Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต, .., ..…
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต
การแจ้งข่าวร้าย (Breaking a bad news)
ข่าวร้าย หมายถึง ข้อมูลที่ทำให้เกิดความรู้สึกหมดความหวัง มีผลกระทบต่อความรู้สึก การดำเนินชีวิต และอนาคตของบุคคลนั้น ข้อมูลที่เป็นข่าวร้าย
ผู้แจ้งข่าวร้าย
ผู้ที่แจ้งข่าวร้าย ต้องได้รับการฝึกฝนและมีประสบการณ์วิธีการแจ้งข่วร้าย มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับแผนการรักษา ผลการรักษาและการดำเนินโรค รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ปฏิกิริยาจากการรับรู้ข่าวร้าย
1 :red_cross: ระยะปฏิเสธ (Denial) ปฏิเสธสิ่งที่ได้รับรู้ ไม่เชื่อ
ไม่ยอมรับความจริง ไม่เชื่อผลการรักษา
2 :fire: ระยะโกรธ (Anger) ลักษณะ อารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว และต่อต้าน “ทำไมต้องเกิดขึ้นกับเรา” “ไม่ยุติธรรมเลย ทำไมต้องเกิดกับเรา”
3 :smiley: ระยะต่อรอง (Bargaining) เป็นระยะที่ต่อรองความผิดหวังหรือข่าวร้ายที่ได้รับ ประเมินได้จากการพูด เช่น “อยากเห็นลูกเรียนจบก่อน” “ฉันรู้ว่ามันร้ายแรง คงรักษาไม่หาย แต่ฉันอยาก....”
4 :silhouette: ระยะซึมเศร้า (Depression) เช่น ออกห่างจากสังคมรอบข้าง เบื่อหน่าย เก็บตัว ไม่ค่อยพูดคุย หมกมุ่นเกี่ยวกับความตาย คิดว่าตนไร้ค่า ไม่มีความหมาย
5 :check: ระยะยอมรับ (Acceptance) มองเป้าหมายในอนาคตมากขึ้น ปรับตัว และเรียนรู้เพื่อให้ดำเนินชีวิตต่อไปได
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
สัมพันธภาพทางสังคมไม่เหมาะสม (ก้าวร้าว ด่าว่า เอะอะโวยวาย) เนื่องจากไม่สามารถยอมรับความเจ็บป่วยรุนแรงได
มีภาวะซึมเศร้าเนื่องจากไม่สามารถแสดงบทบาทหัวหน้าครอบครัวได้จากการเจ็บป่วยรุนแรง
มีความเครียดสูงเนื่องจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรง
ไม่สามารถยอมรับสภาพความเป็นจริงเมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
ท้อแท้ ผิดหวังต่อโชคชะตาเนื่องจากคิดว่าถูกพระเจ้าลงโทษหรือไม่ได้รับความช่วยเหลือจากสิงศักดิ์สิทธิ์
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต (End of life care in ICU)
มโนทัศน์เกี่ยวกับการเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย
:silhouettes:การเจ็บป่วยระยะท้าย :silhouettes: หมายถึง ภาวะบุคคลอยู่ในภาวะความเจ็บป่วยที่คุกคามต่อชีวิต มีการดำเนินโรคลุกลามอย่างมาก ทำให้การทำหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายไม่สามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติ
:silhouettes: ภาวะใกล้ตาย :silhouettes: หมายถึง ผู้ที่เข้าสู่ช่วงใกล้เสียชีวิต มีอาการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายมากขึ้น จากการทำหน้าที่ของอวัยวะสำคัญของร่างกายลดลงหรือล้มเหลว และมีค่าคะแนน Palliative performance scale (PPS)น้อยกว่า 30
แนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
1.แนวคิดการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care)
:lock:เป็นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบองค์รวมโดยครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ/สังคมและจิตวิญญาณโดยยึดตามความเชื่อทางด้านศาสนาัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติของผู้ป่วยและครอบครัวเป็นสำคัญเป็นการทำงานเป็นทีมแบบสหวิชาชีพ
:lock:ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญและผ่านพ้นช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตอย่างสงบ/สบาย/พร้อมด้วยศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษยและสนับสนุนค้ำจุนครอบครัวผู้ป่วยให้สามารถใช้ชีวิตช่วงเวลาวิกฤติกับผู้ป่วยที่ป่วยหนักและตายจากไปอย่างราบรื่น
2. แนวคิดการดูแลตามทฤษฎีความสุขสบาย (comfort theory)
:<3: เป้าหมายของทฤษฎีเน้นความสุขสบายที่เป็นผลลัพธ์ของการพยาบาล
:<3: เป็นภาวะที่บุคคลได้รับความต้องการทันทีเพื่อบรรเทา สงบ ผ่อนคลาย และควบคุมสถานการณ์ได้หรืออยู่เหนือปัญหา ครอบคลุมบริบทด้านร่างกาย ด้านจิตใจ-จิตวิญญาณ สังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม
ประเด็นจริยธรรมที่สำคัญในการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต การเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย
1. การุณยฆาต หรือ ปราณีฆาต หรือ เมตตามรณ
ะ
:check: เป็นการทำให้ผู้ป่วยที่หมดหวังจากการรักษาไม่สามารถคืนสู่สภาพปกติและต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคร้ายได้พบกับความตายอย่างสงบ
:check: แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1.1 การทำการุณยฆาตโดยความสมัครใจ
1.2 การทำการุณยฆาตโดยผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจได้เอง
ซึ่งประเด็นทางจริยธรรมก็คือ
เป็นการผิดศีลธรรมหรือไม่ และ เป็นการฆาตกรรมผู้ป่วยหรือไม่
2. การยืดหรือการยุติการรักษาที่ยืดชีวิต
:black_flag: การยับยั้งการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบำบัดรักษา
:black_flag: การเพิกถอนการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบำบัดรักษา
3. การฆ่าตัวตายโดยความช่วยเหลือของแพทย์
คือ การฆ่าตัวตายโดยเจตนา และได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์
4. การจัดสรรทรัพยากรที่มีจำนวนจำกัด
ควรคำนึงถึงผลประโยชน์ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางให้มีประโยชน์มากที่สุดและยุติธรรม
5. การบอกความจริง
ได้แก่
1) การบอกความจริงทั้งหมด
2) การบอกความจริงบางส่วน
3) การหลอกลวง
4)การประวิงเวลาการบอกความจริง
6. การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ
ต้องพิจารณาเกี่ยวกับ โอกาสรอดชีวิตหลังผ่าตัด ระยะเวลาการมีชีวิตอยู่หลังผ่าตัด แหล่งที่มาของอวัยวะ
ซึ่งพบว่าการซื้อขายอวัยวะเป็นประเด็นปัญหาทางจริยธรรมที่สำคัญ
แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางจริยธรรม
ให้ความรู้แก่พยาบาลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของพยาบาล
จริยธรรมสำหรับการทำงานของทีมสุขภาพ
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต (End of life care in ICU)
เป็นกระบวนการดูแลผู้ป่วยและตั้งเป้าหมายของการดูแลตั้งแต่วันแรก สนับสนุนให้มีการทำ Family meeting เพื่อทราบความต้องการและสื่อสารกับผู้ป่วยแลครอบครัว
ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตและทั่วไป
Professional culture
ความคาดหวังของผู้ป่วยและครอบครัว
ความไม่แน่นอนของอาการ
Multidisciplinary team
ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤติมีอาการไม่สุขสบายหลายอย่างและมีแนวโน้มลูกละเลย
ทรัพยากรมีจำกัด
สิ่งแวดล้อมในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
หลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
ทีมสุขภาพที่ทำงานในไอซียูเป็นผู้เริ่มลงมือด้วยตนเอง
การปรึกษาทีม palliative care ของโรงพยาบาลนั้น ๆ มาร่วมดูแลในผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์
การดูแลแบบผสมผสาน
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย
การประเมินสภาพ
1.1 การประเมินอาการทางร่างกาย
1) ระบบทางเดินอาหาร
2) ระบบหัวใจและหลอดเลือด
3) ระบบหายใจ
4) ระบบประสาท
5) ระบบการควบคุมหูรูด
6) ระบบขับถ่าย
1.2 การประเมินด้านจิตใจ ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายจะมีความผิดปกติทางด้านจิตใจ
1.3 การประเมินด้านสังคม
1) บทบาทของผู้ป่วยในครอบครัว
2)ความรักความผูกพันของผู้ป่วยกับสมาชิกในครอบครัว
3) ความต้องการของครอบครัว
4) ผู้ดูแลผู้ป่วย (Care giver)
5) ที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม
6) เครือข่ายทางสังคมและการสนับสนุนทางสังคม
1.4 การประเมินด้านจิตวิญญาณ
การประเมินระดับPalliative Performance Scale (PPS)
:recycle: เพื่อใช้ประเมินสภาวะของผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลรักษาแบบประคับประคอง การให้คะแนนใช้เกณฑ์วัดจากความสามารถ ด้านของผู้ป่วย 5 ด้าน คือ
1) ความสามารถในการเคลื่อนไหว
2) กิจกรรมและความรุนแรงของโรค
3) การดูแลตนเอง
4) การกินอาหาร
5) ความรู้สึกตัว
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย
การสื่อสาร
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
การดูแลทั่วไป
การดูแลด้านอารมณ์และสังคมของผู้ป่วยและครอบครัว (Psychosocial care)
การดูแลด้านจิตวิญญาณผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัว
ดูแลให้ได้รับการประชุมครอบครัว (Family meeting)
การดูแลให้ผู้ป่วยและญาติเข้าถึงการวางแผนการดูแลล่วงหน้า (Advance Care Planning [ACP])
7.1 Living will
7.2 Proxy
การดูแลผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิต (manage dying patient)
การดูแลจิตใจครอบครัวผู้ป่วยต่อเนื่อง (bereavement care)
..
..
..
..
..