Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
:<3:เครื่องมือที่ใช้ในชุมชน :<3:, :smiley: นางสาวปาณิศา คำเพ็งอาจ …
:<3:เครื่องมือที่ใช้ในชุมชน :<3:
:star:เครื่องมือที่มีคุณลักษณะสำคัญ
1)เป็นเครื่องมือที่ยืดหยุ่นและสามารถตอบสนองการประเมินสุขภาพชุมชนในมิติที่กว้างขวางมากกว่าการประเมินเฉพาะด้านสุขภาพ
2) เป็นเครื่องมือที่มีบุคคลต้นตำรับที่พัฒนาเครื่องมือมีเอกสารเกี่ยวกับเครื่องมือที่สามารถ สืบค้นได้ชัดเจน ทั้งนี้อาจมีรายละเอียดหรือกรอบเนื้อหา (template)การใช้เครื่องมือหรือไม่ก็ได้
3) เป็นเครื่องมือที่ยืดหยุ่นสร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกช่วยสร้างเสริมให้เกิดการจัดการตนเองในชุมชน
4) มีการประยุกต์ใช้ในพื้นที่ที่บริบทหลากหลาย
:check: ความสำคัญของเครื่องมือ
สามารถใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมช่วยกำหนดเป้าหมาย
เป็นกรอบและแนวทางในการศึกษาศักยภาพหรือทุนของชุมชน ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การศึกษา ทรัพยากร และการเมืองการปกครอง
ช่วยพัฒนาระบบการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของชุมชน
ใช้เป็นแนวทางในการทำงานกับชุมชนง่ายขึ้น สนุกมากขึ้น
ช่วยจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชน สร้างการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วม
เกิดความเข้าใจวิถีชีวิต สังคม และวัฒนธรรมของชุมชน
เครื่องมือเป็นตัวกระตุ้นให้ชุมชนได้คิด เลือกทำเพื่อการดูแลสุขภาพตน
:red_flag: เครื่องมือที่1 แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์
(Strategic Route Map)
เครื่องมือที่จะช่วยสนับสนุนให้ชุมชน ท้องถิ่นและภาคีสามารถบริหารจัดการสุขภาพชุมชนของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลายเป็นชุมชนพึ่งพาตนเองได้ อย่างยั่งยืนรู้ปัญหาและสามารถหาทางแก้ไขได้อย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับแนวทางของสังคมที่กำลังเน้นเรื่องการสร้างยุทธศาสตร์ของภาคประชาชนให้เข้มแข็งโดยการพัฒนาศักยภาพของประชาชนให้กลายเป็นคนคุณภาพทีสามารถดูแลชุมชนของตนเองได้อย่างเข้มแข็ง และเป็นเครื่องมือที่จะเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ
เทคนิค / กระบวนการนำไปใช้ :
มีการดำเนินการใน 7 ขั้นตอนหลัก คือ
1) การวิเคราะห์บริบท และสถานการณ์
2) การกำหนดจุดหมายปลายทาง
3) การสร้างและตรวจสอบแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์
4) การสร้างแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ระดับปฏิบัติการ
5) การนิยาม เป้าประสงค์ ตัวชี้วัดรวมถึงการสร้างนวัตกรรมและมาตรการ ทางสังคม
6) การสร้างแผนปฏิบัติการ
7) การเปิดงานและ ติดตามผล
:silhouettes: เครื่องมือที่ 2วิจัยชุมชนและการประเมินต้นทุนชุมชน (Community Based Research)
เป็นงานวิจัยที่เน้นกระบวนการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมทุน โดยคนในชุมชนในพื้นที่ (ระดับหมู่บ้าน ตำบล) เพื่อตั้งคำถาม วางแผน และดำเนินการวิจัยเพื่อหาคำตอบและเรียนรู้ผ่านงานวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยมีกระบวนการทำงานอย่างเป็น เหตุเป็นผลมีการประสานความร่วมมือกับภาคีที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ และเครือข่ายทางปัญญา นำไปสู่กำหนดอนาคตและแก้ไขปัญหาของชุมชนเอง
มี 3 ช่วง คือ ช่วงต้นน้ำ(พัฒนาโครงการ)
ช่วงกลางน้ำ(ดำเนินงาน) และช่วงปลายน้ำ(สรุปและขยายผล)
ขึ้นอยู่กับโจทย์หลักที่ต้องการประเมินโดยชุมชนต้องสามารถประเมินสภาพและศักยภาพตัวเองและทดลองปฏิบัติการตามศักยภาพที่ตนเองมีได้โดยการประเมินชุมชนในช่วงต้นน้ำ
:no_entry: เครื่องมือที่ 3
แผนแม่บทชุมชน
เป็นกระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชนท้องถิ่น ที่ร่วมกันคิด ร่วมกันค้นหาเรียนรู้เพื่อให้ชุมชนรู้และเข้าใจตนเอง โดยใช้การสำรวจข้อมูลปัญหาและศักยภาพเป็นเครื่องมือทำให้เกิดการทบทวนตนเองโดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนท้องถินเพื่อกำหนดอนาคตและทิศทางการพัฒนาตนเองที่ชุมชนคนเป็นศูนย์กลาง
เทคนิค/กระบวนการนำไปใช้:
ค้นหาแกนนำและองค์กรท้องถิ่น
จุดประกายความคิด
ศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชน
สำรวจ รวบรวมข้อมูล
วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล
ยกร่างแผนชุมชน
ประชาพิจารณ์แผนชุมชน
ประเมินผลสรุปบทเรียน
นำแผนสู่การปฏิบัติ
ทบทวนปรับปรุง
:black_flag: เครื่องมือที่ 4
แผนที่เดินดิน
1)เป้าหมายของเครื่องมือแผนที่เดินดิน
ทำให้เห็นภาพรวมของชุมชนได้อย่างครบถ้วนที่สุด
ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่จำนวนมากใน ระยะเวลาที่สั้นที่สุด
ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เพราะได้มาจากการสังเกตด้วยตัวเอง
ทำให้เห็นกลุ่มเป้าหมายที่จะทำงานต่อได้อย่างครอบคลุม
ช่วยในการเริ่มต้นความสัมพันธ์และสร้างความคุ้นเคยกับ
สมาชิกในชุมชนได้เป็นอย่างดี
2) เป้าหมายของเครื่องมือผังเครือญาติ
1.ใช้เพื่อการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ
และโรคทางพันธุกรรม เกี่ยวกับเครือข่ายทางเศรษฐกิจ
สังคมและการเมืองทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิน
ช่วยสร้าความสัมพันธ์อันดีและความสนิทสนมคุ้นเคยระหว่างเจ้าหน้าที่กับชาวบ้านได้อย่างรวดเร็ว
3) เป้าหมายของเครื่องมือโครงสร้างองค์กรชุมชน
ช่วยให้เข้าใจโครงสร้างองค์กรชุมชนได้รอบด้าน ทั้งโครงสร้างและองค์กรที่เป็น ทางการและไม่เป็นทางการ
2.ช่วยให้เข้าใจความสัมพันธ์ทางสังคมในแง่มุมต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชนนั้นๆ
4) เป้าหมายของเครื่องมือระบบสุขภาพชุมชน
เพื่อให้เห็นระบบการแพทย์ที่หลากหลายในชุมชน
สามารถเลือกระบบการแพทย์ที่มีความหลากหลายในชุมชนมาประยุกต์ใช้กับงาน บริการสาธารณสุขได้
5) เป้าหมายของเครื่องมือปฏิทินชุมชน
1.เห็นแบบแผนกิจกรรมของชุมชน ช่วยในการวางแผนงานโครงการ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมและถูกจังหวะเวลา
อธิบายได้ว่าแบบแผนพฤติกรรมของชุมชนเป็นปัจจัยสาเหตุของการเกิดปัญหาต่างๆ หรือไม่
6) เป้าหมายของเครื่องมือประวัติศาสตร์ชุมชน
1.ช่วยให้เข้าใจชุมชนลดอคติที่อาจเกิดขึ้น
ช่วยให้เราสามารถเลือกวิธีการทำงานกับชุมชนให้สอดคล้องกับประสบการณ์ ความ คาดหวัง และศักยภาพของชุมชน
7) เป้าหมายของเครื่องมือประวัติชีวิต
เพิ่มมิติความเป็นมนุษย์ มองเห็นรายละเอียดชีวิตชาวบ้าน
สร้างความสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ใช้เครื่องมือกับชาวบ้าน
เข้าใจ และมีความละเอียดอ่อนในการให้บริการชาวบ้าน
:smiley: นางสาวปาณิศา คำเพ็งอาจ :smiley: