Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิด หลักการการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน และสาธารณภัย - Coggle Diagram
แนวคิด หลักการการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน และสาธารณภัย
แนวคิด
Anglo-American Model (AAM)
ปรัชญา/จุดประสงค์หลัก
“Scoop and run” เวลาสำหรับการประคับประคองอาการในสถานที่เกิดเหตุสั้นและนำผู้ป่วยส่งยังสถานพยาบาลให้เร็วที่สุด
นำผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
ปีเริ่มต้น
1970s
บุคลากรผู้ให้บริการ/การดูแล
ทีมเวชกิจฉุกเฉินให้การดูแล
โดยมีแพทย์กำกับ
ปลายทาง
ลำเลียงผู้ปู่วยส่งตรงห้องฉุกเฉิน
แนวคิดการเชื่อมต่อองค์กร
ระบบการแพทย์ฉุกเฉินเป็นส่วนหนึ่งของ องค์การความปลอดภัยสาธารณะ
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
ใช้ Aero-medical หรือ
Coastal ambulance
รถ Ambulance เป็นหลัก
องค์การที่เกี่ยวข้อง
องค์การที่เกี่ยวข้องการบริการความปลอดภัยของสาธารณะ เช่น ตำรวจสถานีดับเพลิง
ค่าใช้จ่าย
สูงกว่า FGM
จำนวนผู้ป่วย
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการนำส่งไปยังโรงพยาบาล
เพียงจำนวนน้อยที่ได้รับ การดูแล ณ จุดเกิดเหต
ตัวอย่างประเทศ
สหราชอาณาจักรสหรัฐอเมริกา แคนาดา นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย
Franco-German Model (FGM)
ปรัชญา/จุดประสงค์หลัก
“Stay and Stabilize” ให้เวลานานในการดูแลอาการในสถานที่เกิดเหตุและนำการรักษาไปยังสถานที่เกิดเหตุ
นำบริการโรงพยาบาลมาหา
ผู้ป่วย
ปีเริ่มต้น
1970s
บุคลากรผู้ให้บริการ/การดูแล
แพทย์ให้การดูแลโดยมีทีมเวชกิจฉุกเฉินช่วย อาจนำเทคโนโลยีรวมไให้การดูแลในขั้นสูง
ปลายทาง
ลำเลียงผ้ปู่วยส่งหน่วยเฉพาะ
ทาง
แนวคิดการเชื่อมต่อองค์กร
ระบบการแพทย์ฉุกเฉินเป็นส่วนหนึ่งขององค์การสาธารณสุข
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
Ambulance, Helicopter และ Coastal ambulance
องค์การที่เกี่ยวข้อง
ภายใต้บริการจะเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพ
ค่าใช้จ่าย
ต่ำกว่า AAM
จำนวนผู้ป่วย
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการรับการรักษา ณ จุดเกิดเหตุ
เพียงจำนวนน้อยที่นำส่งโรงพยาบาล
ตัวอย่างประเทศ
เยอรมนี ฝรั่งเศส กรีซ มอลต้า ออสเตรีย
การเจ็บป่วยฉุกเฉิน
การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน จำเป็นต้องดำเนินการช่วยเหลือ และการดูแลรักษาทันที อาจเกิดจากภาวะต่างๆ เช่น การเกิดโรคในระบบต่างๆ ของร่างกาย การบาดเจ็บ การเกิดโรคติดต่อ และโรคติดเชื้อ เป็นต้น
การเจ็บป่วยวิกฤต
Critical
จะนำมาใช้ในผู้ป่วยอาการเพียบหนัก มีอาการรุนแรง หรือขั้นฉุกเฉิน มีอันตราย
เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยการรักษา จึงมุ่งเน้นแก้ไขอาการที่ปรากฏอันตราย โดยเฉพาะระบบของร่างกายที่มีการล้มเหลว เพื่อแก้ไขภาวะล้มเหลว หรือรักษาสภาพการทำงานของระบบนั้น
Crisis
นำมาใช้กับผู้ป่วยที่อยู่ในสภาวะที่มีสถานการณ์คับขัน เป็นจุดวิกฤตของการเป็นโรค ทำให้มีอาการดีขึ้น หรือตายได้ในทันทีผู้ ป่วยในสภาวะนี้มีโอกาสของความเปfนความตายได้เท่ากัน
เพื่อดำรงรักษาชีวิต มุ่งเน้นแก้ไขอาการที่ปรากฏในครั้งแรก และการป้องกันไม่ให้เข้าสู่สถานการณ์คับขัน Crisisในการประคับประคองให้ความสำคัญกับทุกระบบไม่ให้นำสู่สภาวะที่เป็นปัญหาต่อไป
การเจ็บป่วยที่มีความรุนแรงถึงขั้นที่อาจทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิต
หรือพิการได้
อุบัติเหตุ (Accident)
อุบัติการณ์ซึ่งเกิดขึ้น โดยไม่คาดหมายมาก่อน ทำให้เกิดการบาดเจ็บตายและการสูญเสียทรัพย์สินโดยที่เราไม่ต้องการ
อุบัติเหตุมีขนาดใหญ่
เรียกว่า Disaster
ความรุนแรงแบ่งออกเป็น อุบัติเหตุปกติที่เกิดขึ้นทุกวัน เช่น อุบัติเหตุจากการจราจร และสาธารณภัยวินาศภัย ที่มีผลกระทบต่อสังคมและต้องระดมคนมาช่วยเหลือ
สถานที่เกิดเหตุ
อุบัติภัยจากการจราจร (Traffic Accident)
อุบัติภัยจากการทำงาน (Occupational Accident)
อุบัติภัยภายในบ้าน (Home or Domestic Accident)
อุบัติภัยในสาธารณสถาน (Public Accident)
ผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน
ผู้ที่ทีอาการหนักรุนแรงต้องการการดูแลจากเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง โดยใช้หลักและกระบวนการพยาบาลที่สมบูรณ์ เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะคุกคามชีวิต
ลักษณะทางคลินิก
ไม่รู้สึกตัว ชัก เป็นอัมพาต
หยุดหายใจ หายใจช้ากว่า 10 ครั้งต่อนาที หรือเร็วกว่า 30 ครั้งต่อนาที หายใจลำบากหรือหอบเหนื่อย
คลำชีพจรไม่ได้ หรือชีพจรช้ากว่า 40 หรือเร็วกว่า 30 ครั้ง/นาที
ความดันโลหิต Systolic ต่ำกว่า 80 มม.ปรอท หรือ Diastolic สูงกว่า 130 มม.ปรอท
ตกเลือดเลือดออกมากซีดมาก
เจ็บปวดทุรนทุรายกระสับกระส่าย
มือเท้าซีดเย็น เหงื่อออกมาก
อุณหภูมิของร่างกายต่ำกว่า 35 เซลเซียส หรือสูงกว่า 40 เซลเซียส
ถูกพิษจากสัตว์ เช่น งู หรือสารพิษชนิดต่างๆ
ลักษณะผู้ป่วยวิกฤต
ผู้ป่วยที่มีอัตราตายสูง เช่น ผู้ป่วยSeptic Shock หากไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในอัตราสูง
ผู้ป่วยที่มีแนวโน้มที่จะมีอาการรุนแรง เช่น ผู้ป่วย myocardialin farction ต้องการการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
ผู้ป่วยที่สามารถรักษาได้ เช่น ผู้ป่วยที่หมดสติ ผู้ป่วยที่มีระบบการหายใจล้มเหลวเป็นต้น หากไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะเสียชีวิตในอัตราสูง
ผู้ป่วยที่อัตราตายสูง แม้จะได้รับการรักษา เช่น ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
ผู้บาดเจ็บจากสาธารณภัย
กลุ่มอาการหนัก ต้องหามนอนหรือนั่งมาอาการแสดงยังคลุมเครือต้องใช้การตรวจอย่างละเอียด
กลุ่มอาการหนักมาก หรือสาหัสต้องการการรักษาโดยด่วนหรือช่วยชีวิตทันที กลุ่มผู้ป่วยเสียชีวิตเป็นกลุ่มที่หมดหวังในการรักษา
กลุ่มอาการไม่รุนแรง หากผู้ป่วยเดินได้อาจถือว่าอาการไม่หนัก
หลักการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน
หลักทั่วไปในการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน
การป้องกันและบรรเทาไม่ให้เกิดอาการรุนแรงถึงขั้นวิกฤต
การบันทึกเหตุการณ์อาการและการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ เพื่อเป็นประโยชน์ในการรักษาต่อไป
การส่งต่อรักษา หลังจากให้การช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยแล้ว ต้องรีบเคลื่อนย้ายนำส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษาต่อทันที พร้อมทั้งข้อมูลผู้ป่วย และข้อมูลการรักษาพยาบาลเบื้องต้น
เพื่อช่วยชีวิต
หากได้รับการพยาบาลที่ล่าช้าอาจทำให้ผู้ป่วยพิการหรือเสียชีวิตได้ จึงต้องมีหลักในการพยาบาล ดังนี้
ให้การรักษาพยาบาลภายใต้นโยบายของโรงพยาบาล และภายในเขตการรับรองของกฎหมาย
ให้การช่วยฟื้นคืนชีพอย่างถูกต้อง
ทำการคัดกรองผู้ป่วยอย่างรวดเร็วแม่นยำ
ให้การดูแลจิตใจของผู้ป่วยและญาติ
มีการซักประวัติการเจ็บป่วยและอาการสำคัญอย่างละเอียด ในเวลาที่่รวดเร็ว
มีการนัดหมายผู้ป่วยที่ไม่ได้นอนโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาต่อเนื่อง
มีหลักในการอุ้มยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากยานพาหนะไปยังห้องพยาบาล อย่างนุ่มนวล รวดเร็ว ปลอดภัย
มีการส่งต่อเพื่อการรักษาทั้งในหอผู้ป่วยในแผนกผู้ป่วยหนัก และภายนอกโรงพยาบาล
หลักการพยาบาลตามบทบาทพยาบาลวิชาชีพงานบริการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินของสภาการพยาบาล พ.ศ. 2552
ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่กำลังคุกคามชีวิตผู้ป่วย
ค้นหาสาเหตุและ/หรือปัญหาที่ทำให้เกิดภาวะฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ แล้วดำเนินการแก้ไข
ดูแลและรักษาสภาวะของผู้ป่วยให้อยู่ระดับปลอดภัย และคงที่โดยการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
รักษาหน้าที่ต่างๆ ของอวัยวะสำคัญของร่างกายให้คงไว
ป้องกันภาวะแทรกซ้อนและติดเชื้อ
ประคับประคองจิตใจและอารมณ์ของผู้ป่วยและญาติ
การพยาบาลสาธารณภัย
ภัยพิบัติ/สาธารณภัย (Disaster) ตามนิยามขององค์การอนามัยโลก (WHO) และThe Joint Commission on Accreditation of Healthcare Organization (JCAHO)
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือโดยมนุษย์อย่างทันทีและทำให้ระบบการดูแลรักษาที่มีอยู่เดิมชะงักลงหรือเพิ่มความต้องการในการปฏิบัติงานขององค์กร เหตุการณ์เช่นเดียวกันแต่เกิดในที่ห่างไกลหรือชนบทซึ่งอาจถือว่าเกินกำลังของโรงพยาบาลแห่งนั้นและต้องการความช่วยเหลือจากนอกโรงพยาบาลก็ถือว่าเป็นภัยพิบัติ
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสาธารณภัย / ภัยพิบัติ (Disaster)
ภัย (Hazard)
เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ใดๆที่สามารถที่ทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิต
ความเสียหายต่อทรัพย์สินความเป็นอยู่ และสิ่งแวดล้อม
สาธารณภัย / ภัยพิบัติ (Disaster)
ภัยที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเกิดจากธรรมชาติหรือจากการกระทำของมนุษย์แล้วก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต เกิดความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สิน สังคมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนภัยอื่นๆ อันมีผลกระทบต่อสาธารณชน
ตัวอย่าง
สาธารณภัย ได้แก่ อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัยภัย ภัยแล้ง
ภัยสาธารณะ
ภัยที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น คลื่นยักษ์ ดินถล่ม โรคระบาดในมนุษย์ โรคระบาดสัตว์
ภัยที่เกิดจากคนทำ ได้แก่ สาเคมีรั่วไหล รถชน ตึกถล่ม
ภัยทางอากาศ ได้แก่ ปล้นเครื่องบิน
การก่อวินาศภัย ได้แก่ ก;อการร้าย กราดยิง วางระเบิด
ประเภทของภัยพิบัติ
ภัยที่เกิดจากธรรมชาติ (Natural Disaster)
เกิดแบบฉับพลัน และเกิดแบบค่อยเป็นค่อยไป
ภัยที่เกิดจากมนุษย์(Man-made Disaster)
เกิดอย่างจงใจและเกิดอย่างไม่จงใจ
การจัดระดับความรุนแรงของสาธารณภัยทางสาธารณสุข
ความรุนแรงระดับที่ 2
สาธารณภัยขนาดกลาง หน่วยงานสาธารณสุขระดับอำเภอไม่สามารถจัดการได้ ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในการจัดการเข้าระงับภัย
ความรุนแรงระดับที่ 3
สาธารณภัยขนาดใหญ่ ที่มีผลกระทบรุนแรงกว้างขวาง หรือสาธารณภัยที่
จำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญหรืออุปกรณ์พิเศษ ต้องอาศัยการสนับสนุนจากหน่วยงานหลายส่วนราชการภายในเขตจังหวัด /จังหวัดใกล้เคียง และระดับเขต
ความรุนแรงระดับที่ 1
สาธารณภัยที่เกิดขึ้นทั่วไปหรือมีขนาดเล็ก ซึ่งสำนักงานสาธารณสุขในระดับอำเภอสามารถจัดการได้ตามลำพัง
ความรุนแรงระดับที่ 4
สาธารณภัยขนาดใหญ่ ที่มีผลกระทบรุนแรงยิ่ง นายกรัฐมนตรีหรือรอง
นายกรัฐมนตรี ที่นายก ฯ มอบหมายให้เป็นผู้ควบคุมสถานการณ์
อุบัติภัย
ภัย (Hazard)
เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ใดๆที่สามารถที่ทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิต
ความเสียหายต่อทรัพย์สินความเป็นอยู่ และสิ่งแวดล้อม
อุบัติเหตุกลุ่มชน/อุบัติภัยหมู่ (MASS CASSUALTIES)
อุบัติเหตุที่เกิดกับคนจำนวนมาก ได้รับการเจ็บป่วยจำนวนมาก เกินขีดความสามารถปกติที่โรงพยาบาลจะให้การรักษาพยาบาลได้
ลักษณะสำคัญ
เกิดการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วยของประชาชนจำนวนมาก
มีการทำลายของทรัพย์สินหรือสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรที่มีอยู่ในภาวะปกติไม่เพียงพอที่จะนำมาใช้ควบคู่สถานการณ์
ระบบและกลไกปกติของสังคมถูกทำลายหรือไม่เพียงพอที่จะควบคุมสถานการณ์ได้
ประเภทของอุบัติภัยหมู่แบ่งตามขีดความสามารถของสถานพยาบาล
Multiple casualties
ทั้งจำนวนและความรุนแรงของผู้ป่วยไม่เกินขีดความสามารถของโรงพยาบาล ผู้ป่วยที่มีภาวะคุกคามต่อชีวิต (life Threatening) จะได้รับการรักษาก่อน
Mass casualties
ทั้งจำนวนและความรุนแรงของผู้ป่วยเกินขีดความสามารถของโรงพยาบาลและทีมผู้รักษา ผู้ป่วยที่มีโอกาสรอดชีวิตมากที่สุด โดยใช้เวลาและทรัพยากรน้อยที่สุดจะได้รับการรักษาก่อน
หลักการพยาบาลสาธารณภัย
หมวดที่ 1 ระยะป้องกันหรือลดผลกระทบ/บรรเทา
ทุกข์
การลดความเสี่ยงการป้องกันโรค และการสร้างเสริมสุขภาพ
การส่งเสริมสุขภาพ
การพัฒนาและวางแผนนโยบาย
การลดความเสี่ยงและการป้องกันโรค
หมวดที่ 2 ระยะเตรียมความพร้อม
การปฏิบัติตามหลักจริยธรรม กฎหมายและความรับผิดชอบ
กรปฏิบัติตามหลักกฎหมาย
การปฏิบัติด้วยความรับผิดชอบ
การปฏิบัติตามหลักจริยธรรม
การสื่อสารและการแบ่งปันข้อมูล
การให้การศึกษาและการเตรียมความพร้อม
หมวดที่ 3 ระยะรับมือ / ตอบสนองภาวะภัย
พิบัติ
การดูแลชุมชน
การดูแลบุคคลและครอบครัว
การปฏิบัติตามแผน/การดำเนินงาน
การประเมิน
การดูแลทางด้านจิตใจ
การดูแลประชาชนกลุ่มเปราะบาง
หมวดที่ 4 ระยะพักฟื้น/ฟื้นคืน
การฟื้นฟูสภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน
พยาบาลกับการจัดการสาธารณภัย
การพยาบาลสาธารณภัย (Disaster Nursing) เป็นการพยาบาลที่ต้องนำความรู้และทักษะทางการพยาบาลทั่วไปและด้านการพยาบาลฉุกเฉิน มาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่เกิดสาธารณภัยทั้งในระยะก่อนเกิด ขณะเกิด และหลังเกิดภัย เพื่อป้องกันและ/หรือ ลดความสูญเสียที่จะเกิดกับชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ประสบภัยและญาติ รวมถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมที่จำเป็นด้วย
หลักการบริหารจัดการในที่เกิดเหตุและรักษาผู้บาดเจ็บ
Disaster paradigm ประกอบด้วย
E – Evacuation คือ การอพยพผู้บาดเจ็บระหว่างเหตุการณ์
T – Triage/Treatment คือ การคัดกรองและให้การรักษาที่รีบด่วนตามความจำเป็นของผู้ป่วย โดยการใช้หลักการของMASS Triage Model ( Move, Assess, Sort และ Send) เพื่อคัดแยกผู้ป่วยแบ่งเป็นกล่มตาม
ID-me (Immediate, Delayed, Minimal, Expectant) ได้อย่างรวดเร็ว
R – Recovery คือ การฟื้นฟูสภาพหลังจากเกิดเหตุการณ์
S – Support คือ การเตรียมอุปกรณ์และทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในที่เกิดเหตุ
A – Assess Hazards คือ การประเมินสถานที่เกิดเหตุเพื่อระแวดระวังวัตถุอันตรายต่างๆที่อาจเหลือตกค้างในที่เกิดเหตุ
S – Safety and Security คือ การประเมินความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในที่เกิดเหตุ
I - Incident command คือ ระบบการบัญชาเหตุการณ์และผู้ดูภาพรวมของการปฏิบัติการทั้งหมด
D – Detection คือ การประเมินสถานการณ์ว่าเกินกำลังหรือไม่
ลักษณะของการปฏิบัติการพยาบาลในสถานการณ์สาธารณภัย
ต้องนำความรู้และทักษะทางการพยาบาลทั่วไปและด้านการพยาบาลฉุกเฉินมาประยุกต์ใช้ใน
สถานการณ์ภัยพิบัติ ทั้งในระยะก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังเกิดภัย
เป็นการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อ
ป้องกันและลดความรุนแรงของการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย
มุ่งเน้นด้านการพยาบาลฉุกเฉินแก่ผู้ประสบภัยจำนวนมากในขณะเกิดภัย
การฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ประสบภัยและญาติ
มุ่งลดความเสียหายต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชนที่เกิดจากสาธารณภัย โดยใช้องค์ความรู้และทักษะทางการพยาบาลอย่างเป็นระบบ
คุณสมบัติพยาบาลสำหรับจัดการสาธารณภัย
มีทักษะในการตัดสินใจที่ดี มีความเป็นผู้นำ และสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
มีทักษะในการสื่อสาร และการบันทึกข้อมูลต่างๆได้อย่างถูกต้องครบถ้วนชัดเจน
มีความรู้ด้านสาธารณภัย มีความสามารถในการประเมินสถานการณ์และคาดการณ์ถึงปัญหาสุขภาพที่จะเกิดจากสาธารณภัยชนิดต่างๆ รวมทั้งมีความสามารถให้การพยาบาลได้ครอบคลุมทุกระยะของการเกิดภัย
มีวุฒิภาวะที่เหมาะสมกับสถานการณ์
มีความรู้ทางการพยาบาลและมีประสบการณ์การปฏิบัติงานการพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินและวิกฤต และด้านการรักษาโรคเบื้องต้นได้
ระบบทางด่วน (Fast track/Pathway system) สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน
ระบบทางด่วนสำหรับผู้ป่วยเจ็บหน้าอก (Chest pain fast track)
ระบบทางด่วนสำหรับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางหลอดเลือดสมอง (Strokefast track)
ระบบทางด่วนสำหรับผู้ป่วยอุบัติเหตุ (Trauma fast track)
หลักการ
การจัดทำควรเปfนทีมสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ในส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องมาร่วมดำเนินการ
จัดทำแผนภูมิการดูแลผู้ป่วย พร้อมกำหนดลักษณะผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วนที่เข้าระบบทางด่วน
จัดทำแนวปฏิบัติ ลำดับการปฏิบัติในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงประตูโรงพยาบาล หรือห้องฉุกเฉิน พร้อมกำหนดหน้าที่ต่างๆของผู้ที่เกี่ยวข้อง
จัดทำรายการตรวจสอบ (check list) สำหรับการลงข้อมูล ตรวจสอบข้อมูลต่างๆ
ฝึกอบรมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้มีความรู้และสามารถดำเนินการตามระบบทางด่วน
แผนการปฏิบัติต้องเน้นย้ำเวลาเป็นสำคัญ ต้องมีแผนปฏิบัติการรองรับ
กำหนด clinical indicator เพื่อการติดตามและประเมินผลในแต่ละขั้นตอนของระบบทางด่วน (Fasttrack/Pathway system) สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน
บทบาทพยาบาลกับระบบทางด่วน (Fast track)
การรายงานแพทย์ผู้รักษาเพื่อตัดสินใจสั่งการรักษา
การประสานงานผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร
การประเมินเบื้องต้นโดยใช้ความรู้ ความสามารถเฉพาะโรค
การจัดการและดูแลขณะส่งต่อ
การให้การดูแลตามแผนการรักษาภายใต้ระยะเวลาที่จำกัด
การติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง
การให้ความช่วยเหลือเมื่อมีความผิดปกติและติดตามการประเมินผลลัพธ์
การดำเนินงานเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานในภาพรวม
การจัดระบบให้มีการทบทวนและพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
บทบาทพยาบาลในระบบทางด่วน (Fast track)
Flow (purpose-process-performance)
Investigation
Activate system
Care delivery
Triage/ Specific triage/ Assessment
Monitoring: early warning signs & E-response
EMS (accessibility)
Risk management (general & clinical)
Co-ordination, Communication, Handover
Inter & Intra transportation
Evaluation, output, outcome
Improvement, Innovation, Integration
หลักการดูแลผู้บาดเจ็บ (Trauma life support)
ระบบการดูแลผู้บาดเจ็บ (Trauma care system)
เป็นระบบสำหรับการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บเพื่อให้ได้ใช้แหล่งประโยชน์ที่เหมาะสมและคุ้มค่า ลดอัตราการเสียชีวิตที่ป้องกันได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ประกอบด้วย
การเข้าถึงหรือรับรู้ว่ามีเหตุเกิดขึ้น (Access)
การเข้าถึงช่องทางสำหรับการติดต่อในการแจ้งเมื่อมีเหตุเกิดขึ้น ประชาชนทุกระดับการศึกษา ทุกพื้นที่ต้องสามารถเข้าถึงระบบหรือช่องทางนี้ได้
การดูแลในระยะก่อนถึงโรงพยาบาล (Prehospital care)
การจัดให้มีการดูแลผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุโดยมีบุคลากรที่เป็นบุคลากรที่ได้รับการอบรมให้ความรู้ความสามารถ ในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ การช่วยฟื้นคืนชีพ การจำแนกผู้บาดเจ็บ ให้การรักษาเบื้องต้น โดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก (scene safety) และภายหลังการช่วยเหลือสามารถนำส่งผู้บาดเจ็บไปสู่โรงพยาบาลได้รวดเร็วและเหมาะสม ทั้งยังต้องสามารถประสานงานกับโรงพยาบาลอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง
การดูแลในระยะที่อยู่โรงพยาบาล (Hospital care)
การดูแลรักษาในโรงพยาบาลตั้งแต่การคัดแยก ระบบทางด่วนฉุกเฉิน การวินิจฉัย การรักษาตามความเร่งด่วน รวมถึงการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤต หอผู้ป่วย การฟื้นฟู
การฟื้นฟูสภาพและการส่งต่อ (Rehabilitation & transfer)
การดูแลต่อเนื่องในรายที่พบปัญหาหรือต้องได้รับการฟื้นฟูเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีภายหลังจากการได้รับการรักษาในโรงพยาบาล
ด้านการส่งต่อ อาจแบ่งเป็นการส่งต่อในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงเกินความสามารถในการรักษา จำเป็นต้องส่งต่อไปยังสถานพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่าหรือมีความเชี่ยวชาญกว่า อีกกรณีหนึ่งคือการส่งกลับไปยังโรงพยาบาลเดิมหรือต้นสังกัดเมื่ออาการดีขึ้น
การดูแลผู้บาดเจ็บขั้นต้น
การประเมินผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บเบื้องต้น (Primary Survey)
Breathing and ventilation
Circulation with hemorrhagic control
Airway maintenance with cervical spine protection
Disability (Neurologic Status)
Exposure / environmental control
ระหว่างการทำ Primary Survey ผู้ประเมินต้องพยายามหาภาวะวิกฤตที่อาจทำให้เสียชีวิต โดยการประเมินตามลำดับและเปfนระบบ โดยประเมินจากการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสรีรวิทยา
Resuscitation
เป็นการช่วยเหลือเพื่อให้ผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤตที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ ได้แก่ การดูแลทางเดินหายใจ การช;วยหายใจ การใส่ท่อช่วยหายใจ การให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ การห้ามเลือด เป็นต้น
Secondary survey
เป็นการตรวจร่างกายอย่างละเอียดหลังจากผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤตแล้ว ได้แก่การซักประวัติ การตรวจ Head to toe การตรวจทางรังสีรักษา การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจพิเศษต่างๆ
Definitive care
เปfนการรักษาหลังจากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นแล้ว เช่น การผ่าตัด
Craniotomy การผ่าตัดหน้าท้อง Exploratory Laparotomy การนอนรักษาตัวในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก (Intensive care unit)
Primary survey: ขั้นตอนและวิธีการ
Airway maintenance with cervical spine protection
เริ่มต้นจากการประเมิน Airway เพื่อหาอาการที่เกิดจากทางเดินหายใจอุดกั้น (Airway obstruction)ควรรวมไปถึงการดูดเสมหะ การหาสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ
เปิดทางเดินหายใจให้โล่งโดยใช้วิธีการ Head-tilt Chin-lift, กรณีผู้ป่วยที่สงสัยหรือได้รับอุบัติเหตุให้ทำการเปิดทางเดินหายใจด้วยวิธี jaw-thrust maneuver, modified jaw thrust, Triple airway maneuverโดยต้องป้องกันการบาดเจ็บของ Cervical spine ตลอดเวลา
ผู้ที่ทำการประเมิน Primary Survey สามารถประเมิน A อย่างรวดเร็วโดยการแนะนำตนเอง สอบถามเกี่ยวกับเหตุการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้น ในกรณีผู้บาดเจ็บสามารถพูดสื่อสารได้ ทางเดินหายใจไม่น่าจะเกิดการอุดกั้น อย่างไรก็ตามควรมีการประเมินซ้ำ
อาการ
restless จากภาวะ Hypoxia หายใจเสียงดัง เปลือกตาซีด ปลายมือเท้าซีดเขียว หายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหายใจช่วยมากกว่าปกติ ในผู้ป่วยที่สามารถพูดโต้ตอบและสามารถให้ประวัติได้บ่งว่าผู้ป่วยไม่มีปัญหาเรื่องการอุดกั้นทางเดินหายใจ
ควรมีการประเมินซ้ำเป็นระยะ เนื่องจากผู้ป่วย mild head injury บางรายอาจอยู่ในช่วง lucid interval อาจเกิดอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็วหรือที่เรียกว่า Talk and die ส่วนผู้ป่วยsevere head injury ที่ Glasgow coma score น้อยกว่า 8 หรือ อยู่ในอาการ Comaควรให้การ definitive care ทุกราย
ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน
ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บกระดูกสันหลังส่วนคอ (Cervical spine injury) ดังนั้นในผู้บาดเจ็บที่ควรให้ความระมัดระวัง Cervical spine injury
Breathing and Ventilation
เปfนการประเมิน การช่วยหายใจและการระบายอากาศเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนอากาศ เพื่อให้ได้ออกซิเจนและขับคาร์บอนไดออกไซด์ การดูแลควรเปิดให้เห็นบริเวณคอและทรวงอกเพื่อประเมินตำแหน่งของหลอดลม
ปัญหาการหายใจที่พบบ่อยในการทำ primary survey
tension pneumothorax, Flail chest with pulmonary contusion, Open pneumothorax, Hemothorax, นอกจากจะมีปัญหาเรื่องการหายใจแล้วยังมีปัญหาเรื่อง Hypovolemic shock ด้วย
ประเมินจาก
ูการเคลื่อนไหวบริเวณทรวงอก
คลำ การเคาะเพื่อตรวจหาการบาดเจ็บ
การเปิดดูร่องรอยบาดแผลที่บริเวณทรวงอก
ฟัง Breath sound ทั้งสองข้าง
Circulation and Hemorrhage control
เป็นการประเมินในระบบไหลเวียนและการห้ามเลือด โดยประเมินจากสัญญาณชีพ ระดับความรู้สึกตัว สีผิว อุณหภูมิ รวมถึงปริมาณเลือดที่ออกจากบาดแผล เพื่อค้นหาภาวะ shock
อาการทางระบบประสาท
ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการซึม เชื่องช้า สับสน บางราบมีอาการเอะอะ และสุดท้ายจะหมดสติ การตอบสนองของรูม่านตา (pupils), Glasgow coma scale เพื่อประเมินการไหลเวียนเลือดไปสมอง ความผิดปกติของสมอง
ผิวหนัง
ผู้ป่วยจะมีผิวหนังเย็น ชื้น เหงื่อออกมาก cyanosis ยกเว้น septic shock ที่ผิวหนังจะอุ่น สีชมพูในระยะแรก
หัวใจและหลอดเลือด
ผู้ป่วยช็อก Systolic BP จะลดลงต่ำกว่า 90 mm.Hg. หรือต่ำกว่าปกติ 50 mm.Hg. หาก Systolic BP น้อยกว;า 60-70 mm.Hg. จำนวนเลือดที่ไปเลี้ยงสมองจะลดลง Systolic BP น้อยกว;า 50mm.Hg. สมองจะขาดออกซิเจน Pulse pressure แคบลง แสดงถึง CO น้อยลง และระยะพักหัวใจได้รับเลือดน้อยลงด้วย
Pulse จะพบชีพจรเบา เร็ว จากระบบ Sympathetic แต่ระยะท้ายชีพจรจะช้า และไม่สม่ำเสมอเนื่องจากหัวใจจะทำงานลดลง
Capillary filling time จะพบนานกว่า 1-2 วินาที เพื่อทดสอบการไหลเวียนที่หลอดเลือดส่วนปลาย
Central venous pressure เท่ากับ 7-8 cm.H2O
ระบบหายใจ
จะพบการหายใจเร็ว และไม่สม่ำเสมอ จาก Acidosis respiration
ระบบทางเดินปัสสาวะ
ระยะแรกปัสสาวะจะลดลงเหลือ 30-50 ml./hr. และ 40 ml./hr. เมื่อเกิด
ภาวะไตวายปัสสาวะจะออกน้อยกว่า 20 ml./hr.
ระบบทางเดินอาหาร
ผู้ป่วยจะกระหายน้ำ น้ำลายน้อยลง ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน ลำไส้บวม และไม่ได้ยิน bowel sound
ภาวะกรดด่างของร่างกาย
ร่างกายจะเกิดการเผาผลาญแบบ anaerobic metabolism จนเกิดภาวะ
acidosis metabolic ผู้ป่วยจะมีอาการซึม อ่อนเพลีย งุนงง สับสน ไม่รู้สึกตัว หายใจแบบ Kussmaual
ตำแหน่งการเสียเลือดที่สำคัญ ได้แก่
ในอุ้งเชิงกราน
เช่นใน Fracture pelvis หรือ Fracture femur
ที่ต้นขา
ซึ่งเป็นบริเวณที่มีเส้นเลือดขนาดใหญ่ เช่น Fracture femur
ในช่องท้อง
รวมทั้ง retroperitoneum ทราบได้โดยการทำ Diagnostic peritoneal lavage
ในช่องอก
อาจทราบได้จากการตรวจร่างกาย การเอกซเรย์ปอด หรือการใส่ท่อระบาย
Disability: Neurologic Status
เป็นการประเมินระบบประสาทต่อว่าสมองหรือไขสันหลังได้รับบาดเจ็บหรือไม่ หลังจากดูแลผู้ป่วยAirway, Breathing, Circulation ที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต (Life threatening injury)
ประเมินจาก AVPU Scale
A Alert
ผู้่บาดเจ็บรู้สึกตัวดี สามารถพูดโต้ตอบหรือทำตามคำสั่ง
ได้
V Voice/verbal stimuli
ผู้บาดเจ็บสามารถตอบสนองต่อเสียงเรียกได้
P Painful stimuli
ผู้บาดเจ็บตอบสนองเมื่อกระตุ้นด้วยความปวด
U Unresponsive
ผู้บาดเจ็บไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองเลย
การใช้ CPOMR Scale ได7แก; Level of conscious, pupil, ocular movement, motor, respiration หรือ Revision trauma scale
การตรวจประเมินรูม่านตา
ปกติพบว่ารูม่านตา (pupils) จะหดเล็กลงเมื่อได้รับแสงสว่างและกลับคืน
สูู่ขนาดปกติโดยมีอัตราความเร็วแตกต่างกัน (react to light) เมื่อวัดเส้นผ่าศูนย์กลางขณะหดตัวจะมีขนาด 3-4 มิลลิเมตร การขยายรูม่านตาที่ไม่เท่ากัน โตเพียงข้างเดียว ข้างที่มีขนาดใหญ่ไม่มีปฏิกิริยาต่อแสง แสดงถึง
พยาธิสภาพเนื้อสมองด้านเดียวกับรูม่านตาที่ผิดปกติSluggish
ผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บของไขสันหลังควรตรวจดูภาวะ Cord compression จากอาการแขนขาอ่อนแรง ไม่สามารถขยับแขนขาได้ ตรวจ Anal sphincter tone พบปฏิกิริยาหรือไม่
Exposure / Environment control
ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหนัก ควรถอดเสื้อผ้าออกให้หมดเพื่อค้นหาการบาดเจ็บต่างๆ อื่นๆ ในผู้ป่วยที่บาดเจ็บหนักอาจใช้กรรไกรในการตัดเสื้อและกางเกงออกเพื่อจะได้ตรวจร่างกายอย่างถูกต้อง ขณะตรวจในห้องควรจะอบอุ่น เพื่อป้องกันภาวะ Hypothermia ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหนัก
การกู้ชีพ (Resuscitation)
การแก้ไขภาวะคุกคามต่อชีวิตหรือที่เป็นอันตรายเร่งด่วน โดยการกู้ชีพจะทำหลังจากการประเมินเป็นลำดับของ ABC และสามารถทำไปพร้อมๆกับการประเมิน
Airway
ภายหลังจากการประเมิน การทำ Definitive airway ในผู้บาดเจ็บที่มีปัญหาการหายใจสามารถรักษาได้โดยการใส่ท่อช่วยหายใจ และควรกระทำแต่เริ่มต้นหลังจากที่ช่วยหายใจด้วยออกซิเจนหากใส่ไม่ได้ อาจพิจารณาการใส่ท่อด้วยวิธีการทางศัลยกรรม
Breathing
ผู้บาดเจ็บทุกรายควรได้รับออกซิเจนเสริมหากไม่ได้ใส่ท่อช่วยหายใจ ผู้บาดเจ็บควรได้รับออกซิเจนผ่านหน้ากาก (reservoir face mask) ที่เหมาะสมกับหน้าพอดีด้วย flow rate 11 L/min
Circulation
การห้ามเลือดเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในผู้บาดเจ็บโดยทำร่วมกับการให้สารน้ำทดแทน เมื่อทำการเปิดเส้นเลือดแล้วควรเก็บเลือดส่งตรวจเพื่อช่วยในการประเมินความผิดปกติที่เกิดขึ้น
ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำอาจพบได้ตั้งแต่ขณะที่ผู้บาดเจ็บมาถึง หรืออาจเกิดขึ้นภายหลังอย่างรวดเร็วซึ่งภาวะอุณหภูมิต่ำอาจมีผลกระทบถึงแก่ชีวิตได้
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ผู้บาดเจ็บทุกรายควรได้รับการติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจถ้าพบว่ามีความผิดปกติ
การตวงวัดปริมาณปัสสาวะ เป็นตัวบ่งชี้ที่ดีของปริมาณสาน้ำในร่างกายผู้บาดเจ็บและแสดงให้เห็นแต่เนิ่นๆ การติดตามโดยการใส่สายสวนปัสสาวะ
การใส่สายสวนกระเพาะ เพื่อลดการโป่งพองของกระเพาะอาหาร ป้องกันการสำลัก และตรวจประเมินดูว่ามีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น อาจพบร่วมกับการบาดเจ็บ
การประเมินสภาพร่างกายผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บอย่างละเอียด (Secondary Survey)
การประเมินสภาพผู้ป่วยอย่างละเอียด มักทำหลังจาก primary survey และ Resuscitation จนVital function เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว เพื่อให้ได้ Definite diagnosis
History
ประวัติและ Mechanism of Injury อาจได้จากตัวผู้ป่วยเอง หรือในกรณีที่ผู้บาดเจ็บไม่รู้สึกตัวอาจต้องสอบถามจาก Prehospital personnel ได้แก่ผู้เห็นเหตุการณ์ ผู้นำส่ง เป็นต้น
AMPLE
Allergies ประวัติการแพ้ยา สารเคมีหรือวัตถุต่างๆ
Medication ยาที่ใช้ในปัจจุบัน
Past illness/ Pregnancy การเจ็บป่วยในอดีตและการตั้งครรภ์
Last meal เวลาที่รับประทานอาหารครั้งล่าสุด
Event/ Environment related to injury อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร รุนแรงเพียงใด สถานการณ์สิ่งแวดล้อมขณะเกิดเหตุเป็นอย่างไร
การบาดเจ็บแบ่งออกเป็น
Blunt trauma ส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุจราจร พลัดตกจากที่สูง
Penetrating trauma เกิดจากอาวุธปืน มีด ปัจจัยที่กำหนดชนิดและความรุนแรงของการบาดเจ็บอยู่ที่ตำแหน่งของร่างกายที่บาดเจ็บ ซึ่งจะบ่งบอกถึงอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ ชนิดและกระสุนปืนรวมทั้งระยะทางที่ยิง
Physical Examination
Facial
ควรคลำกระดูกใบหน้าให้ทั่วเพื่อหา deformity ที่อาจบ;งบอก facial fracture ได้เป็นส่วนใหญ่ บาดแผลบริเวณใบหน้าอาจมีการบาดเจ็บของกระดูกหน้าร่วมด้วย
Cervical spine and Neck
ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวทุกรายที่มีการบาดเจ็บศีรษะควรคำนึงถึง cervical
spine injury พยาบาลจะใส่ Collar ให้ผู้ป่วยและไม่เคลื่อนไหวคอผู้ป่วยจนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าไม่มีการบาดเจ็บของกระดูกคอจากการ X-ray
Head
ในการตรวจหนังศีรษะให้ใช้มือคลำให้ทั่วหนังศีรษะเพื่อหาบาดแผล อาจพบแผลฉีกขาด หากมีการเสียเลือดจากบาดแผลมากควรเย็บแผลชั่วคราวเพื่อป้องกันภาวะ Shock
Chest
การตรวจจะเริ่มจากการมองหารอยช้ำ รอยยุบ คลำดูว่ามี Crepitus หรือเจ็บที่จุดใด โดยตรวจให้ทั่วทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
หากพบว่า
Media sternum กว้าง บ่งว่าอาจมีการบาดเจ็บของหลอดเลือดในช่องอก (Rupture Aorta)
กะบังลมยกสูงผิดปกติหรือเห็นเงากระเพาะอาหารในช่องอก บ่งว่าผู้ป่วยกะบังลมฉีกขาด
เงาอากาศในช;องท้องใต้กะบังลมบ่งชี้ว่ามีการบาดเจ็บของกระเพาะอาหารหรือลำไส้
Neurological system
เป็นการตรวจระบบประสาทและสมองอย่างละเอียด ประเมิน motor,
sensory และต้อง Reevaluation ระดับความรู้สึกตัว pupil size Glasgow coma score
Musculoskeletal and Peripheral vascular assessment
การบาดเจ็บแขนขาจะประเมินบาดแผล การหักงอ บวมผิดรูป ประเมินจุดที่เจ็บ การเคลื่อนไหว คลำ Crepitus
Abdomen
ในผู้ป่วยที่บาดเจ็บและเกิดภาวะ Shock ให้สงสัยการบาดเจ็บในช่องท้องและมีการเสียเลือดเกิดขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยที่บาดเจ็บอาจเกิดการบาดเจ็บหลายระบบ
การตรวจร่างกายควรเริ่มจากการสังเกตดูรอยบาดเจ็บต่างๆ ที่ผิวหนัง เช่นรอยช้ำ แผลฉีกขาด แผลถูกยิงถูกแทง ควรตรวจดูด้านหลังผู้ป่วยด้วยอย่างละเอียด ตรวจคลำว่าส่วนใดของช่องท้องที่เจ็บชัดเจน หรือการแข็งเกร็งของกล้ามเนื้อท้อง (Guarding) ฟังเสียง Bowel sound เสียง Bruit
Pelvic fracture
จะตรวจพบ Ecchymosis บริเวณ Iliac wing, Pubis, Labia หรือ Scrotum และเมื่อตรวจ Pelvic compression ผู้ป่วยจะมี pain on palpation และมี sign of unstability
Reevaluation
ในระยะแรกที่ดูแลผู้ป่วยที่บาดเจ็บ ควรมีการประเมินร่างกายซ้ำเป็นระยะๆ เพื่อประเมินหาการบาดเจ็บที่อาจตรวจไม่พบในระยะแรก และเป็นการติดตามการเปลี่ยนแปลงอาการของผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการเลวลงเมื่อเวลาล่วงไปควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจเกิดภาวะเร่งด่วนที่ต้องให้การรักษา
การรักษาผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บภายหลังได้รับการช่วยเหลือขั้นต้นแล้ว (Definitive Care)
เป็นการรักษาอย่างจริงจังหลังจากได้ทำ secondary survey เรียบร้อยแล้ว เพื่อแก้ไขพยาธิสภาพโดยตรง เป็นการรักษาจำพาะของการบาดเจ็บแต่ละอวัยวะ ได้แก่การผ่าตัดเพื่อแก้ไขภาวะฉุกเฉินต่างๆ