Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5แนวคิด หลักการการพยาบาลผูู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน และสาธารณภัย, น.ส…
บทที่ 5แนวคิด หลักการการพยาบาลผูู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน และสาธารณภัย
แนวคิด หลักการการพยาบาลผูู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน
แนวคิด
ประเทศไทยมีการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ด้วยรูปแบบ Anglo-American Model (AAM) ซึ่งในปัจจุบันแนวคิดระบบการแพทย์ฉุกเฉินประกอบด้วยสองโมเดลที่
ถูกนํามาอ้างอิงการจัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศที่พัฒนาแล้ว
Anglo-AmericanModel(AAM)
Franco-German Model (FGM)
การเจ็บป่วยฉุกเฉิน
คือ
การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน จําเป็นต้องดําเนินการช่วยเหลือ และการดูแลรักษาทันที อาจเกิดจากภาวะต่างๆ เช่น การเกิดโรคในระบบต่างๆ ของร่างกาย การบาดเจ็บ การเกิดโรคติดต่อ และโรคติดเชื้อ เป็นต้น
การเจ็บป่วยวิกฤต
หมายความถึง การเจ็บป่วยที่มีความรุนแรงถึงขั้นที่อาจทําให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตหรือพิการได้
Crisis care
เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยการรักษา จึงมุ่งเน้นแก้ไขอาการที่ปรากฏอันตราย โดยเฉพาะระบบของร่างกายที่มี
การล้มเหลว เพื่อแก้ไขภาวะล้มเหลว หรือรักษาสภาพการทํางานของระบบนั้น
Critical Care เพื่อดํารงรักษาชีวิต มุ่งเน้นแก้ไขอาการที่ปรากฏในครั้งแรก และการป้องกันไม่ให้เข้าสู่สถานการณ์คับขัน Crisis ในการประคับประคองให้ความสําคัญกับทุกระบบไม่ให้นําสู่สภาวะที่เป็นปัญหาต่อไป
อุบัติเหตุ (Accident)
คือ
อุบัติการณ์ซึ่งเกิดขึ้น โดยไม่คาดหมายมาก่อน ทําให้เกิดการบาดเจ็บตายและการสูญเสียทรัพย์สินโดยที่เราไม่ต้องการ
ผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน
หมายถึง ผู้ที่ทีอาการหนักรุนแรงต้องการการดูแลจากเจ้าหน้าที่ที่มีความชํานาญเฉพาะทาง โดยใช้หลัก และกระบวนการพยาบาลที่สมบูรณ์ เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะคุกคามชีวิต
ลักษณะทางคลินิก
ไม่รู้สึกตัว ชัก เป็นอัมพาต
หยุดหายใจ หายใจช้ากว่า 10 ครั้งต่อนาที หรือเร็วกว่า 30 ครั้งต่อนาที หายใจลําบากหรือหอบเหนื่อย
คลําชีพจรไม่ได้ หรือชีพจรช้ากว่า 40 หรือเร็วกว่า 30 ครั้ง/นาที
ความดันโลหิต Systolic ต่ำกว่า 80 มม.ปรอท หรือ Diastolic สูงกว่า 130 มม.ปรอท
ตกเลือดเลือดออกมากซีดมาก
เจ็บปวดทุรนทุรายกระสับกระส่าย
7.มือเท้าซีดเย็น เหงื่อออกมาก
อุณหภูมิของร่างกายต่ำกว่า 35 เซลเซียส หรือสูงกว่า 40 เซลเซียส
ถูกพิษจากสัตว์ เช่น งู หรือสารพิษชนิดต่างๆ
ลักษณะผู้ป่วยวิกฤต
ผู้ป่วยที่สามารถรักษาได้ เช่น ผู้ป่วยที่หมดสติ ผู้ป่วยที่มีระบบการหายใจล้มเหลว เป็นต้น
ผู้ป่วยที่มีอัตราตายสูง เช่น ผู้ป่วย Septic Shock
ผู้ป่วยที่มีแนวโน้มที่จะมีอาการรุนแรง เช่น ผู้ป่วย myocardialin farction
ผู้ป่วยที่อัตราตายสูง แม้จะได้รับการรักษา เช่น ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
ผู้บาดเจ็บจากสาธารณภัยแบ่งตามความรุนแรง
กลุ่มอาการไม่รุนแรง หากผู้ป่วยเดินได้อาจถือว่าอาการไม่หนัก
กลุ่มอาการหนัก ต้องหามนอนหรือนั่งมาอาการแสดงยังคลุมเครือต้องใช้การตรวจอย่างละเอียด
กลุ่มอาการหนักมาก หรือสาหัสต้องการการรักษาโดยด่วนหรือช่วยชีวิตทันทีกลุ่มผู้ป่วยเสียชีวิต เป็นกลุ่มที่หมดหวังในการรักษา
หลักการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน
มีหลักในการอุ้มยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากยานพาหนะไปยังห้องพยาบาล อย่างนุ่มนวลรวดเร็วปลอดภัย
มีการซักประวัติการเจ็บป่วย และอาการสําคัญอย่างละเอียด ในเวลาที่รวดเร็ว
ทําการคัดกรองผู้ป่วยอย่างรวดเร็วแม่นยํา
ให้การรักษาพยาบาลภายใต้นโยบายของโรงพยาบาล และภายในเขตการรับรองของกฎหมาย
ให้การช่วยฟื้นคืนชีพอย่างถูกต้อง
ให้การดูแลจิตใจของผู้ป่วยและญาติ
มีการนัดหมายผู้ป่วยที่ไม่ได้นอนโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาต่อเนื่อง
มีการส่งต่อเพื่อการรักษาทั้งในหอผู้ป่วยในแผนกผู้ป่วยหนัก และภายนอกโรงพยาบาล
หลักการพยาบาลตามบทบาทพยาบาลวิชาชีพงานบริการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุ และฉุกเฉินของสภาการพยาบาลพ.ศ.2552
ดําเนินการแก้ไขปัญหาที่กําลังคุกคามชีวิตผู้ป่วย
ค้นหาสาเหตุ หรือปัญหาที่ทําให้เกิดภาวะฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุ แล้วดําเนินการแก้ไข
ดูแลและรักษาสภาวะของผู้ป่วยให้อยู่ระดับปลอดภัย และคงที่โดยการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
รักษาหน้าที่ต่างๆ ของอวัยวะสําคัญของร่างกายให้คงไว้
ป้องกันภาวะแทรกซ้อน และติดเชืื้อ
6ุ. ประคับประคองจิตใจและอารมณ์ของผู้ป่วย และญาติ
การพยาบาลสาธารณภัย
สาธารณภัย / ภัยพิบัติ (Disaster)
หมายถึง ภัยที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเกิดจากธรรมชาติหรือจากการกระทําของมนุษย์แล้วก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต เกิดความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สิน สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
ประเภทของภัยพิบัติ
ภัยที่เกิดจากธรรมชาติ (Natural Disaster)ได้แก่ เกิดแบบฉับพลัน และเกิดแบบค่อยเป็นค่อยไป
ภัยที่เกิดจากมนุษยT(Man-made Disaster)ได้แก่ เกิดอย่างจงใจและเกิดอย่างไม่จงใจ
การจัดระดับความรุนแรงของสาธารณภัยทางสาธารณสุข
ความรุนแรงระดับที่ 1 : สาธารณภัยที่เกิดขึ้นทั่วไปหรือมีขนาดเล็ก ซึ่งสํานักงานสาธารณสุขในระดับอําเภอสามารถจัดการได้ตามลําพัง
ความรุนแรงระดับที่ 2 : สาธารณภัยขนาดกลาง หน่วยงานสาธารณสุขระดับอําเภอไม่สามารถจัดการได้ ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด
ความรุนแรงระดับที่ 3 : สาธารณภัยขนาดใหญ่ ที่มีผลกระทบรุนแรงกว้างขวาง หรือสาธารณภัยที่จําเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญหรืออุปกรณ์พิเศษ ต้องอาศัยการสนับสนุนจากหน่วยงานหลายส่วนราชการภายในเขตจังหวัด /จังหวัดใกล้เคียง และระดับเขต
ความรุนแรงระดับที่ 4 : สาธารณภัยขนาดใหญ่ ที่มีผลกระทบรุนแรงยิ่ง นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรี ที่ นายกฯ มอบหมายให้เป็นผู้ควบคุมสถานการณ์
อุบัติเหตุกลุ่มชน/อุบัติภัยหมู่ (MASS CASSUALTIES
) หมายถึง อุบัติเหตุที่เกิดกับคนจํานวนมาก ได้รับการเจ็บป่วยจํานวนมาก เกินขีดความสามารถปกติที่โรงพยาบาลจะให้การรักษาพยาบาลได้ ทําให้โรงพยาบาลไม่สามารถปฏิบัติภารกิจเช่นเดิมได้
ประเภทของอุบัติภัยหมู่แบ่งตามขีดความสามารถของสถานพยาบาล
Multiple casualties ทั้งจํานวนและความรุนแรงของผู้ป่วยไม่เกินขีดความสามารถของโรงพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะคุกคามต่อชีวิต (life Threatening) จะได้รับการรักษาก่อน
Mass casualtiesทั้งจํานวนและความรุนแรงของผู้ป่วยเกินขีดความสามารถของโรงพยาบาลและทีมผู้รักษาผู้ป่วยที่มีโอกาสรอดชีวิตมากที่สุดโดยใช้เวลาและทรัพยากรน้อยที่สุดจะได้รับการรักษาก่อน
หลักการพยาบาลสาธารณภัย
การบรรเทาภัย (Mitigation)
การเตรียมความพร้อม (Preparedness)
การตอบโต้เหตุการณ์ฉุกเฉิน (Response) ต้องมีการ ดําเนินการทันเมื่อเกิดภัย โดยยึดตามหลัก CSCATT
การควบคุมยับยั้งโรคและภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ต้องจัดให้มีระบบเฝ้าระวังภายใน 5 วันหลังภัยพิบัติ
การบูรณะฟื้นฟู (Recovery) เป็นระยะสุดท้ายในการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ซึ่งต้องดําเนินไปเรื่อยๆ จนกว่าทุกอย่างจะกลับสู่ภาวะปกติหรือใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด
หลักการบริหารจัดการในที่เกิดเหตุและรักษาผู้บาดเจ็บ
การดูแลผู้บาดเจ็บที่ได้ประสบภัยพิบัติหรืออุบัติภัยหมู่จําเป็นต้องมีมาตรฐานความรู้ในการประเมินสถานการณ์ รายงานข้อมูล และการตอบสนองต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยหลักการบริหารจัดการในที่เกิดเหตุและรักษาผู้บาดเจ็บตาม
Disaster paradigm
ลักษณะของการปฏิบัติการพยาบาลในสถานการณ์สาธารณภัย
มุ่งลดความเสียหายต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชนที่เกิดจากสาธารณภัย
ต้องนําความรู้และทักษะทางการพยาบาลทั่วไปและด้านการพยาบาลฉุกเฉินมาประยุกต์ใชืในสถานการณ์ภัยพิบัติ ทั้งในระยะก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังเกิดภัย
เป็นการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อ
ป้องกันและลดความรุนแรงของการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย
มุ่งเน้นด้านการพยาบาลฉุกเฉินแก่ผู้ประสบภัยจํานวน มากในขณะเกิดภัย
การฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ประสบภัยและญาติ
คุณสมบัติพยาบาลสําหรับจัดการสาธารณภัย
มีความรู้ทางการพยาบาลและมีประสบการณ์การปฏิบัติงานการพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉิน และวิกฤต และด้านการรักษาโรคเบื้องต้นได้
มีความรู้ด้านสาธารณภัย มีความสามารถในการประเมินสถานการณTและคาดการณ์ถึงปัญหาสุขภาพที่จะเกิดจากสาธารณภัยชนิดต่างๆ
มีทักษะในการตัดสินใจที่ดี มีความเป็นผู้นํา และสามารถแก่ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
มีทักษะในการสื่อสาร และการบันทึกข้อมูลต่างๆได้อย่างถูกต้องครบถ้วนชัดเจน
มีวุฒิภาวะที่เหมาะสมกับสถานการณ์
ระบบทางด่วน (Fast track/Pathway system)
สําหรับผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน
หลักการ
การจัดทําควรเปfนทีมสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ในสวนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาร่วมดําเนินการ
จัดทําแผนภูมิการดูแลผู้ป่วย พร้อมกําหนดลักษณะผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วนที่เข้าระบบทางด่วน
จัดทําแนวปฏิบัติ ลําดับการปฏิบัติในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยตั้งแต่ผู้ป้วยมาถึงประตูโรงพยาบาล หรือ ห้องฉุกเฉิน
จัดทํารายการตรวจสอบ (check list) สําหรับการลงข้อมูล ตรวจสอบข้อมูลต่างๆ
ฝึกกอบรมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้มีความรู้ และสามารถดําเนินการตามระบบทางด่วน
แผนการปฏิบัติต้องเน้นย้ําเวลาเป็นสําคัญ ต้องมีแผนปฏิบัติการรองรับเพื่อให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้ตามมาตรฐานที่กําหนด
กําหนด clinical indicator เพื่อการติดตามและประเมินผลในแต่ละขั้นตอนของระบบทางด่วน
บทบาทพยาบาลกับระบบทางด่วน (Fast track)
การประเมินเบื้องต้นโดยใช้ความรู้ ความสามารถเฉพาะโรค
การรายงานแพทย์ผู้รักษา เพื่อตัดสินใจสั่งการรักษา
การประสานงานผู้เกี่ยวข้องทั้งภายใน และภายนอกองค์กร
การจัดการและดูแลขณะส่งต่อ
การให้การดูแลตามแผนการรักษาภายใต้ระยะเวลาที่จํากัด
การติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง
การให้ความช่วยเหลือเมื่อมีความผิดปกติและติดตามการประเมินผลลัพธ์
การดําเนินงานเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ผลการดําเนินงานในภาพรวม
การจัดระบบให้มีการทบทวนและพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
บทบาทพยาบาลในระบบทางด่วน (Fast track)
EMS (accessibility)
Triage/ Specific triage/ Assessment
Activate system
Flow (purpose-process-performance)
Investigation
delivery
Monitoring: early warning signs & E-response
Risk management (general & clinical)
Co-ordination, Communication, Handover
Inter & Intra transportation
Evaluation, output, outcome
Improvement, Innovation, Integration
หลักการดูแลผูู้บาดเจ็บ (Trauma life support)
ระบบการดูแลผูู้บาดเจ็บ (Trauma care system)
เป็นระบบสําหรับการดูแลผูู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บเพื่อให้ได้ใช้แหล่งประโยชน์ที่เหมาะสมและคุ้มค่า ลดอัตราการเสียชีวิตที่ป้องกันได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
การเข้าถึงหรือรับรู้ว่ามีเหตุเกิดขึ้น (Access)
การดูแลในระยะก่อนถึงโรงพยาบาล (Prehospital care) โดยต้องคํานึงถึงความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก (scene safety)
การดูแลในระยะที่อยู่โรงพยาบาล (Hospital care)
การฟื้นฟูสภาพและการส่งต่อ (Rehabilitation& transfer)
การดูแลผูู้บาดเจ็บขั้นต้น
การประเมินผูู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บเบื้องต้น (Primary Survey) เป็นการตรวจประเมินพยาธิสภาพหรือการเปลี่ยนแปลง ต้องเรียงลําดับความสําคัญของการบาดเจ็บและภาวะคุกคามแก่ชีวิตให้ดี
(A) Airway maintenance with cervical spine protection
(B) Breathing and ventilation
(C) Circulation with hemorrhagic control
(D) Disability (Neurologic Status)
(E) Exposure / environmental control
Resuscitation เปfนการช;วยเหลือเพื่อให้ผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤตที่อาจทําให้เสียชีวิตได้ ได้แก่ การดูแลทางเดินหายใจ การช่วยหายใจ การใส่ท่อช่วยหายใจ การให้สารละลายทางหลอดเลือดดํา การห้ามเลือด เป็นต้น
Secondary surveyเปfนการตรวจรางกายอย่างละเอียดหลังจากผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤตแล้ว ได้แก่ การซักประวัติ การตรวจ Head to toe การตรวจทางรังสีรักษา การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจพิเศษต่างๆ เช่น การส่งทํา CT scan การทํา Diagnostic peritoneal lavage (DPL) เพื่อประเมินภาวะของการบาดเจ็บช่องท้อง เป็นต้น
Allergies ประวัติการแพ้ยา สารเคมีหรือวัตถุต่างๆ
Medication ยาที่ใช้ในปัจจุบัน
Past illness/ Pregnancy การเจ็บป่วยในอดีตและการตั้งครรภ์
Last meal เวลาที่รับประทานอาหารครั้งล่าสุด
Event/ Environment related to injury อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร รุนแรงเพียงใด สถานการณ์สิ่งแวดล้อมขณะเกิดเหตุเป็นอย่างไร
Blunttrauma ส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุจราจร พลัดตกจากที่สูง
Penetrating traumaเกิดจากอาวุธปืน มีด ปัจจัยที่กําหนดชนิดและความรุนแรงของการบาดเจ็บอยู่ที่ตําแหน่งของร่างกายที่บาดเจ็บ ซึ่งจะบ่งบอกถึงอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ ชนิดและกระสุนปืนรวมทั้งระยะทางที่ยิง
Definitive care เป็นการรักษาหลังจากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นแล้ว เช่นการผ่าตัด Craniotomy การผ่าตัดหน้าท้อง Exploratory Laparotomy การนอนรักษาตัวในหออภิบาลผูุ้ป่วยหนัก (Intensive care unit) เป็นต้น
น.ส วิลาสินี ทิพวรรณ์ 6101210156 SecA เลขที่4