Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การกำเนิดและวิวัฒนาการของกาแล็กซี, ดาวน์โหลด (3), https://www.google…
การกำเนิดและวิวัฒนาการของกาแล็กซี
กำเนิดกาแล็กซี
ชนิดของกาแล็กซี
กาแล็กซี่ทางช้างเผือก
องค์ประกอบของกาแล็กซี
เนิดขึ้นหลังจากบิกแบง 1,000 ล้านปีเกิดจากกลุ่มแก๊สซึ่งยึดเหนี่ยวด้วยแรงโน้มถ่วงแยกเป็นกลุ่ม ๆ
แต่ละกลุ่มก่อกำเนิดเป็นดาวฤกษ์จำนวนมากซึ่งเป็นสมาชิกของกาแล็กซี กาแล็กซีที่ระบบสุริยะสังกัดอยู่ คือ กาแล็กซีทางช้างเผือก นอกจากนี้ยังมีกาแล็กซีอื่น ๆ ได้แก่ กาแล็กซีเอนโดรเมดา กาแล็กซีแมกเจลแลนใหญ่ และกาแล็กซีแมกเจลแลนเล็ก
กาแล็กซีปกติ (Regular Galaxy)
ในปี 1926 นักดาราศาสตร์ชื่อว่าเอ็ดวิน ฮับเบิล (Edwin Hubble) ได้จำแนกรูปแบบของกาแล็กซีออกมาตามแผนภาพส้อมเสียง (Hubble Tuning Fork) ซึ่งประกอบไปด้วยกาแล็กซีรีและกาแล็กซีกังหันโดยมีรูปแบบย่อย ๆ อีกหลากหลาย นอกจากนี้ยังมีกาแล็กซีที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับทั้งกาแล็กซีรีและกาแล็กซีกังหันด้วย
กาแล็กซีทางช้างเผือก (Milky Way) เป็นกาแล็กซีที่พวกเราอาศัยอยู่ แต่เนื่องจากดวงอาทิตย์ก็อยู่ภายในกาแล็กซี่แห่งนี้ เราจึงไม่สามารถมองเห็นได้ว่ากาแล็กซีทางช้างเผือกมีรูปร่างเป็นอย่างไร สิ่งที่เราเห็นได้คือแถบขาวจางๆที่เหยียดตัวพาดผ่านท้องฟ้ายามค่ำคืน
จากการสังเกตการณ์บ่งชี้ว่ากาแล็กซีทางช้างเผือกเป็นกาแล็กซีแบบกังหันมีคาน ที่มีดาวฤกษ์อยู่อย่างน้อย 2 แสนล้านดวง มีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 100,000 ปีแสง และมีความหนาเฉลี่ยประมาณ 1,000 ปีแสง ดวงอาทิตย์จะอยู่ในบริเวณค่อนข้างมืดมิด (มีดาวฤกษ์ค่อนข้างน้อย) ที่อยู่ห่างออกไปจากใจกลางกาแล็กซีไปราว 2/3 ของขนาดรัศมีกาแล็กซี
ระนาบของกาแล็กซีทางช้างเผือกเอียงทำมุมราว 60 องศาจากระนาบสุริยวิถี (ระนาบของระบบสุริยะ) ซึ่งใจกลางของกาแล็กซีทางช้างเผือกจะปรากฏอยู่ในทิศทางของกลุ่มดาวคนยิงธนู
ดวงอาทิตย์โคจรรอบใจกลางทางช้างเผือก เช่นเดียวกับโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ โดยอัตราเร็วในการโคจรของดวงอาทิตย์อยู่ที่ประมาณ 220 กิโลเมตร/วินาที อย่างไรก็ตาม เนื่องจากวงโคจรของดวงอาทิตย์รอบใจกลางทางช้างเผือกเป็นระยะทางที่ยาวมาก ดวงอาทิตย์จึงต้องใช้เวลาถึง 225 ล้านปีในการโคจรครบรอบ
การแล็กซีประกอบด้วยดาวฤกษ์ กระจุกดาวสสารระหว่างดาว (แก๊สและ ฝุ่นธุลี) เนบิวลา และที่ว่างในอากาศเป็นส่วนใหญ่
กระจุกดาว คือกลุ่มดาวตั้งแต่สิบดวงไปจนถึงหลายสิบล้านดวง ในกาแล็กซี ทางช้างเผือกจะพบกระจุกดาวรอบ ๆ ศูนย์กลางกาแล็กซี เช่น กระจุกดาวลูกไก่้ ถ้ามองด้วยตาเปล่าจะมองเห็นดาวฤกษ์ประมาณ 7 ดวง
สสารระหว่างดาว ดาวฤกษ์แต่ละดวงอยู่ห่างไกลกันมาก ระหว่างดวง ดาวจึงมีสสารระหว่างดาว ซึ่งประกอบด้วยแก๊ส (ส่วนใหญ่เป็นไฮโดรเจน) ฝุ่นธุลีชิ้นส่วนของสะเก็ดดาวแทรกคั่นอยู่
เนบิวลา กลุ่มเมฆหมอกของแก๊สและฝุ่นธุลีของสสารในอากาศ ที่อยู่ระหว่างดวงดาวในกาแล็กซ๊ มี 3 ชนิด
เนบิวลาสว่าง เป็นกลุ่มแก๊สและฝุ่นธุลีที่สะท้อนแสงสว่างที่ส่องมาจากดาวฤกษ์
เนบิวลาเรืองแสง เป็นกลุ่มแก๊สและฝุ่นธุลีระหว่างดวงดาวที่เปล่ง แสงออกมาจากตัวเอง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของอนุภาคโปรตรอนนิวตรอนเป็นอะตอม ไฮโดรเจน
เนบิวลามืด เป็นกลุ่มแก๊สและฝุ่นธุลีจำนวนมากและหนาทึบ ซึ่งดูดกลืนแสงของดาวฤกษ์ที่ส่องมา
https://www.google.com/url?sa=i&url=https%3A%2F%2Fwww.youtube.com%2Fwatch%3Fv%3DsvLQo8qs7Zw&psig=AOvVaw3qW2m68ZzExZLUX6AobCMb&ust=1624595123462000&source=images&cd=vfe&ved=0CAoQjRxqFwoTCJDQrMy2r_ECFQAAAAAdAAAAABAE
Link Title
https://i.ytimg.com/vi/svLQo8qs7Zw/hqdefault.jpg
:no_entry: