Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิด หลักการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉินและสาธารณภัย - Coggle Diagram
แนวคิด หลักการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉินและสาธารณภัย
แนวคิด หลักการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน
การเจ็บป่วยฉุกเฉิน คือ การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน จำเป็นต้องดำเนินการช่วยเหลือ และการดูแลรักษาทันที
การเจ็บป่วยวิกฤต คำว่า วิกฤต มาจากคำที่ใช้ในภาษาอังกฤษ คือ “Crisis” และ “Critical”
“Critical” จะนำมาใช้ในผู้ป่วยอาการเพียบหนัก มีอาการรุนแรง หรือขั้นฉุกเฉิน
“Crisis” นำมาใช้กับผู้ป่วยที่อยู่ในสภาวะที่มีสถานการณ์คับขัน เป็นจุดวิกฤตของการเป็นโรค ทำให้มีอาการดีขึ้น หรือตายได้ในทันที
การเจ็บป่วยวิกฤต จึงหมายความถึง การเจ็บป่วยที่มีความรุนแรงถึงขั้นที่อาจทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตหรือพิการได้
อุบัติเหตุ (Accident) คือ อุบัติการณ์ซึ่งเกิดขึ้น โดยไม่คาดหมายมาก่อน ทำให้เกิดการบาดเจ็บตายและการสูญเสียทรัพย์สินโดยที่เราไม่ต้องการ
ผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน หมายถึง ผู้ที่ทีอาการหนักรุนแรงต้องการการดูแลจากเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง
ไม่รู้สึกตัว ชัก เป็นอัมพาต
หยุดหายใจ หายใจช้ากว่า 10 ครั้งต่อนาที
คลำชีพจรไม่ได้ หรือชีพจรช้ากว่า 40 หรือเร็วกว่า 30 ครั้ง/นาที
ความดันโลหิต Systolic ต่ำกว่า 80 มม.ปรอท หรือ Diastolic สูงกว่า 130 มม.ปรอท
ตกเลือดเลือดออกมากซีดมาก
เจ็บปวดทุรนทุรายกระสับกระส่าย
7.ถูกพิษจากสัตว์ เช่น งู หรือสารพิษชนิดต่างๆ
ผู้ป่วยวิกฤต
มีลักษณะดังนี้
ผู้ป่วยที่สามารถรักษาได้ เช่น ผู้ป่วยที่หมดสติ ผู้ป่วยที่มีระบบการหายใจล้มเหลว
ผู้ป่วยที่มีอัตราตายสูง เช่น ผู้ป่วย Septic Shock
ผู้ป่วยที่มีแนวโน้มที่จะมีอาการรุนแรง เช่น ผู้ป่วย myocardialin farction
ผู้ป่วยที่อัตราตายสูง แม้จะได้รับการรักษา เช่น ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
หลักการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน
หลักทั่วไปในการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน
เพื่อช่วยชีวิต เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจ หรือหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ต้องรีบช่วยหายใจโดยการผายปอด ด้วยวิธีการที่เหมาะสม
การป้องกันและบรรเทาไม่ให้เกิดอาการรุนแรงถึงขั้นวิกฤต
การบันทึกเหตุการณ์อาการและการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ เพื่อเป็นประโยชน์ในการรักษาต่อไป
การส่งต่อรักษา หลังจากให้การช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยแล้ว ต้องรีบเคลื่อนย้ายนำส่งโรงพยาบาล เพื่อทำการรักษาต่อทันที
หลักการพยาบาล
มีหลักในการอุ้มยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากยานพาหนะไปยังห้องพยาบาล อย่างนุ่มนวลรวดเร็วปลอดภัย
มีการซักประวัติการเจ็บป่วยและอาการสำคัญอย่างละเอียด ในเวลาที่รวดเร็ว
ทำการคัดกรองผู้ป่วยอย่างรวดเร็วแม่นยำ
ให้การรักษาพยาบาลภายใต้นโยบายของโรงพยาบาล และภายในเขตการรับรองของกฎหมาย
ให้การช่วยฟื้นคืนชีพอย่างถูกต้อง
ให้การดูแลจิตใจของผู้ป่วยและญาติ ซึ่งจะเกิดความกลัวความวิตกกังวลต่อความเจ็บป่วย
มีการนัดหมายผู้ป่วยที่ไม่ได้นอนโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาต่อเนื่อง
มีการส่งต่อเพื่อการรักษาทั้งในหอผู้ป่วยในแผนกผู้ป่วยหนัก และภายนอกโรงพยาบาล
หลักการพยาบาลตามบทบาทพยาบาลวิชาชีพงานบริการพยาบาล
ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่กำลังคุกคามชีวิตผู้ป่วย
ค้นหาสาเหตุและ/หรือปัญหาที่ทำให้เกิดภาวะฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ แล้วดำเนินการแก้ไข
ดูแลและรักษาสภาวะของผู้ป่วยให้อยู่ระดับปลอดภัย และคงที่โดยการเฝóาระวังอย่างใกล้ชิด
รักษาหน้าที่ต่างๆ ของอวัยวะสำคัญของร่างกายให้คงไว้
ป้องกันภาวะแทรกซ้อนและติดเชื้อ
ประคับประคองจิตใจและอารมณ์ของผู้ป่วยและญาติ
การพยาบาลสาธาธารณภัย
ภัย (Hazard) หมายถึง เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ใดๆที่สามารถที่ทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ความเสียหายต่อทรัพย์สินความเป็นอยู่ และสิ่งแวดล้อม
สาธารณภัย / ภัยพิบัติ (Disaster) หมายถึง ภัยที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเกิดจากธรรมชาติหรือจากการกระทำของมนุษย์แล้วก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต เกิดความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สิน
ประเภทของภัยพิบัติ
ภัยที่เกิดจากธรรมชาติ (Natural Disaster) ได้แก่ เกิดแบบฉับพลัน และเกิดแบบค่อยเป็นค่อยไป
ภัยที่เกิดจากมนุษย์(Man-made Disaster) ได้แก่ เกิดอย่างจงใจและเกิดอย่างไม่จงใจ
อุบัติภัย
ภัย (Hazard) หมายถึง เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ใดๆที่สามารถที่ทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ความเสียหายต่อทรัพย์สินความเป็นอยู่ และสิ่งแวดล้อม
อุบัติเหตุกลุ่มชน/อุบัติภัยหมู่ (MASS CASSUALTIES) หมายถึง อุบัติเหตุที่เกิดกับคนจำนวน
มาก ได้รับการเจ็บป่วยจำนวนมาก เกินขีดความสามารถปกติที่โรงพยาบาลจะให้การรักษาพยาบาลได้
ประเภทของอุบัติภัยหมู่แบ่งตามขีดความสามารถของสถานพยาบาล
Multiple casualties ทั้งจำนวนและความรุนแรงของผู้ป่วยไม่เกินขีดความสามารถของ
โรงพยาบาล
Mass casualties ทั้งจำนวนและความรุนแรงของผู้ป่วยเกินขีดความสามารถของโรงพยาบาลและทีม
ผู้รักษา
หลักการพยาบาลสาธารณภัย
การบรรเทาภัย (Mitigation) : กิจกรรมต่าง ๆ ที่ดำเนินการเพื่อลดหรือกำจัดโอกาสในการเกิดหรือ
ลดผลกระทบของการเกิดภัยพิบัติ
การเตรียมความพร้อม (Preparedness) : การรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน เป็นระยะต่อเนื่องจากการ
บรรเทาภัย โดยการเตรียมคนให้พร้อม มีแผนที่ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน มีการฝึกอบรมความรู้และทักษะ
การตอบโต้เหตุการณ์ฉุกเฉิน (Response) ต้องมีการดำเนินการทันเมื่อเกิดภัย โดยยึดตามหลัก
CSCATT
การควบคุมยับยั้งโรคและภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ต้องจัดให้มีระบบเฝ้าระวังภายใน 5 วันหลังภัยพิบัติ
การบูรณะฟื้นฟู (Recovery) เป็นระยะสุดท้ายในการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ซึ่งต้องดำเนินไปเรื่อยๆ จนกว่าทุกอย่างจะกลับสู่ภาวะปกติหรือใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด
พยาบาลกับการจัดการสาธารณภัย
เป็นการพยาบาลที่ต้องนำความรู้และทักษะทางการพยาบาลทั่วไปและการพยาบาลฉุกเฉินมาประยุกต์ใช้ เพื่อป้องกันและ/หรือลดความสูญเสียที่จะเกิดกับชีวิตและทรัพย์สินรวมทั้งการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ประสบภัยและญาติ รวมถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมที่จำเป็นด้วย
หลักการบริหารจัดการในที่เกิดเหตุและรักษาผู้บาดเจ็บ
D – Detection คือ การประเมินสถานการณ์ว่าเกินกำลังหรือไม่
I - Incident command คือ ระบบการบัญชาเหตุการณ์และผู้ดูภาพรวมของการปฏิบัติการทั้งหมด
S – Safety and Security คือ การประเมินความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในที่เกิดเหตุ
A – Assess Hazards คือ การประเมินสถานที่เกิดเหตุเพื่อระแวดระวังวัตถุอันตรายต่างๆ
S – Support คือ การเตรียมอุปกรณ์และทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในที่เกิดเหตุ
T – Triage/Treatment คือ การคัดกรองและให้การรักษาที่รีบด่วนตามความจำเป็นของผู้ป่วย
E – Evacuation คือ การอพยพผู้บาดเจ็บระหว่างเหตุการณ์
R – Recovery คือ การฟื้นฟูสภาพหลังจากเกิดเหตุการณ์
ลักษณะของการปฏิบัติการพยาบาลในสถานการณ์สาธารณภัย
มุ่งลดความเสียหายต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชนที่เกิดจากสาธารณภัย
ต้องนำความรู้และทักษะทางการพยาบาลทั่วไปและด้านการพยาบาลฉุกเฉินมาประยุกต์ใช้ใน
สถานการณ์ภัยพิบัติ
เป็นการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อ มุ่งเน้นด้านการพยาบาลฉุกเฉินแก่ผู้ประสบภัยจำนวนมากในขณะเกิดภัย ป้องกันและลดความรุนแรงของการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย และการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ประสบภัยและญาติ
คุณสมบัติพยาบาลสำหรับจัดการสาธารณภัย
มีความรู้ทางการพยาบาลและมีประสบการณ์การปฏิบัติงานการพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินและวิกฤต และด้านการรักษาโรคเบื้องต้นได้
มีความรู้ด้านสาธารณภัย มีความสามารถในการประเมินสถานการณ์และคาดการณ์ถึงปัญหาสุขภาพที่จะเกิดจากสาธารณภัยชนิดต่างๆ
มีทักษะในการตัดสินใจที่ดี มีความเป็นผู้นำ และสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างถูกต้อง
มีทักษะในการสื่อสาร และการบันทึกข้อมูลต่างๆได้อย่างถูกต้องครบถ้วนชัดเจน
มีวุฒิภาวะที่เหมาะสมกับสถานการณ์
ระบบทางด่วน (Fast track/Pathway system) สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน
เป็นแนวทางของระบบบริการสุขภาพที่ช่วยนำผู้ป่วยให้เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพตามมาตรฐานอย่างทันเวลา และลดระยะเวลาการรักษาในผู้ป่วยกลุ่มอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน เพื่อให้ได้รับการรักษาเฉพาะทางที่มศักยภาพสูงกว่า
แต่ละสถานพยาบาล/สถาบันสามารถดำเนินการจัดทำหรือจัดการแตกต่างกัน โดยอาศัยหลักการ
การจัดทำควรเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ในสวนต่างๆที่เกี่ยวข้องมาร่วมดำเนินการ
จัดทำแผนภูมิการดูแลผู้ป่วย พร้อมกำหนดลักษณะผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วนที่เข้าระบบทางด่วน
จัดทำแนวปฏิบัติ ลำดับการปฏิบัติในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงประตูโรงพยาบาล หรือ ห้องฉุกเฉิน
จัดทำรายการตรวจสอบ (check list) สำหรับการลงข้อมูล ตรวจสอบข้อมูลต่างๆ
ฝึกอบรมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้มีความรู้และสามารถดำเนินการตามระบบทางด่วน
แผนการปฏิบัติต้องเน้นย้ำเวลาเป็นสำคัญ ต้องมีแผนปฏิบัติการรองรับเพื่อให้สามารถดูแลผู้ป่วย
กำหนด clinical indicator เพื่อการติดตามและประเมินผลในแต่ละขั้นตอนของระบบทางด่วน
บทบาทพยาบาลกับ Fast track
บทบาทพยาบาลกับระบบทางด่วน (Fast track)
การประเมินเบื้องต้นโดยใช้ความรู้ ความสามารถเฉพาะโรค
การรายงานแพทย์ผู้รักษาเพื่อตัดสินใจสั่งการรักษา
การประสานงานผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร
การจัดการและดูแลขณะส่งต่อ
การให้การดูแลตามแผนการรักษาภายใต้ระยะเวลาที่จำกัด
การติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง
การให้ความช่วยเหลือเมื่อมีความผิดปกติและติดตามการประเมินผลลัพธ์
การดำเนินงานเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานในภาพรวม
การจัดระบบให้มีการทบทวนและพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
บทบาทพยาบาลในระบบทางด่วน (Fast track)
EMS (accessibility)
Triage/ Specific triage/ Assessment
Activate system
Flow (purpose-process-performance)
Investigation
Care delivery
Monitoring: early warning signs & E-response
Risk management (general & clinical)
Co-ordination, Communication, Handover
Inter & Intra transportation
Evaluation, output, outcome
Improvement, Innovation, Integration
หลักการดูแลผู้บาดเจ็บ (Trauma life support)
ระบบการดูแลผู้บาดเจ็บ (Trauma care system)
การเข้าถึงหรือรับรู้ว่ามีเหตุเกิดขึ้น (Access) คือ การเข้าถึงช่องทางสำหรับการติดต่อในการแจ้งเมื่อมีเหตุเกิดขึ้น
การดูแลในระยะก่อนถึงโรงพยาบาล (Prehospital care) คือ การจัดให้มีการดูแลผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุโดยมีบุคลากรที่เป็นบุคลากรที่ได้รับการอบรมให้ความรู้ความสามารถในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ การช่วยฟื้นคืนชีพ
การดูแลในระยะที่อยู่โรงพยาบาล (Hospital care) คือ การดูแลรักษาในโรงพยาบาลตั้งแต่การคัดแยก ระบบทางด่วนฉุกเฉิน การวินิจฉัย การรักษาตามความเร่งด่วน รวมถึงการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤต
การฟื้นฟูสภาพ และการส่งต่อ (Rehabilitation & transfer) คือ การดูแลต่อเนื่องในรายที่พบปัญหาหรือต้องได้รับการฟื้นฟูเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีภายหลังจากการได้รับการรักษา
การดูแลผู้บาดเจ็บขั้นต้น ประกอบด้วย
การประเมินผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บเบื้องต้น (Primary Survey
ประเมินผู้ป่วยในภาพรวมทั้งหมดอย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอน เพื่อวินิจฉัยภาวะที่คุกคามต่อชีวิต ภาวะที่อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในระยะเวลาอันสั้น
Airway maintenance with cervical spine protection
เริ่มต้นจากการประเมิน Airway เพื่อหาอาการที่เกิดจากทางเดินหายใจอุดกั้น
เปิดทางเดินหายใจให้โล่งโดยใช้วิธีการ Head-tilt Chin-lift, กรณีผู้ป่วยที่สงสัยหรือได้รับอุบัติเหตุให้ทำการเปิดทางเดินหายใจด้วยวิธี jaw-thrust maneuver, modified jaw thrust
ในผู้ป่วยที่สามารถพูดโต้ตอบและสามารถให้ประวัติได้บ่งว่าผู้ป่วยไม่มีปัญหาเรื่องการอุดกั้นทางเดินหายใจ
ผู้ป่วย severe head injury ที่ Glasgow coma score น้อยกว่า 8 หรือ อยู่ในอาการComa ควรให้การ definitive care ทุกราย
ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ multiple injury หรือมี blunt trauma เหนือ Clavicle ควรคิดว่าอาจมีCervical spine injury รวมด้วยเสมอ
การใส่ Endotracheal tube ต้องหลีกเลี่ยงการแหงนคอมากจนเกินไป ต้องมีคนประคอง Cervical spine ตลอดเวลา (In-line stabilization)
Breathing and Ventilation
เป็นการประเมินการช่วยหายใจและการระบายอากาศเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนอากาศ เพื่อให้ได้ออกซิเจนและขับคาร์บอนไดออกไซด์การดูแลควรเปิดให้เห็นบริเวณคอและทรวงอกเพื่อประเมินตำแหน่งของหลอดลม
พยาบาลควรวินิจฉัยภาวะผิดปกติตั้งแต่ Primary survey โดยประเมินจาก
การเปิดดูร่องรอยบาดแผลที่บริเวณทรวงอก
ดูการเคลื่อนไหวบริเวณทรวงอก
คลำ การเคาะเพื่อตรวจหาการบาดเจ็บ
ฟัง Breath sound ทั้งสองข้าง
Circulation and Hemorrhage control
เป็นการประเมินในระบบไหลเวียนและการห้ามเลือด โดยประเมินจากสัญญาณชีพ ระดับความรู้สึกตัว สีผิว อุณหภูมิ รวมถึงปริมาณเลือดที่ออกจากบาดแผล
การประเมินในระบบต่างๆ สามารถประเมินได้ดังนี้
อาการทางระบบประสาท ประกอบด้วย ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการซึม เชื่องช้า สับสน บางราบมีอาการเอะอะ และสุดท้ายจะหมดสติ
ผิวหนัง ผู้ป่วยจะมีผิวหนังเย็น ชื้น เหงื่อออกมาก cyanosis ยกเว้น septic shock ที่ผิวหนังจะอุ่น สีชมพูในระยะแรก
หัวใจและหลอดเลือด Blood pressure มีความสำคัญเพราะแสดงถึงปริมาณเลือดออกจากหัวใจใน 1 นาที และแรงต้านของหลอดเลือดส่วนปลาย
ระบบหายใจ จะพบการหายใจเร็ว และไม่สม่ำเสมอ จาก Acidosis respiration
ระบบทางเดินปöสสาวะ ระยะแรกปัสสาวะจะลดลงเหลือ 30-50 ml./hr. และ 40 ml./hr. เมื่อเกิดภาวะไตวายปัสสาวะจะออกน้อยกว่า 20 ml./hr.
ระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะกระหายน้ำ น้ำลายน้อยลง ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน ลำไส้บวม และ
ไม่ได้ยิน bowel sound
ภาวะกรดด่างของร่างกาย ร่างกายจะเกิดการเผาผลาญแบบ anaerobic metabolism จนเกิดภาวะ acidosis metabolic ผู้ป่วยจะมีอาการซึม อ่อนเพลีย งุนงง สับสน ไม่รู7สึกตัว หายใจแบบ Kussmaual
การเสียเลือดที่มองไม่เห็นแล้วผู้ป่วยเกิดอาการ Shockตำแหน่งการเสียเลือดที่สำคัญ ได้แก่
ในช่องอก อาจทราบได้จากการตรวจร่างกาย การเอกซเรย์ปอด หรือการใส่ท่อระบาย
ในช่องท้องรวมทั้ง retroperitoneum ทราบได้โดยการทำ Diagnostic peritoneal lavage
ในอุ้งเชิงกราน เช่นใน Fracture pelvis หรือ Fracture femur
ที่ต้นขาซึ่งเป็นบริเวณที่มีเส้นเลือดขนาดใหญ่ เช่น Fracture femur
Disability: Neurologic Status
เป็นการประเมินระบบประสาทต่อว่าสมองหรือไขสันหลังได้รับบาดเจ็บหรือไม่ หลังจากดูแลผู้ป่วย Airway, Breathing, Circulation ที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
พยาบาลควรประเมินเริ่มประเมินจากระดับความรู้สึกตัวซึ่งอาจประเมินได้ตั้งแต่แรกรับผู้ป่วยพร้อม Airway อาจใช้Glasgow Coma Scale
Exposure / Environment control
ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหนัก ควรถอดเสื้อผ้าออกให้หมดเพื่อค้นหาการบาดเจ็บต่างๆ อื่นๆ ในผู้ป่วยที่บาดเจ็บหนักอาจใช้กรรไกรในการตัดเสื้อและกางเกงออก
ในขั้นตอนนี้จำเป็นต้องทำการพลิกตะแคงตัวผู้บาดเจ็บแบบท่อนซุง (Log roll)
การกู้ชีพ (Resuscitation)
การแก้ไขภาวะคุกคามต่อชีวิตหรือที่เป็นอันตรายเร่งด่วน โดยการกู้ชีพจะทำหลังจากการประเมิน เป็นลำดับของ ABC และสามารถทำไปพร้อมๆกับการประเมิน ดังนี้
Airway ภายหลังจากการประเมิน การทำ Definitive airway ในผู้บาดเจ็บที่มีปัญหาการหายใจ สามารถรักษาได่โดยการใส่ท่อช่วยหายใจ
Breathing ผู้บาดเจ็บทุกรายควรได้รับออกซิเจนเสริมหากไม่ได้ใส่ท่อช่วยหายใจ
Circulation การห้ามเลือดเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในผู้บาดเจ็บโดยทำร่วมกับการให้สารน้ำทดแทน
การให้สารน้ำและเลือด
อย่างน้อยควรเปิดหลอดเลือดดำด้วยเข็มขนาดใหญ่และสั้น 2 เส้น เบอร์ 18,16,14
หลีกเลี่ยงแทงเส้นใต้ตำแหน่งของแขนขาที่ได้รับบาดเจ็บ
กรณีสงสัยว่ามีเลือดออกในช่องท้อง หลีกเลี่่ยงการให้สารน้ำที่ขาเพราะจะทำให้สารน้ำไหลรั่วเข้าช่องท้อง
ให้สารน้ำที่เป็น Balance salt solution
หากอาการทรุดลง ไม่ตอบสนองพิจารณาการให้เลือดกรุ๊ป โอ ซึ่งสามารถให้เลือดทุกหมู่ได้ตามแผนการรักษา
ไม่ควรให้เลือดร่วมกับ Lactated Ringer's solution, acetar สารน้ำดังกล่าวมีส่วนผสมของแคลเซียมเพราะจะทำให้เลือดอตกตะกอน
หลังได้รับสารน้ำหรือเลือดควรประเมินการตอบสนองต่อสารน้ำ
การประเมินสภาพร่างกายผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บอย่างละเอียด (Secondary Survey)
History
ประวัติและ Mechanism of Injury อาจได้จากตัวผู้ป่วยเอง หรือในกรณีที่ผู้บาดเจ็บไม่รู้สึกตัวอาจต้องสอบถามจาก Prehospital personnel
สอบถามโดยใช้ AMPLE
Allergies ประวัติการแพ้ยา สารเคมีหรือวัตถุต่างๆ
Medication ยาที่ใช้ในปัจจุบัน
Past illness/ Pregnancy การเจ็บป่วยในอดีตและการตั้งครรภ์
Last meal เวลาที่รับประทานอาหารครั้งล่าสุด
Event/ Environment related to injury อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร รุนแรงเพียงใด
กลไกการบาดเจ็บเปfนสิ่งที่ทำให้สามารถคาดเดาลักษณะการบาดเจ็บของผู้ป่วยได้ ซึ่งการบาดเจ็บนั้นแบ่งออกเปfน
Blunt trauma ส่วนใหญเกิดจากอุบัติเหตุจราจร พลัดตกจากที่สูง
Penetrating trauma เกิดจากอาวุธปืน มีด ปัจจัยที่กำหนดชนิดและความรุนแรงของการบาดเจ็บอยู;ที่ตำแหน่งของร่างกายที่บาดเจ็บ
Physical Examination
Head ในการตรวจหนังศีรษะให้ใช้มือคลำให้ทั่วหนังศีรษะเพื่อหาบาดแผล อาจพบแผลฉีกขาด
Facial ควรคลำกระดูกใบหน้าให้ทั่วเพื่อหา deformity ที่อาจบ่งบอก facial fracture ได้เป็นส่วนใหญ่ บาดแผลบริเวณใบหน้าอาจมีการบาดเจ็บของกระดูกหน้าร่วมด้วย
Cervical spine and Neck ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวทุกรายที่มีการบาดเจ็บศีรษะควรคำนึงถึง cervical spine injury
Chest การตรวจจะเริ่มจากการมองหารอยช้ำ รอยยุบ คลำดูว่ามี Crepitus หรือเจ็บที่จุดใด โดยตรวจให้ทั่วทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
การฟังเสียงหายใจว่าหน้าอกสองข้างเท่ากันหรือไม่มีประโยชน์ในการวินิจฉัยภาวะ Pneumothorax และ Hemothorax
Media sternum กว้างบ่งว่าอาจมีการบาดเจ็บของหลอดเลือดในช่องอก (Rupture Aorta)
กะบังลมยกสูงผิดปกติหรือเห็นเงากระเพาะอาหารในช่องอก บ่งว่าผู้ป่วยกะบังลมฉีกขาด
เงาอากาศในช่องท้องใต้กะบังลมบ่งชี้ว่ามีการบาดเจ็บของกระเพาะอาหารหรือลำไส้
Abdomen ในผู้ป่วยที่บาดเจ็บและเกิดภาวะ Shock ให้สงสัยการบาดเจ็บในช่องท้องและมีการเสียเลือดเกิดขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยที่บาดเจ็บอาจเกิดการบาดเจ็บหลายระบบ
Musculoskeletal and Peripheral vascular assessment การบาดเจ็บแขนขาจะประเมินบาดแผล การหักงอ บวมผิดรูป ประเมินจุดที่เจ็บ การเคลื่อนไหว คลำ Crepitus
Pelvic fracture จะตรวจพบ Ecchymosis บริเวณ Iliac wing, Pubis, Labia หรือ Scrotum และเมื่อตรวจ Pelvic compression ผู้ป่วยจะมี pain on palpation และมี sign of unstability
Neurological system เปfนการตรวจระบบประสาทและสมองอย่างละเอียด ประเมิน motor, sensory และต้อง Reevaluation ระดับความรู้สึกตัว
Reevaluation
ในระยะแรกที่ดูแลผู้ป่วยที่บาดเจ็บ ควรมีการประเมินร่างกายซ้ำเป็นระยะๆ เพื่อประเมินหาการบาดเจ็บที่อาจตรวจไม่พบในระยะแรก และเป็นการติดตามการเปลี่ยนแปลงอาการของผู้ป่วย
การรักษาผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บภายหลังได้รับการช่วยเหลือขั้นต้นแล้ว (Definitive Care)
เป็นการรักษาอย่างจริงจังหลังจากได้ทำ secondary survey เรียบร้อยแล้ว เพื่อแก้ไขพยาธิสภาพโดยตรง
เป็นการรักษาจำพาะของการบาดเจ็บแต่ละอวัยวะ ได้แก่การผ่าตัดเพื่อแก้ไขภาวะฉุกเฉินต่างๆ