Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต,…
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต
และการดูแลระยะท้ายของชีวิต
แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางจริยธรรม
จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของพยาบาล
ให้ความรู้แก่พยาบาลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
จริยธรรมสำหรับการทำงานของทีมสุขภาพ
เคารพซึ่งกันและกัน
รู้จักขอบเขตหน้าที่ของตน
รับผิดชอบต่อความปลอดภัยของผู้รับบริการ
ทำตนให้เป็นกัลยาณมิตรซึ่งกันและกัน
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ท้อแท้ผิดหวังต่อโชคชะตาเนื่องจากคิดว่าถูกพระเจ้าลงโทษหรือไม่ได้รับความช่วยเหลือจากสิงศักดิ์สิทธิ์
กลัวตาย
การเผชิญปัญหาและการปรับตัวของครอบครัวไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากครอบครัวต้องเผชิญกับการเจ็บป่วยรุนแรงของผู้ป่วย
เศร้าโศกทุกข์ใจเนื่องจากสูญเสียบุคคลที่มีความสำคัญต่อตน
หมดกำลังใจในการต่อสู้กับโรคที่เป็นเนื่องจากไม่มีความหวังในการรักษา
หวาดกลัวต่อสิ่งต่างๆเนื่องจากขาดสิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ
ไม่สามารถยอมรับสภาพความเป็นจริงเมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
มีความเครียดสูงเนื่องจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรง
มีภาวะซึมเศร้าเนื่องจากไม่สามารถแสดงบทบาทหัวหน้าครอบครัวได้จากการเจ็บป่วยรุนแรง
สัมพันธภาพทางสังคมไม่เหมาะสม (ก้าวร้าว ด่าว่า เอะอะโวยวาย) เนื่องจากไม่สามารถยอมรับความเจ็บป่วยรุนแรงได้
การแจ้งข่าวร้าย (Breaking a bad news)
ผู้แจ้งข่าวร้าย
ต้องได้รับการฝีกกฝนและมีประสบการณ์วิธีการแจ้งข่าวร้าย
มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับแผนการรักษา ผลการรักษาและการดำเนินโรค
ข่าวร้าย
ข้อมูลที่ทำให้เกิดความรู้สึกหมดความหวัง
มีผลกระทบต่อความรู้สึก การดำเนินชีวิต และอนาคตของบุคคลนั้น
เช่น ผลเลือดเป็นบวกหรือติดเชื้อ HIV, ได้รับการเจาะคอ
บทบาทพยาบาล
ยอมรับพฤติกรรมทางลบของผู้ป่วยและญาติโดยไม่ตัดสิน ให้โอกาสในการระบายความรู้สึก ให้ความเคารพผู้ป่วย เข้าใจ เห็นใจ ไวต่อความรู้สึกและความต้องการของผู้ป่วย
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อมูล การดำเนินโรค แนวทางการรักษา
ให้ความช่วยเหลือประคับประคองจิตใจให้ผ่านระยะเครียดและวิตกกังวล
อธิบายให้ทราบถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ให้ข้อมูลที่เป็นความจริงเกี่ยวกับพยาธิสรีรวิทยาของโรค การดำเนินโรค ให้ความหวังที่เป็นจริง สะท้อนคิดเกี่ยวกับการอยู่กับปัจจุบันและทำปัจจุบันให้ดีที่สุด
รับฟังผู้ป่วยและญาติด้วยความตั้งใจ เห็นใจ เปิดโอกาสให้ได้ซักถามข้อสงสัย
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว ประเมินการรับรู้ของครอบครัว สอบถามความรู้สึกและความต้องการการช่วยเหลือ
7.สะท้อนคิดให้ครอบครัวค้นหาเป้าหมายใหม่ในชีวิตอย่างมีความหมาย
จัดการกับอาการที่รบกวนผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับความสุขสบาย ควบคุมความปวด และช่วยเหลือในสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ และส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนชวยในการดูแลผู้ป่วย
ทำหน้าที่แทนผู้ป่วยในการเรียกร้อง ปกป้องผู้ป่วยให้ได้รับประโยชน์ และปกป้องศักดิ์ศีรความเป็นมนุษย์
ให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยและญาติว่า แพทย์และทีมสุขภาพทุกคนจะให้การดูแลอย่างดีที่สุด
ปฏิกิริยาจากการรับรู้ข่าวร้าย
ระยะต่อรอง (Bargaining)
รู้สึกว่าตนเองมีความผิดที่ยังไม่ได้ทำบางอย่างที่ค้างคา
อยากเห็นลูกเรียนจบก่อน
ต่อรองความผิดหวังหรือข่าวร้ายที่ได้รับ
ฉันรู้ว่ามันร้ายแรง คงรักษาไม่หาย แต่ฉันอยาก....
ระยะซึมเศร้า (Depression)
เบื่อหน่าย เก็บตัว ไม่ค่อยพูดคุย ถามคำตอบคำ
คิดหมกมุุ่นเกี่ยวกับความตาย
ออกห่างจากสังคมรอบข้าง
คิดว่าตนไร้ค่า ไม่มีความหมาย
ระยะโกรธ (Anger)
ทำไมต้องเกิดขึ้นกับเรา
ไม่ยุติธรรมเลย ทำไมต้องเกิดกับเรา
ระยะยอมรับ (Acceptance)
มองเหตุการณ์อย่างพิจารณามากขึ้น
มองเป้าหมายในอนาคตมากขึ้น ปรับตัว
เริ่มยอมรับสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง
เรียนรู้เพื่อให้ดำเนินชีวิตต่อไปได้
ระยะปฏิเสธ (Denial)
ไม่จริงใช่ไหม
คุณหมอแน่ใจรึเปล่าว่าผลการตรวจถูกต้อง
ช็อคและปฏิเสธสิ่งที่ได้รับรู้ไม่เชื่อ ไม่ยอมรับความจริง ไม่เชื่อผลการรักษา
มโนทัศน์เกี่ยวกับการเจ็บป่วย
ระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย
ภาวะใกล้ตาย
ผู้ที่เข้าสู่ช่วงใกล้เสียชีวิต
มีค่าคะแนน Palliative performance scale (PPS) น้อยกว่า 30
หน้าที่ของอวัยวะสำคัญของร่างกายลดลงหรือล้มเหลว
การดูแลแบบประคับประคอง
เน้นเป้าหมายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยที่มีโรคหรือภาวะคุกคามต่อชีวิต
ดูแลปัญหาสุขภาพรวมทั้งประเมินปัญหาสุขภาพแบบองค์รวม
เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว และทำให้ผู้ป่วยได้เสียชีวิตอย่างสงบ
การเจ็บป่วยระยะท้าย
บุคคลอยู่ในภาวะความเจ็บป่วยที่คุกคามต่อชีวิต
เป้าหมายของการรักษาเป็นการดูแลแบบประคับประคอง
ไม่สามาถบำบัดรักษาเพื่อให้หายขาดได้
การดูแลระยะท้าย
ใช้หลักการดูแลแบบประคับประคอง
แนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
แบบประคับประคอง (Palliative care)
เน้นในช่วงของการเจ็บป่วยในช่วงปีหรือเดือนท้ายๆของชีวิต
เริ่มตั้งแต่ไม่เจ็บป่วย ขณะเจ็บป่วย หรือเป็นผู้ที่ต้องเผชิญกับความตาย กำลังอยู่ในช่วงวาระท้ายของชีวิต
ตามทฤษฎีความสุขสบาย (comfort theory)
ทฤษฎีความสุขสบาย
เน้นความสุขสบายที่เป็นผลลัพธ์ของการพยาบาล
ความสุขสบายแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
ความสงบ ผ่อนคลาย
อยู่เหนือปัญหา
บรรเทา
กิจกรรมการดูแลที่ส่งเสริมความสุขสบายของผู้ป่วยและครอบครัวตามทฤษฎี
ให้กำลังใจ ให้ข้อมูล ความหวัง ชี้แนะ รับฟังและช่วยเหลือเพื่อวางแผนฟื้นฟูสภาพ
ใส่ใจ เอื้ออาทร
มาตรฐานการพยาบาลเพื่อความสุขสบาย เพื่อรักษาความสมดุลของร่างกาย (Homeostasis) ควบคุมความปวดและความไม่สุขสบายต่าง ๆ
การดูแลแบบประคับประคองมุ่งให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบหรือ ตายดี (Good death)
ประเด็นจริยธรรมที่สำคัญในการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต การเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย
การุณยฆาต หรือ ปราณีฆาต หรือ เมตตามรณะ(mercy killing or euthanasia)
โดยความสมัครใจ (Voluntary euthanasia)
ผู้ป่วยร้องขอให้ยุติการรักษาพยาบาล
โดยผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจได้เอง (Involuntary euthanasia)
สิทธิส่วนบุคคลที่จะยุติชีวิตลง
บุคคลไม่ควรจะถูกบังคับให้ยืดชีวิตออกไปในสภาพที่ช่วยตนเองไม่ได้และไร้การรับรู้ทางสมอง
เมื่อผู้ป่วยอยู่ในภาวะเจ็บปวดทรมานอย่างแสนสาหัส
การยืดหรือการยุติการรักษาที่ยืดชีวิต
การไม่เริ่มต้นใช้เครื่องมือช่วยชีวิต
การเพิกถอนใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบำบัดรักษา
การฆ่าตัวตายโดยความช่วยเหลือของแพทย์ (Physician-assisted suicide)
การให้ความรู้เครื่องมือ หรือวิธีการอื่นใดที่อาจทำให้ผู้นั้นสามารถฆ่าตัวตายได้สำเร็จ
การจัดสรรทรัพยากรที่มีจำนวนจำกัด
คำนึงถึงผลประโยชน์ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางให้มีประโยชน์มากที่สุดและยุติธรรม
ความจำเป็นของบุคคล มีความเสมอภาค อายุ
คุ่มค่ากับการรักษาหรือไม่
การบอกความจริง (Truth telling)
การบอกความจริงบางส่วน
การหลอกลวง
การบอกความจริงทั้งหมด
การประวิงเวลาการบอกความจริง
การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ
(Organ transplantation)
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต (End of life care in ICU)
มีการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤตน้อยกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
มีการสื่อสารในหัวข้อแผนการรักษาน้อยกว่าผู้ป่วยอื่นในโรงพยาบาล
ผู้ป่วยที่มีอาการไม่สุขสบายและไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมมากกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตและทั่วไป
Professional culture
การตายของผู้ป่วยอาจทำให้ทีมสุขภาพรู้สึกว่าเป็นความล้มเหลว
ความคาดหวังของผู้ป่วยและครอบครัว
ผู้ป่วยมีอาการทรุดลงจากเดิม หรือมีโอกาสเสียชีวิตสูง เป็นสิ่งที่ทำให้ญาติเสียใจมาก
ความไม่แน่นอนของอาการ
ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะดีขึ้นแล้วกลับไปทรุดลงได้หลายครั้ง
Multidisciplinary team
มีทีมแพทย์ที่ดูแลรักษาร่วมกันมากกว่า 1 สาขา
ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤติมีอาการไม่สุขสบายหลายอย่างและมีแนวโน้มลูกละเลย
มุ่งประเด็นไปที่การหายของโรคมากกว่าความสุขสบายของผู้ป่วย
ทรัพยากรมีจำกัด
พิจารณาใช้กับผู้ป่วยที่มีโอกาสจะรักษาให้อาการดีขึ้นได้
ไม่ใช่ใช้กับผู้ป่วยวิกฤติทุกราย
สิ่งแวดล้อมในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
วุ่นวาย มีเสียงสัญญาณเตือนดังเกือบตลอดเวลา
ไม่เหมาะกับการเป็นสถานที่สุดท้ายก่อนผู้ป่วยจะจากไป
หลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติ
การปรึกษาทีม palliative care ของโรงพยาบาลนั้น ๆ มารวมดูแลในผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์
การดูแลแบบผสมผสาน
การผสมผสานกายจิต
ทำสมาธิ
สวดมนต์
โยคะ
อาหารและสมุนไพร
อาหารสุขภาพ
พลังบำบัด
สัมผัสบำบัด
ระบบการแพทย์เฉพาะ
แพทย์แผนไทย
แพทย์แผนจีน
ทีมสุขภาพที่ทำงานในไอซียูเป็นผู้เริ่มลงมือด้วยตนเอง
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย
การประเมินสุขภาพ
อาการทางร่างกาย
ด้านจิตใจ
ภาวะซึมเศร้า (Depression)
ภาวะวิตกกังวล (Anxiety)
ภาวะสับสน (Delirium)
ด้านสังคม
ด้านจิตวิญญาณ
ความต้องการการกิจกรรมทางศาสนา
การประเมินระดับPalliative Performance Scale (PPS)
เพื่อประเมินพยากรณ์โรคอย่างคร่าวๆและติดตามผลการรักษา
ใช้ในการวิจัย
เพื่อสื่อสารอาการปัจจุบันของผู้ป่วยระหว่างบุคลากรในทีมที่ร่วมกันดูแลผู้ป่วย เพื่อให้เห็นภาพและการพยากรณ์โรคไปในแนวทางเดียวกัน
ใช้เป็นเกณฑ์การคัดเลือกผู้ป่วย เพื่อเข้าดูแลในสถานที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
ใช้บอกความยากของภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์และครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย
การสื่อสาร
บทสนทนาควรเน้นที่ตัวตนของผู้ป่วยมากกว่าโรค
ปล่อยให้มีช่วงเงียบ เพื่อให้ญาติได้ทบทวน
ให้เกียรติครอบครัวโดยการฟังอย่างตั้งใจและให้เสนอความคิดเห็น
ถ้าเป็นการแจ้งข่าวร้าย อาจจะใช้ SPIKES protocol
หลีกเลี่ยงคำศัพท์แพทย์
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
การช่วยเหลือดูแลทางกาย
อาการปวด
ดูแลให้ผู้ป่วยกินยาต่างๆได้ครบถ้วน ตรงตามเวลาที่แพทย์แนะนำ และคอยสังเกตว่ายาได้ผลหรือ ไม่
คอยพูด คุยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายทางอารมณ์
อาการท้องผูก
จัดอาหารให้มีใยอาหาร
ให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอที่ไม่ขัดกับโรค
กระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวร่างกายเท่าที่ทำได้
เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
จัดอาหารที่ย่อยง่ายครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
จัดสิ่งแวดล้อม ให้ผ่อนคลาย รู้สึกสุขสบาย
หากคลื่นไส้อาเจียนมาก ควรเลื่อนมื้ออาหารจนกว่าอาการจะดีขึ้น
อาการปากแห้ง เจ็บในปาก กลืนลำบาก
ดูแลทำความสะอาดในช่องปากทุกวันอย่างน้อยวันละสองครั้ง
อาการท้องมานหรือบวมในท้อง
ให้ผู้ป่วยนอนในท่าศีรษะสูง หรือนั่งพิง
อาการไอ
ให้ได้รับน้ำในปริมาณมาก ในรายที่ไม่มีข้อจำกัด เพื่อช่วยละลายเสมหะ
ดูแลให้ได้รับยาบรรเทาอาการไอตามแผนการรักษา
ระวังการสำลักขณะได้รับอาหาร
อาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก
จัดให้ผู้ป่วยพักให้ท่าศีรษะสูงเล็กน้อย
ดูแลให้ได้รับออกซิเจน และยา
ดูแลช่วยเหลือในการทำกิจกรรมต่างๆ
อาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้
ใช้ผ้าอ้อม
ดูแลความสะอาดสม่ำเสมอ
เฝ้าระวังเมื่อผิวหนังเริ่มเปลี่ยนแปลง
อาการบวม
ควรดูแลอย่าให้เกิดแผล
จัดท่ายกบริเวณตำแหน่งที่บวมให้สูง
อาการคัน
ใช้สบู่อ่อนๆและอูณหภูมิของน้ำไม่ควรอุ่นจัด
ดูแลให้ความชุ่มชื้นของผิวหนังโดยใช้น้ำมันสำหรับเด็กอ่อนทาผิวหลังอาบน้ำ
ให้ผู้ป่วยตัดเล็บสั้น หลีกเลี่ยงการเกา
การเกิดแผลกดทับ
พลิกตะแคงตัวผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง
จัดหาเตียงลมหรือที่นอนน้ำ
ทำความสะอาดผิวบริเวณกดทับ
การดูแลทั่วไป
การดูแลความสะอาดร่างกาย
ให้ได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอกับความ ต้องการของร่างกาย
การพักผ่อนนอนหลับ
จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด สงบ ลดการกระตุ้นที่รบกวนผู้ป่วย
การดูแลด้านอารมณ์และสังคมของผู้ป่วยและครอบครัว
(Psychosocial care)
ช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับความตายที่จะมาถึง
ช่วยให้จิตใจจดจ่อกับสิ่งดีงาม
การช่วยปลดเปลื้องสิ่งที่ค้างคาใจ
แนะนำให้ผู้ป่วยปล่อยวางสิ่งต่างๆ
สร้างบรรยากาศที่สงบและเป็นส่วนตัว
การดูแลด้านจิตวิญญาณผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัว
ประเมินและบันทึกความต้องการทางจิตวิญญาณในระหว่างการดูแลเป็นระยะ
สนับสนุนให้มีสถานที่หรือกิจกรรมส่งเสริมด้านจิตวิญญาณ
สอบถามและส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติตามศรัทธาความเชื่อ
ดูแลให้ได้รับการประชุมครอบครัว (Family meeting)
เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีระหว่างทีมสุขภาพกับผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับโรคและระยะของโรครวมไปถึงการดำเนินโรคและการพยากรณ์โรค แนวทางของการดูแลผู้ป่วยในอนาคต รวมทั้งประเมินความต้องการด้านอื่นๆ ของผู้ป่วย
ควรมีการบันทึกไว้เพื่อเป็นหลักฐานทางการแพทย์และง่ายต่อการทบทวนเมื่อจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนทีมผู้รักษา
ก่อนทำการประชุมครอบครัว ผู้นำประชุมครอบครัวต้องวางใจเป็นกลาง ไม่ตัดสินญาติ ไม่ตำหนิญาติ
การดูแลให้ผู้ป่วยและญาติเข้าถึงการวางแผนการดูแลล้วงหน้า (Advance Care Planning [ACP])
Living will หรือ พินัยกรรมชีวิต หรือ หนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข
Proxy คือ บุคคลใกล้ชิดที่ผู้ป่วยมอบหมายให้มีอำนาจตัดสินใจในเรื่องการดูแลทางการแพทย์ในวาระสุดท้ายของตน
บทบาทของพยาบาล
จัดหาตัวอย่างของแบบฟอร์ม living will อธิบายขั้นตอนและวิธีการทำ รวมทั้งอธิบายข้อมูลข้อดีข้อเสียของหัตถการที่ต้องระบุบไว7ใน living will
การสื่อสารร่วมกันระหว่างทีมสุขภาพกับผู้ป่วยและญาติ
การรวบรวมเอกสาร
การดูแลผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิต (manage dying patient)
ทำการปลดเครื่องติดตามสัญญาณชีพต่าง ๆ
ควรปลดประตูหรือปลดม่านให้มิดชิด
นำสายต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นออก
ยุติการเจาะเลือด
ให้คงไว้เพียงการรักษาที่มุ่งเน้น
ทำความสะอาดใบหน้า ช่องปาก และร่างกายผู้ป่วย
ยุติการรักษาที่ไม่จำเป็น
ให้คุมอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
ควรทำการยุติการให้ผู้ป่วยได้รับยาหย่อนกล้ามเนื้อ
ให้ยาที่มักจำเป็นต้องได้
อธิบายครอบครัวถึงอาการต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น และวิธีการจัดการช่วงเวลานี
ประเมินความสุขสบายของผู้ป่วยและเป็นการทำให้ญาติมั่นใจว่าทีมสุขภาพไม่ได้ทอดทิ้งผู้ป่วย
การดูแลจิตใจครอบครัวผู้ป่วยต่อเนื่อง (bereavement care)
การสื่อสารที่ดี และดูแลช่วงใกล้เสียชีวิตอย่างใกล้ชิด สามารถช่วยลดการเกิดความเครียดจากการสูญเสียคนรักได้
นางสาวอภิชญา คำอินทร์ 6101210422 เลขที่ 18 sec.B