Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีความผิดปกติของรกน้ำคร่ำ และความผิดปกติของทารกใน…
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีความผิดปกติของรกน้ำคร่ำ และความผิดปกติของทารกในครรภ์
ภาวะน้ำคร่ำผิดปกติ
1.น้ำคร่ำมากกว่าปกติ (polyhydramnios)
หมายถึง การตั้งครรภ์ที่มีน้ำคร่ำมากผิดปกติ โดยมีปริมาณน้ำคร่ำมากกว่า 2,000 มล.
พยาธิสภาพ เกิดจากความสมดุลของปริมาณน้ำคร่ำในครรภ์มารดาที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณปัสสาวะของทารก การสร้างของเหลวจากปอด ซึ่งจะสัมพันธ์กับของเหลวที่เข้าและออกจากถุงน้ำคร่ำ
สาเหตุ
ด้านมารดา มารดาเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และการตั้งครรภ์แฝด
ด้านทารก การอุดกั้นของระบบทางเดินอาหาร ความพิการของทารกในครรภ์
แบ่งเป็น 2 ชนิด
ภาวะน้ำคร่ำมากอย่างเฉียบพลัน (Acute hydramnios)
พบได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 20-24 week จะมีปริมาณน้ำคร่ำเพิ่มขึ้นมากอย่างรวดเร็วภายใน 2-3 วัน เกิดอาการให้สตรีไม่สุขสบาย ปวดหลังและหน้าขา หายใจลำบาก คลื่นไส้และอาเจียน
ภาวะน้ำคร่ำมากเรื้อรัง (Chronic hydramnios)
ปริมาณน้ำคร่ำจะค่อยๆเพิ่มขึ้น อาการจะคล้ายๆกับภาวะน้ำค่ำมากอย่างเฉียบพลัน พบในอายุครรภ์ 30 week ขึ้นไป
ผลกระทบ
ผลต่อทารกในครรภ์
เกิดภาวะ fetal distress จากการเกิดสายสะดือย้อย (prolapsed umbilical cord) หรือเสี่ยงต่อภาวะพิการและคลอดก่อนกำหนด
ผลต่อมารดา
เกิดความไม่สุขสบายจากการกดทับของมดลูกที่มีขนาดใหญ่ เช่น อึดอัด หายใจลําบาก ท้องอืด อาจเกิดการคลอดก่อนกำหนด เสี่ยงต่อภาวะช็อกจากความดันในช่องท้องลดลงอย่างรวดเร็ว มีการตกเลือดและติดเชื้อหลังคลอดได้
อาการและอาการแสดง
แน่นอึดอัด หายใจลําบาก เจ็บชายโครง
บวมบริเวณเท้า ขา และปากช่องคลอด
น้ําหนักตัวเพิ่มขึ้น
การรักษา
การรักษาด้วยยา prostaglandin synthetase inhibitors โดยใช้ในรายที่อายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์
รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง
การเจาะดูดน้ําคร่ำออก(amnioreduction) ในรายที่มารดามีอาการแน่นอึดอัดหน้าท้อง อย่างรุนแรง อันตรายจากการเจาะดูดน้ําคร่ำ
การเจาะถุงน้ําในระยะคลอด ให้น้ําคร่ำไหลช้าที่สุด เพื่อป้องกันการเกิดรกลอกตัวก่อน กําหนด และสายสะดือย้อย
การพยาบาล
ประเมินการเกิดภาวะตั้งครรภ์แฝดน้ําจากการซักประวัติอาการและอาการแสดง การตรวจ ร่างกาย และดูแลเพื่อบรรเทาอาการอึดอัดแน่นท้องจากการขยายตัวของมดลูก
สังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะ congestive heart failure
เฝ้าระวังและตรวจติดตามสุขภาพของทารกในครรภ์
จัดท่ามารดานอนตะแคง ยกศีรษะสูงเล็กน้อยประมาณ 30 องศา
ให้นอนพักบนเตียง เพื่อป้องกันภาวะน้ําคร่ำแตกก่อนกําหนด และประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
ให้การพยาบาลเหมือนกับสตรีตั้งครรภ์แฝด โดยเฉพาะดูแลการหดรัดตัวของมดลูกเพื่อป้องกัน การตกเลือดหลังคลอด
ฟัง FHS ในระยะ latent ทุก 30 นาที และระยะ active ทุก 15 นาที
2.น้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ (oligohydramnios)
หมายถึงการตั้งครรภ์ที่มีน้ําคร่ำน้อยกว่า 300 มิลลิลิตร ภาวะน้ําคร่ำน้อยอาจ พบร่วมกับความผิดปกติของทารก ความผิดปกติของโครโมโซม ภาวะเจริญเติบโตช้าในครรภ์ และครรภ์เกินกําหนด
สาเหตุ
ความผิดปกติของโครโมโซม
รกเสื่อมสภาพ
ถุงน้ําคร่ำแตกก่อนกําหนด
การตั้งครรภ์เกินกําหนด
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
ผลกระทบ
ผลต่อมารดา
มีโอกาสผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้องมากกว่าการตั้งครรภ์ปกติ เนื่องจากทารกในครรภ์ เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ fetal distress
ผลต่อทารก
ภาวะปอดแฟบ (pulmonary hypoplasia) เนื่องจากมีการกดต่อผนังทรวงอก โดยมดลูกที่ มีน้ําคร่ำน้อยจะขัดขวางการขยายตัวของปอด และผนังทรวงอก
Amniotic band syndrome
มีโอกาสคลอดก่อนกําหนดถ้าเกิดในอายุครรภ์น้อยทารกมักมีความพิการรุนแรง
ทารกอยู่ในภาวะคับขัน (fetaldistress) และ ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ IUGR)
การวินิจฉัย
การวัดโพรงน้ําคร่ำที่ลึกที่สุดในแนวดิ่ง (maximum ventrical pocket, MVP)
การวัดดัชนีน้ําคร่ำ amniotic fluid index (AFI) มีค่าน้อยกว่า 5 เซนติเมตร
การรักษา
การเติมน้ําคร่ำด้วย normal saline/ ringers lactate 5% glucose เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน
ดื่มน้ํามากๆ ทําให้ปริมาณน้ําคร่ำเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
การประเมินภาวะความผิดปกติแต่กําเนิด และการรักษาภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
การพยาบาล
อธิบายถึงสาเหตุการเกิด และแนวทางการรักษา
ดูแลให้ได้รับการใส่สารน้ําเข้าไปในถุงน้ําคร่ำ
รับฟังปัญหาแสดงความเห็นอกเห็นใจและกระตุ้นให้ระบายความรู้สึก
การตั้งครรภ์ที่มีจำนวนทารกมากกว่า 1 คน (multiple pregnancy)
หมายถึง การตั้งครรภ์ที่มีทารกในโพรงมดลูกมากกว่า 1 คนขึ้นไป
ชนิดและสาเหตุการตั้งครรภ์แฝด
แฝดที่เกิดจากไข่คนละใบหรือแฝดเทียม คือ เป็นการตั้งครรภ์แฝด ที่เกิดจากไข่ 2 ใบผสมกับอสุจิ 2 ตัว amnion 2 อัน และ chorion 2 อัน มีรก 2 อัน
จํานวนครั้งของการตั้งครรภ์
มารดามีประวัติใช้ยากระตุ้นเร่งการตกไข่ เพื่อรักษาภาวะมีบุตรยาก
เชื้อชาติ พันธุกรรม อายุมารดาที่มากกว่า 35 ปี
แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวหรือแฝดแท้ คือ เป็นแฝดที่ เกิดจากการปฏิสนธิจากไข่ 1 ใบ และตัวอสุจิ 1 ตัว
ผลกระทบ
ผลต่อมารดา
คลื่นไส้อาเจียนมาก
การตกเลือดก่อนคลอด
รกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกําหนด
เกิดภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์
ผลต่อทารก
เกิดภาวะแท้งได้ ทารกตายในครรภ์
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
ทารกขาดออกซิเจน (asphyxia)
การพยาบาล
ดูแลให้ได้รับอาหารอย่างเพียงพอ
เฝ้าระวังการเกิดภาวะโลหิตจางอาจให้โฟลิคเสริม
ระวังการความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์
ป้องกันการคลอดก่อนกําหนด
การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง กลุ่มที่ไม่ใช่หัว-หัวหรือไม่ใช่หัว- ไม่ใช่หัว ให้การผ่าตัด คลอดทางหน้าท้องทุกราย
เฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี โดยให้ oxytocin drug
ทารกตายในครรภ์ (Dead fetus in Utero : DFU)
หมายถึง การตายหรือเสียชีวิตเองโดยธรรมชาติของทารกในครรภ์ก่อนคลอด โดยไม่คํานึงถึงอายุครรภ์
ชนิดของทารกตายในครรภ์
การตายของทารกในระยะกลาง (intermediate fetal death) คือการตายระหว่างอายุครรภ์ 20-28 สัปดาห์
การตายของทารกในระยะสุดท้าย (late fetal death) คือการตายตั้งแต่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ ขึ้นไป
การตายของทารกในระยะแรก (early fetal death) คือ การตายก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์
สาเหตุ
ด้านมารดา
มารดาอายุมากกว่า 35 ปี
มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์โรคทางอายุรศาสตร์
โรคเบาหวาน
โรคไตชนิดรุนแรง
โรคความดันโลหิตสูง
มีภาวะรกลอกตัวก่อนกําหนด รกเกาะต่ำ
ได้รับอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บขณะตั้งครรภ์
ด้านทารก
มีภาวะพิการแต่กําเนิด
ความผิดปกติของโครโมโซม
ความพิการอื่น ๆ
ด้านรก
รกลอกตัวก่อนกําหนด การติดเชื้อในโพรงมดลูก เส้นเลือดอุดกั้นในสายสะดือ
การวินิจฉัย
น้ําหนักตัวของมารดาคงที่หรือลดลง เต้านมมีขนาดเล็กลง
คลํายอดมดลูกพบว่าไม่สัมพันธ์กับอายุครรภ์
ซักประวัติมารดาพบทารกไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อยลง หรือสังเกตได้ว่าอาการของการ ตั้งครรภ์หายไป
ทารกไม่มีการเต้นของหัวใจ หรือการเคลื่อนไหวของทารก
ตรวจพบแก๊สในหัวใจ เส้นเลือดใหญ่ หรือช่องท้องทารก เรียกว่า Robert sign
การรักษา
ตรมาสที่สองเหน็บยา prostaglandin
ไตรมาสที่สามให้ oxytocin ปริมาณความเข้มข้นสูงทางหลอดเลือดดํา
ไตรมาสแรก ทําการ dilatation and curettage
การพยาบาล
ประเมินความต้องการสัมผัสกับทารกแรกคลอดที่เสียชีวิต
ดูแลให้ได้รับการสิ้นสุดการตั้งครรภ์ ตามแผนการรักษาของแพทย์
แนะนําให้สามีและครอบครัวให้กําลังใจ ปลอบใจ
ให้ได้รับยายับยั้งการหลั่งน้ํานมตามแผนการรักษาของแพทย์
ให้การประคับประคองทางด้านจิตใจ
ภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
หมายถึง ทารกในครรภ์ไม่เจริญเติบโตตามพัฒนาการที่เป็นไปตามปกติโดยน้ำหนักแรกคลอดของทารกจะต่ำ
สาเหตุ
ด้านมารดา
มีภาวะติดเชื้อ
น้ําหนักของมารดาไม่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์
การตั้งครรภ์แฝด
มารดามีรูปร่างเล็ก น้ำหนักน้อย
ภาวะโลหิตจางรุนแรง
โรคธาลัสซีเมีย
ด้านทารก
ความผิดปกติของโครโมโซม
trisomy 21
การติดเชื้อในระยะตั้งครรภ์
cytomegalovirus
rubella
ความพิการแต่กําเนิด ความผิดปกติของอวัยวะของร่างกาย
การจําแนกประเภทของ IUGR
ทารกโตช้าในครรภ์แบบได้สัดส่วน (Symmetrical IUGR)
มีการเจริญเติบโตช้าทุกระบบของร่างกาย ทั้งส่วนที่กว้างของศีรษะ เส้นรอบศีรษะ เส้นรอบท้อง ความยาวกระดูกต้นขา มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำในอายุครรภ์นั้น ๆ
ทารกโตช้าในครรภ์แบบไม่ได้สัดส่วน (Asymmetrical IUGR)
ส่งผลต่อขนาดของเซลล์มากกว่าจํานวนเซลล์ พบว่าอัตราการเจริญเติบโตของส่วนท้อง จะช้ากว่าส่วน
ศีรษะ
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย
การตรวจครรภ์ พบว่า ขนาดของมดลูกเล็กกว่าอายุครรภ์ 3 เซนติเมตรขึ้นไป
การชั่งน้ําหนักของสตรีตั้งครรภ์ พบว่า น้ําหนักเพิ่มขึ้นน้อยหรือไม่มีการเพิ่มขึ้นของน้ําหนัก
การตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง (ultrasound)
วัดเส้นรอบท้อง / วัดเส้นรอบท้อง / วัดเส้นรอบศีรษะ / วัดความยาวของกระดูกต้นขา / ปริมาณน้ําคร่ำ / เกรดของรก
การซักประวัติ เพื่อค้นหาสาเหตุและปัจจัยส่งเสริมของการเกิดภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
Hypertension
DM
การรักษา
ตรวจเฝ้าระวังสุขภาพของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด โดยการตรวจ U/S ทุก 2-3 สัปดาห์
กําหนดเวลาการคลอดที่เหมาะสม
การพยาบาล
แนะนํามารดาเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือสารเสพติด
ให้มารดาพักผ่อนมาก ๆ โดยเฉพาะการนอนตะแคงซ้าย
ติดตามและประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด ทารกีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ fetal distress ได้สูง
ในระยะหลังคลอด ให้การดูแลทารกเพื่อเฝ้าระวัง และป้องกันการเกิดภาวะ hypoglycemia, hypothermia, polycythemia
ทารกพิการแต่กำเนิด (congenital anormality)
หมายถึง ความผิดปกติของร่างกายทารกแรกเกิดสังเกตได้จากลักษณะภายนอกหรือความพิการที่อยู่ในอวัยวะภายใน ความพิการที่เกิดขึ้นอาจเป็น ที่อวัยวะเดียว หรือหลายอวัยวะก็ได้
สาเหตุ
สิ่งแวดล้อม
การใช้ยา
การติดเชื้อ
พันธุกรรม
สตรีตั้งครรภ์มีอายุมากกว่า 35 ปี
บุคคลในครอบครัวให้กําเนิดทารกพิการ
ความผิดปกติของโครโมโซม
ความผิดปกติของทารก
Disruption
ความผิดปกติทางรูปร่างของอวัยวะหรือส่วนของอวัยวะ
Deformation
ความผิดปกติของรูปร่างหรือโครงสร้างของอวัยวะของร่างกาย
Malformation
เป็นความผิดปกติทางรูปร่างของอวัยวะหรือส่วนของอวัยวะ เป็นผลมาจากขบวนการของการพัฒนาหรือขบวนการเจริญเติบโตของอวัยวะนั้น
Dysplasia
ความผิดปกติทางรูปร่างของอวัยวะหรือส่วนของอวัยวะอันเป็นผลมา จากความผิดปกติของการจัดระเบียบของเซลล์ที่จะเจริญไปเป็นเนื้อเยื่อ
การป้องกัน
ทําการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด เพื่อค้นหาความพิการแต่กําเนิด ตั้งแต่อยู่ในครรภ์
หลีกเลี่ยงการสัมผัส teratogen
ต้องได้รับการให้คําแนะนําปรึกษาทาง พันธุศาสตร์ตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจเลือดคู่สามีภรรยา
ดาวน์ซินโดรม
สาเหตุ มีโครโมโซมเกินไป 1 แท่ง คือโครโมโซมคู่ที่ 21 มี 3 แท่ง
การวินิจฉัย
การตรวจโครโมโซมโดยวิธี chorionic villus เมื่ออายุครรภ์ 9-12 สัปดาห์
การซักประวัติครอบครัว หรือ มารดาที่มีอายุมากกว่า 35 ปี
การรักษา
รักษาแบบประคับประคองตามอาการ
มุ่งเน้นให้เด็กสามารถ ช่วยเหลือตัวเองได้
อาการ
มูกและหู มีจมูกไม่มีสัน ใบหูเล็กอยู่ต่ำกว่าปกติ
ปากและคอ มีเพดานปากโค้งนูน บางรายอาจโหว่
ศีรษะและตา มีศีรษะแบนกว้าง และท้ายทอยแบน
ปากแหว่งเพดานโหว่
การวินิจฉัย : พบตั้งแต่ทารกแรกเกิด การตรวจร่างกายในครรภ์ด้วย อัลตร้า ซาวน์
การพยาบาล
ดูแลด้านจิตใจสําหรับบิดา มารดา
ให้คําแนะนําเกี่ยวกับการดูแลทารกแรกเกิด
ดูแลการให้นมแม่
ทารกศีรษะบวมน้ําหรือภาวะน้ําคั่งในโพรงสมอง (Hydrocephalus)
มีการคั่งของน้ําไขสันหลังในกะโหลกศีรษะบริเวณเวนตริเคิล (ventricle)
พยาธิสภาพ
เนื้อสมองและเยื่อหุ้มสมอง น้ําไขสันหลัง และโลหิต
ดังนั้นความดันในกะโหลกศีรษะจึงเกิดจากผลรวมของความดัน
ทารกศีรษะเล็ก (Microcephaly)
เกิดจากสมองเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ หรือหยุดการเจริญเติบโต
พยาธิสภาพ
สมองของทารกจะมีขนาดเล็ก น้ําหนักน้อยกว่าปกติ จํานวนและความลึกของคลื่นหรือรอย หยักของเนื้อสมองจะลดลง
การรักษา
มุ่งเน้นให้เด็กสามารถมีชีวิต อยู่ได้นานมากขึ้น และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนท่ีเป็นอันตรายต่อชีวิตเด็กได้เท่าน้ัน
การพยาบาล
ให้การพยาบาลตามอาการและอาการแสดง
อธิบายให้บิดามารดาเข้าใจเก่ียวกับสภาพของทารก
บันทึกอาการแลอาการแสดง
ภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defects: NTDs)
เป็นความผิดปกติแต่กําเนิดของระบบประสาท
สาเหตุของการเกิด NTDs
Genetic factors
Environmental factors
เยื่อหุ้มไขสันหลังยื่น (Spina bifida)
ความผิดปกติของท่อประสาทตั้งแต่แรกเกิดจากพัฒนาการที่ ผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง
พยาธิสภาพ
เป็นความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง มีถุงยื่นผ่านจากกระดูกไขสันหลังออกมา ตามตําแหน่งที่บกพร่องนั้น
ชนิดของกระดูกสันหลังโหว่
spin bifida occulta
spina bifida cystica
meningocele
myelomeningocele
การรักษา
รักษาโดยการผ่าตัดปิดซ่อมแซมรอยโรคภายใน 24-48 ชั่วโมงภายหลังคลอด เพื่อลดการติดเชื้อ
การพยาบาล
ให้การพยาบาลตามอาการ
การให้ folic acid ในสตรีตั้งครรภ์จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคกระดูกสันหลังโหว่ได้
ท่านอนให้นอนในท่าตะแคง หรือ นอนคว่ำ
การรักษา
อาจเลือกยุติการตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ยังน้อย
รักษาด้วยการใส่ shunt ในครรภ์