางานใน สภาพแวดล้อมการทํางานที่มีการแข่งขันสูงอาจก่อให้เกิดความเครียด ส่งผลให้อาการของโรครุนแรงขึ้นได้ หรือคนทํางานที่มีโรคในระบบทางเดินหายใจ หากทํางานสัมผัสฝุุนก็อาจส่งผลให้อาการของโรคแย่ลงได้
2. ปัจจัยเกี่ยวกับงาน (Working Condition)
ลักษณะงานและสภาพการทํางาน เป็นปัจจัยที่ส่งผล ต่อสุขภาพคนทํางาน เช่น การทํางานแบบซ้ำซาก เช่น งานทอผ้าด้วยมือ งานกวาดถนน พนักงานพิมพ์ดีด มี โอกาสเกิดการบาดเจ็บสะสมของข้อมือ (Repetitive disorders หรือ Cumulative disorders) รวมถึงการ บาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ลักษณะงานที่ต้องทําเป็นกะในอาชีพพยาบาล พนักงานรักษาความปลอดภัย หรือ พนักงานร้านสะดวกซื้อ มีการศึกษาพบว่าการทํางานเป็นกะส่งผลให้แบบแผนการนอนหลับเปลี่ยนแปลง ไม่มี คุณภาพในการนอนหลับ อ่อนเพลีย วิตกกังกล ซึมเศร้า มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรค หัวใจและหลอดเลือด ใน หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้ง การคลอดก่อนกําหนด (Harrington, 2001)
3. ปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงาน (Working environment)
คือ
การสัมผัสสิ่งคุกคาม หรือปัจจัย
คุกคามสุขภาพ (Health hazards) ในสภาพแวดล้อมการทํางาน
แบ่งเป็น 5 ประเภท
3.1 ปัจจัยคุกคามด้านกายภาพ (Physical hazards)
เป็นสิ่งคุกคามที่ทําให้ เนื้อเยื่อของร่างกายมี
ความผิดปกติหรือเกิดการบาดเจ็บ มีดังนี้
3.1.1 ความร้อน 3.1.2 ความเย็น 3.1.3 เสียง
3.1.4 ความกดดันบรรยากาศที่ผิดปกติ ได้แก่
1) ขณะดําน้ําลงลึกทําให้อาการปวดในช่องหู การฉีกขาดของเยื่อแก้วหู อาการปวดในโพรงจมูก
2) กรณีที่ดําน้ําลึกแล้วขึ้นสู่ผิวน้ําเร็วเกินไป ทําให้เกิดฟองก๊าซในกระแสเลือดเข้าไป อุดตันตามเส้นเลือดที่เลี้ยงตามเนื้อเยื่อต่างๆ
เกิดความผิดปกติ
3.1.5 ความสั่นสะเทือน 3.1.6 รังสีรังสีมี 2 ประเภท คือ รังสีที่แตกตัวและรังสีที่ไม่แตกตัว
3.2 ปัจจัยคุกคามด้านชีวภาพ (Biological hazards) หมายถึง
การที่ร่างกายได้รับการติดเชื้อจากการทํางานที่ต้องสัมผัสกับ ตัวเชื้อโรคต่างๆ (Infectious agents) ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ปรสิต แล้วทําให้เกิดการเจ็บป่วยขึ้น (วิทยา อยู่สุข, 2542) บุคลากรใน โรงพยาบาล ได้แก่ แพทย์ พยาบาล พนักงานทําความสะอาด พนักงานที่ทํางานเกี่ยวกับการตรวจเชื้อใน ห้องทดลอง มีโอกาสได้รับเชื้อมากกว่าอาชีพอื่นๆเพราะต้องสัมผัสและใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรค
3.3 ปัจจัยคุกคามด้านเคมี (Chemical hazards)
สารเคมีที่ใช้ในกระบวนการ ผลิตในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ตัวทําละลาย ฝุ่น ฟูม ควัน ก๊าซ ละออง หรือไอระเหย สารเคมี เข้าสู่ร่างกายทางการหายใจ การ รับประทาน และการสัมผัสทางผิวหนัง เป็นสาเหตุให้คน ทํางานเกิดโรคและความเจ็บป่วยทั้งเฉียบพลัน เช่น ผิวหนังอักเสบ เกิดแผลไหม้พุพองและความเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น การเกิดพยาธิสภาพในระบบประสาท ทางเดิน หายใจ ระบบสืบพันธุ์ หรือเกิดโรคมะเร็ง ตัวอย่างสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิต เช่น เบนซีน แอสเบสตอส ฝุ่นซิลิก้า ไวนิลคลอไรด์ สารเคมีกําจัดศัตรูพืชต่างๆ
ตัวอย่างโรคที่เกิดจากการสัมผัสสารเคมี
1 more item...
3.4 ปัจจัยคุกคามด้านการยศาสตร์ (Ergonomics)
ปัจจุบันการทํางานโดยใช้ คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานานเป็นสาเหตุที่สําคัญของปัญหาด้านการยศาสตร์ โดยมีปัจจัยที่สําคัญคือการจัด สถานที่ทํางานไม่เหมาะสม เช่น ลักษณะเก้าอี้เตี้ยหรือสูงเกินไป ไม่มีที่พักแขน การที่คนทํางานอยู่ในท่าที่ต้อง ก้มหรือเงยเป็นระยะเวลานาน
2 more items...
การป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ
1. การค้นหาสิ่งคุกคามสุขภาพ
โดยการศึกษาขั้นตอนการผลิต วัสดุที่ใช้ในการผลิต และแผนผังของ สถานประกอบกิจการ
2. การค้นหาปัจจัยคุกคามสุขภาพที่เกิดจากการทํางาน
เป็นการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมในการทํางาน ได้แก่ การสํารวจตรวจสอบสภาพการทํางานและสิ่งแวดล้อมในการทํางาน เพื่อประเมินความเสี่ยงที่อาจ ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยและบาดเจ็บจากการทํางาน โดยทําการสํารวจสถานที่ทํางาน ตรวจวัดปัจจัยอันตราย อย่างสม่ำเสมอ
3. การใช้มาตรการควบคุม
มาตรการในการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทํางาน สามารถ
พิจารณาได้ 2 ทาง คือ มาตรการที่ใช้กับสถานประกอบการ และ มาตรการที่ใช้กับผู้ประกอบอาชีพ
3.1.1 การควบคุมที่ต้นตอหรือแหล่งกำเนิด (Source)
เป็นการควบคุม แหล่งกําเนิดของอันตราย ที่จะเกิดต่อคนทํางานโดยตรง เช่น ที่ตัวเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ การควบคุมวิธีนี้จะมีประสิทธิผล มากที่สุด
1 more item...
3.2 มาตรการที่ใช้กับผู้ประกอบอาชีพ
3.2.1 การให้ความรู้และคำแนะนำ
ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับอันตรายในการทํางาน
3.2.2 การใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Devices)
เป็นมาตรการลําดับสุดท้ายที่จะเลือกใช้ควบคุมปัจจัยอันตรายในสภาพแวดล้อมการทํางาน
3.2.3 การบริหารจัดการ
การบริหารจัดการให้เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพ ในการทํางาน (Administrative Controls) โดยการสร้างพฤติกรรมการทํางานที่ปลอดภัย เพื่อลดการสัมผัสปัจจัยอันตรายใน การทํางาน
3.2.4 การคัดกรองและการเฝ้าระวังการเกิดโรคจากการประกอบอาชีพ (Screening and Surveillance )
ได้แก่ การตรวจสุขภาพผู้ปฏิบัติงาน
หลักการป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุจากการประกอบอาชีพ
(สามารถนําหลักการ 3E มาใช้ในการดําเนินงานด้านความปลอดภัย)
1. วิศวกรรม (Engineering)
คือ การใช้หลักและวิชาความรู้ทางด้านวิศวกรรมในทุกแขนง เพื่อ แก้ไขปรับปรุงสภาพการณ์ทางกายภาพต่างๆทุกชนิดที่เกี่ยวข้องให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งานหรือ ปฏิบัติงาน สภาพการณ์ทางกายภาพ เช่น เครื่องจักรไม่มีอุปกรณ์ปูองกันส่วนที่เคลื่อนไหว
1 more item...
3) การบาดเจ็บจากการทํางาน
ความหมายและความสำคัญของการพยาบาลอาชีวอนามัย
การพยาบาลอาชีวอนามัย เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านหนึ่งของการพยาบาลอนามัยชุมชน โดย มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพของคนทํางาน (Salazar, Wilkinson, & 5 6 due. 1996) โรเจอร์ (Rogers, 2003) ได้ ให้ความหมายของการพยาบาลอาชีวอนามัยว่า เป็นการพยาบาลเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มุ่งเน้นการส่งเสริม ปกปูอง และคงไว้ซึ่งสุขภาพของคนทํางาน ภายใต้บริบทของสภาวะแวดล้อมการทํางานที่ปลอดภัย และเอื้อ ต่อสุขภาพ รวมถึงการปูองกันผลกระทบทางสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากสิ่งคุกคามในการทํางาน
บทบาทหน้าที่ของพยาบาลในงานอาชีวอนามัย
สภาการพยาบาลแห่งประเทศไทย (2539) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การพยาบาลอาชีวอนามัย เป็นการ พยาบาลเฉพาะทางที่ให้บริการแก่คนทํางานและประชากร วัยแรงงาน ซึ่งมุ่งเน้นทางด้านการส่งเสริม ปูองกัน และฟื้นฟูสุขภาพของคนทํางาน ภายใต้สิ่งแวดล้อมการทํางานที่ปลอดภัยและมีสุขอนามัย
บริการพยาบาลอาชีวอนามัย ในสถานประกอบการมาตรฐานที่ 5
ดังนี้ คือ บริการพยาบาลอาชีวอนามัย ต้องประกอบด้วยกิจกรรมที่ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ การปูองกัน โรคและอันตรายจากการทํางาน การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ปฏิบัติงาน โดยมีเกณฑ์การปฏิบัติงาน คือ
มีส่วนร่วมในการสํารวจและประเมินภาวะแวดล้อมและสภาพการทํางาน
ตรวจสุขภาพและตรวจพิเศษอย่างน้อยตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายแรงงาน
ให้สุขศึกษาด้านสุขภาพและส่งเสริมความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
ให้คําปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพและปัญหาที่เกี่ยวข้อง
ให้บริการรักษาพยาบาลภายในขอบเขตของกฎหมายวิชาชีพในส่วนที่เกี่ยวข้อง
จัดให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับการฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพตามความเหมาะสม
จัดให้มีระบบการส่งต่อเพื่อการรักษาพยาบาลและให้การช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
8.มีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาบริการพยาบาลอาชีวอนามัย
พยาบาลที่ทํางานด้านอาชีวอนามัยโดยเฉพาะประจําอยู่กับสถานประกอบการต้องมีคุณสมบัติ คือ
1) เป็นพยาบาลวิชาชีพ
2) ควรมีประสบการณ์อย่างน้อย 2 ปีในตึกผู้ป่วยนอก ห้องฉุกเฉิน และการพยาบาลสาธารณสุข
3) ควรได้รับการอบรมเฉพาะทางด้านการพยาบาลอาชีวอนามัย
ขอบเขตการทำงานการพยาบาลอาชีวอนามัย
(โรเจอร์ (Rogers, 2003) ได้อธิบายขอบเขตของการพยาบาลอาชีวอนามัยครอบคลุม หลายประเด็น)
ดังนี้
1. การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สามารถนําหลักการควบคุมและปูองกันโรคมาประยุกต์ใช้ใน การให้บริการอาชีวอนามัย
ดังนี้
การป้องกันระดับปฐมภูมิมุ่งเน้นเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ปูองกันโรค และคงไว้ ซึ่งภาวะสุขภาพของ คนทํางาน พยาบาลชุมชนสามารถจัดบริการอาชีวอนามัยในกลุ่ม ประชากรวัยทํางาน เช่น การส่งเสริมการ รับประทานที่มีประโยชน์ การออกกําลังกาย การปูองกันโรคโดยการกําจัด/ลดความเสี่ยง หรือปัจจัยคุกคามที่ เป็นสาเหตุของการเกิดโรค และการบาดเจ็บ
การป้องกันระดับทุติยภูมิเป็นการปูองกันในระยะแรกของการเกิดโรคเพื่อค้นหาโรคในระยะ เริ่มแรก ทําให้สามารถให้การรักษาได้ทันท่วงทีและจํากัดความพิการ ซึ่งอาจเกิดขึ้นหากไม่ได้รับการรักษาอย่าง ถูกวิธี การปูองกันในระยะนี้ยังรวมไปถึงการ ตรวจคัดกรองคนทํางานก่อนเข้าทํางาน และการเฝ้าระวังสุขภาพ ของคนทํางานเป็นระยะ การตรวจคัดกรองสามารถทําได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับลักษณะความเสี่ยงของแต่ละบุคคล เช่น การตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูกและการตรวจมะเร็งเต้านมในคนทํางานเพศหญิง
การป้องกันระดับตติยภูมิมีจุดมุ่งหมายเพื่อคงไว้ซึ่งความสามารถในการทําหน้าที่ของร่างกาย ภายหลังการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ การดูแลคนทํางานหลังการเจ็บป่วยเป็นรายบุคคล มีระบบติดตามเพื่อให้ การช่วยเหลือ ให้ความรู้และคําแนะนําแก่เจ้าของสถานประกอบการในการจัดงานให้มีความเหมาะสมกับ ข้อจํากัดทางร่างกายของคนทํางานแต่ละบุคคล รวมถึงมีระบบส่งต่อคนทํางานที่มีความพิการหรือมีข้อจํากัด ทางด้านร่างกายให้เข้ารับการฟื้นฟูสภาพ
2. การประเมินสุขภาพและเฝ้าระวังสิ่งคุกคามในการทำงาน
โดยการตรวจสุขภาพร่างกายก่อนเข้า ทํางานเพื่อจัดลักษณะงานให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล และใช้ในการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ ของคนทํางาน การตรวจสุขภาพในระหว่างการทํางานหรือการตรวจประจําปีเพื่อเฝ้าระวังโรคหรือความ เจ็บปุวยที่อาจเกิดจากการทํางานในสภาพที่ไม่เหมาะสมหรือสัมผัสปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทํางาน ข้อมูล ที่ได้สามารถนํามาใช้ในการพิจารณาปรับปรุงเครื่องจักร หรือการใช้มาตรการเพื่อปูองกันโรค
3.การเฝ้าระวังสถานที่ทำงานและการตรวจประเมินปัจจัยคุกคามในการทำงาน
โดยการเดินสํารวจ สถานที่ทํางาน กระบวนการผลิต และวัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อค้นหาปัจจัยคุกคามสุขภาพ การ ตรวจวัดระดับหรือปริมาณของปัจจัยคุกคามในสภาพแวดล้อมการทํางาน เช่น การตรวจวัดระดับเสียง ปริมาณ ฝุ่น ความเข้มของแสง ระดับสารเคมีในอากาศ ข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการ ดําเนินการเพื่อปรับปรุงแก้ไข หากตรวจพบว่ามีระดับปัจจัยคุกคามเกินมาตรฐานที่กําหนด
4. การให้บริการระดับปฐมภูมิและการจัดการรายกรณี
เป็นการดูแลสุขภาพเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็น โรคและการบาดเจ็บที่เกิดจากการทํางานและปัญหาสุขภาพอื่นๆ โดยการรักษาและส่งต่อคนทํางานที่มีปัญหา สุขภาพที่ซับซ้อนเพื่อเข้ารับการรักษาต่อในสถานพยาบาล
5. การให้คำปรึกษา เป็นการช่วยเหลือคนทํางานในการแก้ปัญหา
เพื่อให้เข้าใจสาเหตุของปัญหา เสนอแนะทางเลือก และให้การสนับสนุน นอกจากนี้พยาบาลยังสามารถให้คําปรึกษาแก่คนทํางานในการ ปูองกันโรคจากการทํางาน ให้คําปรึกษาแก่ผู้บริหารในการดําเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในคนทํางาน เช่น ปัญหาการใช้ยาเสพติด ปัญหาการขาดงาน การปูองกันโรคจากการทํางาน เป็นต้น
6. การบริหารจัดการ
พยาบาลมีบทบาทหน้าที่หลักในการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยในสถาน ประกอบการ โดยจะต้องคํานึงถึงเปูาหมาย พันธกิจ วัตถุประสงค์ ของการดําเนินธุรกิจ วัฒนธรรมองค์กร ลักษณะองค์ประกอบของคนทํางาน เช่น คน ทํางานวัยรุ่น ผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพที่สําคัญและมีความเร่งด่วน ที่ต้องได้รับการแก้ไข การบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยครอบคลุมถึงการกําหนดนโยบาย การจัดสรรงบ ประมาณและทรัพยากรการเพื่อดําเนินโครงการ และการประเมินผลโครงการ
7. การวิจัย
พยาบาลควรทําการวิจัยหรือร่วมดําเนินการวิจัย เพื่อนําผลการวิจัยมาใช้ในการส่งเสริม สุขภาพและปูองกันโรคจากการทํางาน เช่น การวิจัยเพื่อศึกษาผลกระทบจากการทํางานสัมผัสสารเคมี
1 more item...
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีวอนามัย
1) พระราชบัญญัติประกันสังคม
2) พระราชบัญญัติเงินทดแทน
3) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
4) พระราชบัญญัติโรงงาน
5) พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย