Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
spinal shock - Coggle Diagram
spinal shock
พยาธิสภาพ
ภาวะที่ไขสันหลังหยุดทำงานชั่วคราวภายหลังได้รับบาดเจ็บ เนื่องจากไขสันหลังที่ได้รับบาดเจ็บใหม่ๆ จะบวมมากใยประสาทจึงหยุดทำงานชั่วคราว
เมื่อยุบบวมใยประสาทจึงกลับมาทำงานได้ปกติมักเกิดกับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บไขสันหลังระดับ ตั้งแต่กระดูกอกชิ้นที่ 6 (T6) ขึ้นไปหรือสูงกว่า ระดับ Sympathetic outflow ที่เลี้ยงช่องท้องและขา
จากการถูกตัดขาดของ sympathetic pathway ทำให้เสียการควบคุมประสาทเวกัส (vasomotor tone) ทำให้หลอดเลือดขยาย (vasodilation) และ cardiac tone ลดลง
อาการสำคัญ
-
2. ความดันโลหิตต่ำ (hypotension)เนื่องจากหลอดเลือดของอวัยวะส่วนที่เป็นอัมพาตขยายตัวและชีพจรช้าเนื่องจาก cardiac tone ลดลง
-
Bulbocarvernous reflex
เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของไขสันหลังระดับกระดูกกระเบนเหน็บชิ้นที่ 2-4 ( S2-S4) ตรวจทำได้โดยใส่ถุงมือข้างหนึ่งแล้วสอดนิ้วเข้าไปที่ทวารหนักของผู้ป่วยหลังจากนั้นกระตุกสายสวนปัสสาวะเบาๆ เพื่อกระตุ้น bladder neck ทำให้กล้ามเนื้อ bulbocarvernous และ puborectalis หดตัว
ระยะเวลาการฟื้นจากภาวะ spinal shock ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 24-48 ชั่วโมงโดยอาการที่แสดงว่าพ้นจากภาวะ spinal shock คือ ตรวจ bulbocarvernous reflex ให้ผลบวก
-
การพยาบาล
- การให้สารน้ำอย่างเพียงพอ เพื่อให้ systolic blood pressure มากกว่า 90 mmHg ปกติให้ในอัตราไหลของสารน้ำประมาณ 50-100 ซีซี/ชั่วโมง
- ระวังอย่าให้สารน้ำมาก เพราะจะทำให้ไขสันหลังบวม (cord edema) และปอดบวมน้ำจากภาวะน้ำเกิน (pulmonary edema)
- ติดตามค่า hemoglobin และ hematocrit ถ้าต่ำแสดงว่าเสียเลือดจากภาวะอื่น หรืออาจมีภาวะ hypovolemic shock ร่วมด้วย ต้องให้เลือดทดแทน
- บันทึกจำนวนปัสสาวะ เพื่อประเมินภาวะขาดน้ำ และบ่งบอกการทำหน้าที่ของไต
- บันทึกสัญญาณชีพ monitor EKG ในรายที่ค่าความดันโลหิตต่ำอาจให้ยาช่วยเพิ่มความดันโลหิต เช่น Dopamine, Dobutamine หยดทางหลอดเลือดดำและถ้าชีพจรน้อยกว่า 50 ครั้ง/นาที แพทย์จะให้ atropine 0.6 มิลลิกรัมฉีดทางหลอดเลือดดำ