Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลักการการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน และสาธารณภัย - Coggle Diagram
หลักการการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน และสาธารณภัย
ผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บป่วยด้วยภาวะฉุกเฉิน
เป็นผู้ที่กำลังประสบภาวะคุกคามต่อชีวิตทางด้านร่างกาย (Life-threatening) ดังนั้นพยาบาลจึงมีบทบาทหน้าที่ในการให้การดูแลผู้ป่วยให้ผ่านพ้นภาวะวิกฤติของชีวิต
แนวคิด
ประเทศไทยมีการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ด้วยรูปแบบ Anglo-American Model (AAM) ซึ่ง ในปัจจุบันแนวคิดระบบการแพทย์ฉุกเฉินประกอบด้วยสองโมเดลที่ถูกนำมาอ้างอิงการจัดระบบบริการ การแพทย์ฉุกเฉินในประเทศที่พัฒนาแล้ว
(1) Anglo-American Model (AAM)
(2) Franco-German Model (FGM)
หลักการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน
เพื่อช่วยชีวิต เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจ หรือหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ต้องรีบช่วยหายใจโดยการผายปอด ด้วยวิธีการที่เหมาะสม และนวดหัวใจทันที หรือในกรณีที่ผู้ป่วยมีบาดแผลเลือดออก ต้องรีบห้ามเลือดทันทีโดยใช้วิธีการที่เหมาะสม
การป้องกันและบรรเทาไม่ให้เกิดอาการรุนแรงถึงขั้นวิกฤต เช่น การทำแผล การใส่เฝือกชั่วคราว กระดูกที่หัก การดามกระดูกคอ การจัดท่านอนที่เหมาะสม การให้ความอบอุ่นร่างกาย การสังเกตอาการและสัญญาณชีพ เป็นต้น
การบันทึกเหตุการณ์อาการและการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ เพื่อเป็นประโยชน์ในการรักษาต่อไป
การส่งต่อรักษา หลังจากให้การช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยแล้วต้องรีบเคลื่อนย้ายนำส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษาต่อทันที พร้อมทั้งข้อมูลผู้ป่วย และข้อมูลการรักษาพยาบาลเบื้องต้น
ผู้ป่วยวิกฤตมีลักษณะดังนี้
ผู้ป่วยที่สามารถรักษาได้ เช่น ผู้ป่วยที่หมดสติ ผู้ป่วยที่มีระบบการหายใจล้มเหลวเป็นต้น หากไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะเสียชีวิตในอัตราสูง
ผู้ป่วยที่มีอัตราตายสูง เช่น ผู้ป่วยSeptic Shock หากไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในอัตราสูง
ผู้ป่วยที่มีแนวโน้มที่จะมีอาการรุนแรง เช่น ผู้ป่วย myocardialin farction ต้องการการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
ผู้ป่วยที่อัตราตายสูง แม้จะได้รับการรักษา เช่น ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
ระบบทางด่วน (Fast track/Pathway system) สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน
บทบาทพยาบาลในระบบทางด่วน (Fast track)
Monitoring: early warning signs & E-response
Investigation
Flow (purpose-process-performance)
Care delivery
Activate system
Risk management (general & clinical)
Triage/ Specific triage/ Assessment
Co-ordination, Communication, Handover
EMS (accessibility)
Inter & Intra transportation
Evaluation, output, outcome
Improvement, Innovation, Integration
การพยาบาลสาธารณภัย
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสาธารณภัย / ภัยพิบัติ (Disaster)
ภัย (Hazard) หมายถึง เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ใดๆที่สามารถที่ทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตความเสียหายต่อทรัพย์สิน ความเป็นอยู่ และสิ่งแวดล้อม
สาธารณภัย / ภัยพิบัติ (Disaster) หมายถึง ภัยที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเกิดจากธรรมชาติหรือจากการ กระทำของมนุษย์แล้วก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต เกิดความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สิน สังคมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนภัยอื่นๆ อันมีผลกระทบต่อสาธารณชน
ประเภทของภัยพิบัติได้แก่
ภัยที่เกิดจากธรรมชาติ (Natural Disaster) ได้แก่ เกิดแบบฉับพลัน และเกิดแบบค่อยเป็นค่อยไป
ภัยที่เกิดจากมนุษย์(Man-made Disaster) ได้แก่ เกิดอย่างจงใจและเกิดอย่างไม่จงใจ
หลักการพยาบาลสาธารณภัย
การบรรเทาภัย (Mitigation) : กิจกรรมต่าง ๆ ที่ดำเนินการเพื่อลดหรือกำจัดโอกาสในการเกิดหรือลดผลกระทบของการเกิดภัยพิบัติได้แก่ การจัดทำโครงการบรรเทาภัยก่อนเกิดภัย การจัดทำข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัย การเฝ้าระวังหรือระบบการมีข่าวกรองที่ดีในการแจ้งภัยล่วงหน้า
การเตรียมความพร้อม (Preparedness) : การรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน เป็นระยะต่อเนื่องจากการบรรเทาภัย โดยการเตรียมคนให้พร้อม มีแผนที่ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน มีการฝึกอบรมความรู้และทักษะ
การตอบโต้เหตุการณ์ฉุกเฉิน (Response) ต้องมีการดำเนินการทันเมื่อเกิดภัย โดยยึดตามหลัก CSCATT
C – Command
S – Safety A, B, C (Personal, Scene, Survivors)
C – Communication
A – Assessment ประกอบด้วย
T : Type of accident : ประเภทของสาธารณภัย
H : Hazard : มีอันตราย หรือเกิดอันตรายอะไรบ้าง
E : Exact location : สถานที่เกิดเหตุที่ชัดเจน
A : Access : ข้อมูลการเดินทางเข้า-ออกจากที่เกิดเหตุ
M : Major incident : เป็นเหตุการณ์สาธารณภัยหรือไม่
N : Number of casualties: จำนวนและความรุนแรงของผู้บาดเจ็บ
E : Emergency service : หน่วยฉุกเฉินไปถึงหรือยัง
T – Triage
T – Treatment
T – Transportation
การควบคุมยับยั้งโรคและภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ต้องจัดให้มีระบบเฝ้าระวังภายใน 5 วันหลังภัยพิบัติ
การบูรณะฟื้นฟู (Recovery) เป็นระยะสุดท้ายในการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ซึ่งต้องดำเนินไปเรื่อยๆ จนกว่าทุกอย่างจะกลับสู่ภาวะปกติหรือใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด
ผู้บาดเจ็บจากสาธารณภัย แบ่งตามความรุนแรงได้ ดังนี้
กลุ่มอาการไม่รุนแรง หากผู้ป่วยเดินได้อาจถือว่าอาการไม่หนัก
กลุ่มอาการหนัก ต้องหามนอนหรือนั่งมาอาการแสดงยังคลุมเครือต้องใช้การตรวจอย่างละเอียด
กลุ่มอาการหนักมาก หรือสาหัสต้องการการรักษาโดยด่วนหรือช่วยชีวิตทันทีกลุ่มผู้ป่วยเสียชีวิต เป็นกลุ่มที่หมดหวังในการรักษา
ความหมาย
การเจ็บป่วยฉุกเฉิน คือ การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน จำเป็นต้องดำเนินการช่วยเหลือ และการดูแลรักษาทันที
“Critical” จะนำมาใช้ในผู้ป่วยอาการเพียบหนัก มีอาการรุนแรง หรือขั้นฉุกเฉิน มีอันตราย
“Crisis” นำมาใช้กับผู้ป่วยที่อยู่ในสภาวะที่มีสถานการณ์คับขัน เป็นจุดวิกฤตของการเป็็นโรค ทำให้มีอาการดีขึ้น หรือตายได้ในทันที ผู้ป่วยในสภาวะนี้มีโอกาสของความเป็นความตายได้เท่ากัน
ผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน หมายถึง ผู้ที่มีอาการหนักรุนแรงต้องการการดูแลจากเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง โดยใช้หลักและกระบวนการพยาบาลที่สมบูรณ์ เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะคุกคามชีวิต มีลักษณะทางคลินิก ดังนี้
ไม่รู้สึกตัว ชัก เป็นอัมพาต
หยุดหายใจ หายใจช้ากว่า 10 ครั้งต่อนาที หรือเร็วกว่า 30 ครั้งต่อนาที หายใจลำบากหรือหอบเหนื่อย
คลำชีพจรไม่ได้ หรือชีพจรช้ากว่า 40 หรือเร็วกว่า 30 ครั้ง/นาที
ความดันโลหิต Systolic ต่ำกว่า 80 มม.ปรอท หรือ Diastolic สูงกว่า 130 มม.ปรอท
ตกเลือดเลือดออกมากซีดมาก
เจ็บปวดทุรนทุรายกระสับกระส่าย
มือเท้าซีดเย็น เหงื่อออกมาก
อุณหภูมิของร่างกายต่ำกว่า 35 เซลเซียส หรือสูงกว่า 40 เซลเซียส
ถูกพิษจากสัตว์ เช่น งู หรือสารพิษชนิดต่างๆ
หลักการดูแลผู้บาดเจ็บ (Trauma life support)
การประเมินผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บเบื้องต้น (Primary Survey)
Airway maintenance with cervical spine protection
เริ่มต้นจากการประเมิน Airway เพื่อหาอาการที่เกิดจากทางเดินหายใจอุดกั้น (Airway obstruction) ควรรวมไปถึงการดูดเสมหะ การหาสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ การแตกหักของกระดูกใบหน้า กราม หรือ การแตกของหลอดลมหรือกล่องเสียง ลิ้นตก เลือดออกในช่องปากและทางเดินหายใจส่วนบน
เปิดทางเดินหายใจให้โล่งโดยใช้วิธีการ Head-tilt Chin-lift, กรณีผู้ป่วยที่สงสัยหรือได้รับอุบัติเหตุให้ ทำการเปิดทางเดินหายใจด้วยวิธี jaw-thrust maneuver, modified jaw thrust, Triple airway maneuver โดยต้องป้องกันการบาดเจ็บของ Cervical spine ตลอดเวลา
Breathing and Ventilation
เป็นการประเมินการช่วยหายใจและการระบายอากาศเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนอากาศ เพื่อให้ได้ออกซิเจนและขับคาร์บอนไดออกไซด์ การดูแลควรเปิดให้เห็นบริเวณคอและทรวงอกเพื่อประเมินตำแหน่งของหลอดลม
พยาบาลควรวินิจฉัยภาวะผิดปกติตั้งแต่ Primary survey ได้แก่ Tension pneumothorax, Flail chest with pulmonary contusion, Massive hemothorax, Open pneumothorax
การเปิดดูร่องรอยบาดแผลที่บริเวณทรวงอก
ดูการเคลื่อนไหวบริเวณทรวงอก
คลำ การเคาะเพื่อตรวจหาการบาดเจ็บ
ฟัง Breath sound ทั้งสองข้าง
Circulation and Hemorrhage control
เป็นการประเมินในระบบไหลเวียนและการห้ามเลือด โดยประเมินจากสัญญาณชีพ ระดับความรู้สึกตัว สีผิว อุณหภูมิรวมถึงปริมาณเลือดที่ออกจากบาดแผล การประเมินในขั้นตอนนี้จึงหมายถึงการค้นหาภาวะ Shock ซึ่งหมายถึงภาวะเนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอจากการสูญเสียเลือด
Disability: Neurologic Status
เป็นการประเมินระบบประสาทต่อว่าสมองหรือไขสันหลังได้รับบาดเจ็บหรือไม่ หลังจากดูแลผู้ป่วย Airway,Breathing, Circulation ที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต (Life threatening injury) แล้วพยาบาลควรประเมิน เริ่มประเมินจากระดับความรู้สึกตัวซึ่งอาจประเมินได้ตั้งแต่แรกรับผู้ป่วยพร้อม Airway อาจใช้ Glasgow Coma Scale
Exposure / Environment control
ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหนัก ควรถอดเสื้อผ้าออกให้หมดเพื่อค้นหาการบาดเจ็บต่างๆ อื่นๆ ในผู้ป่วยที่บาดเจ็บหนักอาจใช้กรรไกรในการตัดเสื้อและกางเกงออกเพื่อจะได้ตรวจร่างกายอย่างถูกต้อง ขณะตรวจในห้องควรจะอบอุ่น เพื่อป้องกันภาวะ Hypothermia ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหนัก
ในขั้นตอนนี้จำเป็นต้องทำการพลิกตะแคงตัวผู้บาดเจ็บแบบท่อนซุง (Log roll) ที่ต้องอาศัยผู้ช่วย 3-4 คนในการจัดให้กระดูกสันหลังอยู่ในแนวตรง เพื่อการตรวจร่างกายและเป็นการป้องกันการได้รับบาดเจ็บของ กระดูกสันหลัง โดยผู้ช่วยคนที่ 1 มีหน้าที่ในการทำ inline immobilization ของศีรษะและคอ ผู้ช่วยคนที่ 2-4 จะอยู่บริเวณลำตัวและเชิงกรานเพื่อป้องกัน bending, rotation
การกู้ชีพ (Resuscitation)
คือ การแก้ไขภาวะคุกคามต่อชีวิตหรือที่เป็นอันตรายเร่งด่วน โดยการกู้ชีพจะทำหลังจากการประเมินเป็นลำดับของ ABC
Airway ภายหลังจากการประเมิน การทำ Definitive airway ในผู้บาดเจ็บที่มีปัญหาการหายใจสามารถรักษาได้โดยการใส่ท่อช่วยหายใจ และควรกระทำตั้งแต่เริ่มต้นหลังจากที่ช่วยหายใจด้วยออกซิเจน
Breathing ผู้บาดเจ็บทุกรายควรได้รับออกซิเจนเสริมหากไม่ได้ใส่ท่อช่วยหายใจ ผู้บาดเจ็บควรได้รับออกซิเจนผ้านหน้ากาก (reservoir face mask) ที่เหมาะสมกับหน้าพอดีด้วย flow rate 11 L/min เพื่อให้ได้ปริมาณออกซิเจนที่เพียงพอ
Circulation การห้ามเลือดเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในผู้บาดเจ็บโดยทำร่วมกับการให้สารน้ำทดแทน เมื่อทำการเปิดเส้นเลือดแล้วควรเก็บเลือดส่งตรวจเพื่อช่วยในการประเมินความผิดปกติที่เกิดขึ้น
การประเมินสภาพร่างกายผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บอย่างละเอียด (Secondary Survey)
การประเมินสภาพผู้ป่วยอย่างละเอียด มักทำหลังจาก primary survey และ Resuscitation จน Vital function เข้าาสู่ภาวะปกติแล้ว เพื่อให้ได้ Definite diagnosis ประกอบด้วยการซักประวัติ รวม Mechanism of Injury การตรวจร่างกาย Head to toe และการตรวจพิเศษต่างๆ เช่น X-ray Laboratory DPL (Diagnostic peritoneal lavage) CT Scan เป็นต้น พยาบาลพึงระวังว่าอาจเกิดภาวะอันตรายบางอย่าง ที่ตรวจไม่พบใน Primary survey จนทำให้ผู้ป่วยอาการเลวลงในขณะทำ Secondary survey ได้ และการทำ Secondary survey อาจทำหลังจากผู้ป่วยออกจากห้องผ่าตัดฉุกเฉินแล้ว
การรักษาผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บภายหลังได้รับการช่วยเหลือขั้นต้นแล้ว (Definitive Care)
เป็นการรักษาอย่างจริงจังหลังจากได้ทำ secondary survey เรียบร้อยแล้ว เพื่อแก้ไขพยาธิสภาพโดยตรง เป็นการรักษาจำเพาะของการบาดเจ็บแต่ละอวัยวะ ได้แก่การผ่าตัดเพื่่อแก้ไขภาวะฉุกเฉินต่างๆ เช่น Intracranial hematoma, Intra-abdominal bleeding รวมทั้ง multiple organ injury เป็นต้น