Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต…
บทที่ 4 ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต
การแจ้งข่าวร้าย (Breaking a bad news)
ผู้แจ้งข่าวร้าย
ต้องได้รับการฝึกฝนและมีประสบการณ์วิธีการแจ้งข่าวร้าย
มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับแผนการรักษา ผลการรักษา และการดําเนินโรค รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
การแจ้งข่าวรร้ายแก่ผู้ป่วยหรือญาติจึงเป็นหน้าที่สําคัญของแพทย์
ในการแจ้งข่าวร้ายนั้นมีข้อพิจารณาที่แพทย์สามารถแจ้งแก่ญาติโดยไม่ต้องแจ้งแก่ผู้ป่วยโดยตรง
ปฏิกิริยาจากการรับรู้ข่าวร้าย
ระยะต่อรอง (Bargaining)
อาจจะรู้สึกว่าตนเองมีความผิดที่ยังไม่ได้ทำบางอย่างที่ค้างคา หรือยังไม่ได้พูดอะไรกับใคร จะต่อรองกับตัวเอง คนรอบข้างหรือแม้กระทั่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ปฏิกิริยา/ประเมินได้จากการพูด
“ฉันรู้ว่ามัน ร้ายแรง คงรักษาไม่หาย แต่ฉันอยาก....”
“อยากเห็นลูกเรียนจบก่อน”
ระยะที่ต่อรองความผิดหวังหรือข่าวร้ายที่ได้รับ การต่อรองมักจะแฝงด้วยความรู้สึกผิดไว้ด้วย
ระยะซึมเศร้า (Depression)
ระดับความรุนแรงขึ้นอยู่กับ ความเข้มแข็งของแต่ละบุคคลและสภาพแวดล้อมของแต่ละบุคคล
ปฏิกิริยา/การแสดงออกอาจมีหลายลักษณะ
ไม่ค่อยพูดคุย ถามคําตอบคํา
เบื่อหน่าย เก็บตัว
ออกห่างจากสังคม รอบข้าง
ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม
อาจร้องไห้ หงุดหงิดง่าย
คิดหมกมุ่นเกี่ยวกับความตาย
คิดว่าตนไร้ค่า ไม่มีความหมาย
มีการบกพร่องในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวัน และหน้าที่การงาน
เมื่อผ่านระยะปฏิเสธ เสียใจ หรือระยะต่อรองไปสักระยะ ผู้ป่วยและญาติจะเริ่มรับรู้ว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ความรู้สึกซึมเศร้าจะเริ่มเกิดขึ้น
ระยะโกรธ (Anger)
ความโกรธเป็นภาวะธรรมชาติ และเป็นการเยียวยาความรู้สึกที่เกิดจากสูญเสีย หรือข่าวร้ายที่ได้รับ
ปฏิกิริยา
อารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว และต่อต้าน “ทําไมต้องเกิดขึ้นกับเรา” “ไม่ยุติธรรมเลย ทําไมต้องเกิดกับเรา”
ถ้าแพทย์หรือผู้เกี่ยวข้องไม่เข้าใจ ก็อาจจะโกรธตอบ และหลีกเลี่ยงการเข้าไปดูแล
5.ระยะยอมรับ (Acceptance)
ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งซับซ้อน อาจไม่ตรงไปตรงมา บางระยะอาจจะสั้นหรือนานไม่แน่นอน ระยะต่างๆอาจเกิดเรียงตามลําดับหรือสลับไปมา
ปฏิกิริยาที่เกิดหากได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างเข้าใจและถูกต้อง จะช่วยให้ผู้ป่วยและญาติมีการปรับตัว เปลี่ยนผ่า และเผชิญปัญหาได้อย่างเหมาะสม
เป็นปฏิกิริยาระยะสุดท้าย เริ่มยอมรับสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง อารมณ์เจ็บปวดหรือซึมเศร้าดีขึ้นและมองเหตุการณ์อย่างพิจารณามากขึ้น มองเป้าหมายในอนาคตมากขึ้น ปรับตัวและเรียนรู้เพื่อให้ดําเนิน ชีวิตต่อไปได้
หลังจากที่แพทย์แจ้งข่าวร้ายแก่ผู้ป่วยและญาติโดยการ ประชุมครอบครัว (Family meeting) แล้ว พยาบาลมีบทบาทดังนี้
สะท้อนคิดให้ครอบครัวค้นหาเป้าหมายใหม่ในชีวิตอย่างมีความหมาย ซึ่งความหมายของชีวิตจะช่วยให้ครอบครัวใช้ชีวิตต่อไปอย่างมีคุณค่าและมีความหมายในหนทางที่เป็นจริง
จัดการกับอาการที่รบกวนผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับความสุขสบาย ควบคุมความปวด และช่วยเหลือในสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ และส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนช่วยในการดูแลผู้ป่วย
ให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยและญาติว่าแพทย์ และทีมสุขภาพทุกคนจะให้การดูแลอย่างดีที่สุด
ทําหน้าที่แทนผู้ป่วยในการเรียกร้อง ปกป้องผู้ป่วยให้ได้รับประโยชน์และปกป้องศักดิ์ศีรความเป็นมนุษย์ ตามหลักจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล
ให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการรักษา
ช่วยเหลือในการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาตามความเชื่อ เพื่อให้ผู้ป่วยมีความผาสุกทางจิตใจ เผชิญกับสิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
ให้การช่วยเหลือในการจัดการสิ่งที่ค้างคาในใจ เพื่อให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ
ในระยะโกรธ ควรยอมรับพฤติกรรมทางลบของผู้ป่วยและญาติโดยไม่ตัดสิน ให้โอกาสในการระบาย ความรู้สึกไม่บีบบังคับให้ความโกรธลดลงในทันที
ให้ความช่ววเหลือประคับประคองจิตใจให้ผ่านระยะเครียดและวิตกกังวล
อธิบายให้ทราบถึงสิ่งที่กําลังจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยให้ข้อมูลที่เป็นความจริงเกี่ยวกับพยาธิสรีรวิทยาของโรค การดําเนินโรค อาการที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อมูล การดําเนินโรค แนวทางการรักษา
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว ประเมินการรับรู้ของครอบครัวสอบถามความรู้สึกและความ ต้องการการช่วยเหลือ
รับฟังผู้ป่วยและญาติด้วยความตั้งใจ เห็นใจ เปิดโอกาสให้ได้ซักถามข้อสงสัย
ระยะปฏิเสธ (Denial)
ปฏิกิริยา
รู้สึกตกใจ ช็อคและปฏิเสธสิ่งที่ได้รับรู้ไม่เชื่อ
ไม่ยอมรับความจริง ไม่เชื่อผลการรักษา
อาจขอย้ายสถานที่รักษา อาจพูดในลักษณะ “ไม่จริงใช่ไหม” หรือ “คุณหมอแน่ใจรึเปล่าว่าผลการตรวจถูกต้อง”
เป็นระยะแรกหลังจากผู้ป่วยและญาติรับทราบข้อมูล
ความหมาย
ข้อมูลที่ได้รับจะเป็นข่าวร้ายรุนแรงเพียงใดขึ้นอยู่กับการแปลผลข้อมูลของผู้ป่วยและญาติ ซึ่งสัมพันธ์กับความคาดหวังและความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ความเชื่อและวัฒนธรรม ข่าวร้ายที่พบได้ในผู้ป่วยวิกฤต
ผลเลือดเป็นบวกหรือติดเชื้อ HIV
เป็นมะเร็งระยะลุกลามไม่สามารถรักษาได้
การ ได้รับการเจาะคอ การใส่ท่อช่วยหายใจซำ้
การสูญเสียญาติหรือคนเป็นที่รัก
การเกิดโรคแทรกซ้อนที่อาจทําให้เสียชีวิต
ข่าวร้าย คือ ข้อมูลที่ทําให้เกิดความรู้สึกหมดความหวัง มีผลกระทบต่อความรู้สึก การดําเนินชีวิต และอนาคตของบุคคลนั้น ข้อมูลที่เป็นข่าวร้าย
การกลับเป็นซำ้ของโรค
ความพิการ การสูญเสียภาพลักษณ์ของตัวเอง
การลุกลามของโรคไม่ตอบสนองต่อการรักษา
การเสียชีวิต
การเป็นโรครุนแรงหรือรักษาไม่หาย
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต (End of life care in ICU)
มโนทัศน์เกี่ยวกับการเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย
การดูแลแบบประคับประคอง
palliative care ไม่ใช่การเร่งการตาย ไม่ยื้อความตาย ไม่ใช่การุณฆาต แต่เป็นการยอมรับสภาวะที่เกิดขึ้นและยอมให้ผู้ป่วยเสียชีวิตตามธรรมชาติ
ตามคํานิยาม WHO คือ “วิธีการดูแลที่มุ่งเน้นเป้าหมายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยที่มีโรคหรือภาวะคุกคามต่อชีวิต
การดูแลระยะท้าย (End of life care)
การดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในระยะท้ายของโรคโดยใช้หลักการ ดูแลแบบประคับประคองเป็นแนวทางการให้บริการ
ภาวะใกล้ตาย
การทําหน้าที่ของอวัยวะสําคัญของร่างกายลดลงหรือล้มเหลว และมีค่าคะแนน Palliative performance scale (PPS) น้อยกว่า 30
ผู้ที่เข้าสู่ช่วงใกล้เสียชีวิต มีอาการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายมากขึ้น
การเจ็บป่วยระยะท้าย
มีการดําเนินโรคลุกลามอย่างมาก ทําให้การทําหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายไม่สามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติ
แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นผู้ที่อยู่ในระยะท้ายของโรค และไม่สามาถบําบัดรักษาเพื่อให้หายขาดได้โดยเป้าหมายของการรักษาจะปรับเปลี่ยนเป็นการดูแลแบบประคับประคอง
ภาวะบุคคลอยู่ในภาวะความเจ็บป่วยที่คุกคามต่อชีวิต
แนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
แนวคิดการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care)
การดูแลตามแนวคิดนี้จึงเป็นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบองค์รวมโดยครอบคลุมทั้งด้าน
จิตใจ
สังคม
ร่างกาย
และจิตวิญญาณ
ยึดตามความเชื่อทางด้านศาสนา วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียม ประเพณีปฏิบัติของผู้ป่วยและครอบครัวเป็นสําคัญ
การทํางานเป็นทีมแบบสหวิชาชีพ โดยมีผู้ป่วยแล ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
แนวคิดการดูแลตามทฤษฎีความสุขสบาย (comfort theory)
เป้าหมายของทฤษฎีเน้นความสุขสบายที่
เป็นผลลัพธ์ของการพยาบาล
2) ความสงบ ผ่อนคลาย (ease)
3) อยู่เหนือปัญหา (transcendence)
1) บรรเทา (relief)
กิจกรรมการดูแลที่ส่งเสริมความสุขสบายของผู้ป่วยและครอบครัวตามทฤษฎี
การสอนแนะนํา เป็นพี่เลี้ยง (coaching)
ให้ข้อมูลความหวัง
ชี้แนะ รับฟัง
ให้กำลังใจ
ช่วยเหลือเพื่อวางแผนฟื้นฟูสภาพ
อาหารด้านจิตวิญญาณ (comfort food for the soul) เป็นสิ่งที่พยาบาลกระทําแสดงถึงการดูแล ใส่ใจ เอื้ออาทร และสร้างความเข้มแข็งด้านจิตวิญญาณ
การนวด
จินตบำบัด
มาตรฐานการพยาบาลเพื่อความสุขสบาย เพื่อรักษาความสมดุลของร่างกาย (Homeostasis) ควบคุมความปวดและความไม่สุขสบายต่างๆ
การดูแลแบบประคับประคองมุ่งให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบหรือ ตายดี (Good death) ให้ช่วงท้าย ของชีวิตอยู่อย่ามีความหมาย บุคคลในครอบครัวได้มีโอกาสอําลากันและกัน ความเจ็บปวดทางกายและทาง ใจลดลง รวมทั้งผู้ดูแลต้องสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ป่วยและครอบครัวเพื่อการตายอย่างสงบ
ประเด็นจริยธรรมที่สําคัญในการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต
การเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย
การจัดสรรทรัพยากรที่มีจํานวนจํากัด
การจัดสรรทรัพยากรจึงควรคํานึงถึงการเกิดประโยชน์มากที่สุด ความจําเป็นของบุคคล มีความเสมอภาค อายุ พิจารณาจากผลการรักษาว่ามีโอกาสประสบความสําเร็จเพียงใด คุ้มค่ากับการรักษาหรือไม่ คํานึงถึงผลประโยชน์ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางให้มีประโยชน์มากที่สุดและยุติธรรม
ผู้ป่วยวิกฤตมักจะเกิดความล้มเหลวของอวัยวะต่างๆในหลายระบบจึงต้องอาศัยเครื่องมือทางการแพทย์และทรัพยากรอื่นๆทางการแพทย์มาช่วยชีวิตไว้
การบอกความจริง (Truth telling)
แพทย์ควรบอกให้ผู้ป่วยและญาติทราบเพื่อการเตรียมตัวเตรียมใจ จัดการภาระค้างอยู่ให้เรียบร้อย และผู้ป่วยอาจจะยังมีสติและเวลาในการทําพินัยกรรมก่อนตาย
ทางเลือกสําหรับการบอกความจริงได้แก่
1) การบอกความจริงทั้งหมด
2) การบอกความจริงบางส่วน
3) การหลอกลวง
4) การประวิงเวลาการบอกความจริง
การยืดหรือการยุติการรักษาที่ยืดชีวิต
การเพิกถอนการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบําบัดรักษา (withdrawal of life-sustaining treatment)
การเพิกถอนใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบําบัดรักษา เช่น การเพิกถอนเครื่องช่วยหายใจ
การยับยั้งการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบําบัดรักษา (withholding of life-sustaining treatment)
การไม่เริ่มต้นใช้เครื่องมือช่วยชีวิต
การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ (Organ transplantation)
ระยะเวลาการมีชีวิตอยู่หลังผ่าตัด
แหล่งที่มาของอวัยวะ
โอกาสรอดชีวิตหลังผ่าตัด
การุณยฆาต หรือ ปราณีฆาต
แบ่งได้ 2 ประเภท
การทําการุณยฆาตโดยผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจได้เอง (Involuntaryeuthanasia)
การทําการุณยฆาตโดยความสมัครใจ (Voluntaryeuthanasia)
เป็นการทําให้ผู้ป่วยที่หมดหวังจากการรักษาไม่สามารถคืนสู่สภาพปกติและต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคร้ายได้พบกับความตายอย่างสง
3.การฆ่าตัวตายโดยความช่วยเหลือของแพทย์
การฆ่าตัวตายโดยเจตนา และได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์
การฆ่าตัวตายเป็นเสมือนการตายตามความประสงค์ของตนเองซึ่งอาจจะเป็นการตายที่ดี แต่หากมองในมุมศาสนาในเรื่องของการฆ่าตัวตาย ย่อมแสดงถึงการตายที่ไมดี
การให้ความรู้เครื่องมือ หรือวิธีการอื่นใดที่อาจทําให้ผู้นั้นสามารถฆ่าตัวตายได้สําเร็จ
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต (End of life care in ICU)
เป็นกระบวนการดูแลผู้ป่วยและตั้งเป้สหมายของการดูแล ตั้งแต่วันแรก สนับสนุนให้มีการทํา Family meeting เพื่อทราบความต้องการและสื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัว โดยมีสหวิชาชีพเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล
สังเกตเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายหรือ palliative care ในหอผู้ป่วยวิกฤต
2.ผู้ป่วยที่มีอาการไม่สุขสบายและไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมมากกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
มีการสื่อสารในหัวข้อแผนการรักษาน้อยกว่าผู้ป่วยอื่นในโรงพยาบาล
มีการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤตน้อยกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตและทั่วไป
Multidisciplinary team
ถ้าไม่มีแพทย์ท่านใดดูแลผู้ป่วยเป็นองค์รวม
มีความเป็นไปได้สูงที่ผู้ป่วยจะไม่ได้รับการดูแลแบบ palliative care
ในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติมีทีมแพทย์ที่ดูแลรักษาร่วมกันมากกว่า 1 สาขา
ส่งผลให้แพทย์แต่ละสาขามุ่งเน้นในการรักษาอวัยวะที่ตนรับผิดชอบ
ทำให้ไม่ได้มองผู้ป่วยแบบองค์รวม
ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤติมีอาการไม่สุขสบายหลายอย่างและมีแนวโน้มถูกละเลย
ความไม่แน่นอนของอาการ
การรักษาในไอซียูผู้ป่วยมีโอกาสที่จะดีขึ้นแล้วกลับไปทรุดลงได้หลายครั้ง
อาจส่งผลให้ผู้ป่วย ครอบครัว และทีมสุขภาพอาจเข้าใจว่าเมื่อแย่ลงก็จะสามารถกลับมาดีขึ้นเหมือนเดิมได้ ซึ่งอาจจะไม่เป็นความจริงเสมอไป
ทรัพยากรมีจํากัด
การใช้จึงควรพิจารณาใช้กับผู้ป่วยที่มีโอกาสจะรักษาให้อาการดีขึ้นได้
ความคาดหวังของผู้ป่วยและครอบครัว
ผู้ป่วยที่เข้ารักษาในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติมักขาดการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับภาวะสุขภาพที่ทรุดลงอย่างเฉียบพลัน ส่งผลให้มีความคาดหวังสูงที่จะดีขึ้นจากภาวการณ์เจ็บป่วยที่รุนแรง
การที่ผู้ป่วยมีอาการทรุดลงจากเดิม หรือมีโอกาสเสียชีวิตสูง เป็นสิ่งที่ทําให้ญาติเสียใจมาก และมีแนวโน้มที่จะไม่ต้องการการรักษาแบบ palliative care
สิ่งแวดล้อมในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
ไม่เหมาะกับการเป็นสถานที่สุดท้ายก่อนผู้ป่วยจะจากไป
สิ่งแวดล้อมในไอซียูส่วนใหญ่มักจะพลุกพล่านวุ่นวาย
Professional culture
บุคลากรของทีมสุขภาพที่ทํางานอยู่ในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติจะคุ้นชินกับการรักษาผู้ป่วยเพื่อมุ่งให้มีชีวิตรอดพ้นจากภาวะวิกฤต
การตายของผู้ป่วยอาจทําให้ทีมสุขภาพรู้สึกว่าเป็นความล้มเหลว
หลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติ
การปรึกษาทีม palliativecare ของโรงพยาบาลนั้นๆ
มาร่วมดูแลในผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์
Status post cardiac arrest
Diagnosis of intracerebral hemorrhage requiring mechanical ventilation
diagnosis of active stage IV malignancy (metastatic disease)
Terminal dementia
Multi-system/organ failure at least three systems
Surprise question "No"
CU admission after hospital stay at least 10 days
การดูแลแบบผสมผสาน
หลักการพยาบาลแบบองค์รวมที่ผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออกสําหรับผู้ป่วยวิกฤตระยะท้ายและใกล้ตายโดย
การคงไว้ซึ่งหน้าที่ของอวัยวะที่สําคัญของร่างกายป้องกันภาวะแทรกซ้อนและการฟื้นฟูสภาพ
การดูแลด้านจิตสังคมของผู้ป่วยและญาติ
การรักษาชีวิตและการบรรเทาความทุกข์ทรมาน
การดูแลแบบผสมผสานและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาตะวันออก
1) ระบบการแพทย์เฉพาะ
แพทย์แผนจีน
แพทย์แผนไทย
2) การผสมผสานกายจิต
ทำสมาธิ
โยคะ
สวดมนต์
3)อาหารและสมุนไพร เช่น อาหารสุขภาพ
4) พลังบําบัด
โยเร
สัมผัสบําบัด
ทีมสุขภาพที่ทํางานในไอซียูเป็ผู้เริ่มลงมือด้วยตนเอง
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
การสื่อสาร
การประเมินความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย
การดูแลด้านอารมณ์และสังคมของผู้ป่วยและครอบครัว (Psychosocial care)
ช่วยให้จิตใจจดจ่อกับสิ่งดีงาม
การช่วยปลดเปลื้องสิ่งที่ค้างคาใจ
ช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับความตายที่จะมาถึง
แนะนําให้ผู้ป่วยปล่อยวางสิ่งต่างๆ ผู้ป่วยมักยังยึดติดกับบางสิ่งบางอย่าง ทําให้เกิดความกังวลควบคู่กับความกลัวที่จะต้องพลัดพรากสิ่งอันเป็นที่รัก
สร้างบรรยากาศที่สงบและเป็นส่วนตัว
การดูแลทั่วไป
การดูแลความสะอาดร่างกาย
รับสารน้ําอย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
การพักผ่อนนอนหลับ ควรจัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด สงบ ลดการกระตุ้นที่รบกวนผู้ป่วย
การดูแลด้านจิตวิญญาณผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัว
สอบถามและส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติตามศรัทธาความเชื่อเพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีความสงบผ่อนคลายในระยะสุดท้าย
สนับสนุนให้มีสถานที่หรือกิจกรรมส่งเสริมด้านจิตวิญญาณ
ประเมินและบันทึกความต้องการทางจิตวิญญาณในระหว่างการดูแลเป็นระยะ
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่างๆ
จุดประสงค์ของการใช้ PPS
3.ใช้เป็นเกณฑ์การเลือกผู้ป่วยเพื่อเข้าดูแลในสถานที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Hospice)
4.ใช้บอกความยากของภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์และครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย
5.ใช้ในการวิจัย
2.เพื่อประเมินพยากรณ์โรคอย่างคร่าวๆและติดตามผลการรักษา
1.เพื่อสื่อสารอาการปัจจุบันของผู้ป่วยระหว่างบุคลากรในทีมที่ร่วมกันดูแลผู้ป่วย เพื่อให้มองเห็นภาพของผู้ป่วยและการพยากรณ์โรคไปในแนวทางเดียวกัน
ดูแลให้ได้รับการประชุมครอบครัว (Family meeting)
เป็นการให้ข้อมูลในการบรรเทาความเจ็บป่วยให้กับผู้ป่วยไ่ม่ว่าจะเป็นทางกายหรือทางใจตลอดจนทางด้านการดูแลด้านจิตวิญญาณ
การประชุมครอบครัวเป็นกิจกรรมที่มีเป้าหมายสําคัญเพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีระหว่างทีมสุขภาพกับผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับโรคและระยะของโรครวมไปถึงการดําเนินโรคและการพยากรณ์โรค
การทําประชุมครอบครัวทุกครั้ง ควรมีการบันทึกไว้เพื่อเป็นหลักฐานทางการแพทย์และง่ายต่อการทบทวนเมื่อจําเป็นต้องมีการเปลี่ยนทีมผู้รักษา โดยข้อมูลที่ควรมีการบันทึกไว้
วัน เวลา สถานที่
ผู้ป่วยเข้าร่วมในการประชุมหรือไม่
สมาชิกที่เข้าร่วมประชุม ทั้งฝ่ายผู้ป่วยและทีมสุขภาพ
ผู้ป่วยมีพินัยกรรมชีวิต (advance directives) หรือมีการระบุ ผู้แทนสุขภาพ (proxy) มาก่อนหรือไม่
สมาชิกครอบครัวที่เข้าร่วมประชุม บุคคลใดคือผู้แทนสุขภาพ
ครอบครัวและผู้แทนทางสุขภาพ เข้าใจการพยากรณ์โรคของผู้ป่วย
อะไรคือคุณค่าการดํารงชีวิตของผู้ป่วย ลักษณะตัวตนของผู้ป่วยเป็นคนอย่างไร ความคาดหวังของครอบครัว สิ่งที่ครอบครัวกังวล
เป้าหมายการรักษา
การวางแผนการรักษา
การดูแลให้ผู้ป่วยและญาติเข้าถึงการวางแผนการดูแลล่วงหน้า (Advance Care Planning [ACP])
กระบวนการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่สุขภาพกับผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยทางการแพทย์ในอนาคต
Proxy
บุคคลใกล้ชิดที่ผู้ป่วยมอบหมายให้มีอํานาจตัดสินใจในเรื่องการดูแลทางการแพทย์ในวาระสุดท้ายของตน
Living will หรือพินัยกรรมชีวิต
หนังสือที่เกิดจากการพิมพ์หรือเขียน หรือแสดงเจตนาด้วยวาจาต่อแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สุขภาพ ญาติ หรือผู้ใกล้ชิด
เพื่อแสดงให้คนอื่นทราบว่าตนเองไม่าประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตนหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย
การดูแลผู้ป่วยที่กําลังจะเสียชีวิต (manage dying patient)
ทีมสุขภาพสามารถจัดสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วยวิกฤติให้สงบที่สุดที่พอจะเป็นไปได้ช่วงเวลานี้ควรให้ครอบครัวคนใกล้ชิดอยู่ด้วยเท่านั้น เพื่อให้ผู้ป่วยไม่ถูกรบกวน อาจเสนอพิธีทางศาสนาให้ผู้ป่วยและครอบครัว อํานวยความสะดวกจัดหาเก้าอี้ให้พอเพียงกับครอบครัว
การเตรียมตัวผู้ป่วย
ยุติการเจาะเลือด
ควรปิดประตูหรือปิดม่านให้มิดชิด
ทําการปิดเครื่องติดตามสัญญาณชีพต่างๆไม่ว่าจะเป็นเครื่องติดตามการเต้นหัวใจ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
ทําความสะอาดใบหน้า ช่องปาก และร่างกายผู้ป่วย
ยุติการรักษาที่ไม่จําเป็น
นําสายต่าง ๆ ที่ไม่จําเป็นออก
ให้คงไว้เพียงการรักษาที่มุ่งเน้น
ให้คุมอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
ควรทําการยุติการให้ผู้ป่วยได้รับยาหย่อนกล้ามเนื้อ (neuromuscular blocking agent) เนื่องจากเป็นยาที่บดบังความไม่สุขสบายของผู้ป่วย
ให้ยาที่มักจําเป็นต้องได้
อธิบายครอบครัวถึงอาการต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น และวิธีการจัดการช่วงเวลานี้
ประเมินความสุขสบายของผู้ป่วยและเป็นการทําให้ญาติมั่นใจว่าทีมสุขภาพไม่ได้ทอดทิ้งผู้ป่วย
1.การประเมินสภาพ
การประเมินด้านสังคม
2) ภาวะวิตกกังวล (Anxiety)
3) ภาวะสับสน (Delirium)
1) ภาวะซึมเศร้า (Depression)
การประเมินด้านจิตใจ ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายจะมีความผิดปกติทางด้านจิตใจ
เป้าหมายชีวิต
คุณค่าทางด้านจิตใจ ความเชื่อทางศาสนา
ความต้องการของผู้ป่วยในด้านจิตวิญญาณเกี่ยวข้องกับปรัชญาชีวิต
การประเมินอาการทางร่างกาย
ระบบหายใจ
ระบบประสาท
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ระบบการควบคุมหูรูด
ระบบขับถ่าย
ระบบทางเดินอาหาร
การประเมินด้านจิตวิญญาณ
3)ความต้องการของครอบครัว เพื่อค้นหาความต้องการที่สัมพันธ์กันระหว่างผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยบรรลุวัตถุประสงค์
4)ผู้ดูแลผู้ป่วย (Care giver) ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายมักต้องการกลับไปอยู่บ้าน อยู่ในสิ่งแวดล้อมเดิม ท่ามกลางคนที่รัก ผู้ดูแลและครอบครัวจะต้องเข้าใจและยอมรับความต้องการของผู้ป่วย การเตรียมผู้ดูแลเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้านจึงมีความจําเป็น
5)ที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม การประเมินเรื่องที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกําหนดความพร้อมในการรับผู้ป่วยกลับไปอยู่บ้าน
2)ความรักความผูกพันของผู้ป่วยกับสมาชิกในครอบครัว เมื่อผู้ป่วยทราบว่าตนเองต้องเสียชีวิตลง
6)เครือข่ายทางสังคมและการสนับสนุนทางสังคม ที่จะให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ
1)บทบาทของผู้ป่วยในครอบครัว โดยบทบาทจะส่งผลกระทบต่อภาวะจิตใจของสมาชิกในครอบครัวหรือศักยภาพในการจัดการปัญหาต่าง ๆ
การดูแลจิตใจครอบครัวผู้ป่วยต่อเนื่อง (bereavement care)
หลังจากที่ผู้ป่วยเสียชีวิตไปแล้วทีมสุขภาพอาจทําการแสดงความเสียใจต่อการสูญเสีย เป็นปกติที่ครอบครัวจะเสียใจกับการจากไปของผู้ป่วย
ไม่ควรพูดคําบางคํา เช่น “ไม่เป็นไร” “ไม่ต้องร้องไห้”
แต่ให้แสดงว่าการเสียใจกับการสูญเสียเป็นสิ่งปกติรวมถึงอาจมีเอกสารคําแนะนําการดูแลร่างกายและจิตใจผู้สูญเสีย
แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางจริยธรรม
จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
จัดตั้งคณะกรรมการด้านจริยธรรมในโรงพยาบาล
จัดทําคู่มือแนวทางปฏิบัติในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
การประชุมก่อนและหลังการพยาบาล
รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของพยาบาล
สิทธิ์และศักดิ์ในการยอมรับ การให้ความเคารพต่อความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน
สิทธิและความรับผิดชอบที่จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับความรู้ความสามารถของตน
สิทธิและความรับผิดชอบที่จะร่วมมือกับหน่วยงาน
ให้ความรู้แก่พยาบาลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
จริยธรรมสําหรับการทํางานของทีมสุขภาพ
รู้จักขอบเขตหน้าที่ของตน
รับผิดชอบต่อความปลอดภัยของผู้รับบริการ
การทําตนให้เป็นกัลยาณมิตรซึ่งกันและกัน
ความเคารพซึ่งกันและกัน
นางสาวพัชรีวรรณ ใจมา 6101210323
Sec.B เลขที่14