Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิด หลักการการพยาบาลผู้ป่วย ภาวะฉุกเฉิน และสาธารณภัย - Coggle Diagram
แนวคิด หลักการการพยาบาลผู้ป่วย
ภาวะฉุกเฉิน และสาธารณภัย
แนวคิดหลักของรูปแบบ
การแพทย์ฉุกเฉิน
Anglo-American Model (AAM)
จุดประสงค์หลัก “Scoop and run” เวลาสำหรับการประคับประคองอาการในสถานที่เกิดเหตุสั้นและนำผู้ป่วยส่งยังสถานพยาบาลให้เร็วที่สุด
นำผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
การดูแล - ทีมเวชกิจฉุกเฉินให้การดูแล โดยมีแพทย์กำกับ
ลำเลียงผ้ปู่วยส่งตรงห้องฉุกเฉิน
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
รถ Ambulance เป็นหลัก
ใช้ Aero-medical หรือCoastal ambulance
ตัวอย่างประเทศ
สหราชอาณาจักรสหรัฐอเมริกา แคนาดา นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และไทย
Franco-German Model (FGM)
จุดประสงค์หลัก - “Stay and Stabilize” ให้เวลานานในการดูแลอาการในสถานที่เกิดเหตุและนำการรักษาไปยังสถานที่เกิดเหตุ
นำบริการโรงพยาบาลมาหาผู้ป่วย
การดูแล- แพทย์ให้การดูแลโดยมีทีมเวชกิจฉุกเฉินช่วย อาจนำเทคโนโลยีรวมไปให้การดูแลในขั้นสูง
ลำเลียงผ้ปู่วยส่งหน่วยเฉพาะ
ทาง
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
Ambulance, Helicopter และ Coastal ambulance
ตัวอย่างประเทศ
เยอรมนี ฝรั่งเศส กรีซ มอลต้า ออสเตรีย
การเจ็บป่วยวิกฤต
Crisis care
เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยการรักษา จึงมุ่งเน้นแก้ไขอาการที่ปรากฏอันตราย โดยเฉพาะระบบของร่างกายที่มีการล้มเหลว เพื่อแก้ไขภาวะล้มเหลว หรือรักษาสภาพการทํางานของระบบนั้น
Critical Care
เพื่อดํารงรักษาชีวิต มุ่งเน้นแก้ไขอาการที่ปรากฏในครั้งแรก และการป้องกันไม่ให้เข้าสู่สถานการณ์คับขัน Crisisในการประคับประคองให้ความสําคัญกับทุกระบบไม่ให้นําสู่สภาวะที่เป็นปัญหาต่อไป
ผู้ป่วยวิกฤตมีลักษณะดังนี้
ผู้ป่วยที่สามารถรักษาได้ เช่น ผู้ป่วยที่หมดสติ ผู้ป่วยที่มีระบบการหายใจล้มเหลวเป็นต้น หากไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะเสียชีวิตในอัตราสูง
ผู้ป่วยที่มีอัตราตายสูง เช่น ผู้ป่วยSeptic Shock หากไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในอัตราสูง
ผู้ป่วยที่มีแนวโน้มที่จะมีอาการรุนแรง เช่น ผู้ป่วย myocardialin farction ต้องการการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
ผู้ป่วยที่อัตราตายสูง แม้จะได้รับการรักษา เช่น ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
หลักการพยาบาลผู้ป่วย
ภาวะฉุกเฉิน
เพื่อช่วยชีวิต เช่น ผู้ป่วยที่มีหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ต้องรีบช่วยหายใจโดยการผายปอด ด้วยวิธีการที่เหมาะสม และนวดหัวใจทันที
การป้องกันและบรรเทาไม่ให้เกิดอาการรุนแรงถึงขั้นวิกฤต เช่น การทำแผล การใส่เฝือกชั่วคราว
การบันทึกเหตุการณ์อาการและการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ เพื่อเป็นประโยชน์ในการรักษาต่อไป
การส่งต่อรักษา หลังจากให้การช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยแล้ว
การพยาบาลสาธารณภัย
การจัดระดับความรุนแรง
ของสาธารณภัย
ความรุนแรงระดับที่ 1 : สาธารณภัยที่เกิดขึ้นทั่วไปหรือมีขนาดเล็ก ซึ่งสำนักงานสาธารณสุขในระดับอำเภอสามารถจัดการได้ตามลำพัง
ความรุนแรงระดับที่ 2 : สาธารณภัยขนาดกลาง หน่วยงานสาธารณสุขระดับอำเภอไม่สามารถจัดการได้ ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
ความรุนแรงระดับที่ 3 : สาธารณภัยขนาดใหญ่ ที่มีผลกระทบรุนแรงกว้างขวาง หรือสาธารณภัยที่จำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญหรืออุปกรณ์พิเศษ ต้องอาศัยการสนับสนุนจากหน่วยงานหลายส่วนราชการภายในเขตจังหวัด /จังหวัดใกล้เคียง
ความรุนแรงระดับที่ 4 : สาธารณภัยขนาดใหญ่ ที่มีผลกระทบรุนแรงยิ่ง นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรี ที่นายก ฯ มอบหมายให้เป็นผู้ควบคุมสถานการณ์
อุบัติเหตุกลุ่มชน/อุบัติภัยหมู่
อุบัติเหตุที่เกิดกับคนจำนวนมาก ได้รับการเจ็บป่วยจำนวนมาก เกินขีดความสามารถปกติที่โรงพยาบาลจะให้การรักษาพยาบาลได้
Multiple casualties ทั้งจำนวนและความรุนแรงของผู้ป่วยไม่เกินขีดความสามารถของโรงพยาบาล ผู้ป่วยที่มีภาวะคุกคามต่อชีวิต (life Threatening)
Mass casualties ทั้งจำนวนและความรุนแรงของผู้ป่วยเกินขีดความสามารถของโรงพยาบาลและทีมผู้รักษา ผู้ป่วยที่มีโอกาสรอดชีวิตมากที่สุด
หลักการพยาบาลสาธารณภัย
ระยะป้องกันหรือลดผลกระทบ/บรรเทาทุกข์
การลดความเสี่ยงการป้องกันโรค และการสร้างเสริมสุขภาพ
1.1 การลดความเสี่ยงและการป้องกันโรค
1.2 การส่งเสริมสุขภาพ
1.3 การพัฒนาและวางแผนนโยบาย
ระยะเตรียมความพร้อม
การปฏิบัติตามหลักจริยธรรม กฎหมายและความรับผิดชอบ
1.1 การปฏิบัติตามหลักจริยธรรม
1.2 กรปฏิบัติตามหลักกฎหมาย
1.3 การปฏิบัติด้วยความรับผิดชอบ
การสื่อสารและการแบ่งปันข้อมูล
การให้การศึกษาและการเตรียมความพร้อม
ระยะรับมือ /ตอบสนองภาวะภัยพิบัติ
การดูแลชุมชน
การดูแลบุคคลและครอบครัว
2.1 การประเมิน
2.2 การปฏิบัติตามแผน/การดำเนินงาน
การดูแลทางด้านจิตใจ
การดูแลประชาชนกลุ่มเปราะบาง
ระยะพักฟื้น/ฟื้นคืนสภาพ
การฟื้นฟูสภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน
ระบบทางด่วน
(Fast track/Pathway system)
เป็นแนวทางของระบบบริการสุขภาพที่ช;วยนำผู้ป่วยให้เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพตามมาตรฐานอย่างทันเวลา และลดระยะเวลาการรักษาในผู้ป่วยกลุ่มอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน เพื่อให้ได้รับการรักษาเฉพาะทางที่มีศักยภาพสูงกว่า
บทบาทพยาบาลกับระบบทางด่วน
(Fast track)
การประเมินเบื้องต้นโดยใช้ความรู้ ความสามารถเฉพาะโรค
การรายงานแพทย์ผู้รักษาเพื่อตัดสินใจสั่งการรักษา
การประสานงานผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร
การจัดการและดูแลขณะส่งต่อ
การให้การดูแลตามแผนการรักษาภายใต้ระยะเวลาที่จำกัด
การติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง
การให้ความช่วยเหลือเมื่อมีความผิดปกติและติดตามการประเมินผลลัพธ์
การดำเนินงานเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานในภาพรวม
การจัดระบบให7มีการทบทวนและพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
หลักการดูแลผู้บาดเจ็บ
(Trauma life support)
ระบบการดูแลผู้บาดเจ็บ
(Trauma care system)
เป็นระบบสำหรับการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บเพื่อให้ได้ใช้แหล่งประโยชน์ที่เหมาะสมและคุ้มค่า ลดอัตราการเสียชีวิตที่ป้องกันได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีประกอบด้วย การเข้าถึงหรือรับรู้ว่ามีเหตุเกิดขึ้น (Access) การดูแลในระยะก่อนถึงโรงพยาบาล (Prehospitalcare) การดูแลในระยะที่อยู่โรงพยาบาล (Hospital care) และการฟื้นฟูสภาพและการส่งต่อ (Rehabilitation& transfer)
การประเมินผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บเบื้องต้น (Primary Survey)
Airway maintenance with
cervical spine protection
เริ่มต้นจากการประเมิน Airway เพื่อหาอาการที่เกิดจากทางเดินหายใจอุดกั้น (Airway obstruction)
ควรรวมไปถึงการดูดเสมหะ การหาสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ การแตกหักของกระดูกใบหน้า กราม
เปิดทางเดินหายใจให้โล่งโดยใช้วิธีการ Head-tilt Chin-lift, กรณีผู้ป่วยที่สงสัยหรือได้รับอุบัติเหตุให้ทำการเปิดทางเดินหายใจด้วยวิธี jaw-thrust maneuver, modified jaw thrust, Triple airway maneuverโดยต้องป้องกันการบาดเจ็บของ Cervical spine ตลอดเวลา
Breathing and Ventilation
เป็นการประเมิน การช่วยหายใจและการระบายอากาศเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนอากาศ เพื่อให้ได้ออกซิเจนและขับคาร์บอนไดออกไซด์
พยาบาลควรวินิจฉัยภาวะผิดปกติตั้งแต่ Primary survey ได้แก่ Tension pneumothorax, Flail
chest with pulmonary contusion, Massive hemothorax, Open pneumothorax
โดยประเมินจาก
การเปิดดูร่องรอยบาดแผลที่บริเวณทรวงอก
ดูการเคลื่อนไหวบริเวณทรวงอก
คลำ การเคาะเพื่อตรวจหาการบาดเจ็บ
ฟัง Breath sound ทั้งสองข้าง
Circulation and
Hemorrhage control
เป็นการประเมินในระบบไหลเวียนและการห้ามเลือด โดยประเมินจากสัญญาณชีพ ระดับความรู้สึกตัวสีผิว อุณหภูมิ รวมถึงปริมาณเลือดที่ออกจากบาดแผล การประเมินในขั้นตอนนี้จึงหมายถึงการค้นหาภาวะShock
ผู้บาดเจ็บที่อยู่ในภาวะ Shock ส;วนใหญ่ความดันโลหิตจะต่ำลงชัดเจน Systolic pressure น้อยกว่า
90 มิลลิเมตรปรอท การเสียเลือดร้อยละ 15 ของปริมาณเลือดในร่างกาย อาจพบ Pulse pressure แคบ
เมื่อพบผู้ป่วยเสียเลือดเสี่ยงเกิดภาวะ Shock หรืออยู่ในภาวะ Shock พยาบาลควรบริหารสารน้ำ ในระยะแรกควรพิจารณาให้สารน้ำกลุ่ม Crystalloid ได7แก่ Ringer’s lactate หรือ Acetar ผู้ป่วยที่เสียเลือดมากควรให้เลือดทันทีหรือให้เร็วที่สุด
Disability: Neurologic Status
เป็นการประเมินระบบประสาทต่อว่าสมองหรือไขสันหลังได้รับบาดเจ็บหรือไม่ หลังจากดูแลผู้ป่วย
Airway, Breathing, Circulation ที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต (Life threatening injury)
Revision trauma scale = GCS + Respiratory score+ Systolic BP score
Revision trauma scale ที่น้อยกว่า 11 ให้นำส่ง Trauma center
ผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บของไขสันหลังควรตรวจดูภาวะ Cord compression จากอาการแขนขาอ่อน
แรง ไม่สามารถขยับแขนขาได้ ตรวจ Anal sphincter tone พบปฏิกิริยาหรือไม่ อย่างไร
Exposure /
Environment control
ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหนัก ควรถอดเสื้อผ้าออกให้หมดเพื่อค้นหาการบาดเจ็บต่างๆ อื่นๆ ในผู่ป่วยที่
บาดเจ็บหนักอาจใช้กรรไกรในการตัดเสื้อและกางเกงออกเพื่อจะได้ตรวจร่างกายอย่างถูกต้อง
ขณะตรวจในห้องควรจะอบอุ่น เพื่อป้องกันภาวะ Hypothermia ซึ่งจะเปfนผลเสียต่อผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหนัก
2.Resuscitation
เป็นการช่วยเหลือเพื่อให้ผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤตที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ ได้แก่ การดูแลทางเดินหายใจ การช่วยหายใจ การใส่ท่อช่วยหายใจ การให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ การห้ามเลือด เป็นต้น
Secondary survey
เป็นการตรวจร่างกายอย่างละเอียดหลังจากผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤตแล้ว ได้แก่การซักประวัติ การตรวจ Head to toe การตรวจทางรังสีรักษา การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจพิเศษต่างๆ เช่น การส่งทำ CT scan การทำ Diagnostic peritoneal lavage (DPL)
เพื่อประเมินภาวะของการบาดเจ็บช่องท้อง เป็นต้น ผู้ป่วยบางรายอาจต้องได้รับการผ่าตัดเร่งด่วน การตรวจร่างกายอย่างละเอียดอาจไม่ได้รับการตรวจประเมินที่แผนกฉุกเฉิน แต่ได้รับการตรวจในหอผู้ป่วยแทน
Definitive care
เป็นการรักษาหลังจากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นแล้ว เพื่อแก้ไขพยาธิสภาพโดยตรง เป็นการรักษาจำพาะของการบาดเจ็บแต่ละอวัยวะ ได้แก่การผ่าตัดเพื่อแก้ไขภาวะฉุกเฉินต่างๆ เช่นIntracranial hematoma, Intra-abdominal bleeding รวมทั้ง multiple organ injury เป็นต้น