Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
องค์ประกอบหลักของโลก, klf_1, unnamed (1), unnamed (2), megafauna,…
องค์ประกอบหลักของโลก
ส่วนที่เป็นบรรยากาศ (Atmosphere)
ประกอบด้วยแก๊ส ไอน้ำ รวมถึงอนุภาคต่างๆ ในอากาศ ห่อหุ้มโลกอยู่ สามารถแบ่งออกเป็นชั้นต่างๆ ได้หลายชั้น โดยชั้นที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต คือ บรรยากาศชั้นโทรโปสเฟียร์ (Troposphere) ซึ่งปกคลุมอยู่ใกล้ผิวโลก ทั้งนี้ ชั้นบรรยากาศยังรวมถึงเมฆ และหยาดน้ำฟ้า ได้แก่ ฝน หิมะ
ชั้นบรรยากาศ
แบ่งตามเกณฑ์ความสูง ได้ทั้งหมด 5 ชั้นได้แก่ 1.โทรโปสเฟียร์ (Troposphere)
2.สตาโตสเฟียร์ (Startosphere)
3.มีโซสเฟียร์ (Mesosphere)
4.เทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere)
5.เอกโซสเฟียร์ (Exsphere)
ความสำคัญของบรรยากาศ
ให้แก๊สออกซิเจนแก่สิ่งมีชีวิตในโลกเพื่อใช้ในกระบวนการหายใจและดำรงชีวิต
ช่วยปรับอุณหภูมิบนพื้นผิวโลกให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต เพื่อให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
ช่วยป้องกันอันตรายจากรังสี และอนุภาคต่างๆ จากนอกโลก
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ
เช่น เกิดภาวะเรือนกระจก และภาวะโลกร้อน ซึ่งก่อให้เกิดธารน้ำแข็งละลาย
พื้นน้ำ หรืออุทกภาค (Hydrosphere)
ทั้งที่เป็นน้ำผิวดิน เช่น หนองน้ำ ลำคลอง แม่น้ำ ทะเลสาบ มหาสมุทร รวมทั้งน้ำแข็งบริเวณขั้วโลก และที่เป็นน้ำใต้ดินโดยน้ำอาจเกิดจากการควบแน่นของเมฆ หรือการคายน้ำของพืช
ผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางอุทกภาค
เช่น อุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายแก่มนุษย์และสิ่งมีชีวิตรอบข้าง
ความสำคัญของอุทกภาค
น้ำถือเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญมากๆของสิ่งมีชีวิต เช่น มนุษย์และสิ่งมีชีวิตใช้น้ำในการดำรงชีวิต ใช้น้ำในการบริโภค อุปโภค ใช้น้ำในการเพาะปลูกพืช
ชีวภาคหรือชีวมณฑล(Biosphere)
บริเวณที่มีสภาพพื้นดิน หิน น้ำ และบรรยากาศเหมาะสมต่อการเกิดและดำรงของสิ่งมีชีวิต ปัจจัยสำคัญที่กำหนดให้ดินมีสมบัติต่างกันคือ ลักษณะทางอุทกวิทยาและภูมิอากาศที่แตกต่างกัน
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาค
ได้แก่ ที่อยู่อาศัยของสัตว์ลดลง การอยู่รอดและการเกิดของสิ่งมีชีวิตต่างๆลดลง
ประโยชน์ของชีวภาค
ได้แก่
เป็นแหล่งอาหารให้มนุษย์และสัตว์
เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยให้สิ่งมีชีวิต
เป็นแหล่งให้มนุษย์ได้ประกอบอาชีพ
ส่วนที่เป็นพื้นดินและหิน หรือธรณีภาค(Lithosphere)
คือชั้นเนื้อโลกส่วนบน เปลือกโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกจัดเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้น
ผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา
ได้แก่ แผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด ซึ่งเป็นภัยพิบัติที่มีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์
ความหมาย
:
การเรียนรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆในสภาพแวดล้อมธรรมชาติ (ดิน น้ำ บรรยากาศ สิ่งปกคลุม) เพื่อให้เข้าใจรูปแบบความสัมพันธ์ปรากฏการณ์ รวมทั้งแนวโน้มต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้้นซึ่งจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม และมีผลต่อเนื่องมาถึงคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเรา และทุกๆองค์ประกอบบนโลก