Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต -…
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต
การแจ้งข่าวร้าย (Breaking a bad news)
การลุกลามของโรคไม่ตอบสนองต่อการรักษา
การกลับเป็นซ้ำของโรค
ความพิการ
การสูญเสียภาพลักษณ์ของตัวเอง
การเป็นโรครุนแรงหรือรักษาไม่หาย
การเสียชีวิต
ปัจจัยที่มีผลต่อการแปลผลข้อมูลของผู้รับข่าวร้าย
ความคาดหวังและความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
ความเชื่อและวัฒนธรรม
ภูมิหลังของผู้รับข่าวร้าย
ผู้แจ้งข่าวร้าย
แพทย์เจ้าของไข้
ทีมรักษาผู้ป่วย
ทีม Palliative Care
ความพร้อมของผู้แจ้งข่าวร้าย
ดูแลด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์
ฝึกฝนและมีประสบการณ์วิธีการแจ้งข่าวร้าย
มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับแผนการรักษา
ผลการรักษาและการดำเนินโรค
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อพิจารณาที่แพทย์สามารถแจ้งแก่ญาติโดยไม่ต้องแจ้งแก่ผู้ป่วย
โรคทางจิต
เป็นเด็ก
ผู้ป่วยที่มีแนวโน้มจะทำร้ายตนเองหากได้รับข่าวร้าย
ปฏิกิริยาจากการรับรู้ข่าวร้าย
1.ระยะปฏิเสธ (Denial)
เป็นระยะแรกหลังจากผู้ป่วยและญาติรับทราบข้อมูล จะรู้สึกตกใจ ช็อคและปฏิเสธสิ่งที่ได้รับรู้ ไม่เชื่อไม่ยอมรับความจริง ไม่เชื่อผลการรักษา และอาจขอย้ายสถานที่รักษา
2.ระยะโกรธ (Anger)
ความโกรธเป็นภาวะธรรมชาติ และเป็นการเยียวยาความรู้สึกที่เกิดจากสูญเสีย ปฏิกิริยาอาจออกมาในลักษณะ อารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว และต่อต้าน
3.ระยะต่อรอง (Bargaining)
การต่อรองมักจะแฝงด้วยความรู้สึกผิดไว้ด้วยอาจจะรู้สึกว่าตนเองมีความผิดที่ยังไม่ได้ทำบางอย่างที่ค้างคา หรือยังไม่ได้พูดอะไรกับใคร จะต่อรองกับตัวเองคนรอบข้าง หรือแม้กระทั่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์
4.ระยะซึมเศร้า (Depression)
ผู้ป่วยและญาติจะเริ่มรับรู้ว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ความรู้สึกซึมเศร้าจะเริ่มเกิดขึ้น ระดับความรุนแรงขึ้นอยู่กับ ความเข้มแข็งของแต่ละบุคคล และสภาพแวดล้อมของแต่ละบุคคล
5.ระยะยอมรับ (Acceptance)
เป็นปฏิกิริยาระยะสุดท้าย เริ่มยอมรับสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง อารมณ์เจ็บปวดหรือซึมเศร้าดีขึ้น และมองเหตุการณ์อย่างพิจารณามากขึ้น มองเป้าหมายในอนาคตมากขึ้น ปรับตัว และเรียนรู้เพื่อให้ดำเนินชีวิตต่อไปได้
ผลลัพธ์หลังจากการแจ้งข่าวร้าย
การประชุมครอบครัว (Family meeting)
การให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนผู้ป่วยและครอบครัว
การตัดสินใจเลือกแนวทางการดูแลผู้ป่วย
ความร่วมมือและวางแผนในทีมดูแล
การวางแผนการดูแลล่วงหน้า (Advanced care plan)
บันทึกการแสดงเจตนารมณ์ล่วงหน้าก่อนตาย (Advanced directive)
บทบาทพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว ประเมินการรับรู้ สอบถามความรู้สึก ความต้องการการช่วยเหลือ
รับฟังด้วยความตั้งใจ เห็นใจ เปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย
ให้ความช่วยเหลือประคับประคองจิตใจให้ผ่านระยะเครียดและวิตกกังวล
ยอมรับพฤติกรรมทางลบโดยไม่ตัดสิน ให้โอกาสในการระบายความรู้สึก
ให้ความเคารพ เข้าใจ เห็นใจ ไวต่อความรู้สึกและความต้องการของผู้ป่วย
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อมูล การดำเนินโรค แนวทางการรักษา
อธิบายให้ทราบถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ให้ข้อมูลอาการที่เปลี่ยนแปลง การดำเนินโรค
ให้ความหวังที่เป็นจริง สะท้อนคิดเกี่ยวกับการอยู่กับปัจจุบัน
ให้ครอบครัวค้นหาเป้าหมายใหม่ในชีวิตอย่างมีความหมาย
จัดการกับอาการที่รบกวนผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับความสุขสบาย
ให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยและญาติว่าแพทย์และทีมสุขภาพทุกคนจะให้การดูแลอย่างดีที่สุด
ทำหน้าที่แทนผู้ป่วยในการเรียกร้องปกป้องผู้ป่วยให้ได้รับประโยชน์และปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการรักษา
ช่วยเหลือในการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาตามความเชื่อ เพื่อให้ผู้ป่วยมีความผาสุกทางจิตใจ เผชิญกับสิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
ให้การช่วยเหลือในการจัดการสิ่งที่ค้างคาในใจเพื่อให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ
การดูแลรักษาของทีมแพทย์และพยาบาลที่ทำงานในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติ
การมุ่งงรักษาให้ผู้ป่วยหาย แต่ palliative care ไม่ได้มุ่งเน้นที่การหายจากตัวโรค ซึ่งจริง ๆ แล้วสามารถทำควบคู่กันได้ ถ้าหากนำหลักการของทั้งสองมาใช้ในผู้ป่วยรายบุคคล สามารถทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดีที่สุด
ถ้าหากผู้ป่วยรายนั้นมีโอกาสรักษาแล้วจะหายจากภาวะวิกฤตได้ การดูแลแบบ palliative care ก็สามารถทำได้ในรูปแบบหนึ่ง
ถ้าหากผู้ป่วยไม่มีโอกาสหายแล้ว บทบาทของการดูแลแบบ palliative care จะชัดเจนมากขึ้น
มโนทัศน์เกี่ยวกับการเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย
การเจ็บป่วยระยะท้าย
ภาวะบุคคลอยู่ในภาวะความเจ็บป่วยที่คุกคามต่อชีวิตมีการดำเนินโรคลุกลามอย่างมากทำให้การทำหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายไม่สามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติ
ภาวะใกล้ตาย
ผู้ที่เข้าสู่ช่วงใกล้เสียชีวิตมีอาการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายมากขึ้นจากการทำหน้าที่ของอวัยวะสำคัญของร่างกายลดลงหรือล้มเหลวและมีค่าคะแนน Palliative performance Scale (PPS) น้อยกว่า
การดูแลแบบประคับประคอง หรือ การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายหรือ palliative care
วิธีการดูแลที่มุ่งเน้นเป้าหมาย เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยที่มีโรคหรือภาวะคุกคามต่อชีวิตโดยการป้องกันและบรรเทาความทุกข์ทรมานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยและครอบครัวโดยเข้าไปดูแลปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในระยะแรก ๆ ของโรครวมทั้งประเมินปัญหาสุขภาพแบบองค์รวมทั้งด้านกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณอย่างละเอียดครบถ้วน เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยได้เสียชีวิตอย่างสงบหรือตายดี
นิยามของ palliative care
ไม่ใช่การเร่งการตายไม่ยื้อความตายไม่ใช่การุ ณ ฆาต แต่เป็นการยอมรับสภาวะที่เกิดขึ้นและยอมให้ผู้ป่วยเสียชีวิตตามธรรมชาติ
การดูแลระยะท้าย (End of Life Care)
การดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในระยะท้ายของโรคโดยใช้หลักการดูแลแบบประคับประคองเป็นแนวทางการให้บริการ
แนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
1.แนวคิดการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care)
เป็นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบองค์รวมโดยครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
ยึดตามความเชื่อทางด้านศาสนา วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติของผู้ป่วยและครอบครัวเป็นสำคัญเป็นการทำงานเป็นทีมแบบสหวิชาชีพ
ผู้ป่วยและครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญและผ่านพ้นช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตอย่างสงบ สบาย พร้อมด้วยศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และสนับสนุนค้ำจุนครอบครัว
แนวคิดการดูแลตามทฤษฎีความสุขสบาย (comfort theory)
เน้นความสุขสบายที่เป็นผลลัพธ์ของการพยาบาล
ความสุขสบาย คือ เป็นภาวะที่บุคคลได้รับความต้องการทันทีเพื่อบรรเทา สงบ ผ่อนคลาย และควบคุมสถานการณ์ได้หรืออยู่เหนือปัญหา
ความสุขสบายแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1.บรรเทา (relief) หมายถึง ความไม่สุขสบายที่มีอยู่ทุเลาเบาบางลง
2.ความสงบ ผ่อนคลาย หมายถึง ความไม่สุขสบายหายไปหรือสงบผ่อนคลาย
3.อยู่เหนือปัญหา หมายถึง ความสุขที่อยู่เหนือความไม่สุขสบายทั้งปวงแม้ว่าจะไม่สามารถขจัดหรือหลีกเลี่ยงได้
กิจกรรมการดูแลที่ส่งเสริมความสุขสบายของผู้ป่วยและครอบครัวตามทฤษฎี
1.มาตรฐานการพยาบาลเพื่อความสุขสบาย
การสอน แนะนำ เป็นพี่เลี้ยง ได้แก่ ให้กำลังใจ ให้ข้อมูล ความหวัง ชี้แนะ รับฟังและช่วยเหลือเพื่อวางแผนฟื้นฟูสภาพ
อาหารด้านจิตวิญญาณ เป็นสิ่งที่พยาบาลกระทำแสดงถึงการดูแลใส่ใจ เอื้ออาทร และสร้างความเข้มแข็งด้านจิตวิญญาณ
การดูแลแบบประคับประคองมุ่งให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบหรือ ตายดี ให้ช่วงท้ายของชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย
ประเด็นจริยธรรมที่สำคัญในการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต การเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย
การุณยฆาต หรือ ปราณีฆาต หรือ เมตตามรณะ (mercy killing or euthanasia)
การทำการุณยฆาตโดยความสมัครใจ คือ การที่ผู้ป่วยตระหนักรู้เข้าใจถึงอาการ การดำเนินของโรค และทนทุกข์กับความทรมานต่อความเจ็บปวด และผู้ป่วยร้องขอให้ยุติการรักษาพยาบาล
การทำการุณยฆาตโดยผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจได้เอง คือ การทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตโดยเจตนา โดยปล่อยให้เกิดการตายตามธรรมชาติ ตามพยาธิสภาพของโรค โดยปราศจากการช่วยชีวิตด้วยเครื่องมือทางการแพทย์
แพทย์พิจารณา 3 ประการ
1.เมื่อผู้ป่วยอยู่ในภาวะเจ็บปวดทรมานอย่างแสนสาหัส
2.สิทธิส่วนบุคคลที่จะยุติชีวิตลง
3.บุคคลไม่ควรจะถูกบังคับให้ยืดชีวิตออกไปในสภาพที่ช่วยตนเองไม่ได้และไร้การรับรู้ทางสมอง
การยืดหรือการยุติการรักษาที่ยืดชีวิต
การยับยั้งการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบำบัดรักษา หมายถึง การไม่เริ่มต้นใช้เครื่องมือช่วยชีวิต
การเพิกถอนการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบำบัดรักษา หมายถึง การเพิกถอนใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบำบัดรักษา
การฆ่าตัวตายโดยความช่วยเหลือของแพทย์ (Physician-assisted suicide)
การฆ่าตัวตายโดยเจตนา และได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์
การให้ความรู้
เครื่องมือหรือวิธีการอื่นใดที่อาจทำให้ผู้นั้นสามารถฆ่าตัวตายได้สำเร็จ
ในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่สามารถเอาผิดกับผู้ที่ฆ่าตัวตายและผู้ที่ให้การช่วยเหลือให้ผู้อื่นฆ่าตัวตายถือเป็นเสมือนการตายตามความประสงค์ของตนเองซึ่งอาจจะเป็นการตายที่ดี
หากมองในมุมศาสนาในเรื่องของการฆ่าตัวตายย่อมแสดงถึงการตายที่ไม่ดี
การจัดสรรทรัพยากรที่มีจำนวนจำกัด
การจัดสรรทรัพยากรจึงควรคำนึงถึงการเกิดประโยชน์มากที่สุด
พิจารณาจากผลการรักษาว่ามีโอกาสประสบความสำเร็จเพียงใดคุ้มค่ากับการรักษาหรือไม่
คำนึงถึงผลประโยชน์ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางและยุติธรรม
การบอกความจริง (Truth telling)
1) การบอกความจริงทั้งหมด
2) การบอกความจริงบางส่วน
3) การหลอกลวง
4) การประวิงเวลาการบอกความจริง
การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ (Organ transplantation)
ต้องพิจารณาเกี่ยวกับโอกาสรอดชีวิตหลังผ่าตัด
ระยะเวลาการมีชีวิตอยู่หลังผ่าตัด
แหล่งที่มาของอวัยวะ
แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางจริยธรรม
ให้ความรู้แก่พยาบาลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
2.จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
การประชุมก่อนและหลังการพยาบาล
จัดตั้งคณะกรรมการด้านจริยธรรมในโรงพยาบาล
จัดทำคู่มือแนวทางปฏิบัติในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของพยาบาล
จริยธรรมสำหรับการทำงานของทีมสุขภาพ โดยมีความเคารพซึ่งกันและกัน รู้จักขอบเขตหน้าที่ของตนรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของผู้รับบริการ
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต (End of Life care in ICU)
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายหรือ palliative care ในหอผู้ป่วยวิกฤต
มีการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤตน้อยกว่าหอผู้ป่วยอื่น ๆ
ผู้ป่วยที่มีอาการไม่สุขสบายและไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมมากกว่าหอผู้ป่วยอื่น ๆ
มีการสื่อสารในหัวข้อแผนการรักษาน้อยกว่าผู้ป่วยอื่นในโรงพยาบาล
ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตและทั่วไป
Professional culture
ความคาดหวังของผู้ป่วยและครอบครัว
ความไม่แน่นอนของอาการ
Multidisciplinary team
ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤติมีอาการไม่สุขสบายหลายอย่างและมีแนวโน้มลูกละเลย
ทรัพยากรมีจำกัด
สิ่งแวดล้อมในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
หลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติ
ทีมสุขภาพที่ทำงานในไอซียูเป็นผู้เริ่มลงมือด้วยตนเอง
การประเมินความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว
การสื่อสาร
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
การปรึกษาทีม palliative care ของโรงพยาบาลนั้น ๆ มาร่วมดูแลในผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์
ICU admission after hospital stay at least 10 days
Multisystem/organ failure at least three systems
Diagnosis of active stage IV malignancy (metastatic disease)
Status post cardiac arrest
Diagnosis of intracerebral hemorrhage requiring mechanical ventilation
Terminal dementia
Surprise question "No"
การดูแลแบบผสมผสาน
ระบบการแพทย์เฉพาะ เช่น แพทย์แผนไทย แพทย์แผนจีน
การผสมผสานกายจิต เช่น สวดมนต์ ทำสมาธิ โยคะ
อาหารและสมุนไพร เช่น อาหาร สุขภาพ
พลังบำบัด เช่น สัมผัสบำบัด โยเร
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย
การประเมินสภาพ
การประเมินอาการทางร่างกาย
ระบบทางเดินอาหาร
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ระบบหายใจ
ระบบประสาท
ระบบการควบคุมหูรูด
ระบบขับถ่าย
การประเมินด้านจิตใจ ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายจะมีความผิดปกติทางด้านจิตใจ
ภาวะซึมเศร้า (Depression)
ภาวะวิตกกังวล (Anxiety)
ภาวะสับสน (Delirium)
การประเมินด้านสังคม
บทบาทของผู้ป่วยในครอบครัว
ความรักความผูกพันของผู้ป่วยกับสมาชิกในครอบครัว
ความต้องการของครอบครัว
ผู้ดูแลผู้ป่วย (Care giver)
ที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม
เครือข่ายทางสังคมและการสนับสนุนทางสังคม
การประเมินด้านจิตวิญญาณ
ความต้องการการกิจกรรมทางศาสนา
ผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องการการดูแลแบบองค์รวมครอบคลุมด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและจิตวิญญาณ
ช่วยให้ผู้ป่วยผ่านวาระสุดท้ายของชีวิตอย่างสงบสุข
การประเมินระดับPalliative Performance Scale (PPS)
วัดจากความสามารถ 5 ด้านของผู้ป่วย
ความสามารถในการเคลื่อนไหว
กิจกรรมและความรุนแรงของโรค
การดูแลตนเอง
การกินอาหาร
ความรู้สึกตัว
จุดประสงค์ของการใช้ PPS
เพื่อสื่อสารอาการปัจจุบันของผู้ป่วยระหว่างบุคลากรในทีมที่ร่วมกันดูแลผู้ป่วย
เพื่อประเมินพยากรณ์โรคอย่างคร่าวๆและติดตามผลการรักษา
ใช้เป็นเกณฑ์การัดเลือกผู้ป่วย
ใช้บอกความยากของภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์และครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย
ใช้ในการวิจัย
สามารถแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 11 ระดับ ตั้งแต่ 0 % จนถึง 100 % โดยสามารถแยกออกเป็น 3 กลุ่ม
ผู้ป่วยที่มีอาการคงที่ (PPS>70%)
ผู้ป่วยระยะสุดท้าย (PPS 0-30%)
ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างกลุ่มทั้งสอง (PPS 40-70%)
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย
การสื่อสาร
1.ควรมีแผ่นพับแนะนำครอบครัวถึงการเตรียมตัวก่อนทำการประชุมครอบครัว
2.ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกครั้งที่พูดคุยกับครอบครัวสถานควรเป็นห้องที่เป็นส่วนตัวไม่มีการรบกวน
3.หลีกเลี่ยงคำศัพท์แพทย์
4.ให้เกียรติครอบครัวโดยการฟังอย่างตั้งใจและให้เสนอความคิดเห็น
5.มีความเห็นใจครอบครัวที่ต้องประเชิญเหตุการณ์นี้
6.บทสนทนาควรเน้นที่ตัวตนของผู้ป่วยมากกว่าโรค
7.ปล่อยให้มีช่วงเงียบ
8.บอกการพยากรณ์โรคที่ตรงจริงที่สุด ถ้าเป็นการแจ้งข่าวร้ายอาจจะใช้ SPIKES protocol
9.เนื้อหาที่จะพูดคุยนั้นอาจแบ่งตามช่วงเวลาที่ผู้ป่วยเข้ารักษาในไอซียู
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
การช่วยเหลือดูแลทางกายตามอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยระยะสุดท้าย
อาการปวด
อาการท้องผูก
เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
อาการปากแห้ง เจ็บในปาก กลืนลำบาก
อาการท้องมานหรือบวมในท้อง
อาการไอ
อาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก
อาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้
อาการบวม
อาการคัน
การเกิดแผลกดทับ
การดูแลทั่วไป
การเปิดแสงไฟจ้าเกินไป
การใช้เครื่องเฝ้าระวังที่มากเกินไป
ควรจำกัดการเยี่ยม
ควรงดการรบกวนผู้ป่วย เช่น การเจาะเลือด การทดสอบต่าง ๆ
วัดสัญญาณชีพน้อยครั้งเท่าที่จำเป็น
การดูแลด้านอารมณ์และสังคมของผู้ป่วยและครอบครัว (Psychosocial care)
1.ช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับความตายที่จะมาถึง
2.ช่วยให้จิตใจจดจ่อกับสิ่งดีงามอาจน้อมนำได้หลายวิธี
3.การช่วยปลดเปลื้องสิ่งที่ค้างคาใจ
4.แนะนำให้ผู้ป่วยปล่อยวางสิ่งต่าง ๆ
5.สร้างบรรยากาศที่สงบและเป็นส่วนตัว
การดูแลด้านจิตวิญญาณผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัว
1.ประเมินและบันทึกความต้องการทางจิตวิญญาณในระหว่างการดูแลเป็นระยะ
สนับสนุนให้มีสถานที่หรือกิจกรรมส่งเสริมด้านจิตวิญญาณเช่นการประกอบพิธีตามศาสนา
สอบถามและส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติตามศรัทธาความเชื่อ
ดูแลให้ได้รับการประชุมครอบครัว (Family meeting)
1) รู้จักตัวตนของคนไข้
2) ทำการฟังอย่างตั้งใจ มีการทบทวนสาระสำคัญเป็นระยะ ๆ
3) หลังจากนั้นผู้นำการประชุมครอบครัวทำการเล่าอาการให้ฟังและต้องย้ำว่าที่ผ่านมาเราได้พยายามอย่างเต็มที่แล้ว
4) ในช่วงนี้ญาติอาจจะพยายามต่อรอง รับฟังอย่างตั้งใจและเริ่มอธิบายญาติเห็นถึงความทุกข์ทรมานของการรักษาที่ผ่านมา และระบุถึงความทุกข์ทรมานอย่างอื่นที่อาจจะตามมา
5) เตือนให้ญาติคำนึงถึงความปรารถนาของผู้ป่วยให้ทุก ๆ การตัดสินใจ
6) ถ้าหากมีการร้องไห้ควรให้ญาติร้องโดยมิขัดจังหวะ
7) ผู้นำการประชุมครอบครัวควรทำการสะท้อนอารมณ์ของญาติเป็นระยะ ๆ
8) เน้นย้ำกับญาติว่าแผนการรักษาทั้งหมดเป็นการตัดสินใจร่วมกันของทีมสุขภาพและครอบครัว
การดูแลให้ผู้ป่วยและญาติเข้าถึงการวางแผนการดูแลล่วงหน้า (Advance Care Planning [ACP])
Living it หรือพินัยกรรมชีวิตหรือหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข
หนังสือที่เกิดจากการพิมพ์หรือเขียน หรือแสดงเจตนาด้วยวาจาต่อแพทย์พยาบาลเจ้าหน้าที่สุขภาพญาติหรือผู้ใกล้ชิด เพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยหนังสือแสดงเจตนาฯ เป็นหนังสือที่เคารพสิทธิของผู้ป่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับชีวิต
Proxy
บุคคลใกล้ชิดที่ผู้ป่วยมอบหมายให้มีอำนาจตัดสินใจในเรื่องการดูแลทางการแพทย์ในวาระสุดท้ายของตน
บทบาทของพยาบาลในการดูแลให้ผู้ป่วยและญาติเข้าถึงการวางแผนการดูแลล่วงหน้า
การสื่อสาร โดยการสื่อสารร่วมกันระหว่างทีมสุขภาพกับผู้ป่วยและญาติ
การคอยช่วยเหลือเมื่อผู้ป่วยต้องการทำการวางแผนการดูแลล่วงหน้าโดยการจัดหาตัวอย่างของแบบฟอร์ม living will การอธิบายขั้นตอนวิธีการทำรวมทั้งอธิบายข้อมูลข้อดีข้อเสียของหัตถการที่ต้องระบุไว้ใน living will
การรวบรวมเอกสาร ได้แก่ สำเนาหนังสือแสดงเจตนาดังกล่าวและเก็บไว้ในเวชระเบียนและแจ้งให้ญาติผู้ใกล้ชิดของผู้ป่วยทราบ
การดูแลผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิต (manage dying patient)
การเตรียมตัวผู้ป่วย
1) ทำการปิดเครื่องติดตามสัญญาณชีพต่าง ๆ
2) ยุติการเจาะเลือด
3) ควรปิดประตูหรือปิดม่านให้มิดชิด
4) ทำความสะอาดใบหน้าช่องปากและร่างกายผู้ป่วย
5) ยุติการรักษาที่ไม่จำเป็น
6) นำสายต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นออก
7) ให้คงไว้เพียงการรักษาที่มุ่งเน้น
8)ให้คุมอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
9) ควรทำการยุติการให้ผู้ป่วยได้รับยาหย่อนกล้ามเนื้อ
10) ให้ยาที่มักจำเป็นต้องได้
11) อธิบายครอบครัวถึงอาการต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นและวิธีการจัดการช่วงเวลานี้
12) ประเมินความสุขสบายของผู้ป่วยและเป็นการทำให้ญาติมันใจว่าทีมสุขภาพไม่ได้ทอดทิ้ง
การดูแลจิตใจครอบครัวผู้ป่วยต่อเนื่อง (bereavement care)
หลังจากที่ผู้ป่วยเสียชีวิตไปแล้วทีมสุขภาพอาจทำการแสดงความเสียใจ
มีเอกสารคำแนะนำการดูแลร่างกาย และจิตใจผู้สูญเสีย
มีคำแนะนำว่าเมื่อไหร่ผู้สูญเสียจำเป็นต้องพบแพทย์
การสื่อสารที่ดี และดูแลช่วงใกล้เสียชีวิตอย่างใกล้ชิดสามารถช่วยลดการเกิดความเครียดจากการสูญเสียคนรักได้