Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต -…
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต
การแจ้งข่าวร้าย(Breaking a bad news)
ข่าวร้าย
ข้อมูลที่ทําให้เกิดความรู้สึกหมดความหวัง มีผลกระทบต่อความรู้สึก
การดําเนินชีวิต และอนาคตของบุคคลนั้น ข้อมูลที่เป็นข่าวร้าย
การลุกลามของโรคไม่ตอบสนองต่อการรักษา
การกลับเป็นซ้ำของโรค
ความพิการ
การสูญเสียภาพลักษณ์ของตัวเอง
การเป็นโรครุนแรงหรือรักษาไม่หาย
การเสียชีวิต
ข้อมูลที่ได้รับจะเป็นข่าวร้ายรุนแรงเพียงใดขึ้นอยู่กับการแปลผลข้อมูลของผู้ป่วยและญาติ ซึ่งสัมพันธ์กับ ความคาดหวังและความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ความเชื่อและวัฒนธรรม
ข่าวร้ายที่พบได้ในผู้ป่วยวิกฤต
การได้รับการเจาะคอ
การใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำ
ผลเลือดเป็นบวกหรือติดเชื้อ HIV
เป็นมะเร็งระยะลุกลามไม่สามารถรักษาได้
การเกิดโรคแทรกซ้อนที่อาจทําให้เสียชีวิ
ผู้แจ้งข่าวร้าย
ต้องได้รับการฝึกฝนและมีประสบการณ์วิธีการแจ้งข่าวร้าย มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับแผนการรักษา ผลการรักษาและการดําเนินโรค รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ปฏิกิริยาจากการรับรู้ข่าวร้าย
ระยะปฏิเสธ (Denial)
เป็นระยะแรกหลังจากผู้ป่วยและญาติรับทราบข้อมูล
รู้สึกตกใจ
ช็อคและปฏิเสธสิ่งที่ได้รับรู้ ไม่เชื่อ ไม่ยอมรับความจริง ไม่เชื่อผลการรักษา
อาจขอย้ายสถานที่รักษา
ระยะโกรธ (Anger)
ความโกรธอาจจะขยายไปยังแพทย์ ครอบครัว ญาติ เพื่อน และทุกอย่างรอบตัว
ปฏิกิริยาอาจออกมาใน ลักษณะ อารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว และต่อต้าน
ระยะต่อรอง (Bargaining)
เป็นระยะที่ต่อรองความผิดหวังหรือข่าวร้ายที่ได้รับ
อาจจะรู้สึกว่าตนเองมีความผิดที่ยังไม่ได้ทําบางอย่างที่ค้างคา หรือยังไม่ได้พูดอะไรกับใคร จะต่อรองกับตัวเอง คนรอบข้าง หรือแม้กระทั่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ระยะซึมเศร้า (Depression)
เมื่อผ่านระยะปฏิเสธ เสียใจ หรือระยะต่อรองไปสักระยะ ผู้ป่วยและญาติจะเริ่มรับรู้ว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ความรู้สึกซึมเศร้าจะเริ่มเกิดขึ้น ระดับความรุนแรงขึ้นอยู่กับ ความเข้มแข็งของแต่ละบุคคล และสภาพแวดล้อมของแต่ละบุคคล
5.ระยะยอมรับ (Acceptance)
เป็นปฏิกิริยาระยะสุดท้าย เริ่มยอมรับสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง อารมณ์เจ็บปวดหรือซึมเศร้าดีขึ้น และมองเหตุการณ์อย่างพิจารณามากขึ้น มองเป้าหมายในอนาคตมากขึ้น ปรับตัว และเรียนรู้เพื่อให้ดําเนินชีวิตต่อไปได้
บทบาทของพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว ประเมินการรับรู้ของครอบครัว สอบถามความรู้สึกและความต้องการการช่วยเหลือ
รับฟังผู้ป่วยและญาติด้วยความตั้งใจ เห็นใจ เปิดโอกาสให้ได้ซักถามข้อสงสัย
ให้ความช่วยเหลือประคับประคองจิตใจให้ผ่านระยะเครียดและวิตกกังวล
ในระยะโกรธ ควรยอมรับพฤติกรรมทางลบของผู้ป่วยและญาติโดยไม่ตัดสิน ให้โอกาสในการระบายความรู้สึก ไม่บีบบังคับให้ความโกรธลดลงในทันที ควรให้ความเคารพผู้ป่วย เข้าใจ เห็นใจ ไวต่อความรู้สึกและความต้องการของผู้ป่วย
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อมูล การดําเนินโรค แนวทางการรักษา
อธิบายให้ทราบถึงสิ่งที่กําลังจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ให้ข้อมูลที่เป็นความจริงเกี่ยวกับพยาธิสรีรวิทยาของโรคการดําเนินโรคอาการที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ให้ความหวังที่เป็นจริง สะท้อนคิดเกี่ยวกับการอยู่กับปัจจุบันและทําปัจจุบันให้ดีที่สุด
สะท้อนคิดให้ครอบครัวค้นหาเป้าหมายใหม่ในชีวิตอย่างมีความหมาย ซึ่งความหมายของชีวิตจะช่วยให้ครอบครัวใช้ชีวิตต่อไปอย่างมีคุณค่าและมีความหมายในหนทางที่เป็นจริง และตระหนักว่าการมีชีวิตอยู่เพื่อใครบางคน หรือเพื่ออะไรบางอย่าง
จัดการกับอาการที่รบกวนผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับความสุขสบาย ควบคุมความปวด และช;วยเหลือในสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ และส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนช่วยในการดูแลผู้ป่วย
ให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยและญาติว่า แพทย์และทีมสุขภาพทุกคนจะให้การดูแลอย่างดีที่สุด
ทําหน้าที่แทนผู้ป่วยในการเรียกร้อง ปกป้องผู้ป่วยให้ได้รับประโยชน์ และปกป้องศักดิ์ศีรความเป็นมนุษย์ ตามหลักจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
สัมพันธภาพทางสังคมไม่เหมาะสม (ก้าวร้าว ด่าว่า เอะอะโวยวาย) เนื่องจากไม่สามารถยอมรับความเจ็บป่วยรุนแรงได้
มีภาวะซึมเศร้าเนื่องจากไม่สามารถแสดงบทบาทหัวหน้าครอบครัวได้จากการเจ็บป่วยรุนแรง
มีความเครียดสูงเนื่องจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรง
ไม่สามารถยอมรับสภาพความเป็นจริงเมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
หมดกําลังใจในการต่อสู้กับโรคที่เป็นเนื่องจากไม่มีความหวังในการรักษา
ท้อแท้ ผิดหวังต่อโชคชะตาเนื่องจากคิดว่าถูกพระเจ้าลงโทษหรือไม่ได้รับความช่วยเหลือจากสิงศักดิ์สิทธิ์
กลัวตาย
การเผชิญปnญหาและการปรับตัวของครอบครัวไม;มีประสิทธิภาพเนื่องจากครอบครัวต้องเผชิญกับการเจ็บป่วยรุนแรงของผู้ป่วย
เศร้าโศกทุกข์ใจเนื่องจากสูญเสียบุคคลที่มีความสําคัญต่อตน
หวาดกลัวต่อสิ่งต่างๆเนื่องจากขาดสิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ
มโนทัศน์เกี่ยวกับการเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย
การเจ็บป่วยระยะท้าย
ภาวะบุคคลอยู่ในภาวะความเจ็บป่วยที่คุกคามต่อชีวิต มีการดําเนินโรคลุกลามอย่างมาก ทําให้การทําหน้าที่ของอวัยวะต่างๆของร่างกายไม่สามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติ
ภาวะใกล้ตาย
ภาวะที่เข้าสู่ช่วงใกล้เสียชีวิต มีอาการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายมากขึ้น จากการทําหน้าที่ของอวัยวะสําคัญของร่างกายลดลงหรือล้มเหลว และมีค่าคะแนนPalliative performance scale (PPS)น้อยกว่า 30
การดูแลแบบประคับประคอง
การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย หรือ palliative care ตามคํานิยาม WHO
นิยามของ palliative care ไม่ใช่การเร่งการตาย ไม่ยื้อความตาย ไม่ใช;การุณฆาต แต่เป็นการยอมรับสภาวะที่เกิดขึ้น และยอมให้ผู้ป่วยเสียชีวิตตามธรรมชาติ
การดูแลระยะท้าย (End of life care)หมายถึง การดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในระยะท้ายของโรคโดยใช้หลักการดูแลแบบประคับประคองเป็นแนวทางการให้บริการ
แนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
แนวคิดการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care)
เป็นการดูแลผู้ป่วยที่มุ่งเน้นในช่วงของการเจ็บป่วยในช่วงปีหรือเดือนท้ายๆของชีวิต
แนวคิดการดูแลตามทฤษฎีความสุขสบาย (comfort theory)
กิจกรรมการดูแลที่ส่งเสริมความสุขสบายของผู้ป่วยและครอบครัวตามทฤษฎี
1.มาตรฐานการพยาบาลเพื่อความสุขสบาย เพื่อรักษาความสมดุลของร่างกาย (Homeostasis) ควบคุมความปวดและความไม่สุขสบายต่างๆ
2.การสอน แนะนํา เป็นพี่เลี้ยง (coaching) ได้แก่ ให้กําลังใจ ให้ข้อมูล ความหวัง ชี้แนะ รับฟังและช่วยเหลือเพื่อวางแผนฟื้นฟูสภาพ
3.อาหารด้านจิตวิญญาณ (comfort food for the soul) เป็นสิ่งที่พยาบาลกระทําแสดงถึงการดูแลใส่ใจ เอื้ออาทร และสร้างความเข้มแข็งด้านจิตวิญญาณ เช่น จินตบําบัด การนวด
4.การดูแลแบบประคับประคองมุ่งให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบหรือ ตายดี (Good death) ให้ช่วงท้ายของชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย บุคคลในครอบครัวได้มีโอกาสอําลากันและกัน ความเจ็บปวดทางกายและทางใจลดลง รวมทั้งผู้ดูแลต้องสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ป่วยและครอบครัวเพื่อการตายอย่างสงบ
ประเด็นจริยธรรมที่สําคัญในการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต การเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย
1.การุณยฆาตหรือ ปราณีฆาต หรือ เมตตามรณะ(mercy killing or euthanasia)
1.1 การทําการุณยฆาตโดยความสมัครใจ (Voluntaryeuthanasia) คือ การที่ผู้ป่วยตระหนักรู้ เข้าใจถึงอาการ การดําเนินของโรค และทนทุกข์กับความทรมานต่อความเจ็บปวด และผู้ป่วยร้องขอให้ยุติการรักษาพยาบาล แพทย์ทําให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตโดยเจตนาตามความประสงค์ของผู้ป่วย
1.2 การทําการุณยฆาตโดยผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจได้เอง (Involuntaryeuthanasia)คือ การทําให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตโดยเจตนา โดยปล่อยให้เกิดการตายตามธรรมชาติ ตามพยาธิสภาพของโรค โดยปราศจากการช่วยชีวิตด้วยเครื่องมือทางการแพทย์
1) เมื่อผู้ป่วยอยู่ในภาวะเจ็บปวดทรมานอย่างแสนสาหัส
2) สิทธิส่วนบุคคลที่จะยุติชีวิตลง
3) บุคคลไม่ควรจะถูกบังคับให้ยืดชีวิตออกไปในสภาพที่ช่วยตนเองไม่ได้และไร้การรับรู้ทางสมอง
2.การยืดหรือการยุติการรักษาที่ยืดชีวิต
2.1 การยับยั้งการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบําบัดรักษา (withholding of life-sustaining treatment) หมายถึง การไม่เริ่มต้นใช้เครื่องมือช่วยชีวิต
2.2 การเพิกถอนการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบําบัดรักษา (withdrawal of life-sustaining treatment) หมายถึง การเพิกถอนใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบําบัดรักษา เช่น การเพิกถอนเครื่องช่วยหายใจ
3.การฆ่าตัวตายโดยความช่วยเหลือของแพทย์ (Physician-assisted suicide)
การฆ่าตัวตายโดยเจตนา และได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์ เช่น การให้ความรู้ เครื่องมือ หรือวิธีการอื่นใดที่อาจทําให้ผู้นั้นสามารถฆ่าตัวตายได้สําเร็จ ในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่สามารถเอาผิดกับผู้ที่ฆ่าตัวตายได้
4.การจัดสรรทรัพยากรที่มีจํานวนจํากัด
การจัดสรรทรัพยากรจึงควรคํานึงถึงการเกดประโยชน์มากที่สุด ความจําเป็นของบุคคล มีความเสมอภาค อายุ พิจารณาจากผลการรักษาว่ามีโอกาสประสบความสําเร็จเพียงใด คุ้มค่ากับการรักษาหรือไม่ คํานึงถึงผลประโยชน์ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางให้มีประโยชน์มากที่สุดและยุติธรรม
5.การบอกความจริง(Truth telling)
1) การบอกความจริงทั้งหมด
2) การบอกความจริงบางส่วน
3) การหลอกลวง
4) การประวิงเวลาการบอกความจริง
6.การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ(Organ transplantation)
การในการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะเพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืดยาวออกไป ประเด็นเชิงจริยธรรมนี้จึงเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับ โอกาสรอดชีวิตหลังผ่าตัด ระยะเวลาการมีชีวิตอยู่หลังผ่าตัด แหล่งที่มาของอวัยวะ ซึ่งพบว่าการซื้อขายอวัยวะเป็นประเด็นปัญหาทางจริยธรรมที่สําคัญอีกประการของโลกปัจจุบัน
แนวทางการป้องกันและแกไขปัญหาทางจริยธรรม
1.ให้ความรู้แก่พยาบาลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
2.จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม ได้แก่ การประชุมก่อนและหลังการพยาบาล จัดตั้งคณะกรรมการด้านจริยธรรมในโรงพยาบาล จัดทําคู่มือแนวทางปฏิบัติในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
3.รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของพยาบาล
4.จริยธรรมสําหรับการทํางานของทีมสุขภาพ โดยมีความเคารพซึ่งกันและกัน รู้จักขอบเขตหน้าที่ของตน รับผิดชอบต่อความปลอดภัยของผู้รับบริการ และการทําตนให้เป็นกัลยาณมิตรซึ่งกันและกัน
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต (End of life care in ICU)
1.มีการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤตน้อยกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
2.ผู้ป่วยที่มีอาการไม่สุขสบายและไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมมากกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
3.มีการสื่อสารในหัวข้อแผนการรักษาน้อยกว่าผู้ป่วยอื่นในโรงพยาบาล
ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตและทั่วไป
1.Professional culture
บุคลากรของทีมสุขภาพที่ทํางานอยู่ในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติจะคุ้นชินกับการรักษาผู้ป่วยเพื่อมุ่งให้มีชีวิตรอดพ้นจากภาวะวิกฤต การตายของผู้ป่วยอาจทําให้ทีมสุขภาพรู้สึกว่าเป็นความล้มเหลว
2.ความคาดหวังของผู้ป่วยและครอบครัว
ส่งผลให้มีความคาดหวังสูงที่จะดีขึ้นจากภาวการณ์จ็บป่วยที่รุนแรง การที่ผู้ป่วยมีอาการทรุดลงจากเดิม หรือมีโอกาสเสียชีวิตสูง เป็นสิ่งที่ทําให้ญาติเสียใจมาก
3.ความไม่แน่นอนของอาการ
การรักษาในไอซียูผู้ป่วยมีโอกาสที่จะดีขึ้นแล้วกลับไปทรุดลงได้หลายครั้ง
4.Multidisciplinary team
ในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติมีทีมแพทย์ที่ดูแลรักษาร่วมกันมากกว่า 1 สาขา ส่งผลให้แพทย์แต่ละสาขามุ่งเน้นในการรักษาอวัยวะที่ตนรับผิดชอบ อาจทําให้ไม่ได้มองผู้ป่วยแบบองค์รวม ถ้าไม่มีแพทย์ท่านใดดูแลผู้ป่วยเป็นองค์รวม มีความเป็นไปได้สูงที่ผู้ป่วยจะไม่ได้รับการดูแลแบบ palliative care
5.ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤติมีอาการไม่สุขสบายหลายอย่างและมีแนวโน้มถูกละเลย
6.ทรัพยากรมีจํากัด
7.สิ่งแวดล้อมในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
หลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
1.ทีมสุขภาพที่ทํางานในไอซียูเป็นผู้เริ่มลงมือด้วยตนเอง
2.การปรึกษาทีม palliative care ของโรงพยาบาลนั้น ๆ มาร่วมดูแลในผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์
3.การดูแลแบบผสมผสาน
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย
1.การประเมินสภาพ
1.1 การประเมินอาการทางร่างกาย
1)ระบบทางเดินอาหาร
2)ระบบหัวใจและหลอดเลือด
3)ระบบหายใจ
4)ระบบประสาท
5)ระบบการควบคุมหูรูด
6)ระบบขับถ่าย
1.2 การประเมินด้านจิตใจ ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายจะมีความผิดปกติทางด้านจิตใจ
1) ภาวะซึมเศร้า (Depression)
2) ภาวะวิตกกังวล (Anxiety)
3) ภาวะสับสน (Delirium)
1.3 การประเมินด้านสังคม
1)บทบาทของผู้ป่วยในครอบครัว โดยบทบาทจะส่งผลกระทบต่อภาวะจิตใจของสมาชิกในครอบครัวหรือศักยภาพในการจัดการปัญหาต่าง ๆ
2)ความรักความผูกพันของผู้ป่วยกับสมาชิกในครอบครัว
3)ความต้องการของครอบครัว
4)ผู้ดูแลผู้ป่วย (Care giver)
5)ที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม การประเมินเรื่องที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกําหนดความพร้อมในการรับผู้ป่วยกลับไปอยู่บ้าน
6)เครือข่ายทางสังคมและการสนับสนุนทางสังคม ที่จะให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ
1.4 การประเมินด้านจิตวิญญาณ
การประเมินระดับPalliative Performance Scale (PPS)
1.เพื่อสื่อสารอาการปัจจุบันของผู้ป่วยระหว่างบุคลากรในทีมที่ร่วมกันดูแลผู้ป่วย เพื่อให้มองเห็นภาพของผู้ป่วยและการพยากรณ์โรคไปในแนวทางเดียวกัน
2.เพื่อประเมินพยากรณ์โรคอย่างคร่าวๆและติดตามผลการรักษา
3.ใช้เป็นเกณฑ์การัดเลือกผู้ป่วยเพื่อเข้าดูแลในสถานที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Hospice)
4.ใช้บอกความยากของภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์และครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย
5.ใช้ในการวิจัย
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย
1.การสื่อสาร
1)ควรมีแผ่นพับแนะนําครอบครัวถึงการเตรียมตัวก่อนทําการประชุมครอบครัว เพื่อให้ครอบครัวได้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์และมีการเตรียมตัวมาก่อนล่วงหน้า
2)ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกครั้งที่พูดคุยกับครอบครัว สถานที่ควรเป็นห้องที่เป็นส่วนตัว ไม่มีการรบกวน
3)หลีกเลี่ยงคําศัพท์แพทย์
4)ให้เกียรติครอบครัวโดยการฟังอย่างตั้งใจและให้เสนอความคิดเห็น
5)มีความเห็นใจครอบครัวที่ต้องประเชิญเหตุการณ์นี้
6)บทสนทนาควรเน้นที่ตัวตนของผู้ป่วยมากกว่าโรค เปิดโอกาสให้ครอบครัวเล่ารายละเอียดความเป็นตัวตนของผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด และมุ่งเน้นที่ประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับเป็นสําคัญ
7)ปล่อยให้มีช่วงเงียบ เพื่อให้ญาติได้ทบทวน รวมถึงฟังอย่างตั้งใจทุกครั้งที่ครอบครัวพูด จากการศึกษาพบว่าการสนทนาที่แพทย์เป็นฝ่ายฟัง จะสร้างความพอใจให้กับญาติมากกว่าที่แพทย์เป็นฝ่ายพูด
8)บอกการพยากรณ์โรคที่ตรงจริงที่สุด
9)เนื้อหาที่จะพูดคุยนั้นอาจแบ่งตามช่วงเวลาที่ผู้ป่วยเข้ารักษาในไอซียูการเริ่มประชุมครอบครัวควรทําอย่างช้าที่วันที่ 3 และวันที่ 5
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
2.1 การช่วยเหลือดูแลทางกายตามอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยระยะสุดท้าย
1อาการปวด
2 อาการท้องผูก
3 เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
4 อาการปากแห้งเจ็บในปาก กลืนลําบาก
5อาการท้องมานหรือบวมในท้อง
6 อาการไอ
7อาการหอบเหนื่อย หายใจลําบาก
8 อาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้
9 อาการบวม
10 อาการคัน
11 การเกิดแผลกดทับ
การดูแลทั่วไป
ประกอบด้วยการดูแลความสะอาดร่างกาย ให้ได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกายได้แก่ การพักผ่อนนอนหลับ ควรจัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด สงบ ลดการกระตุ้นที่รบกวนผู้ป่วย
การดูแลด้านอารมณ์และสังคมของผู้ป่วยและครอบครัว (Psychosocial care)
4.1 ช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับความตายที่จะมาถึง เป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา โดยควรเริ่มก่อนถึงวาระสุดท้าย อาจต้องบอกความจริงเรื่องโรค และให้เวลาฟังความ รู้สึกจากผู้ป่วย ข้อนี้ต้องอาศัยสัมพันธภาพที่ดีของผู้ดูแลด้วย
4.2 ช่วยให้จิตใจจดจ่อกับสิ่งดีงาม อาจน้อมนําได้หลายวิธี
4.3 การช่วยปลดเปลื้องสิ่งที่ค้างคาใจ
4.4 แนะนําให้ผู้ป่วยปล่อยวางสิ่งต่างๆ ผู้ป่วยมักยังยึดติดกับบางสิ่งบางอย่าง ทําให้เกิดความกังวลควบคู่กับความกลัวที่จะต้องพลัดพรากสิ่งอันเป็นที่รัก
4.5 สร้างบรรยากาศที่สงบและเป็นส่วนตัว
การดูแลด้านจิตวิญญาณผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัว
5.1 ประเมินและบันทึกความต้องการทางจิตวิญญาณในระหว่างการดูแลเป็นระยะ
5.2 สนับสนุนให้มีสถานที่หรือกิจกรรมส่งเสริมด้านจิตวิญญาณ
5.3 สอบถามและส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติตามศรัทธาความเชื่อเพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีความสงบผ่อนคลายในระยะสุดท้าย
ดูแลให้ได้รับการประชุมครอบครัว (Family meeting)
เป็นกิจกรรมที่มีเป้าหมายสําคัญเพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีระหว่างทีมสุขภาพกับผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับโรคและระยะของโรครวมไปถึงการดําเนินโรคและการพยากรณ์โรคแนวทางของการดูแลผู้ป่วยในอนาคต รวมทั้งประเมินความต้องการด้านอื่นๆของผู้ป่วย
การดูแลให้ผู้ป่วยและญาติเข้าถึงการวางแผนการดูแลล่วงหน้า (Advance Care Planning [ACP])
7.1Living will หรือพินัยกรรมชีวิต หรือ หนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข
7.2Proxyคือ บุคคลใกล้ชิดที่ผู้ป่วยมอบหมายให้มีอํานาจตัดสินใจในเรื่องการดูแลทางการแพทย์ในวาระสุดท้ายของตน
การดูแลผู้ป่วยที่กําลังจะเสียชีวิต (manage dying patient)
1)ทําการปิดเครื่องติดตามสัญญาณชีพต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องติดตามการเต้นหัวใจ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
4)ทําความสะอาดใบหน้า ช่องปาก และร่างกายผู้ป่วย
5)ยุติการรักษาที่ไม่จําเป็น เช่น สารอาหารทางหลอดเลือด น้ําเกลือ ยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ
6)นําสายต่าง ๆ ที่ไม่จําเป็นออก เช่น สายให้อาหารทางจมูก
3)ควรปิดประตูหรือปิดม่านให้มิดชิด
7)ให้คงไว้เพียงการรักษาที่มุ่งเน้น
8)ให้คุมอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
9)ควรทําการยุติการให้ผู้ป่วยได้รับยาหย่อนกล้ามเนื้อ (neuromuscular blocking agent) เนื่องจากเป็นยาที่บดบังความไม่สุขสบายของผู้ป่วย
10)ให้ยาที่มักจําเป็นต้องได้ เช่น มอร์ฟีน ยานอนหลับกลุ่ม benzodiazepine ยาลดเสมหะ เป็นต้น
2)ยุติการเจาะเลือด
11)อธิบายครอบครัวถึงอาการต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น และวิธีการจัดการช่วงเวลานี้
12)ประเมินความสุขสบายของผู้ป่วยและเป็นการทําให้ญาติมั่นใจว่าทีมสุขภาพไม่ได้ทอดทิ้งผู้ป่วย
การดูแลจิตใจครอบครัวผู้ป่วยต่อเนื่อง (bereavement care)
หลังจากที่ผู้ป่วยเสียชีวิตไปแล้วทีมสุขภาพอาจทําการแสดงความเสียใจต่อการสูญเสีย เป็นปกติที่ครอบครัวจะเสียใจกับการจากไปของผู้ป่วย