Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล, นางสาวสุรีรัตน์ เผ่าหอม เลขที่ 69B…
เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)
เป็นการสรุปผลของการรวบรวมข้อมูลหรือการศึกษาเพื่อหาค่าของตัวแปรต่าง ๆ และเป็นการศึกษาปัญหาของชุมชนก่อนนำมาวางแผนแก้ไขปัญหา เพื่อรวบรวมข้อมูลทุก ๆ ด้านที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์เป็นข้อบ่งชี้หรือสนับสนุนในการวางแผนแก้ไขปัญหาต่อไป
ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล
1.บรรณาธิกรข้อมูลดิบ (Edit the raw data)
คือ การตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของข้อมูล โดยทั่วไปจะกระทำทันทีหลังจากการเก็บข้อมูลสิ้นสุดลง
ตรวจดูความสมบูรณ์ (Completeness) หมายถึง ข้อคำถามทุกข้อควรมีคำตอบ ข้อมูลครบถ้วนตามที่ต้องการหรือไม่
ตรวจดูความถูกต้อง (Accuracy) หากข้อมูลที่ได้มานั้นครบถ้วน แต่ว่าไม่ถูกต้อง ก็ไม่สามารถนำมาใช้ได้ การตรวจสอบความถูกต้อง จะดูได้จากความสอดคล้องกันของข้อมูล
ตรวจดูความเป็นเอกภาพ (Unifomity) เป็นการตรวจดูว่า ผู้ถามจะดีความของข้อคำถามถูกต้อง ตรงกันหรือไม่ เช่น จำนวนผู้อาศัยในบ้าน จะบันทึกตามที่อยู่จริงหรือ
2.การแยกประเภทข้อมูล (The establishment of catesories)
ข้อมูลที่ได้มาครั้งแรกและยังจัดประเภทนั้น เรียกว่าข้อมูลดิบ ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีจำนวนมาก ไม่เป็นหมวดหมู่ จึงต้องนำมาแยกเป็นประเภทต่าง ๆ ก่อนเพื่อความสะดวกในการวิเคราะห์ ในการแยกประเภทข้อมูล จะต้องทำตารางเปล่า (Dummy Table) ไว้ก่อน เมื่อได้ข้อมูสมาแล้ว ก็นำมาจัดใส่ตารางที่กำหนดไว้
3.การแจกแจงความถี่
(Tally the data on worksheets)
เมื่อแยกประเภทข้อมูลแล้ว ในกรณีที่ต้องวิเคราะห์ด้วยมือ จะต้องแจกแจงความโดยใช้รอยขีด (Tally mark) เพื่อทราบความถี่ของข้อมูลแต่ละประเภท วิธีการแจกแจงความถี่ทำได้หลายลักษณะ เช่น
การแจกแจงความถี่แบบไม่จัดช่วงคะแนน (Ungrouped frequency distribution) จัดเรียงตามลำดับความมากน้อยแล้ว ทำรอยขีดตรงกับคะแนนนั้น
การแจกแจงความถี่แบบจัดช่วงคะแนนหรือจัดเป็นหมวดหมู่ (Grouped data) ใช้สำหรับข้อมูลที่มีจำนวนมา
หาพิสัยของกลุ่มข้อบูล คือ ข้อมูลที่มีจำนวนสูงสุด ลบด้วยข้อมูลที่มีจำนวนต่ำสุด
กำหนดจำนวนชั้น ซึ่งจำนวนชั้นนี้ไม่มีการกำหนดตายตัว ขึ้นกับจำนวนข้อมูล
หาช่วงกว้างของชั้นหรือที่เรียกว่าอันตรภาคชั้น โดย พิสัยหารด้วยจำนวนชั้น
เริ่มเขียนชั้น โดยตั้งชั้นจากข้อมูลที่มีค่าต่ำสุด และให้ช่วงกว้างของชั้นมีความกว้างเท่ากับอันตรภาคชั้นที่หาได้
แจงนับข้อมูล และทำรอยขีดที่แจงนับในแต่ละชั้น
นับจำนวนรอยขีดที่ได้ เป็นความถี่ในแต่ละชั้น
4.การสรุปข้อมูล (Data Summarization) การสรูปข้อมูลขึ้นอยู่กับธรรมชาติของข้อมูลโดยทั่วไป ข้อมูลสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด
1.ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative data) เป็นข้อมูลที่บอกถึงลักษณะของสิ่งที่ต้องการไม่สามารถวัดได้
เพศ
สถานภาพ
อาชีพ
ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล ทำได้โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
2.ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative data)
เป็นข้อมูลที่ได้จากการชั่ง ตวง วัด
น้ำหนักส่วนสูง
อายุ
การนำเสนอข้อมูล (Data Presentation)
เมื่อได้ดำเนินการศึกษาปัญหาอนามัยชุมชนตามขั้นตอนที่กล่าวมาแล้ว ผู้ทำการศึกษาอนามัยชุมชนจะต้องนำเสนอให้บุคคลอีนทราบ อาจนำเสนออย่างไม่เป็นแบบแผนหรือนำเสนออย่างเป็นแบบแผนการนำเสนอข้อมูล มักนิยมนำเสนอในรูปของตารางหรือภาพสื่อ (Visual aids) เช่น กราฟ แผนภูมิ
1.การนำเสนอข้อมูลอย่างไม่เป็นแบบแผน
1.1 การนำเสนอในรูปของบทความ (Textual Presentation) เป็นการนำเสนอการแปลความหมายของข้อมูลเกี่ยวกับรายงานต่าง ๆ เขียนแบบรายงานสั้น ๆ
1.2 การนำเสนอในรูปของกึ่งบทความกึ่งตาราง (Semi tabular Presentation) เป็นการนำเสนอแบบพรรณนาหรือบรรยายประกอบข้อมูล แต่ใด้นำเอาตัวเลขหรือข้อมูล มาจัดเรียงเป็นหมวดหมู่
เช่น ข้อมูลการเฝ้าระวังโรคทางระบาติวิทยา
991.97 ต่อแสนประชากร
310.88 ต่อแสนประชากร
216.49 ต่อแสนประซากรู
111.07 ต่อแสนประชากร
83.87 ต่อแสนประชากร
2.การนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นแบบแผน
เป็นการนำเสนอข้อมูลที่มีอยู่จำนวนมากและอยู่อย่างไม่เป็นระเบียบมาจัดรวมเข้าเป็นหมวดหมู่ตามความเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน และเปรียบเทียบส่วนที่สำคัญให้เห็นอย่างเด่นชัดและเข้าใจง่าย
ตาราง
แผ่นภูมิ
กราฟ
นางสาวสุรีรัตน์ เผ่าหอม เลขที่ 69B นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 รุ่นที่ 26