Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต -…
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต
การแจ้งข่าวร้าย(Breaking a bad news)
การแจ้งข่าวร้าย(Breaking a bad news)
ข้อมูลที่ทําให้เกิดความรู้สึกหมดความหวัง มีผลกระทบต่อความรู้สึก การดําเนินชีวิต และอนาคตของบุคคลนั้น ข้อมูลที่เป็นข่าวร้าย
ผู้แจ้งข่าวร้าย
ต้องได้รับการฝึกฝนและมีประสบการณ์วิธีการแจ้งข่าวร้าย มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับแผนการรักษา ผลการรักษาและการดําเนินโรค รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ปฏิกิริยาจากการรับรู้ข่าวร้าย
ระยะปฏิเสธ (Denial)
รู้สึกตกใจ ช็อคและปฏิเสธสิ่งที่ได้รับรู้ไม่เชื่อ ไม่ยอมรับความจริง ไม่เชื่อผลการรักษา และอาจขอย้ายสถานที่รักษา
ระยะโกรธ (Anger)
อารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว และต่อต้าน
ระยะต่อรอง (Bargaining)
ต่อรองกับตัวเอง คนรอบข้าง หรือแม้กระทั่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ระยะซึมเศร้า (Depression)
ออกห่างจากสังคมรอบข้าง เบื่อหน่าย เก็บตัว ไม่ค่อยพูดคุย ถามคําตอบคํา ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม หรืออาจร้องไห้ หงุดหงิดง่าย คิดหมกมุ่นเกี่ยวกับความตาย
5.ระยะยอมรับ (Acceptance)
ปรับตัว และเรียนรู้เพื่อให้ดําเนินชีวิตต่อไปได้
การพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว
รับฟังผู้ป่วยและญาติด้วยความตั้งใจ
ให้ความช่วยเหลือประคับประคองจิตใจ
ในระยะโกรธ ควรยอมรับพฤติกรรมทางลบของผู้ป่วยและญาติโดยไม่ตัดสิน ให้โอกาสในการระบาย
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อมูล การดําเนินโรค แนวทางการรักษา
อธิบายให้ทราบถึงสิ่งที่กําลังจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ให้ข้อมูลที่เป็น
สะท้อนคิดให้ครอบครัวค้นหาเป้าหมายใหม่ในชีวิตอย่างมีความหมาย
8 จัดการกับอาการที่รบกวนผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับความสุขสบาย
ให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยและญาติว่า แพทย์และทีมสุขภาพทุกคนจะให้การดูแลอย่างดีที่สุด
ทําหน้าที่แทนผู้ป่วยในการเรียกร้อง ปกป้องผู้ป่วยให้ได้รับประโยชน์ และปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการรักษา
ช่วยเหลือในการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาตามความเชื่อ
ให้การช่วยเหลือในการจัดการสิ่งที่ค้างคาในใจ เพื่อให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
สัมพันธภาพทางสังคมไม่เหมาะสม เนื่องจากไม่สามารถยอมรับความเจ็บป่วยรุนแรงได้
มีภาวะซึมเศร้าเนื่องจากไม่สามารถแสดงบทบาทหัวหน้าครอบครัวได้จากการเจ็บป่วยรุนแรง
มีความเครียดสูงเนื่องจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรง
-ไม่สามารถยอมรับสภาพความเป็นจริงเมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
-หมดกําลังใจในการต่อสู้กับโรคที่เป็นเนื่องจากไม่มีความหวังในการรักษา
ท้อแท้ ผิดหวังต่อโชคชะตาเนื่องจากคิดว่าถูกพระเจ้าลงโทษหรือไม่ได้รับความช่วยเหลือจากสิงศักดิ์สิทธิ์
กลัวตาย
การเผชิญปัญหาและการปรับตัวของครอบครัวไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากครอบครัวต้องเผชิญกับการเจ็บป่วยรุนแรงของผู้ป่วย
-เศร้าโศกทุกข์ใจเนื่องจากสูญเสียบุคคลที่มีความสําคัญต่อตน
-หวาดกลัวต่อสิ่งต่างๆเนื่องจากขาดสิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต
มโนทัศน์เกี่ยวกับการเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย
ผูู้ที่อยู่ในระยะท้ายของโรค และไม่สามาถบําบัดรักษาเพื่อให้หายขาดได้โดยเป้าหมายของการรักษาจะปรับเปลี่ยนเป็นการดูแลแบบประคับประคอง
แนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
แนวคิดการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care)
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบองค์รวมโดยครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ โดยยึดตามความเชื่อทางด้านศาสนา วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติของผู้ป่วยและครอบครัวเป็นสําคัญเป็นการทํางานเป็นทีมแบบสหวิชาชีพ โดยมีผู้ป่วยและครอบครัวเป็นศูนย์กลาง ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญและผ่านพ้นช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตอย่างสงบ สบาย พร้อมด้วยศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
แนวคิดการดูแลตามทฤษฎีความสุขสบาย (comfort theory)
เน้นความสุขสบายที่เป็นผลลัพธ์ของการพยาบาล เป็นภาวะที่บุคคลได้รับความต้องการทันทีเพื่อบรรเทา (relief) สงบ ผ่อนคลาย (ease)
กิจกรรมการพยาบาล
1 มาตรฐานการพยาบาลเพื่อความสุขสบาย เพื่อรักษาความสมดุลของร่างกาย (Homeostasis) ควบคุมความปวดและความไม่สุขสบายต่างๆ
2.การสอน แนะนํา เป็นพี่เลี้ยง (coaching) ได้แก่ ให้กําลังใจ ให้ข้อมูล ความหวัง ชี้แนะ รับฟังและช่วยเหลือเพื่อวางแผนฟื้นฟูสภาพ
3.อาหารด้านจิตวิญญาณ (comfort food for the soul) เป็นสิ่งที่พยาบาลกระทําแสดงถึงการดูแลใส่ใจ เอื้ออาทร และสร้างความเข้มแข็งด้านจิตวิญญาณ
4.การดูแลแบบประคับประคองมุ่งให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบหรือ ตายดี (Good death) ให้ช่วงท้ายของชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย
ประเด็นจริยธรรมที่สําคัญในการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต การเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย
1.การุณยฆาตหรือ ปราณีฆาต หรือ เมตตามรณะ(mercy killing or euthanasia)
การทําการุณยฆาตโดยความสมัครใจ (Voluntaryeuthanasia)
ผู้ป่วยร้องขอให้ยุติการรักษาพยาบาล
การทําการุณยฆาตโดยที่ป่วยไม่สามารถตัดสินใจได้เอง
การทําให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตโดยเจตนา โดยปล่อยให้เกิดการตายตามธรรมชาติ
2.การยืดหรือการยุติการรักษาที่ยืดชีวิต
การยับยั้งการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบําบัดรักษา
การไม่เริ่มต้นใช้เครื่องมือช่วยชีวิต
การเพิกถอนการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบําบัดรักษา
การเพิกถอนเครื่องช่วยหายใจ
3.การฆ่าตัวตายโดยความช่วยเหลือของแพทย์ (Physician-assisted suicide)
การให้ความรู้ เครื่องมือ หรือวิธีการอื่นใดที่อาจทําให้ผู้นั้นสามารถฆ่าตัวตายได้สําเร็จ
4.การจัดสรรทรัพยากรที่มีจํานวนจํากัด
พิจารณาจากผลการรักษาว่ามีโอกาสประสบความสําเร็จเพียงใด คุ้มค่ากับการรักษาหรือไม่คํานึงถึงผลประโยชน์ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางให้มีประโยชน์มากที่สุด
5.การบอกความจริง(Truth telling)
แพทย์ควรบอกให้ผู้ป่วยและญาติทราบเพื่อการเตรียมตัวเตรียมใจ จัดการภาระค้างอยู่ให้เรียบร้อย และผู้ป่วยอาจจะยังมีสติ
6.การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ(Organ transplantation)
ต้องพิจารณาเกี่ยวกับ โอกาสรอดชีวิตหลังผ่าตัด ระยะเวลาการมีชีวิตอยู่หลังผ่าตัด แหล่งที่มาของอวัยวะ
แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางจริยธรรม
ให้ความรู้แก่พยาบาลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
คำนึงถึงสิทธิและหน้าที่ของพยาบาล
จริยธรรมสําหรับการทํางานของทีมสุขภาพ โดยมีความเคารพซึ่งกันและกัน รู้จักขอบเขตหน้าที่ของตน
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต (End of life care in ICU)
มีการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤตน้อยกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
ผู้ป่วยที่มีอาการไม่สุขสบายและไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมมากกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
มีการสื่อสารในหัวข้อแผนการรักษาน้อยกว่าผู้ป่วยอื่นในโรงพยาบาล
ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตและทั่วไป
Professional culture
การตายของผู้ป่วยอาจทําให้ทีมสุขภาพรู้สึกว่าเป็นความล้มเหลว
ความคาดหวังของผู้ป่วยและครอบครัว
ความไม่แน่นอนของอาการ
Multidisciplinary team
แพทย์แต่ละสาขามุ่งเน้นในการรักษาอวัยวะที่ตนรับผิดชอบ อาจทําให้ไม่ได้มองผู้ป่วยแบบองค์รวม
ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤติมีอาการไม่สุขสบายหลายอย่างและมีแนวโน้มถูกละเลย
ทรัพยากรมีจํากัด
ควรพิจารณาใช้กับผู้ป่วยที่มีโอกาสจะรักษาให้อาการดีขึ้นได้
สิ่งแวดล้อมในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
มักจะพลุกพล่าน วุ่นวาย มีเสียงสัญญาณเตือนดังเกือบตลอดเวลา
หลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติ
1.ทีมสุขภาพที่ทํางานในไอซียูเป็นผู้เริ่มลงมือด้วยตนเอง
2.การปรึกษาทีม palliative care ของโรงพยาบาลนั้น ๆ มาร่วมดูแลในผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์
3.การดูแลแบบผสมผสาน
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย
1.การประเมินสภาพ
การประเมินอาการทางร่างกายได้แก่ประเมินอาการไม่สุขสบาย ความสามารถในการทํากิจกรรมของผู้ป่วย อาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยระยะสุดท้าย
การประเมินด้านจิตใจ ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายจะมีความผิดปกติทางด้านจิตใจ
การประเมินด้านสังคม
การประเมินด้านจิตวิญญาณ
การประเมินระดับPalliative Performance Scale (PPS)
วัดจากความสามารถ 5 ด้านของผู้ป่วย คือ ความสามารถในการเคลื่อนไหว กิจกรรมและความรุนแรงของโรค การดูแลตนเอง การกินอาหาร และความรู้สึกตัว
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย
1.การสื่อสาร
การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสามารถลดความไม่สุขสบายใจ ลดการเกิดความไม่พอใจของครอบครัว และยังสามารถเพิ่มความเพิ่งพอใจในการให7บริการ
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
การช่วยเหลือดูแลทางกายตามอาการ
อาการปวด
อาการท้องผูก
เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
อาการปากแห้งเจ็บในปาก กลืนลําบาก
อาการท้องมานหรือบวมในท้อง
อาการไอ
อาการหอบเหนื่อย หายใจลําบาก
อาการกลั้นปnสสาวะไม่ได้
อาการบวม
อาการคัน
การเกิดแผลกดทับ
การดูแลทั่วไป
การดูแลด้านอารมณ์และสังคมของผู้ป่วยและครอบครัว (Psychosocial care)
ช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับความตายที่จะมาถึง
ช่วยให้จิตใจจดจ่อกับสิ่งดีงาม
การช่วยปลดเปลื้องสิ่งที่ค้างคาใจ
แนะนําให้ผู้ป่วยปล่อยวางสิ่งต่าง
สร้างบรรยากาศที่สงบและเป็นส่วนตัว
การดูแลด้านจิตวิญญาณผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัว
ประเมินและบันทึกความต้องการทางจิตวิญญาณในระหว่างการดูแลเป็นระยะ
สนับสนุนให้มีสถานที่หรือกิจกรรมส่งเสริมด้านจิตวิญญาน
สอบถามและส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติตามศรัทธาความเชื่อ
ดูแลให้ได้รับการประชุมครอบครัว (Family meeting)
สร้างความเข้าใจที่ดีระหว่างทีมสุขภาพกับผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับโรคและระยะของโรครวมไปถึงการดําเนินโรคและการพยากรณ์โรคแนวทางของการดูแลผู้ป่วยในอนาคต รวมทั้งประเมินความต้องการด้านอื่นๆของผู้ป่วย
การดูแลให้ผู้ป่วยและญาติเข้าถึงการวางแผนการดูแลล่วงหน้า (Advance Care Planning [ACP])
Living will หรือพินัยกรรมชีวิต
Proxyคือ บุคคลใกล้ชิดที่ผู้ป่วยมอบหมายให้มีอํานาจตัดสินใจในเรื่องการดูแลทางการแพทย์
การดูแลผู้ป่วยที่กําลังจะเสียชีวิต (manage dying patient)
ทําการปลดเครื่องติดตามสัญญาณชีพต่าง ๆ
ยุติการเจาะเลือด
ควรปลดประตูหรือปลดม่านให้มิดชิด
ทำความสะอาดใบหน้า ช่องปาก และร่างกายผู้ป่วย
ยุติการรักษาที่ไม่จําเป็น
นําสายต่าง ๆ ที่ไม่จําเป็นออก
ให้คงไว้เพียงการรักษาที่มุ่งเน้น
ให้คุมอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
ควรทําการยุติการให้ผู้ป่วยได้รับยาหย่อนกล้ามเนื้อ
ให้ยาที่มักจําเป็นต้องได้
อธิบายครอบครัวถึงอาการต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
ประเมินความสุขสบายของผู้ป่วย
การดูแลจิตใจครอบครัวผู้ป่วยต่อเนื่อง (bereavement care)
อ้างอิง
กิตติกร นิลมานัต. (2563). หลักการพยาบาลผู้ป่วยที่อยู่ในระยะท้ายและใกล้ตาย. ใน กันตพร ยอดไชย, ทิพมาส ชิณวงศ์, เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์(บรรณาธิการ),การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุทางอายุรศาสตร์ 2เล่ม 2(หน้า 51-68).สงขลา: บริษัทนีโอพ้อยท์ (1995)จํากัด.