Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 ประเด็นจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต -…
บทที่ 4
ประเด็นจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต
การแจ้งข่าวร้าย
การแจ้งข่าวร้ายแก่ผู้ป่วยหรือญาติเป็นหน้าที่สําคัญของแพทย์
ในการแจ้งข่าวร้ายนั้นมีข้อพิจารณาที่แพทย์สามารถแจ้งแก่ญาติโดยไม่ต้องแจ้งแก่ผู้ป่วยโดยตรง ในกรณีที่ผู้ป่วยนั้นเป็นโรคทางจิต เป็นเด็ก และผู้ป่วยที่มีแนวโน้มจะทําร้ายตนเองหากได้รับข่าวร้าย
มีผลกระทบต่อผู้ป่วยและญาติ
เพิ่มความเครียด
สับสน
กังวลใจ
บั่นทอนทําลายความหวัง
กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้รักษากับผู้ป่วย
ปฏิกิริยาจากการรับรู้ข่าวร้าย แบ่งเป็น 5 ระยะ ตามทฤษฎีของ Elisabeth Kubler-Ross (1969)
1.ระยะปฏิเสธ (Denial)
2.ระยะโกรธ (Anger)
3.ระยะต่อรอง (Bargaining)
4.ระยะซึมเศร้า (Depression)
5.ระยะยอมรับ (Acceptance)
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
สัมพันธภาพทางสังคมไม่เหมาะสม เนื่องจากไม่สามารถยอมรับความเจ็บป่วยรุนแรงได้
มีภาวะซึมเศร้า เนื่องจากไม่สามารถแสดงบทบาทหัวหน้าครอบครัวได้จากการเจ็บป่วยรุนแรง
มีความเครียดสูง เนื่องจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรง
ไม่สามารถยอมรับสภาพความเป็นจริงเมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
หมดกําลังใจในการต่อสู้กับโรคที่เป็นเนื่องจากไม่มีความหวังในการรักษา
ท้อแท้ ผิดหวังต่อโชคชะตา เนื่องจากคิดว่าถูกพระเจ้าลงโทษหรือไม่ได้รับความช่วยเหลือจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์
การเผชิญปัญหาและการปรับตัวของครอบครัวไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากครอบครัวต้องเผชิญกับการเจ็บป่วยรุนแรงของผู้ป่วย
เศร้าโศกทุกข์ใจ เนื่องจากสูญเสียบุคคลที่มีความสําคัญต่อตน
หวาดกลัวต่อสิ่งต่างๆ เนื่องจากขาดสิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ
บทบาทพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว ประเมินการรับรู้ของครอบครัว สอบถามความรู้สึกและความต้องการการช่วยเหลือ
รับฟังผู้ป่วยและญาติด้วยความตั้งใจ เห็นใจ เปิดโอกาสให้ได้ซักถามข้อสงสัย
ให้ความช่วยเหลือประคับประคองจิตใจให้ผ่านระยะเครียดและวิตกกังวล
ในระยะโกรธ ควรยอมรับพฤติกรรมทางลบของผู้ป่วยและญาติโดยไม่ตัดสิน ให้โอกาสในการระบาย
ความรู้สึก ไม่บีบบังคับให้ความโกรธลดลงในทันที
อธิบายให้ทราบถึงสิ่งที่กําลังจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ให้ข้อมูลที่เป็นความจริงเกี่ยวกับพยาธิสรีรวิทยาของโรค การดําเนินโรค อาการที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ให้ความหวังที่เป็นจริง สะท้อนคิดเกี่ยวกับการอยู่กับปัจจุบันและทําปัจจุบันให้ดีที่สุด
สะท้อนคิดให้ครอบครัวค้นหาเป้าหมายใหม่ในชีวิตอย่างมีความหมาย
จัดการกับอาการที่รบกวนผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับความสุขสบาย ควบคุมความปวด และช่วยเหลือในสิ่งที่ผู้ป่วย
ต้องการ และส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนช่วยในการดูแลผู้ป่วย
ให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยและญาติ ว่าแพทย์และทีมสุขภาพทุกคนจะให้การดูแลอย่างดีที่สุด
ทําหน้าที่แทนผู้ป่วยในการเรียกร้อง ปกป้องผู้ป่วยให้ได้รับประโยชน์ และปกป้องศักดิ์ศีรความเป็นมนุษย์ ตามหลักจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล
ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ได้รับหนังสือแสดงเจตนา
ไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของ
ชีวิตจากผู้รับการพยาบาลให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล แจ้งให้แพทย์
ผู้ให้การรักษาทราบและพิจารณาหนังสือแสดงเจตนาฯ
กรณีแพทย์รับหนังสือแสดงเจตนาฯ ไว้ประกอบแผนการรักษาพยาบาล ให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลฯต้องบันทึกไว้ในบันทึกทางการพยาบาล โดยต้นฉบับหนังสือแสดงเจตนาฯมอบให้กับผู้รับการพยาบาล
กรณีแพทย์ไม่รับหนังสือแสดงเจตนาฯ แพทย์จะเป็นผู้ชี้แจงเหตุผลเอง
ผู้รับบริการขอทําหนังสือแสดงเจตนาฯ
จัดให้ผู้รับบริการพบแพทย์ผู้ให้การรักษาเพื่อให้แพทย์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดทําหนังสือแสดงเจตนาฯ และการจัดทําหนังสือแสดงเจตนาฯให้เป็นไปตามระเบียบของหน่วยงาน โดยผู้จัดทําไม่ใช่ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลฯ
บันทึกข้อมูลไว้ในบันทึกทางการพยาบาล โดยต้นฉบับหนังสือแสดงเจตนาฯมอบให้กับผู้รับบริการ และเก็บสําเนาหนังสือแสดงเจตนาฯ ไว้ในเวชระเบียน
ให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการรักษา
ช่วยเหลือในการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาตามความเชื่อ
ให้การช่วยเหลือในการจัดการสิ่งที่ค้างคาในใจ เพื่อให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ