Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การนำผลการประเมินคุณภาพภายนอกไปใช้ - Coggle Diagram
การนำผลการประเมินคุณภาพภายนอกไปใช้
วัตถุประสงค์ กรอบการดำเนินงานการนำผลประเมินไปใช้
ปัจจัยสำคัญที่สถานศึกษายังไม่มีการนำผลประเมินไปใช้ (สมศ., 2556)
2.คณะกรรมการสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดขาดการกำกับติดตามการดำเนินงานของสถานศึกษา
3.บุคลากรของสถานศึกษาไม่เห็นความสำคัญ หรือไม่ให้ความร่วมมือในการนำผลการประเมินไปใช้ปรับปรุงหรือทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
สถานศึกษาไม่ทราบว่าจะนำผลประเมินไปใช้อย่างไร รวมถึงไม่ทราบรูปแบบวิธีการนำผลประเมินไปใช้
วัตถุประสงค์ กรอบการดำเนินงานการนำผลประเมินไปใช้
2.เพื่อให้หน่วยงานต้นสังกัดใช้ในการกำกับ ติดตามการนำผลการประเมินไปใช้และใช้ผลประเมินในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัด
3.เพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการสร้างพลังขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ได้มาตรฐานที่พึงประสงค์
1.เพื่อเป็นแนวทางให้สถานศึกษานำผลการประเมินคุณภาพภายนอกไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
การนำผลประเมินคุณภาพภายนอกไปใช้ในมิติอื่น ๆ
มิติการเป็นเครื่องมือของรัฐบาล
หน่วยงานระดับชาติและรัฐบาล ใช้ผลการประเมินอภิมานคุณภาพภายนอกในการกำหนดนโยบายวางแผน และจัดสรรงบประมาณให้กับการศึกษา และการจัดกลุ่มข้อมูล
มิติด้านวิชาการ
บุคลากรทางการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ฐานข้อมูลคุณภาพสถานศึกษาทุกระดับในประเทศ เพื่อสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล ติดตามการดำเนินงานเฉพาะเรื่องที่เป็นนโยบายด้านการศึกษา
มิติด้านคุ้มครองผู้บริโภค
ผู้บริโภค ได้แก่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้เรียน ใช้เป็นข้อมูลรายงานผลการประเมินของ สมศ. ประกอบการตัดสินใจเลือกสถานศึกษาจะเข้าเรียน ตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา
หลักการ
มาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 กำหนดว่าในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาใดไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ให้จัดทำข้อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด
การนำผลประเมินคุณภาพภายนอกไปใช้สำหรับสถานศึกษาที่ผ่านการประเมินและไม่ผ่านการประเมิน จำเป็นต้องมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
หากมิได้ดำเนินการดังกล่าว ให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษารายงานต่อคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการอาชีวศึกษา หรือคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไข
คณะกรรมการบริหาร สมศ. จึงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการติดตามการนำผลประเมินไปใช้ โดยมีวาระ 2 ปี โดยมีหน้าที่ติดตามและเร่งรัดหน่วยงานต้นสังกัด ในการนำผลประเมินไปกำหนดนโยบายและแนวทางในการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
การดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
แนวปฏิบัติในกรณีที่สถานศึกษาได้รับการรับรองมาตรฐานและคุณภาพ
1.ในกรณีที่สถานศึกษาได้รับการรับรองมาตรฐาน สถานศึกษาควรนำข้อเสนอแนะของผู้ประเมินคุณภาพภายนอกไปใช้ประกอบในการวางแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป แผนการพัฒนาดังกล่าวเป็นแผนการดำเนินการภายในของสถานศึกษา
2.หน่วยงานต้นสังกัดควรติดตามผลการดำเนินการภายในของสถานศึกษา เพื่อติดตามว่า สถานศึกษานำข้อเสนอแนะของผู้ประเมินคุณภาพภายนอกไปพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป
3.สมศ. จะทำการติดตามสถานศึกษา โดยการสุ่มตรวจสถานศึกษาที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน โดยแบ่งสถานศึกษาออกตามประเภท สังกัด และขนาด
แนวปฏิบัติในกรณีที่สถานศึกษาไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานและคุณภาพ หรือรับรองมาตรฐานและคุณภาพแบบมีเงื่อนไข
กรณีสถานศึกษาที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานในตัวบ่งชี้หรือประเด็นการพิจารณาเชิงปริมาณให้สถานศึกษาจัดส่งเอกสาร หลักฐานที่ผ่านการรับรองโดยหน่วยงานต้นสังกัดมายัง สมศ. เพื่อพิจารณาปรับผลการประเมิน โดย สมศ. จะไม่ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล
2.กรณีสถานศึกษาที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานในตัวบ่งชี้หรือประเด็นการพิจารณาเชิงคุณภาพสมศ. จะลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล และตรวจสอบก่อนการพิจารณาปรับผลการประเมิน ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนผลการประเมินจะต้องเป็นไปตามขั้นตอน ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศที่ สมศ. หรือคณะกรรมการบริหาร สมศ. กำหนด
หลักการนำผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาไปใช้ โดยหน่วยงานต้นสังกัด
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545
1.กำหนดการจัดระบบโครงสร้างและกระบวนการศึกษาให้มีเอกภาพด้านนโยบายและมีความหลากหลายในทางปฏิบัติ
2.มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองท้องถิ่นการกำหนดมาตรฐานการศึกษา
3.จัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
4.มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู และการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
5.มีการระดมทรัพยากรแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษ
6.การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรปกครองท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันทางศาสนา สถานประกอบการและสถาบันทางสังคมอื่น
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545
มาตรา 48 กำหนดให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา ที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก
เกณฑ์การรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา
เกณฑ์การรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของ สมศ.
จำแนกตามเกณฑ์การตัดสินผลการประเมินคุณภาพภายนอกด้านการอาชีวศึกษา
1.ผลรวมคะแนนของการประเมินของทุกตัวบ่งชี้มีค่าตั้งแต่ 70 คะแนนขึ้นไป
2.ผลรวมคะแนนการประเมินของกลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน (1-13) มีค่าตั้งแต่ 42 คะแนนขึ้นไป
3.ผลการดำเนินงานอย่างน้อย 16 ตัว บ่งชี้ มีค่าคะแนนตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป
ต้องไม่มีตัวบ่งชี้ใดอยู่ในระดับคุณภาพ “ต้องปรับปรุงเร่งด่วน”
เกณฑ์การรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของ สมศ.
จำแนกตามเกณฑ์การตัดสินผลการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา
1.ผลประเมินระดับสถาบันได้คะแนนเฉลี่ยเป็นไปตามเกณฑ์ของตัวบ่งชี้ 1-11 มีค่าตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไป และคะแนนเฉลี่ยของตัวบ่งชี้ทุกตัวมีค่าตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไป
2.คะแนนผลการประเมินระดับคณะหรือหน่วยงานเทียบเท่าเป็นไปตามเงื่อนไข
เกณฑ์การรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของ สมศ.
จำแนกตามเกณฑ์การตัดสินผลการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.มีตัวบ่งชี้อย่างน้อย 10 ตัวบ่งชี้จากทั้งหมด 12 ตัวบ่งชี้ ที่มีระดับคุณภาพแต่ละตัวบ่งชี้ตั้งแต่ระดับดีขึ้นไป
3.ต้องไม่มีตัวบ่งชี้ใดอยู่ในระดับคุณภาพต้องปรับปรุง หรือต้องปรับปรุงเร่งด่วน
1.มีผลการรวมคะแนนการประเมินคุณภาพภายนอกระดับสถานศึกษาตั้งแต่ 80 คะแนนขึ้นไป