Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิด หลักการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน และสาธารณภัย, นางสาวลลิดาพรรณ…
แนวคิด หลักการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน และสาธารณภัย
ผู้ป่วยวิกฤตมีลักษณะ ดังนี้
ผู้ป่วยที่สามารถรักษาได้ เช่น ผู้ป่วยที่หมดสติ ผู้ป่วยที่มีระบบการหายใจล้มเหลว หากไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะเสียชีวิตในอัตราสูง
ผู้ป่วยที่มีอัตราตายสูง เช่น ผู้ป่วย Septic Shock หากไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในอัตราสูง
ผู้ป่วยที่มีแนวโน้มที่จะมีอาการรุนแรง เช่น ผู้ป่วย myocardial infraction ต้องการการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
ผู้ป่วยที่อัตราตายสูง แม้จะได้รับการรักษา เช่น ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
หลักการดูแลผู้บาดเจ็บ (Trauma life support)
ระบบการดูแลผู้บาดเจ็บ (Trauma care system)
การเข้าถึงหรือรับรู้ว่ามีเหตุการณ์เกิดขึ้น (Access)
การดูแลในระยะก่อนถึงFรงพยาบาล (Prehospital care) โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก (scene safety)
การดูแลในระยะที่อยู่โรงพยาบาล (Hospital care)
การฟื้นฟูสภาพ และการส่งต่อ (Rehabilitation & transfer)
การดูแลผู้บาดเจ็บขั้นต้น
การประเมินผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บเบื้องต้น (Primary Survey)
A-Airway maintenance with cervical spine protection
ประเมิน Airway เพื่อหาอาหารที่เกิดจากทางเดินหายใจอุดกั้น รวมไปถึงการดูดเสมหะ การหาสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ
B-Breathing and ventilation
เป็นการประเมิน การช่วยหายใจและการระบายเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนอากาศ เพื่อให้ได้ออกซิเจนและขับคาร์บอนไดออกไซด์
C-Circulation with hemorrhagic control
อาการทางระบบประสาท ประกอบด้วย ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ผู้ป่วยเริ่มมีอาการซึม เชื่องช้่ สับสน บางรายมีอาการเอะอะ และหมดสติ
ผิวหนัง ผู้ป่วยจะมีผิวหนังเย็น ชื้น เหงื่อออกมาก cyanosis ยกเว้น septic shock ที่ผิวหนังจะอุ่น สีชมพูในระยะแรก
หัวใจและหลอดเลือด Blood pressure มีความสำคัญเพราะแสดงถึงปริมาณเลือดออกจากหัวใจใน 1 นาที และแรงต้านของหลอดเลือดส่วนปลาย
ระบบหายใจ จะพบการหายใจเร็ว และไม่สม่ำเสมอ จาก Acidosis respiratory
ระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะกระหายน้ำ น้ำลายน้อยลง ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน ลำไส้บวม และไม่ได้ยิน bowel sound
ภาวะกรดด่างของร่างกาย ร่างกายจะเกิดการเผาผลาญแบบ anaerobic metabolism จนเกิดภาวะ acidosis metabolic ผู้ป่วยจะมีอาการซึม อ่อนเพลีย งุนงง สันสบ ไม่รู้สึกตัว หายใจแบบ Kussmaual
D-Disability (Neurologic Status)
หลังจากดูแลผู้ป่วย Airway, Breathing, Circulation ที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตแล้วพยาบาลควรประเมิน เริ่มประเมินจากระดับความรู้สึกตัวซึ่งอาจประเมินได้ตั้งแต่แรกรับผู้ป่วยพร้อม Airway อาจใช้ Glasgow Coma Scale
E-Exposure/ environmental control
ในขั้นตอนนี้จำเป็นต้องทำการพลิกตะแครงตัวผู้บาดเจ็บแบบท่อนซุง (Log rll) เพื่อการตรวจร่างกายและเป็ยการป้องกันการได้รับบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง
Resuscitation การช่วยการหายใจ
Secondary survey การตรวจร่างกายอย่างละเอียดหลังจากผู้ป่วยพ้นภาวะวิกกฤตแล้ว
Definitive care รักษาหลังจากผู้ป่วยได้รับการวินิฉัยเบื้อต้นแล้ว
ความหมาย
การเจ็บป่วยฉุกเฉิน คือ การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน จำเป็นต้องดพเนินการช่วยเหลือ และการดูแลรักษาทันที อาจเกิดภาวะต่าง ๆ เช่น การเกิดโรคในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย การบาดเจ็บ การเกิดโรคติดต่อ และโรคติดเชื้อ
การเจ็บป่วยวิกฤต หมายถึง การเจ็บป่วยที่มีความรุนแรงถึงขั้นที่อาจทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตหรือพิการได้
Critical จะนำมาใช้ในผู้ป่วยอาการหนัก มีอาการรุนแรง หรือขั้นฉุกเฉิน มีอันตราย มีจุดมุ่งเน้นแก้ไขอาการที่ปรากฎอันตราย โดยเฉพาะระบบของร่างกายที่มีการล้มเหลว เพื่อแก้ไขภาวะล้มเหลว หรือรักษาสภาพการทำงานของระบบนั้น
Crisis ใช้ในผู้ป่วยที่มีสถานการณ์คับขัน เป็นจุดวิกฤตของการเป็นโรค ทำให้มีอาการดีขึ้น หรือตายได้ในทันที มุ่งเน้นแก้ไขอาการที่ปรากฎในครั้งแรก และการป้องกันไม่ให้เข้าสู่สถานการณ์คับขัน Crisis ในการประคับประคองให้ความสำคัญกับทุกระบบไม่ให้นำสู่สภาวะที่เป็นปัญหาต่อไป
ผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน หมายถึง ผู้ที่มีอาการหนักรุนแรงต้องการการดูแลจากเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง โดยใช้หลักและกระบวนการพยาบาลที่สมบูรณ์ เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะคุกคามชีวิต
ผู้บาดเจ็บจากสาธารณภัย
กลุ่มอาการไม่รุนแรง หากผู้ป่วยเดินได้อาจถือว่าอาการไม่หนัก
กลุ่มอาการหนัก ต้องหามนอนหรือนั่งมาอาการแสดงยังคลุมเครือต้องใช้การตรวจอย่างละเอียด
กลุ่มอาการหนักมาก หรือสาหัสต้องการการรักษาด่วนหรือช่วยชีวิตทันที กลุ่มผู้ป่วยเสียชีวิตเป็นกลุ่มที่หมดหวังในการรักษา
หลักการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน
หลักทั่วไปในการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน
เพื่อช่วยชีวิต
การป้องกันและบรรเทาไม่ให้เกิดอาการรุนแรงถึงขั้นวิกฤต
การบันทึกเหตุการณ์อาการและการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ
การส่งต่อรักษา หลังจากใช้การช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยแล้ว
หลักในการพยาบาล
มีหลักในการอุ้มยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากยานพาหนะไปยังห้องพยาบาลอย่างนุ่มนวล รวดเร็ว ปลอดภัย
มีการซักประวัติการเจ็บป่วยและอาการสำคัญอย่างละเอียด
ทำการคัดกรองผู้ป่วยอย่างรวดเร็วแม่นยำ
ให้การรักษาพยาบาลภายใต้นโยบายของโรงพยาบาล
ให้การช่วยฟื้นคืนชีพอย่างถูกต้อง
ให้การดูแลจิตใจของผู้ป่วยและญาติ
มีการนัดหมายผู้ป่วยที่ไม่ได้นอนโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาต่อเนื่อง
มีการส่งต่อเพื่อการรักษาทั้งในหอผู้ป่วยในแผนกผู้ป่วยหนัก และภายนอกโรงพยาบาล
หลักการพยาบาลตามบทบาทพยาบาลวิชาชีพงานบริการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินของสภาการพยาบาล พ.ศ.2552
ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่กำลังคุกคามชีวิตผู้ป่วย
ค้นหาสาเหตุและ/ หรือปัญหาที่ทำให้เกิดภาวะฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ แล้วดำเนินการแก้ไข
ดูแลและรักษาสภาวะของผู้ป่วยให้อยู่ในระดับปลอดภัย และคงที่โดยการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
รักษาหน้าที่ต่าง ๆ ของอวัยวะสำคัญของร่างกายให้คงไว้
ป้องกันภาวะแทรกซ้อนและติดเชื้อ
ประคับประคองจิตใจและอารมณ์ของผู้ป่วยและญาติ
การพยาบาลสาธารณภัย
ความรู้พื่นฐานเกี่ยวกับสาธารณภัย
ภัย หมายถึง เหตุการณ์หรือปรากฎการณ์ใด ๆ ที่สามารถที่ทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ความเสียหายต่อทรัพย์สนความเป็นอยู่ และสิ่งแวดล้อม
สาธารณภัย หมายถึง ภัยที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเกิดจากธรรมชาติหรือจากการกระทำของมนุษย์แล้วก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต
สาธารณภัย ได้แก่ อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง
ภัยสาธารณะ
2.1 ภัยที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น คลื่นยักษ์ ดินถล่ม โรคระบาดในมนุษย์ โรคระบาดสัตว์ โรคระบาดน้ำ การระบาดของศัตรูพืช เป็นต้น
2.2 ภัยที่เกิดจากคนทำ ได้แก่ สารเคมีรั่วไหล รถชน ตึกถล่ม
ภัยทางอากาศ ได้แก่ ปล้นเครื่องบิน
การก่อวินาศภัย ได้แก่ ก่อการร้าย กราดยิง วางระเบิด
อุบัติภัย
ภัย หมายถึง เหตุการณ์หรือปรากฎการณ์ใด ๆ ที่สามารถทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ความเสียหายต่อทรัพย์สิน ความเป็นอยู่ และสิ่งแวดล้อม
อุบัติภัยหมู่ หมายถึง อุบัติเหตุที่เกิดกับคนจำนวนมาก ได้รับการเจ็บป่วยจำนวนมาก เกินขีดความสามารถปกติที่โรงพยาบาลจะให้การรักษาพยาบาลได้
หลักการพยาบาลสาธารณภัย
การบรรเทาภัย (Mitigation)
การเตรียมความพร้อม (Preparedness)
การตอบโต้เหตุการณ์ฉุกเฉิน (Respone)
การควบคุมยับยั้งโรคและอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ต้องจัดให้มีการเฝ้าระวังภายใน 5 วันหลังภัยพิบัติ
การบูรณะฟื้นฟู (Recovery)
หลักการบริการจัดการที่เกิดเหตุและรักษาผู้บาดเจ็บ
D-Detection การประเมินสถานการณ์ว่าเกินกำลังหรือไม่
I-Incident command ระบบการบัญชาเหตุการณ์และผู้ดูภาพรวมของการปฏิบัติการทั้งหมด
S-Safety and Security การประเมินความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในที่เกิดเหตุ
A-Assess Hazards การประเมินสถานที่เกิดเหตุเพื่อระแวดระวังวัตถุอันตรายต่าง ๆ ที่อาจเหลือตกค้างในที่เกิดเหตุ
S-Support การเตรียมอุปกรณ์และทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในที่เกิดเหตุ
T-Triage/Treatment การคัดกรองและให้การรักษาที่รับด่วนตามความจำเป็นของผู้ป่วย
E-Evacuation คือการอพยพผู้บาดเจ็บระหว่างเหตุการณ์
R-Recovery การฟื้นฟูสภาพหลังจากเกิดเหตุการณ์
ระบบทางด่วน (Fast track/Pathway system) โดยอาศัยหลักการ
การจัดทำควรเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ
จัดทำแผนภูมิการดูแลผู้ป่วย พร้อมกำหนดลักษณะผู้ป่วย
จัดทำแนวปฏิบัติ
จัดทำรายการตรวจสอบ (check list)
ฝึกอบรมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้มีความรู้และสามารถดำเนินการตามระบบทางด่วน
ปฏิบัติต้องเน้นย้ำเวลาเป็นสำคัญ
กำหนด clinical indicator
การกู้ชีพ (Resuscitation) คือการแก้ไขภาวะคุกคามต่อชีวิตหรือที่เป็นอันตรายเร่งด่วน โดยการกู้ชีพจะทำหลังจากการประเมินเป็นลำดับของ ABC และสามารถทำไปพร้อม ๆ กับการประเมิน
Airway ภายหลังการประเมิน การทำ Definitive airway ในผู้บาดเจ็บที่มีปัญหาการหายใจสามารถรักษาได้โดยการใส่ท่อช่วยหายใจ และควรทำแต่เริ่มต้นหลังจากที่ช่วยหายใจด้วยออกซิเจน
Breathing ผู้บาดเจ็บทุกรายควรได้รัลออกซิเจนเสริม หากไม่ได้ท่อช่วยหายใจ ผู้บาดเจ็บควรได้รับออกซิเจนผ่านหน้ากาก (reservoir face mask) ที่เหมาะสมกับหน้าที่พอดีด้วย flow rate 11 L/min เพื่อให้ได้ปริมาณออกซิเจนที่เพียงพอร่วมกับการติดตามระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด
Circulation การห้ามเลือดเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในผู้บาดเจ็บโดยทำร่วมกับการให้สารน้ำทดแทน เมื่อทำการเปิดเส้นแล้วควรเก็บเลือดส่งตรวจเพื่อช่วยในการประเมินความผิดปกติที่เกิดขึ้น
การประเมินสภาพร่างกายผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บอย่างละเอียด (Secondary Survey) การประเมินสภาพผู้ป่วยอย่างละเอียด มักทำหลังจาก primary survey และ Resuscitation จน Vital function เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว เพื่อให้ได้ Definite diagnosis ประกอบด้วยการซักประวัติ รวม Mechanism of Injury การตรวจร่างกาย Head to toe และการตรวจพิเศษต่าง ๆ
History จากตัวผู้ป่วยเอง หรือในกรณีที่ผู้บาดเจ็บไม่รู้สึกตัสอาจต้องสอบถามจาก Prehospital personnel
AMPLE
Allergies ประวัติการแพ้ยา สารเคมีหรือวัตถุต่าง ๆ
Medication ยาที่ใช้ในปัจจุบัน
Past illness/ Pregnancy การเจ็บป่วยในอดีตและการตั้งครรภ์
Last meal เวลาที่รับประทานอาหารครั้งสุดท้าย
Event/ Environment related to injury อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร รุนแรงเพียงใด
กลไกการบาดเจ็บเป็นสิ่งที่ทำให้สามารถคาดเดาลักษณะการบาดเจ็บของผู้ป่วยได้
Blunt trauma ส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุจราจร พลัดตกจากที่สูง
Penetrating trauma เกิดจากอาวุธปืน มีด ปัจจัยที่กำหนดชนิดและความรุนแรงของการบาดเจ็บอยู่ที่ตำแหน่งของร่างกายที่บาดเจ็บ
Physical Examination ในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ ควรตรวจร่างกายผู้ป่วยอย่างละเอียด เพราะแรงที่มากระทำอาจำทให้เกิดการบาดเจ็บต่ออวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย
Head ในการตรวจหนังศีรษะให้ใช้มือคลำให้ทั่วหนังศีรษะเพื่อหาบาดแผล
Facial ควรคลำกระดูกใบหน้าให้ทั่วเพื่อหา deformity ที่อาจบ่งบอก facial fracture ได้เป็นส่วนใหญ่
Cervical spine and Neck ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวทุกรายที่มีการบาดเจ็บศีรษะควรคำนึงถึง cervical spine injury พยาบาลจะใส่ Collar ให้ผู้ป่วยและไม่เคลื่อนไหวคอผู้ป่วยจนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าไม่มีการบาดเจ็บของกระดูกจากการ X-ray
Chest การตรวจจะเริ่มจากการมองหารอยช้ำ รายยุบ คลำดูว่ามี Crepitus หรือเจ็บที่จุดใด โดนตรวจให้ทั่วทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
Media sternum กว้างบ่งว่าอาจมีการบาดเจ็บของหลอดเลือดในช่องอก (Rupture Aorta)
กระบังลมยกสูผิดปกติหรือเห็นเงากระเพาะอาการในช่องอก บ่งว่าผู้ป่วยกะบังลมฉีก
เงาอากาศในช่องท้องใต้กระบังลมบ่งชี้ว่ามีการบาดเจ็บของกระเพาะอาหารหรือลำไส้
Abdomen ในผู้ป่วยที่บาดเจ็บและเกิดภาวะ Shock ให้สงสัยการบาดเจ็บในช่องท้องและมีการเสียเลือดเกิดขึ้น การตรวจร่างกายเริ่มจากการสังเกตดูรอยบาดเจ็บต่าง ๆ ที่ผิวหนัง เช่น รอยช้ำ แผลฉีกขาด แผลถูกยิงแทง
Musculoskeletal and Peripheral vascular assessment การบาดเจ็ยแขนขาจะประเมินบาดแผล การหักงอ บวมผิดรูป ประเมินจุดที่เจ็บ การเคลื่อนไหว คลำ Crepitus หากสงสัยว่ามีการบาดเจ็บกระดูกให้ดามเพื่อป้องกันการบาดเจ็บของเส้นเลือด เส้นประสาท
Pelvic fracture จะตรวจพบ Ecchymosis บริเวณ Iliac wing, Pubis, Labia หรือ Scrotum และเมื่อตรวจ Pelvic compression ผู้ป่วยจะมี pain on palpation และมี sign of unstability
Neurological system เป็นการตรวจระบบประสาทสมองอย่างละเอียด ประเมิน motor, sensory และต้อง Reevaluation ระดับความรู้สึกตัว pupil size Glasgow coma score
Reevaluation ในระยะแรกที่ดูแลผู้ป่วยที่บาดเจ็บ ควรมีการประเมินร่างกายซ้ำเป็นระยะ ๆ เพื่อประเมินหาการบาดเจ็ยที่อาจตรวจไม่พบในระยะแรก และเป็นการตืดตามการเปลี่ยนแปลงอาการของผู้ป่วย
การรักษาผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บภายหลังได้รับการช่วยเหลือขั้นต้นแล้ว (Definitive Care) เป็นการรักษาอย่างจริงจังหลังจากได้ทำ secondary survey เรียบร้อยแล้ว เพื่อแก้ไขพยาธิสภาพโดยตรง
นางสาวลลิดาพรรณ จายสัก 6101210064 Sec.A เลขที่ 2