Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิด (Bronchopulmonary dysplasia : BPD),…
โรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิด
(Bronchopulmonary dysplasia : BPD
)
ความหมาย
ภาวะโรคปอดเรื้อรัง พบบ่อยในทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีภาวะ RDS และได้รับออกซิเจนร่วมกับการใช้เครื่องช่วยหายใจ
สาเหตุ
พิษของออกซิเจน (Oxygen toxicity) ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นออกซิเจนที่ได้รับ ระยะเวลาที่ทางเดินหายใจสัมผัสกับออกซิเจน พิษที่เกิดจากออกซิเจนจะทำให้ cilia ทำงานได้ไม่ดี
บาดแผลจากแรงดัน (Barotrauma)
มีผลต่อเนื้อปอดโดยเฉพาะปอดที่แข็งหรือไม่ยืดหยุ่น ส่งผลให้ปอดขยายตัวมากกว่าปกติ และถุงลมแตก
อาการและอาการแสดง
หายใจเร็ว และหายใจลำบาก
หน้าอกบุ๋ม
ฟังปอดได้ยินเสียง wheezing และ Rales
ถ้ารุนแรงเขียวที่ริมฝีปาก ลิ้นหรือปลายมือปลายเท้า เมื่อต้องออกแรง เช่น การดูดนม ถ่ายอุจจาระ
ออกซิเจนในเลือดต่ำ
คาร์บอนไดออกไซค์สูง และเลือดเป็นกรด
การวินิจฉัย
ประวัติการเจ็บป่วย >> Preterm, RDS, ได้รับออกซิเจนและเครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานานมากกว่า 30 วัน
มีอาการทางคลินิกดังที่กล่าวมา
Chest X-ray พบ มีการขยายของปอดเพิ่มมากขึ้น (hyperexpansion) มี localized hyperfucency สลับกับเส้นทึบแสง (strands of opacification)
normal
การรักษา
ให้ออกซิเจนความเข้มข้นต่ำสุด แต่ได้รับเพียงพอคงระดับความดันออกซิเจนในหลอดเลือดแดงไว้ที่ 50-60 mmHg
การใช้เครื่องช่วยหายใจ
การรักษาด้วยยา
ยาขยายหลอดลม - เพื่อลดแรงต้านทานในทางเดินหายใจ
ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ - เพื่อลดการอักเสบของปอดจาการใช้เครื่องช่วยหายใจ และจากพิษออกซิเจน
ยาขับปัสสาวะ - เพื่อทำให้ปริมาณน้ำในปอดลดลง
การให้อาหารหรือจำกัดน้ำ
การป้องกันการติดเชื้อ
รักษาภาวะแทรกซ้อนร่วมด้วย เช่น โรคความดันโลหิตสูง ซีด ภาวะหัวใจวายจากโรคปอด
พยาธิสภาพ
ปอดเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ และภาวะ RDS
ภาวะหายใจล้มเหลว (Respiratory failure)
การรักษาด้วยออกซิเจน
สารพิษที่ได้จากอนุมูลของ O2
ร่วมกับปัจจัยเสี่ยง
มีการทำลายเยื่อบุทางเดินหายใจที่มีขนาดเล็ก การอักเสบเนื้อเยื่อซอกเซลล์ปอดเกิดพังผืดและเกิดการบวมน้ำ
ถุงลมแฟบและถุงลมโป่งพอง
(atelectasis and emphysema)
โรคปอดเรื้อรัง (bronchopulmonary dysplasia)
การใช้เครื่องช่วยหายใจ (mechanical ventilation)
บาดแผลจากแรงดันของเครื่องช่วยหายใจ
การพยาบาล
มีการแลกเปลี่ยนก๊าซบกพร่องเนื่องจากปอดเจริญไม่สมบูรณ์ และขาดสารลดแรงตึงผิว
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนความเข้มข้นต่ำสุด 50-60 mmHg ตามแผนการรักษา
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง โดยช่วยดูดเสมหะน้ำมูกและน้ำลาย และระมัดระวังการกระตุ้นเส้นประสาทเวกัสมากเกินไป จะทำให้ หลอดลมหดเกร็งได้
ดูแลจัดท่านอนให้เหมาะสม ใช้ผ้าหนุนใต้ไหล่ให้หน้าเงยเล็กน้อย ระวังไม่ให้ผ้าเลื่อนมาอยู่บริเวณใต้ศีรษะ เพราะจะทำให้หลอดลมคอแคบ
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา ได้แก่ ยาขยายหลอดลม ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์, ยาขับปัสสาวะ เป็นต้น
สังเกตและประเมินภาวะหายใจลำบาก ได้แก่ สีผิว สัญญาณชีพ การเคลื่อนไหวของทรวงอก ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด การฟังเสียงหายใจ และผลการวิเคราะห์ก๊าซในเลือด
สังเกตและประเมินภาวะแทรกซ้อนในระบบทางเดินหายใจ เช่น ปอดแฟบ ภาะมีลมในเยื่อหุ้มปอด และปอดอักเสบ
มีโอกาสติดเชื้อในทางเดินหายใจเนื่องจากมีการคั่งของเสมหะ/จากการใส่ท่อหลอดลมคอเป็นเวลานาน
ดูแลรักษาความสะอาดของผิวหนังและสะดือ ผิวหนังของทารกแรกเกิดจะมีจำนวนจุลชีพเพิ่มขึ้นซึ่งจะนำไปสู่การติดเชื้อที่ดือ และผิวหนังที่ถลอกได้ง่าย การดูแลรักษาความสะอาด โดยเฉพาะส่วนที่เป็นซอกหรือรอยย่น หลังหู รักแร้ ขาหนีบ ตำแหน่งเหล่านี้ควรดูแลให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ ส่วนการทำความสะอาดที่สะดือต้องใช้ น้ำยาฆ่าเชื้อแอลกอฮอล์ 70%
ทารกที่มีการติดเชื้อ โดยเฉพาะทารกที่มีอาการท้องร่วง มีการติดเชื้อที่ผิวหนังหรือเป็นหวัด ควรจัดให้อยู่ในตู้ให้ความอบอุ่น หรืออยู่ห่างจากทารกคนอื่น 4-6 ฟุต
บุคลากรหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในห้องเด็ก ควรใช้เสื้อผ้าเฉพาะของห้องเด็ก และผู้ที่เป็นโรดคิดเชื้อทางระบบหายใจหรือโรดผิวหนัง ไม่ควรเข้าไปให้การดูแลทารก
ก่อนให้การพยาบาลผู้ป่วยใส่หน้ากากอนามัยและล้างมือด้วยหลักการ Five moment คือ
ก่อนสัมผัสผู้ป่วย
ก่อนทำกิจกรรมปลอดเชื้อ หรือ ทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น เปิดชุดเครื่องมือปราศจากเชื้อทำหัตถการ
หลังสัมผัสสิ่งคัดหลั่ง
หลังสัมผัสผู้ป่วย
หลังสัมผัสอุปกรณ์หรือสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย
เครื่องมือและสิ่งของที่ใช้กับทารกต้องสะอาด หรือผ่านวิธีการทำให้ปลอดเชื้อ เช่น สำลี ผ้ากอซ เสื้อ ผ้าอ้อม ตู้อบ และเครื่องดูดเสมหะ เป็นต้น
ุ3. ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
ประเมินอาการของการติดเชื้อ เช่น ซึม ดูดนมไม่ดี น้ำหนักลด อุณหภูมิกายต่ำหรือสูงกว่าปกติ หายใจลำบากมากขึ้น ลักษณะเสมหะมีสีเหลืองหรือเขียว
ติดตามผลทางห้องปฏิบัติการ เช่น CBC Sputum c/s CXR
มีโอกาสได้รับสารน้ำและสารอาหารไม่เพียงพอ เนื่องจากหายใจลำบาก และการดำเนินของโรค
วัดและบันทึกการเจริญเติบโตทุกสัปดาห์ เช่น เส้นรอบศีรษะ ความยาวของลำตัว สังเกตความตึงตัวของผิวหนัง (skin turgor) อาการบวม วัดเส้นรอบท้อง ฟังการเคลื่อนไหวของลำไส้
ดูแลให้ได้รับสารน้ำ และอาหารตามแผนการรักษา การเริ่มให้อาหารทางทางเดินอาหาร นิยมให้แบบ hypocaloric feeding คือ นมที่เจือจางในปริมาณ 0.5-1 มิลลิลิตร/กิโลกรัม
เริ่มให้นมโดยที่ทารกไม่มีอาการท้องอืด ถ่ายขี้เทาได้ตามปกติ และไม่ได้รับยาคลายกล้ามเนื้อมาเป็นเวลาอย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง
ชั่งน้ำหนักและบันทึกปริมาณสารน้ำ สารอาหาร และปริมาณปัสสาวะทุกเวร ในภาวะปกติทารกจะต้องถ่ายปัสสาวะ 0.5-1 มิลลิลิตร/กิโลกรัม/ชั่วโมง
ติดตามผลเกี่ยวกับ อิเล็กโทรลัยต์
เอกสารอ้างอิง
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี. (2557).
โรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิด (บีพีดี) Bronchopulmonary dysplasia (BPD)
. สืบค้นวันที่ 10 มกราคม 2564 เข้าถึงจาก
http://www.childrenhospital.go.th/html/2014/sites/default/files/02_0.pdf
กลุ่มงานกุมารเวชกรรมโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. (ม/ป/ป).
คู่มือการดูแลเด็กทารกสำหรับบุคลากรสาธารณะสุข
. สืบค้นวันที่ 10 มกราคม 2564 เข้าถึงจาก
http://49.231.15.21/deptweb/upload/files/PCUF256209231345464893.pdf
นวลจันทร์ ปราบพาล. (2532). โรคปอดเรื้อรังในเด็ก.
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 33
(9), 665-701 จาก
http://clmjournal.org/_fileupload/journal/111-4-9.pdf
นางสาวสุทธิดา บุญประเสริฐ 61010038 กลุ่ม 01-8 ชั้นปีที่ 3