Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย (การดูแล) - Coggle…
บทที่ 4
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย (การดูแล)
การสื่อสาร
ควรมีแผ่นพับแนะนําครอบครัวถึงการเตรียมตัว
ก่อนทําการประชุมครอบครัว
ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกครั้งที่พูดคุยกับครอบครัว สถานที่ควรเป็นห้องที่เป็นส่วนตัว ไม่มีการรบกวน
หลีกเลี่ยงคําศัพท์แพทย์
ให้เกียรติครอบครัวโดยการฟังอย่างตั้งใจ
และให้เสนอความคิดเห็น
มีความเห็นใจครอบครัวที่ต้องประเชิญเหตุการณ์นี้
บทสนทนาควรเน้นที่ตัวตนของผู้ป่วยมากกว่าโรค เปิดโอกาสให้
ครอบครัวเล่ารายละเอียดความเป็นตัวตนของผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด
และมุ่งเน้นที่ประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับเป็นสําคัญ
ปล่อยให้มีช่วงเงียบ เพื่อให้ญาติได้ทบทวน รวมถึงฟังอย่างตั้งใจทุกครั้งที่ครอบครัวพูด
บอกการพยากรณ์โรคที่ตรงจริงที่สุด
เนื้อหาที่จะพูดคุยนั้นอาจแบ่งตามช่วงเวลาที่ผู้ป่วยเข้ารักษาในไอซียู และควรหลีกเลี่ยงการเริ่มประชุม
ครอบครัวเฉพาะเมื่อผู้ป่วยมีอาการแย่ลง
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
อาการปวด
กรณีมี
อาการปวดรุนแรงมากจะให้ยามอร์ฟีนซึ่งชนิดเม็ดต้องกลืนทั้งเม็ดห้ามเคี้ยวหรือบดเด็ดขาด
เทคนิคการผ่อนคลายต่างๆ
เช่น การทําสมาธิ ฟังบทสวด การนวด ฟังเพลงบรรเลงเบาๆ
การดูแลควรดูแลให้ผู้ป่วยกินยาต่างๆได้ครบถ้วน ตรงตามเวลาที่แพทย์แนะนํา และคอยสังเกตว่า
ยาได้ผลหรือ ไม่ หรือ ผู้ป่วยมีอาการอย่างไรภายหลังการกินยา
และคอยพูดคุยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายทางอารมณ์
อาการท้องผูก
ควรจัดอาหารให้มีใยอาหาร ให้ผู้ป่วยได้รับน้ำอย่างเพียงพอที่ไม่ขัดกับโรค
กระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวร่างกายเท่าที่ทําได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้ยามอร์ฟีนควรได้ยาระบาย
จากแพทย์ด้วย หากไม่ได้รับยาระบาย ควรแจ้งแพทย์ทุกครั้ง
อาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
ควรจัดอาหารที่ย่อยง่ายครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
จัดสิ่งแวดล้อม ให้ผ่อนคลาย รู้สึกสุขสบาย
กรณีมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก ควรเลื่อนมื้ออาหารจนกว่าอาการจะดีขึ้น หากไม่ดีขึ้นควรรายงานแพทย์
อาการปากแห้ง เจ็บในปาก กลืนลําบาก
ควรดูแลทําความสะอาดในช่องปาก
ทุกวันอย่างน้อยวันละสองครั้ง
ถ้าแปรงฟันไม่ได้ ในรายที่หมดสติให้ใช้น้ำเกลือบ้วนปากบ่อย ๆ หรือใช้กระบอกฉีดยา ฉีด
น้ำเกลือทําความสะอาดในปาก
ผู้ป่วยที่มีสติควรให้ผู้ป่วยจิบน้ำบ่อยๆ
หรืออมน้ำแข็งก้อนเล็กๆ เพื่อให้ปากชุ่มชื้น
ให้อาหารอ่อน อาหารเหลว อาหารน้ำ ขึ้นกับภาวะกลืนอาหารของผู้ป่วย
อาการท้องมาน
ควรดูแลโดยให้ผู้ป่วยนอนในท่าศีรษะสูง หรือนั่งพิง
หากอาการแน่น อึดอัดมาก ให้รายงานแพทย์
อาการไอ
ป้องกันสาเหตุที่ทําให้ไอ
ระวังการสําลักขณะได้รับอาหาร
ดูแลให้ได้รับน้ำในปริมาณมาก
ในรายที่ไม่มีข้อจํากัดน้ำ
ดูแลให้ได้รับยาบรรเทาอาการไอตามแผนการรักษา
อาการหอบเหนื่อย
จัดให้ผู้ป่วยพักให้ท่าศีรษะสูงเล็กน้อยเพื่อให้หน้าอกขยายได้ง่าย
ดูแลช่วยเหลือในการทํากิจกรรมต่างๆ เพื่อลดการใช้ออกซิเจน
ดูแลให้ได้รับ
ออกซิเจน และยาเพื่อช่วยระงับอาการเหนื่อยหอบ
อาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้
ระวัง ขาหนีบ และทวารหนัก ระคายเคืองเป็นแผล โดยดูแลความสะอาดสม่ำเสมอ
จัดหาอุปกรณ์ให้ผู้ป่วยปัสสาวะได้สะดวก
ใช้ผ้ารองซับและหมั่นเปลี่ยนผ้ารอง (ผ้าอ้อม)
เฝ้าระวังผิวหนังเริ่มเปลี่ยนแปลง เช่น หากมีสีคล้ำลงควรรายงานแพทย์
อาการบวม
ดูแลจัดท่ายกบริเวณตําแหน่งที่
บวมให้สูง
ดูแลไม่ให้เกิดแผลต่างๆเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
อาการคัน
ควรให้ผู้ป่วยตัดเล็บสั้น
หลีกเลี่ยงการเกา
ดูแลให้ใส่เสื้อผ้าเนื้อนุ่มและหลวม
ใช้สบู่อ่อนๆ และอูณหภูมิของน้ำไม่ควรอุ่นจัด
ดูแลให้ความชุ่มชื้นของผิวหนังโดยใช้น้ำมันสําหรับเด็กอ่อนทาผิวหลังอาบน้ํา
กรณีมีอาการคัน หรือผื่นขึ้นมากกว่าปกติควรรายงานแพทย์
การเกิดแผลกดทับ
ควรพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง
จัดหาเตียงลมหรือที่นอนน้ำเพื่อให้นอน
สบายและเพื่อมีการกระจายน้ำหนักตัว
ไม่กดลงจุดใดจุดหนึ่งมากเกินไป
รักษาความสะอาดผิวบริเวณกดทับ
การดูแลทั่วไป
การดูแลความสะอาดร่างกาย
ดูแลให้ได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
ควรจัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด สงบ ลดการกระตุ้นที่รบกวนผู้ป่วย
ควรงดการรบกวนผู้ป่วย เช่น การเจาะเลือด การทดสอบต่างๆ วัดสัญญาณชีพน้อยครั้งเท่าที่จําเป็น
การดูแลด้านอารมณ์และสังคมของผู้ป่วยและครอบครัว (Psychosocial care)
สร้างบรรยากาศที่สงบและเป็นส่วนตัว
แนะนําให้ผู้ป่วยปล่อยวางสิ่งต่างๆ
การช่วยปลดเปลื้องสิ่งที่ค้างคาใจ ได้แก่ ภาระกิจการงานที่ยังคั่งค้าง ทรัพย์สมบัติที่ยังไม่มี
ผู้จัดการ หรือมีความรู้สึกผิดบางอย่างที่อยู่ในใจ
ช่วยให้จิตใจจดจ่อกับสิ่งดีงาม เช่น นําสิ่งที่ผู้ป่วยเคารพนับถือมาไว้ที่
ห้องเพื่อให้ระลึกนึกถึง ชวนให้สวดมนต์ตามหลักศาสนา
ช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับความตายที่จะมาถึง เป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา โดยควรเริ่มก่อนถึง
วาระสุดท้าย
การดูแลด้านจิตวิญญาณผู้ป่วยระยะ
สุดท้ายและครอบครัว
สอบถามและส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติ
ตามศรัทธาความเชื่อเพื่อให้ผู้ป่วย
และครอบครัวมีความ
สงบผ่อนคลายในระยะสุดท้าย
สนับสนุนให้มีสถานที่หรือกิจกรรมส่งเสริม
ด้านจิตวิญญาณ เช่น การประกอบพิธี
ตามศาสนา
ประเมินและบันทึกความต้องการทาง
จิตวิญญาณในระหว่างการดูแลเป็นระยะ
ดูแลให้ได้รับการประชุมครอบครัว (Family meeting)
การทําประชุมครอบครัวทุกครั้ง ควรมีการบันทึกไว้เพื่อเป็นหลักฐานทางการแพทย์ โดยข้อมูลที่ควรมีการบันทึกไว้ ได้แก่
วัน เวลา สถานที่
ผู้ป่วยเข้าร่วมในการประชุมหรือไม่
สมาชิกที่เข้าร่วมประชุม (ทั้งฝ่ายผู้ป่วยและทีมสุขภาพ)
ผู้ป่วยมีพินัยกรรมชีวิตหรือมีการระบุ ผู้แทนสุขภาพ (proxy) มาก่อนหรือไม่
สมาชิกครอบครัวที่เข้าร่วมประชุม บุคคลใดคือผู้แทนสุขภาพ
ครอบครัวและผู้แทนทางสุขภาพ เข้าใจการพยากรณ์โรคของผู้ป่วย
อะไรคือคุณค่าการดํารงชีวิตของผู้ป่วย ลักษณะตัวตนของผู้ป่วยเป็นคนอย่างไร ความคาดหวังของครอบครัว และสิ่งที่ครอบครัวกังวล
เป้าหมายการรักษา
การวางแผนการรักษา
ข้อควรระวัง
ควรรู้จักตัวตนของคนไข้ ไม่ใช่เฉพาะโรค โดยให้ญาติได้เล่าตัวตนของผู้ป่วยเป็นการแสดงให้เห็นว่า
เราให้ความสําคัญกับผู้ป่วยมาก
ทําการฟังอย่างตั้งใจ มีการทบทวนสาระสําคัญเป็นระยะ ๆ พยายามให้ญาติคิดถึงสิ่งที่ผู้ป่วย
ต้องการและทําการทวนซ้ำ เพื่อความถูกต้อง และเป็นการยืนยันว่าเรากําลังตั้งใจฟังอยู่
หลังจากนั้นผู้นําการประชุมครอบครัวทําการเล่าอาการให้ฟัง และต้องย้ำว่าที่ผ่านมาเราได้พยายามอย่างเต็มที่แล้ว
ในช่วงนี้ ญาติอาจจะพยายามต่อรอง สิ่งที่ทําได้คือ
รับฟังอย่างตั้งใจและเริ่มอธิบายญาติ
เห็นถึงความทุกข์ทรมานของการรักษาที่ผ่านมา
และระบุถึงความทุกข์ทรมานอย่างอื่นที่อาจจะตามมา
เตือนให้ญาติคํานึงถึงความปรารถนาของผู้ป่วย ให้ทุก ๆ การตัดสินใจ เป็นการตัดสินใจที่
สมมุติว่าผู้ป่วยสามารถบอกเองได้ ผู้ป่วยน่าจะต้องการอย่างไร
ถ้าหากมีการร้องไห้ ควรให้ญาติร้องโดยมิขัดจังหวะ
ผู้นําการประชุมครอบครัวควรทําการสะท้อนอารมณ์ ของญาติเป็นระยะ ๆ
เน้นย้ำกับญาติว่า แผนการรักษาทั้งหมด เป็นการตัดสินใจร่วมกันของทีมสุขภาพ และครอบครัวโดยมีจุดมุ่งหมายเดียว
คือ เพื่อสิ่งที่ดีที่สุดสําหรับผู้ป่วย
การดูแลให้ผู้ป่วยและญาติเข้าถึงการวางแผนการดูแลล่วงหน้า (Advance Care Planning [ACP])
คือ กระบวนการสื่อสารระหว่าง
เจ้าหน้าที่สุขภาพกับผู้ป่วยและญาติ
เกี่ยวกับการดูแลรักษา
ผู้ป่วยทางการแพทย์ในอนาคต
โดยการทําหนังสือแสดงเจตจํานงล่วงหน้าแบ่งเป็น 2 ชนิด
Living will (พินัยกรรมชีวิต หรือ หนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข)
Proxy คือ บุคคลใกล้ชิดที่ผู้ป่วยมอบหมายให้มีอํานาจตัดสินใจในเรื่องการดูแลทางการแพทย์ในวาระสุดท้ายของตน
การดูแลผู้ป่วยที่กําลังจะเสียชีวิต (manage dying patient)
ทําการปิดเครื่องติดตามสัญญาณชีพต่าง ๆ
ยุติการเจาะเลือด นําสายต่าง ๆ ที่ไม่จําเป็นออก
ควรปิดประตูหรือปิดม่านให้มิดชิด
ทําความสะอาดใบหน้า ช่องปาก และร่างกายผู้ป่วย
ยุติการรักษาที่ไม่จําเป็น เช่น สารอาหารทางหลอดเลือด น้ำเกลือ
ให้ยาที่มักจําเป็นต้องได้ เช่น มอร์ฟีน ยานอนหลับกลุ่ม benzodiazepine ยาลดเสมหะ
คงไว้เพียงการรักษาที่มุ่งเน้น
คุมอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ เช่น ควรทําการยุติการให้ผู้ป่วยได้รับยาหย่อนกล้ามเนื้อเนื่องจากเป็นยาที่บดบังความไม่สุขสบายของผู้ป่วย
อธิบายครอบครัวถึงอาการต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น และวิธีการจัดการช่วงเวลานี้
ประเมินความสุขสบายของผู้ป่วยและ
การดูแลจิตใจครอบครัวผู้ป่วยต่อเนื่อง (bereavement care)
การสื่อสารที่ดี และดูแลช่วงใกล้เสียชีวิตอย่าง
ใกล้ชิด สามารถช่วยลดการเกิดความเครียด
จากการสูญเสียคนรักได้
เป็นปกติที่
ครอบครัวจะเสียใจกับการจากไปของผู้ป่วย ดังนั้นไม่ควรพูดคําบางคํา เช่น ไม่เป็นไร ไม่ต้องร้องไห้
อาจมีเอกสารคําแนะนําการดูแลร่างกาย
และจิตใจผู้สูญเสีย
รวมถึงคำแนะนำว่าเมื่อไหร่ควรจะไป
พบแพทย์บำบัดสำหรับปรึกษาปัญหา