Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีความผิดปกติ ของรกน้ำคร่ำ และความผิดปกติของทารก…
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีความผิดปกติ
ของรกน้ำคร่ำ และความผิดปกติของทารกในครรภ์
ภาวะน้ำคร่ำผิดปกติ(Polydramnios/ Oligohydramnios)
ภาวะน้ำคร่ำมากผิดปกติ หรือการตั้งครรภ์แฝดน้ำ (Hydramnios/ polyhydramnios)
การตั้งครรภ์ที่มีน้ำคร่ำมากผิดปกติ เกินเปอร์เซ็นไทล์ที่ 95 หรือ 97.5 ของแต่ละอายุครรภ์โดยมีปริมาณน้ำคร่ำมากกว่ากว่า
2,000 มล.
อุบัติการณ์
พบประมาณร้อยละ 1 ของการตั้งครรภ์
พยาธิสรีรวิทยา
ความผิดปกติของปริมาณน้ำคร่ำจะสัมพันธ์กับความสมดุลของปริมาณของเหลวที่เข้าและออกจากถุงน้ำคร่ำ มากหรือน้อยขึ้นกับความรุนแรงที่เกิดขึ้น
สาเหตุ
ด้านมารดา ได้แก่ มารดาเป็นโรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์แฝด
ด้านทารก ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการกลืนของทารก ความผิดปกติของระบบประสาท
ไม่ทราบสาเหตุ เป็นกลุ่มที่พบได้บ่อยที่สุดถึงร้อยละ 60
ผลต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อมารดา
ช็อคจากความดันในช่องท้องลดลงอย่างรวดเร็ว
ตกเลือดหลังคลอด
อาจเกิดการคลอดก่อนกำหนด
ผลต่อทารก
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะพิการ
เกิดภาวะ fetal distress
ทารกอยู่ท่าผิดปกติและไม่คงที่
การจำแนกชนิด
ภาวะน้ำคร่ำมากอย่างเฉียบพลัน (Acute hydramnios) พบได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 20-24สัปดาห์
ภาวะน้ำคร่ำมากเรื้อรัง (chronic hydramnios) พบว่าปริมาณน้ำคร่ำจะค่อยๆเพิ่มขึ้น
อาการและอาการแสดง
แน่นอึดอัด หายใจลำบาก เจ็บชายโครง
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
การวินิจฉัย
การซักประวัติอาการ และอาการแสดงการเกิดภาวะครรภ์แฝดน้ำ
การตรวจร่างกาย : วัดเส้นรอบท้องได้มากกว่า 100 เซนติเมตร ผนังหน้าท้องตึง บาง ใส
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ : การหาค่า amniotic fluid index (AFI)
ภาวะน้ำคร่ำน้อย (oligohydramnios)
การตั้งครรภ์ที่มีน้ำคร่ำน้อยกว่า 300 มิลลิลิตร ภาวะน้ำคร่ำน้อยอาจพบร่วมกับความผิดปกติของทารก
สาเหตุ
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด ทำให้เกิดภาวะนี้ได้ 26-35 %
รกเสื่อมสภาพ
การตั้งครรภ์เกินกำหนด
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อทารก
มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด ถ้าเกิดในอายุครรภ์น้อย ทารกมักมีความพิการรุนแรง
ภาวะปอดแฟบ (pulmonary hypoplasia)
ทารกอยู่ในภาวะคับขัน (fetal distress)
ผลต่อมารดา
มีโอกาสผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้องมากกว่าการตั้งครรภ์ปกติ
การวินิจฉัย
การวัดดัชนีน้ำคร่ำ amniotic fluid index (AFI)
การวัดโพรงน้ำคร่ำที่ลึกที่สุดในแนวดิ่ง (maximum ventrical pocket, MVP)
การรักษา
พิจารณาตามอายุครรภ์ หากเกิดภาวะน้ำคร่ำน้อยในช่วงไตรมาสแรก มีโอกาสแท้งสูงมากถึง้อยละ 90 ดังนั้นจะต้องติดตาม เฝ้าระวังภาวะแท้ง
ทารกพิการ (Fetal anormaly)
ทารกศีรษะเล็ก (Microcephaly)
การวินิจฉัย
การซักประวัติ : มารดามีประวัติเป็น Phenylketonuria
อาการและอาการแสดง จากลักษณะทั่วไป พบว่า ขนาดของศีรษะเล็กกว่าปกติ
ผลการตรวจทางห้องทดลอง ได้แก่ Skull X-ray
ภาวะศีรษะเล็กหรือสมองเล็กเป็นความพิการของสมอง ซึ่งอาจเกิดจากสมองเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ หรือหยุดการเจริญเติบโต
พยาธิสภาพ
สมองของทารกจะมีขนาดเล็ก น้ำหนักน้อยกว่าปกติ จำนวนและความลึกของคลื่นหรือรอยหยักของเนื้อสมองจะลดลง
ปากแหว่งเพดานโหว
ความพิการแต่กำเนิดของเพดาน ริมฝีปาก เหงือกส่วนหน้า เพดานแข็ง และเพดานอ่อน
โรคปากแหว่ง : โรคที่มีความผิดปกติแต่กำเนิดบริเวณริมฝีปากเพดานส่วนหน้าแยกจากกันเมื่อทารกอยู่ในครรภ์มารดาช่วง 4-7 สัปดาห์
โรคเพดานโหว : ความผิดปกติแต่กำเนิด บริเวณเพดานส่วนหลังแยกจากกัน ซึ่งเกิดขึ้นได้ระยะทารกอยู่ในครรภ์มารดาช่วง 12 สัปดาห์
สาเหตุ
กรรมพันธุ์
สิ่งแวดล้อม เช่น มารดาติดเชื้อหัดเยอรมันในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก
อาการและอาการแสดง
ทารกที่มีปากแหว่งเพียงอย่างเดียว จะไม่สามารถอมหัวนมหรือจุกนมได้สนิท
การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนต้น
พยาธิสภาพ
เมื่อทารกมีความพิการปากแหว่ง เพดานโหว่ การดูดกลืนของทารกจะผิดปกติเนื่องจากการอมหัวนมไม่แนบสนิท มีรูรั่วให้ลมเข้าแลละสำลักง่ายขณะดูดนม
ภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defects: NTDs)
เป็นความผิดปกติแต่กำเนิดของระบบประสาทสามารถเกิดได้ทุกขั้นตอนของการพัฒนาแต่ในช่วงแรกของการพัฒนาหรือช่วงการสร้างและผิดของ neural tube
จำแนกออกเป็น 2 กลุ่มหลัก
Open type NTDs คือมีการเปิดของ neural tissue กับสิ่งแวดล้อมภายนอกสัมพันธ์กับความผิดปกติในช่วง primary neurulation
Closed type NTDs หรือ spina bifida occulta คือ NTD ที่มีผิวหนังภายนอกคลุมไว้และไม่มี expose ของ neural tissue ออกมาภายนอก
สาเหตุของการเกิด NTDs
Genetic factors: 95% ของมารดาที่ให้กำเนิดทารก NTD ไม่มีประวัติในครอบครัวมาก่อนแต่มีหลายหลักฐานที่ระบุว่า NTD มีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางพันธุกรรม
Environmental factors: ปัจจัยภายนอกที่อาจเกี่ยวข้องกับการเกิด NTD มีหลายปัจจัย อาทิgeography, ethnicity, nutrition, maternal illness, maternal age and parity
เยื่อหุ้มไขสันหลังยื่น (Spina bifida)
ความผิดปกติของท่อประสาทตั้งแต่แรกเกิดจากพัฒนาการที่ผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง
พยาธิสภาพ
Spina Bifida เป็นความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง มีถุงยื่นผ่านจากกระดูกไขสันหลังออกมาตามตำแหน่งที่บกพร่อง
Spina bifida แบ่งออกเป็นสองชนิดคือ ชนิดเปิด (open) และชนิดปิด (closed)
ชนิดของกระดูกสันหลังโหว่
spin bifida occulta เป็นความผิดปกติของกระดูกสันหลังตรงตำแหน่ง vertebal arches ทำให้เกิดช่องโหว่ระหว่างแนวกระดูกสันหลัง
spina bifida cystica เป็นความผิดปกติของส่วนโค้งกระดูกสันหลัง ทำให้มีการยื่นของไขสันหลังหรือเยื่อหุ้มสมอง
meningocele มีลักษณะคล้ายกับชนิดที่ หนึ่ง แต่มีก้อนยื่นผ่านกระดูกสันหลังที่ผิดปกติออกมา ก้อนหรือถุง
myelomeningocele หรือ meningomyelocele มีความผิดปกติของกระดูกสันหลัง ที่มีก้อนยื่นผ่านกระดูกสันหลังที่ผิดปกติออกมา
ดาวน์ซินโดรม
เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมที่มีภาวะปัญญาอ่อนที่พบบ่อยที่สุด
สาเหตุ
มีโครโมโซมเกินไป 1 แท่ง คือโครโมโซมคู่ที่ 21 มี 3 แท่ง
อาการ
ลักษณะภายนอกที่พบ
ศีรษะและตา มีศีรษะแบนกว้าง และท้ายทอยแบน
จมูกและหู มีจมูกไม่มีสัน ใบหูเล็กอยู่ต่ำกว่าปกติ
ปัญญาอ่อน จะมีพัฒนาการช้าหว่าเด็กธรรมดา มี IQ เฉลี่ย 25-50
ทารกศีรษะบวมน้ำหรือภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง (Hydrocephalus)
ภาวะที่มีการคั่งของน้ำไขสันหลังในกะโหลกศีรษะบริเวณเวนตริเคิล (ventricle) ของสมอง และ subarachnoid space มากกว่าปกติ
พยาธิสภาพ
ถ้าหากทารกที่มีความดันกะโหลกศีรษะสูงที่เกิดจากปริมาณน้ำไขสันหลังที่เพิ่มขึ้น ทารกที่ซึ่งกะโหลกศีรษะยังปิดไม่สนิท สามารถเพิ่มปริมาตรของกะโหลกศีรษะ ทำให้ทารกมีขนาดของศีรษะที่ใหญ่กว่าปกติ
การวินิจฉัย
การซักประวัติ : ตรวจพบปริมาณน้ำคร่ำมากผิดปกติ
การตรวจร่างกาย : การตรวจพิเศษ เช่น skull X – ray, Ultrasound
การตั้งครรภ์ที่ทารกมีจำนวนมากกว่า 1 คน (Multiple/Twins pregnancy)
การตั้งครรภ์ที่มีทารกในโพรงมดลูกมากกว่า 1 คนขึ้นไป ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง
ชนิดและสาเหตุการตั้งครรภ์แฝด
แฝดที่เกิดจากไข่คนละใบ หรือแฝดเทียม (dizygotic twins/ fratemal)
แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวหรือแฝดแท้ (monozygotic twins / identical twins)
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อมารดา
ระยะคลอด : กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวผิดปกติเนื่องจากมีการยืดขยายมากเกินไป
ระยะหลังคลอด : ตกเลือดหลังคลอด พบได้มากกว่าครรภ์เดี่ยวเนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดีหรือมีภาวะรกค้าง
ผลต่อทารก
การแท้ง
ทารกตายในครรภ์
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
ทารกตายในครรภ์(Fetal demise)
สาเหตุ
ด้านมารดา
มีภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด รกเกาะต่ำ
ความผิดปกติของสายสะดือ
มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์โรคทางอายุรศาสตร์
ด้านทารก
มีการกดทับสายสะดือจากสายสะดือย้อย
ด้านรก
รกลอกตัวก่อนกำหนด การติดเชื้อในโพรงมดลูก เส้นเลือดอุดกั้นในสายสะดือ
การวินิจฉัย
จากการซักประวัติมารดาพบทารกไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อยลง
การตรวจร่างกาย
ฟังเสียงหัวใจทารกไม่ได้
คลำยอดมดลูกพบว่าไม่สัมพันธ์กับอายุครรภ์
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยการ ultrasound
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ด้านร่างกาย ถ้าทารกตายในครรภ์เป็นเวลาตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป จะมีโอกาสเกิดภาวะเลือด ไม่แข็งตัว (coagulopathy)
ด้านจิตใจ ทำให้เกิดความรู้สึกสูญเสีย ตกใจ ซึมเศร้า โทษตัวเอง
ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า (Intra Uterine Growth Restriction: IUGR)
ทารกที่มีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ไม่เป็นไปตามปกติ ถึงแม้อายุครรภ์จะครบกำหนดแล้วก็ตาม
ทารกที่มีขนาดเล็กกว่าอายุครรภ์
ทารกที่มีขนาดเล็กตามธรรมชาติ : ทารกที่มีขนาดเล็กเนื่องมาจากมารดาตัวเล็ก หรือปัจจัยทางพันธุกรรม
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ : ทารกที่มีการเจริญเติบโตช้าผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากภาวะทุพโภชนาการ
สาเหตุ
ด้านมารดา
มารดามีรูปร่างเล็ก
ภาวะขาดสารอาหาร
ภาวะโลหิตจางรุนแรง
ด้านทารก
ความพิการแต่กำเนิด
การติดเชื้อในระยะตั้งครรภ์
ความผิดปกติของโครโมโซม
การจำแนกประเภทของ IUGR
ทารกโตช้าในครรภ์แบบได้สัดส่วน (Symmetrical IUGR)
ทารกในกลุ่มนี้จะมีการเจริญเติบโต
ช้าทุกระบบของร่างกายมักเกิดจากความผิดปกติของตัวทารกเอง
ทารกโตช้าในครรภ์แบบไม่ได้สัดส่วน (Asymmetrical IUGR)
พบได้ร้อยละ 80 ซึ่งทารกจะเจริญเติบโตช้าในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งมีผลต่อขนาดของเซลล์มากกว่าจำนวนเซลล์