Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะหายใจล้มเหลว ( respiratory failure) - Coggle Diagram
ภาวะหายใจล้มเหลว ( respiratory failure)
พยาธิสภาพ
ภาวะที่เซลล์ขาดออกซิเจน ในความผิดปกติของระบบหายใจนั้น ภาวะ Hypoxia จะเกิดจากการมีแรงดันของออกซิเจนในเลือดแดงน้อยกว่าปกติ (Hypoxemia) ออกซิเจนมีความสำคัญในขบวนการเมตะบอลิสมแบบใช้ออกซิเจนของเซลล์ (Aerobic metabolism)
สาเหตุ
หลอดลมตีบตัน
หอบหืด หลอดลมอักเสบรุนแรง
มีน้ำหรือลมในช่องเยื่อหุ้มปอด
กล้ามเนื้อการหายใจเสียหน้าที่
การวินิจฉัยโรค
อาการ
หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ เขียว (Cyanosis) หากมี CO2 คั่งในเลือดมากผู้ป่วยจะมีอาการซึม หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกตามตัว อาจหมดสติ
Arterial blood gas
Chest X-ray
อาการแสดง
Respiratory system
หายใจเร็ว (Tachypnea) หายใจลำบาก ระยะท้ายจะมีอาการหายใจเบาตื้น ช้าลง จนกระทั่งหยุดหายใจ และมีอาการเขียว
Cardiovascular system
ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง อาจจะมีการเต้นของหัวใจผิดปกติ(Arrhythmia) และระยะท้ายมี hypotension
Central nervous system
ระดับความรู้สึกตัวที่เปลี่ยนไป สับสน ไม่มีสมาธิ เอะอะ กระสับกระส่าย ถ้าภาวะ hypoxemia รุนแรงมากขึ้น
Hematologic effects
เม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น (Polycytemia) เพื่อเพิ่มออกซิเจนในเลือด ซึ่งต่อมาเลือดจะหนืดมากขึ้น
Acid-base balance
เมื่อภาวะ hypoxemia รุนแรงมากขึ้น เลือดมีภาวะเป็นกรดมากขึ้น กระตุ้นการหายใจเร็วขึ้น เป็นการชดเชย (compensate) ลดความเป็นกรด
การรักษา
รักษาตามสาเหตุ เช่น บรรเทาการตีนตันของหลอดลมโดยให้ยาขยายหลอดลมเจาะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดออกหากมีน้ำมาก รักษาปอดอักเสบโดยให้ยาปฏิชีวนะที่ไวต่อเชื้อ ให้ออกซิเจน ซึ่งปกติให้ในความเข้มข้นสูง ยกเว้นในรายที่มีการอุดกั้นของหลอดลมเรื้อรัง โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังและโรคถุงลมโป่งพอง จะให้ออกซิเจนประมาณ 25-35% เพื่อป้องกันการเกิด CO2 narcosis ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
การพยาบาล
การใช้เครื่องช่วยหายใจโนกรณีที่ไม่สามารถหายใจเองได้ หรือหายใจได้ไม่เพียงพอ
การช่วยเพิ่มความสามารถของปอดในการหายใจ เช่นการจัดท่านอนศีรษะสูง การนอนตะแคงเพื่อให้ปอด
ารให้ออกซิเจนเพื่อป้องกันหรือสดภาวะ Hypoxia การให้ออกซิเจนเป็นการเพิ่มแรงดันออกซิเจนในอากาศที่หายใจเข้าไป
การแก้ไขหรือลดการอุดกั้นทางเดินหายใจ เช่นระบายเสมหะ ระบายน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด ให้ยาขยายหลอดลมยาลดอาการบวมของทางเดินหายใจ การสอนการไอที่มีประสิทธิภาพ
การรักษาอื่น ๆ เช่นให้สารละลายที่เป็นต่างทางหลอดเลือดดำเพื่อลดความเป็นกรดของเลือดการให้สาร Surfactant เพื่อลดแรงตึงผิวของถุงลม การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อทำลายเชื้อโรค การใส่ต่อ (Chest drain) เพื่อระบายน้ำหรือเลือดออกจากช่องเยื่อหุ้มปอด
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง
การลดการใช้ออกซิเจนของร่างกาย โดยให้พักผ่อนให้มากที่สุด จัดสภาพแวดล้อมให้สงบเนื่องจากในเลือดมีแรงดันออกซิเจนต่ำ ถ้าร่างกายต้องการใช้ออกซิเจนมากก็จะยิ่งขาดออกซิเจนมากขึ้นดังนั้นจึงต้องให้ผู้ป่วยลดความต้องการออกซิเจนลง