Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต -…
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต
การแจ้งข่าวร้าย (Breaking a bad news)
ข่าวร้ายมีผลกระทบต่อความรู้สึก การดาเนินชีวิต และอนาคตของบุคคลและครอบครัว
ข่าวร้ายทำให้เกิดความรู้สึกหมดความหวัง
ข้อมูลที่เป็นข่าวร้าย
ไม่ตอบสนองต่อการรักษา
การกลับเป็นซ้ำของโรค
ความพิการ
การสูญเสียภาพลักษณ์
โรครุนแรงหรือรักษาไม่หาย
การเสียชีวิต
ปัจจัยที่มีผลต่อการแปลผลข้อมูลของผู้รับข่าวร้าย
ภูมิหลังของผู้รับข่าวร้าย
ความเชื่อและวัฒนธรรม
ความคาดหวังและความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
ผลกระทบของข่าวร้าย
ต่อผู้ป่วยและครอบครัว
ต่อผู้ดูแลรักษา
ผู้แจ้งข่าวร้าย
แพทย์เจ้าของไข้
ทีมรักษาผู้ป่วย
ทีม Palliative care
ปฏิกิริยาจากการรับรู้ข่าวร้าย
ระยะปฏิเสธ (Denial)
ช็อคและปฏิเสธสิ่งที่ได้รับรู้ ไม่เชื่อ ไม่ยอมรับความจริง ไม่เชื่อผลการรักษา“ไม่จริงใช่ไหม” “คุณหมอแน่ใจรึเปล่าว่าผลการตรวจถูกต้อง”
ระยะโกรธ (Anger)
“ทำไมต้องเกิดขึ้นกับเรา” “ไม่ยุติธรรมเลย ทำไมต้องเกิดกับเรา”
ระยะต่อรอง (Bargaining)
ต่อรองความผิดหวังหรือข่าวร้ายที่ได้รับรู้สึกว่าตนเองมีความผิดที่ยังไม่ได้ทำสิ่งที่ค้างคา“อยากเห็นลูกเรียนจบก่อน” “ฉันรู้ว่ามันร้ายแรง คงรักษาไม่หาย แต่ฉันอยาก....”
ระยะซึมเศร้า (Depression)
เริ่มรับรู้ว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ออกห่างจากสังคมรอบข้าง มีการบกพร่องในการปฏิบัติกิจวัตรประจาวัน และหน้าที่การงาน
ระยะยอมรับ (Acceptance)
ยอมรับสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง มองเหตุการณ์อย่างพิจารณามากขึ้น มองเป้าหมายในอนาคตมากขึ้น ปรับตัวเรียนรู้เพื่อให้ดาเนินชีวิตต่อไปได้
บทบาทพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว ประเมินการรับรู้ สอบถามความรู้สึก ความต้องการการช่วยเหลือ
รับฟังด้วยความตั้งใจ เห็นใจ เปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย
ให้ความช่วยเหลือประคับประคองจิตใจให้ผ่านระยะเครียดและวิตกกังวล
ยอมรับพฤติกรรมทางลบโดยไม่ตัดสิน ให้โอกาสในการระบายความรู้สึก
ให้ความเคารพ เข้าใจ เห็นใจ ไวต่อความรู้สึกและความต้องการของผู้ป่วย
อธิบายให้ทราบถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ให้ข้อมูลอาการที่เปลี่ยนแปลง การดำเนินโรค
ให้ความหวังที่เป็นจริง สะท้อนคิดเกี่ยวกับการอยู่กับปัจจุบัน
ทำหน้าที่แทนผู้ป่วยในการเรียกร้อง ปกป้องผู้ป่วยให้ได้รับประโยชน์ และปกป้องศักดิ์ศีรความเป็นมนุษย์
แนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
แนวคิดการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care)
การดูแลตามแนวคิดนี้จึงเป็นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบองค์รวมโดยครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
โดยยึดตามความเชื่อทางด้านศาสนา วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียม ประเพณีปฏิบัติของผู้ป่วยและครอบครัวเป็นสำคัญ
เป็นการทำงานเป็นทีมแบบสหวิชาชีพ โดยมีผู้ป่วยและครอบครัวเป็นศูนย์กลาง ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญ และผ่านพ้นช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตอย่างสงบ สบาย พร้อมด้วยศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และสนับสนุนค้ำจุนครอบครัวผู้ป่วยให้สามารถใช้ชีวิต ช่วงเวลาวิกฤติกับผู้ป่วยที่ป่วยหนักและตายจากไปอย่างราบรื่น
แนวคิดการดูแลตามทฤษฎีความสุขสบาย (comfort theory)
ทฤษฎีความสุขสบาย (comfort theory) เป็นภาวะที่บุคคล ได้รับความต้องการทันทีเพื่อบรรเทา (relief) สงบ ผ่อนคลาย (ease) และควบคุมสถานการณ์ได้หรืออยู่เหนือปัญหา (transcendence) ครอบคลุมบริบทด้าน ร่างกาย (physical comfort) ด้านจิตใจ-จิตวิญญาณ(psycho spiritual comfort) สังคมวัฒนธรรม (sociocultural comfort) และสิ่งแวดล้อม ( environmental comfort)
แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางจริยธรรม
ให้ความรู้แก่พยาบาลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม ได้แก่ การประชุมก่อนและหลังการพยาบาล จัดตั้งคณะกรรมการด้านจริยธรรมในโรงพยาบาล
รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของพยาบาล เช่น สิทธิและความรับผิดชอบที่จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับ ความรู้ความสามารถของตน
จริยธรรมสำหรับการทำงานของทีมสุขภาพ โดยมีความเคารพซึ่งกันและกัน รู้จักขอบเขตหน้าที่ของตน รับผิดชอบต่อความปลอดภัยของผู้รับบริการ และการทำตนให้เป็นกัลยาณมิตรซึ่งกันและกัน
หลักการพยาบาลในการดูแลผู5ป7วยระยะท5ายใกล5ตาย
การประเมินสภาพ
1.1 การประเมินอาการทางร่างกาย ได้แก่ ประเมินอาการไม่สุขสบาย ความสามารถในการทํากิจกรรม ของผู้ป่วย อาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยระยะสุดท้าย ได้แก่ อาการปวด อ่อนแรงหรือเหนื่อยล้า ปากแห้ง และปัญหาของผิวหนัง เช่น เป็นแผล (Ulcers) ผื่นคัน (Pruritus)
1.2 การประเมินด้านจิตใจ
ภาวะซึมเศร้า (Depression)
ภาวะวิตกกังวล (Anxiety)
ภาวะสับสน (Delirium)
1.3 การประเมินด้านสังคม
บทบาทของผู้ป่วยในครอบครัว โดยบทบาทจะส่งผลกระทบต่อภาวะจิตใจของสมาชิกใน ครอบครัวหรือศักยภาพในการจัดการปัญหาต่าง ๆ
ความรักความผูกพันของผู้ป่วยกับสมาชิกในครอบครัว
ความต้องการของครอบครัว เพื่อค้นหาความต้องการที่สัมพันธ์กันระหว่างผู้ป่วยและ ครอบครัว
ผู้ดูแลผู้ป่วย (Care giver) ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายมักต้องการกลับไปอยู่บ้าน อยู่ในสิ่งแวดล้อมเดิม ท่ามกลางคนที่รัก ผู้ดูแลและครอบครัวจะต้องเข้าใจและยอมรับความต้องการของผู้ป่วย
ที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม
เครือข่ายทางสังคมและการสนับสนุนทางสังคม ที่จะให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ
1.4 การประเมินด้านจิตวิญญาณ
ความต้องการของผู้ป่วยในด้านจิตวิญญาณเกี่ยวข้องกับปรัชญาชีวิต เป้าหมายชีวิต หรือคุณค่าทางด้านจิตใจ ความเชื่อทางศาสนา เพื่อให้ได้รับการให้อภัย ความรัก ความหวัง ความไว้วางใจ ความหมายและเป้าหมายสูงสุดหรือความต้องการที่ตนเองคิดว่าดีและหลีกเลี่ยงสิ่งที่ชั่ว
การประเมินระดับPalliative Performance Scale (PPS)
จุดประสงค์
เพื่อสื่อสารอาการปnจจุบันของผู้ป่วยระหว;างบุคลากรในทีมที่ร่วมกันดูแลผู้ป่วย เพื่อให้มองเห็น ภาพของผู้ป่วยและการพยากรณ์โรคไปในแนวทางเดียวกัน
เพื่อประเมินพยากรณ์โรคอย่างคร่าวๆและติดตามผลการรักษา
ใช้เป็นเกณฑ์การคัดเลือกผู้ป่วยเพื่อเข้าดูแลในสถานที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Hospice)
ใช้บอกความยากของภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์และครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย
ใช้ในการวิจัย
หลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติ
ทีมสุขภาพที่ทำงานในไอซียูเป็นผู้เริ่มลงมือด้วยตนเอง
การปรึกษาทีม palliative care ของโรงพยาบาลนั้น ๆ มาร่วมดูแลในผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์
การดูแลแบบผสมผสาน
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต (End of life care in ICU)
การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหอผู้ป่วยวิกฤต เป็นกระบวนการดูแลผู้ป่วยและตั้งเป้าหมายของการดูแล ตั้งแต่วันแรก สนับสนุนให้มีการทำ Family meeting เพื่อทราบความต้องการและสื่อสารกับผู้ป่วยและ ครอบครัว โดยมีสหวิชาชีพเข้ามามีส่วนร่วมในการดุแลผู้ป่วยและครอบครัว
มโนทัศน์เกี่ยวกับการเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย
การเจ็บป่วยระยะท้าย หมายถึง ภาวะบุคคลอยู่ในภาวะความเจ็บป่วยที่คุกคามต่อชีวิต มีการดำเนิน โรคลุกลามอย่างมาก ทำให้การทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆของร่างกายไม่สามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติ
ภาวะใกล้ตาย หมายถึง ผู้ที่เข้าสู่ช่วงใกล้เสียชีวิต มีอาการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายมากขึ้น จากการ ทำหน้าที่ของอวัยวะสำคัญของร่างกายลดลงหรือล้มเหลว และมีค่าคะแนน Palliative performance scale (PPS) น้อยกว่า 30
การดูแลแบบประคับประคอง หรือ การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย หรือ palliative care ตามคำนิยาม WHO คือ “วิธีการดูแลที่มุ่งเน้นเป้าหมายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยที่มีโรคหรือภาวะคุกคามต่อชีวิต โดย การป้องกันและบรรเทาความทุกข์ทรมานต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยและครอบครัว
ประเด็นจริยธรรมที่สำคัญในการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต การเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย
การุณยฆาต หรือ ปราณีฆาต หรือ เมตตามรณะ(mercy killing or euthanasia)
การทำการุณยฆาตโดยความสมัครใจ (Voluntary euthanasia) คือ การที่ผู้ป่วยตระหนักรู้ เข้าใจถึงอาการ การดำเนินของโรค และทนทุกข์กับความทรมานต่อความเจ็บปวด และผู้ป่วยร้องขอให้ยุติการรักษาพยาบาล แพทย์ทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตโดยเจตนาตามความประสงค์ของผู้ป่วย
การทำการุณยฆาตโดยทู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจได้เอง (Involuntary euthanasia) คือ การทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตโดยเจตนา โดยปล่อยให้เกิดการตายตามธรรมชาติ ตามพยาธิสภาพของโรค โดยปราศจากการช่วยชีวิตด้วยเครื่องมือทางการแพทย์
ประเด็นทางจริยธรรม การุณยฆาต จึงไม่จัดว่าเป็นการตายที่ดี นอกเสียจากผู้ป่วยนั้น ได้ใช้สิทธิการตาย ตามกฎหมายที่รับรองและแสดงเจตนาไว้ถูกต้อง แพทย์ก็สามารถให์การดูแลรักษาตามความประสงค์ของผู้ป่วยให้เกิดการตายได้ โดยไม่มีผลผิดทางกฎหมายและจริยธรรม
การยืดหรือการยุติการรักษาที่ยืดชีวิต
2.1 การยับยั้งการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบำบัดรักษา (withholding of life-sustaining treatment) หมายถึง การไม่เริ่มต้นใช้เครื่องมือช่วยชีวิต
2.2 การเพิกถอนการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบำบัดรักษา (withdrawal of life-sustaining treatment) หมายถึง การเพิกถอนใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบำบัดรักษา เช่น การเพิกถอนเครื่องช่วย หายใจ
การฆ;าตัวตายโดยความช่วยเหลือของแพทยT (Physician-assisted suicide)
คือ การฆาตัวตายโดยเจตนา และได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์ เช่น การให้ความรู้ เครื่องมือ หรือวิธีการอื่นใดที่อาจทำให้ผู้นั้นสามารถฆ่าตัวตายได้สำเร็จ
การจัดสรรทรัพยากรที่มีจำนวนจำกัด
ผู้ป่วยวิกฤตมักจะเกิดความล้มเหลวของอวัยวะต่างๆในหลายระบบจึงต้องอาศัยเครื่องมือทาง การแพทย์และทรัพยากรอื่นๆทางการแพทย์มาช่วยชีวิตไว้ จึงมีผู้ป่วยวิกฤตหลายรายและเครื่องมือ ทางการแพทย์ที่มีค่อนข้างจำกัด ดังนั้น การจัดสรรทรัพยากรจึงควรคำนึงถึงการเกิดประโยชน์มากที่สุด ความจำเป็นของบุคคล มีความเสมอภาค อายุ พิจารณาจากผลการรักษาว่ามีโอกาสประสบความสำเร็จเพียงใด คุ้มค่ากับการรักษาหรือไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางให้มีประโยชน์มากที่สุดและยุติธรรม
การบอกความจริง (Truth telling)
การบอกความจริงถือเป็นอีกประเด็นเชิงจริยธรรมที่พบได้ในผู้ป่วยวิกฤต แพทย์ควรบอกให้ผู้ป่วย และญาติทราบเพื่อการเตรียมตัวเตรียมใจ จัดการภาระค้างอยู่ให้เรียบร้อย และผู้ป่วยอาจจะยังมีสติและ เวลาในการทำพินัยกรรมก่อนตาย
การบอกความจริงทั้งหมด
การบอกความจริงบางส่วน
การหลอกลวง
การประวิงเวลาการบอกความจริง
การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ (Organ transplantation)
แม้ว่าในปัจจุบัน จะมีวิวัฒนาการในการผ;าตัดเปลี่ยนอวัยวะเพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืดยาวออกไป ประเด็นเชิงจริยธรรมนี้จึงเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับ โอกาสรอดชีวิตหลังผ่าตัด ระยะเวลาการมีชีวิตอยู่หลังผ่าตัด แหล่งที่มาของอวัยวะ ซึ่งพบว่าการซื้อขายอวัยวะเป็นประเด็นปัญหาทางจริยธรรมที่สำคัญอีก ประการของโลกปัจจุบัน
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย
การสื่อสาร
การสื่อสารในผู้ป่วยวิกฤติมีความสำคัญเป็็นอย่างมาก การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสามารถลดความไม่สุขสบายใจ ลดการเกิดความไม่พอใจของครอบครัว และยังสามารถเพิ่มความเพิ่งพอใจในการให้บริการ
ผลดีจากการสื่อสารต่อผู้ป่วยเอง พบว่าสามารถลดความไม่จำเป็นในการใช้เครื่องพยุงชีพ สามารถลดระยะเวลานอนรักษาในไอซียู
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
หัวใจหลักของการดูแลแบบ palliative care คือ การใส่ใจประเมินอาการ และจัดการอาการไม่สุขสบายอย่างเต็มที่ อาการไม่สุขสบายที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยวิกฤต คือ หอบเหนื่อย ปวด ภาวะสับสน โดยมีแนวทางการดูแลช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเจ็บป่วยทรมาน (Symptom management)
การดูแลทั่วไป
ประกอบด้วยการดูแลความสะอาดร่างกาย ให้ได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
การพักผ่อนนอนหลับ
ควรจัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด สงบ ลดการกระตุ้นที่รบกวนผู้ป่วย
การดูแลด้านอารมณ์และสังคมของผู้ป่วยและครอบครัว (Psychosocial care)
ช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับความตายที่จะมาถึง
ช่วยให้จิตใจจดจ่อกับสิ่งดีงาม
การช่วยปลดเปลื้องสิ่งที่ค้างคาใจ
แนะนำให้ผู้ป่วยปล่อยวางสิ่งต่างๆ
สร้างบรรยากาศที่สงบและเป็นส่วนตัว
การดูแลด้านจิตวิญญาณผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัว
ประเมินและบันทึกความต้องการทางจิตวิญญาณในระหว่างการดูแลเป็นระยะ
สนับสนุนให้มีสถานที่หรือกิจกรรมส่งเสริมด้านจิตวิญญาณ เช่น การประกอบพิธีตามศาสนา
สอบถามและส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติตามศรัทธาความเชื่อเพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีความ สงบผ่อนคลายในระยะสุดท้าย
ดูแลให้ได้รับการประชุมครอบครัว (Family meeting)
เป็นกิจกรรมที่มีเป้าหมายสำคัญเพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีระหว่างทีมสุขภาพกับผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับโรคและระยะของโรครวมไปถึงการดำเนินโรคและการพยากรณ์โรค แนวทางของ การดูแลผู้ป่วยในอนาคต
การดูแลให้ผู้ป่วยและญาติเข้าถึงการวางแผนการดูแลล่วงหน้า (Advance Care Planning [ACP])
Living will หรือ พินัยกรรมชีวิต หรือ หนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข
หนังสือที่เกิดจากการพิมพ์หรือเขียน หรือแสดงเจตนาด้วยวาจาต่อแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สุขภาพ ญาติ หรือผู้ใกล้ชิด เพื่อแสดงให้ คนอื่นทราบว่าตนเองไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต ตนหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย
Proxy
บุคคลใกล้ชิดที่ผู้ป่วยมอบหมายให้มีอำนาจตัดสินใจในเรื่องการดูแลทางการแพทย์ใน วาระสุดท้ายของตน
บทบาทของพยาบาลในการดูแลให้ผู้ป่วยและญาติเข้าถึงการวางแผนการดูแลล่วงหน้า
การสื่อสาร โดยการสื่อสารร่วมกันระหว่างทีมสุขภาพกับผู้ป่วยและญาติ เพื่อทบทวนเป้าหมาย และแผนการรักษา รวมทั้งความต้องการของผู้ป่วยเป็นระยะ
การคอยช่วยเหลือเมื่อผู้ป่วยต้องการทำการวางแผนการดูแลล่วงหน้า โดยการจัดหาตัวอย่างของ แบบฟอร์ม living will การอธิบายขั้นตอน วิธีการทำ รวมทั้งอธิบายข้อมูล ข้อดีข้อเสียของหัตถการที่ต้องระบุ ไว้ใน living will
การรวบรวมเอกสาร ได้แก่ สำเนาหนังสือแสดงเจตนาดังกล่าวและเก็บไว้ในเวชระเบียนและแจ้ง ให้ญาติผู้ใกล้ชิดของผู้ป่วยทราบ เพื่อให้การปฏิบัติต่อผู้ป่วยในวาระสุดท้ายเป็นไปตามที่ผู้ป่วยแสดงเจตนาไว้
การดูแลผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิต (manage dying patient)
บรรยากาศในไอซียูมักเต็มไปด้วยความวุ่นวาย ถ้าหากมีเวลาเตรียมตัวก่อนเสียชีวิตหลายวัน อาจพิจารณาย้ายผู้ป่วยไปยังหอผู้ป่วยที่ญาติสามารถเข้าเยี่ยมได้ใกล้ชิด สงบ และมีความเป็นส่วนตัว แต่ในกรณีที่ การเสียชีวิตอาจเกิดขึ้นในเวลาไม่นาน ทีมสุขภาพสามารถจัดสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วยวิกฤติให้สงบที่สุดที่พอจะเป็นไปได้ ช่วงเวลานี้ควรให้ครอบครัวคนใกล้ชิดอยู่ด้วยเท่านั้น เพื่อให้ผู้ป่วยไม่ถูกรบกวน อาจเสนอพิธีทางศาสนาให้ผู้ป่วยและครอบครัว อำนวยความสะดวกจัดหาเก้าอี้ให้พอเพียงกับครอบครัว
การดูแลช่วงใกล้เสียชีวิตนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ภาพการจากไปของผู้ป่วยในเวลานี้จะเป็นภาพที่ ครอบครัวจะจดจำตลอดไป ดังนั้น การดูแลให้ทุกอย่างราบรื่นที่สุด จึงเป็นสิ่งสำคัญ
การดูแลจิตใจครอบครัวผู้ป่วยต่อเนื่อง (bereavement care)
หลังจากที่ผู้ป่วยเสียชีวิตไปแล้วทีมสุขภาพอาจทำการแสดงความเสียใจต่อการสูญเสีย เป็นปกติที่ครอบครัวจะเสียใจกับการจากไปของผู้ป่วย ดังนั้นไม่ควรพูดคำบางคำ เช่น “ไม่เป็นไร” “ไม่ต้องร้องไห้” เป็นต้น แต่ให้แสดงว่าการเสียใจกับการสูญเสียเป็นสิ่งปกติ รวมถึงอาจมีเอกสารคำแนะนำการดูแลร่างกายและ จิตใจผู้สูญเสีย