Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิ…
บทที่ 4
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต
มโนทัศน์เกี่ยวกับการเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย
การเจ็บป่วยระยะท้าย หมายถึง ภาวะบุคคลอยู่ในภาวะความเจ็บป่วยที่คุกคามต่อชีวิต มีการดําเนินโรคลุกลามอย่างมาก
ทําให้การทําหน้าที่ของอวัยวะต่างๆของร่างกายไม่สามารถ กลับคืนสู่ภาวะปกติ
ภาวะใกล้ตาย หมายถึง ผู้ที่เข้าสู่ช่วงใกล้เสียชีวิต มีอาการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายมากขึ้น จากการทําหน้าที่ของอวัยวะสําคัญของร่างกายลดลงหรือล้มเหลว และมีค่าคะแนน Palliative performance scale (PPS) น้อยกว่า 30
นิยามของ palliative care ไม่ใช่การเร่งการตาย ไม่ยื้อความตาย ไม่ใช่การุณฆาต แต่เป็นการยอมรับสภาวะที่เกิดขึ้น และยอมให้ผู้ป่วยเสียชีวิตตามธรรมชาติ
แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางจริยธรรม
ให้ความรู้แก่พยาบาลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม ได้แก่ การประชุมก่อนและหลังการพยาบาล จัดตั้งคณะกรรมการด้านจริยธรรมในโรงพยาบาล จัดทําคู่มือแนวทางปฏิบัติในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของพยาบาล เช่น สิทธิและความรับผิดชอบที่จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับความรู้ความสามารถของตน สิทธิและความรับผิดชอบที่จะร่วมมือกับหน่วยงาน
จริยธรรมสําหรับการทํางานของทีมสุขภาพ โดยมีความเคารพซึ่งกันและกัน รู้จักขอบเขตหน้าที่ของตน รับผิดชอบต่อความปลอดภัยของผู้รับบริการ และการทําให้ตนเองดูเป็นมิตร
แนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
แนวคิดการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care)
การดูแลตามแนวคิดนี้จะเป็นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบองค์รวม
โดยครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
โดยยึดตามความเชื่อทางด้านศาสนา วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียม ประเพณีปฏิบัติของผู้ป่วยและครอบครัวเป็นสําคัญเป็นการทํางาน
เป็นทีมแบบสหวิชาชีพ โดยมีผู้ป่วยและครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
จุดมุ่งหมายคือ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญและผ่านพ้นช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตอย่างสงบ สบาย พร้อมด้วยศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และสนับสนุนค้ำจุนครอบครัวผู้ป่วยให้สามารถใช้ชีวิต
ในช่วงเวลาวิกฤติกับผู้ป่วยที่ป่วยหนักและตายจากไปอย่างราบรื่น
สามารถเริ่มตั้งแต่ไม่เจ็บป่วย ขณะเจ็บป่วย หรือเป็นผู้ที่ต้องเผชิญกับความตาย กําลังอยู่
ในช่วงวาระท้ายของชีวิต
แนวคิดการดูแลตามทฤษฎีความสุขสบาย (comfort theory)
เป้าหมายของทฤษฎี จะเน้นความสุขสบายที่เป็นผลลัพธ์ของการพยาบาล
กิจกรรมการดูแลที่ส่งเสริมความสุขสบายของผู้ป่วยและครอบครัวตามทฤษฎี
มาตรฐานการพยาบาลเพื่อความสุขสบาย เพื่อรักษาความสมดุลของร่างกาย ควบคุมความปวดและความไม่สุขสบายต่าง ๆ
การสอน แนะนํา เป็นพี่เลี้ยง ได้แก่ ให้กําลังใจ ให้ข้อมูล ความหวัง ชี้แนะ รับฟังและช่วยเหลือเพื่อวางแผนฟื้นฟูสภาพ
อาหารด้านจิตวิญญาณ เป็นสิ่งที่พยาบาลกระทําแสดงถึงการดูแลใส่ใจ เอื้ออาทร และสร้างความเข้มแข็งด้านจิตวิญญาณ เช่น จินตบําบัด การนวด
ดูแลแบบประคับประคองมุ่งให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบหรือ ตายดี ให้ช่วงท้าย
ของชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย บุคคลในครอบครัวได้มีโอกาสอําลากันและกัน
ประเด็นจริยธรรมที่สําคัญในการพยาบาลผู้ป่วย
ภาวะวิกฤต การเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย
การุณยฆาต (mercy killing or euthanasia)
การทําการุณยฆาตโดยความสมัครใจ (Voluntary euthanasia)
การที่ผู้ป่วยตระหนักรู้และร้องขอให้ยุติการรักษาพยาบาล แพทย์จึงทําให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตโดยเจตนาตามความประสงค์ของผู้ป่วย
การทําการุณยฆาตโดยผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจได้เอง (Involuntary euthanasia)
คือ ทําให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตโดยเจตนา โดยปล่อยให้เกิดการตายตามธรรมชาติตามพยาธิสภาพของโรค โดยปราศจากการช่วยชีวิตด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ ซึ่งการจะทำได้แพทย์จะต้องมีข้อพิจารณา 3 ประการ
สิทธิส่วนบุคคลที่จะยุติชีวิตลง
เมื่อผู้ป่วย
อยู่ในภาวะเจ็บปวดทรมานอย่างแสนสาหัส
บุคคลไม่ควรจะถูกบังคับให้ยืดชีวิตออกไปในสภาพที่ช่วยตนเองไม่ได้และไร้การรับรู้ทางสมอง
การยืดหรือการยุติการรักษาที่ยืดชีวิต
การยับยั้งการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบําบัดรักษา
การเพิกถอนการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบําบัดรักษา
การฆ่าตัวตายโดยความช่วยเหลือของแพทย์
การจัดสรรทรัพยากรที่มีจํานวนจํากัด
การบอกความจริง
การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ