Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เครื่องมือที่2 วิจัยชุมชนและการประเมินต้นทุนชุมชน (Community Based…
เครื่องมือที่2 วิจัยชุมชนและการประเมินต้นทุนชุมชน
(Community Based Research)
เป็นงานวิจัยที่เน้นกระบวนการร่วมคิดร่วมทำร่วมทุนโดยคนในชุมชนในพื้นที่ (ระดับหมู่บ้านตำบล) เพื่อตั้งคำถามวางแผนและดำเนินการวิจัยเพื่อหาคำตอบและเรียนรู้ผ่านงานวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยมีกระบวนการทำงานอย่างเป็นเหตุเป็นผลมีการประสานความร่วมมือกับภาคีที่เกี่ยวข้องในพื้นที่และเครือข่ายทางปัญญานำไปสู่การกาหนดอนาคตและแก้ไขปัญหาของชุมชนเองงานวิจัยลักษณะนี้ต่างจากงานวิจัยอื่น ๆ ตรงที่ต้องมีปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมและมิได้เน้น“ ผลงานวิจัย” เป็นหลัก แต่มองงานวิจัยเป็น“ กระบวนการ” ที่จะเพิ่มพลังชุมชนเพื่อให้ชุมชนได้ร่วมกันจัดการชีวิตของตัวเองเป็นหาทางหนึ่งที่จะนาไปสู่การเสริมความเข้มแข็งของชุมชนได้
มี 3 ช่วงคือช่วงต้นน้ำ (พัฒนาโครงการ) ช่วงกลางน้ำ (ดำเนินงาน) และช่วงปลายน้ำ (สรุปและขยายผล) ขึ้นอยู่กับโจทย์หลักที่ต้องการประเมินโดยซุมซนต้องสามารถประเมินสภาพและศักยภาพตัวเองและทดลองปฏิบัติการตามศักยภาพที่ตนเองมีได้โดยการประเมินชุมชนในช่วงต้นน้ำหรือช่วงการพัฒนาโครงการอาจจะใช้เครื่องมือ Soclat mapping เข้ามาช่วยประเมินสถานการณ์หรือปัญหาที่แท้จริงในชุมชนในมิติต่างๆประกอบด้วยลักษณะทางกายภาพประวัติศาสตร์ชุมชนระบบความสัมพันธ์เครือญาติ / ทางสังคมศักยภาพเศรษฐกิจศักยภาพทางปัญญาการดำรงอยู่ของภูมิปัญญาชุมชนปราชญ์ชาวบ้านและการเอื้อประโยชน์ชุมชนบุคคลและองค์กรที่มีและบทบาทสำคัญในชุมชน
กระบวนการ PAR
กระบวนการกระบวนการมีส่วนร่วมพัฒนาของทุกฝ่าย
-ตัดสินใจอะไรเป็นปัญหา
-ต้องการทำอะไร
-แก้ปัญหาอย่างไร
-ลงมือทำ
-ประเมิน สรุป
-รับผล
กระบวนการวิจัย
-กำหนดปัญหา
-ทบทวนข้อมูล
-ศึกษาข้อมูล
-ออกแบบ
-วิเคราะห์
-สรุป เสนอแนะ
-รายงาย
ปัญหาเริ่มจากชุมชน/องค์กร
วิเคราะห์โดยชุมชน/องค์กร
แก้ไขโดยชุมชน/องค์กร
จัดทำโดย นางสาวธิติมา สังรวมใจ เลขที่ 6