Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีความผิดปกติ ของรกน้ำคร่ำ และความผิดปกติของทารก…
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีความผิดปกติ
ของรกน้ำคร่ำ และความผิดปกติของทารกในครรภ์
ภาวะน้ำคร่ำผิดปกติ (Polydramnios/ Oligohydramnios)
ภาวะน้ำคร่ำมากผิดปกติ หรือการตั้งครรภ์แฝดน้ำ (Hydramnios/ polyhydramnios)
การตั้งครรภ์ที่มีน้ำคร่ำมากโดยมีปริมาณน้ำคร่ำมากกว่ากว่า
2,000 มล.
ภาวะน้ำคร่ำมากอย่างเฉียบพลัน (Acute hydramnios) พบได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 20-24
สัปดาห์ จะมีมีปริมาณน้ำคร่ำเพิ่มขึ้นมากอย่างรวดเร็วภายใน 2-3 วันทำให้สตรีตั้งครรภ์มีอาการไม่
สุขสบาย ปวดหลังและหน้าขา แน่นอึดอัดในช่องท้อง หายใจลำบากหรือมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
ภาวะน้ำคร่ำมากเรื้อรัง (chronic hydramnios) พบว่าปริมาณน้ำคร่ำจะค่อยๆเพิ่มขึ้น
อาการและอาการแสดงจะคล้ายๆกันกับภาวะน้ำคร่ำมากอย่างเฉียบพลันแต่จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ส่วน
ใหญ่จะพบเมื่ออายุครรภ์ 30 สัปดาห์ขึ้นไป สตรีตั้งครรภ์อาจมีอาการหายใจลำบาก อึดอัด
ผลต่อมารดา1. ระยะตั้งครรภ์ เกิดความไม่สุขสบายจากการกดทับของมดลูกที่มีขนาดใหญ่ เช่น อึดอัด
หายใจลำบาก ท้องอืด เนื่องจากมีการขยายตัวของมดลูกมากเกินไป2. อาจเกิดการคลอดก่อนกำหนด3. ช็อคจากความดันในช่องท้องลดลงอย่างรวดเร็ว4. ตกเลือดหลังคลอด
ติดเชื้อหลังคลอด
ผลต่อทารก
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะพิการ และการคลอดก่อนกำหนด2. เกิดภาวะ fetal distress จากการเกิดสายสะดือย้อย (prolapsed umbilical cord)3. ทารกอยู่ท่าผิดปกติและไม่คงที่ เนื่องจากมีปริมาณน้ำคร่ำมาก ทารกจึงหมุนเปลี่ยนท่าไปมา
ได้ง่าย
อาการและอาการแสดง1. แน่นอึดอัด หายใจลำบาก เจ็บชายโครง
มีอาการบวมบริเวณเท้า ขา และปากช่องคลอด3. น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
การดูแลรักษา1. การเจาะดูดน้ำคร่ำออก (amnioreduction) ในรายที่มารดามีอาการแน่น อึดอัดหน้าท้อง
อย่างรุนแรง2. การรักษาด้วยยา prostaglandin synthetase inhibitors โดยใช้ในรายที่อายุครรภ์น้อยกว่า
32 สัปดาห3. รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง4. ให้ยาขับปัสสาวะหากพบมีภาวะบวม5. ให้ยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก (tocolytic drug) ในรายที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อน
กำหนด6. การเจาะถุงน้ำในระยะคลอด ให้น้ำคร่ำไหลช้าที่สุด
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ
ประเมินการเกิดภาวะตั้งครรภ์แฝดน้ำจากการซักประวัติอาการและอาการแสดง การตรวจ
ร่างกาย2. ดูแลเพื่อบรรเทาอาการอึดอัดแน่นท้อง จากการขยายตัวของมดลูก
2.1 จัดท่ามารดานอนตะแคง ยกศีรษะสูงเล็กน้อยประมาณ 30 องศา2.2 สังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะ congestive heart failure
2.3 แนะนำให้มารดารับประทานอาหารที่ย่อยง่าย ครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง2.4 แนะนำให้มารดาสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวมสบาย
2.5 ดูแลให้ได้รับการเจาะดูดน้ำคร่ำออก ตามแผนการรักษาของแพทย์ 2.6 เฝ้าระวังและตรวจติดตามสุขภาพของทารกในครรภ์
ระยะคลอด
ให้นอนพักบนเตียง เพื่อป้องกันภาวะน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด2. ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
ฟัง FHS ในระยะ latent ทุก 30 นาที และระยะ active ทุก 15 นาที4. ให้ได้รับสารน้ำและอาหารตามแผนการรักษา
ขณะแพทย์เจาะถุงน้ำ ต้องระมัดระวังให้น้ำคร่ำไหลออกมาอย่างช้าๆ
ระยะหลังคลอดให้การพยาบาลเหมือนกับสตรีตั้งครรภ์แฝด โดยเฉพาะดูแลการหดรัดตัวของมดลูกเพื่อป้องกัน
การตกเลือดหลังคลอด
ภาวะน้ำคร่ำน้อย (oligohydramnios)
ความหมาย หมายถึงการตั้งครรภ์ที่มีน้ำคร่ำน้อยกว่า 300 มิลลิลิตร ภาวะน้ำคร่ำน้อยอาจ
พบร่วมกับความผิดปกติของทารก ความผิดปกติของโครโมโซม
สาเหตุ
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด ทำให้เกิดภาวะนี้ได้ 26-35 %2. ทารกในครรภ์มีภาวะผิดปกติ โดยเฉพาะระบบของไตและระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ไตตีบ3. ความผิดปกติของโครโมโซม เช่น trisomy 18, turner syndrome เป็นต้น
รกเสื่อมสภาพ5. การตั้งครรภ์เกินกำหนด
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ
ผลต่อมารดา
มีโอกาสผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้องมากกว่าการตั้งครรภ์ปกติ เนื่องจากทารกในครรภเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ fetal distress
ผลต่อทารก
มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด ถ้าเกิดในอายุครรภ์น้อย ทารกมักมีความพิการรุนแรง2. ภาวะปอดแฟบ (pulmonary hypoplasia) 3. Amniotic band syndrome คือ การเกิดเยื่อพังผืดรัดและดึงรั้งมือและแขนหลายบริเวณ
เนื่องจากการมีน้ำคร่ำน้อยในโพรงมดลูก4. ทารกอยู่ในภาวะคับขัน (fetal distress)
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
การวินิจฉัย
การวัดโพรงน้ำคร่ำที่ลึกที่สุดในแนวดิ่ง (maximum ventrical pocket, MVP) โดยการสำรวจโพรงน้ำคร่ำเพื่อหาส่วนที่ลึกที่สุด หากพบว่า MVP มีค่าน้อยกว่า 1 หรือ 2 เซนติเมตร ให้ถือว่า
มีภาวะน้ำคร่ำน้อย2. การวัดดัชนีน้ำคร่ำ amniotic fluid index (AFI) มีค่าน้อยกว่า 5 เซนติเมตร3. ในกรณีที่อายุครรภ์น้อยกว่า 10 สัปดาห์ ขนาดของถุงน้ำคร่ำ (mean gestational sac) กับ
ขนาดของทารกโดยวัดจาก crown-rump length (CRL) ต่างกันน้อยกว่า 5
การรักษา
การเติมน้ำคร่ำ (amnioinfusion) ด้วย normal saline/ ringers lactate 5% glucose
เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ 2. การดื่มน้ำมากๆ ทำให้ปริมาณน้ำคร่ำเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และได้ผลชั่วคราวเท่านั้น3. การประเมินภาวะความผิดปกติแต่กำเนิด และการรักษาภาวะทารกเจริญเติบโตช้าใน
ครรภ์ (IUGR)
การพยาบาล
อธิบายถึงสาเหตุการเกิดภาวะดังกล่าว และแนวทางการรักษา2. ดูแลให้ได้รับการใส่สารน้ำเข้าไปในถุงน้ำคร้ำ (amnioinfusion) ตามแผนการรักษาของ
แพทย3. รับฟังปัญหา แสดงความเห็นอกเห็นใจ และกระตุ้นให้ระบายความรู้สึก
ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า (Intra Uterine Growth Restriction: IUGR)
หมายถึง ทารกที่มีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ไม่เป็นไป
ตามปกติ ถึงแม้อายุครรภ์จะครบกำหนดแล้วก็ตาม
ทารกที่มีขนาดเล็กตามธรรมชาติ (constitutionally small) หมายถึงทารกที่มีขนาดเล็ก
2 ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (Intra Uterine Growth Restriction: IUGR/ Fetal
growth restriction: FGR) หมายถึงทารกที่มีการเจริญเติบโตช้าผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากภาวะทุพ
โภชนาการ ซึ่งไม่ได้คำนึงถึงขนาดของทารกเพียงอย่างเดียว
สาเหต
ด้านมารดา
มารดามีรูปร่างเล็ก2. ภาวะขาดสารอาหาร น้ำหนักของมารดาไม่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์
ภาวะโลหิตจางรุนแรง เช่น โรคธาลัสซีเมีย4. มารดามีภาวะติดเชื้อ
โรคของมารดา เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง6. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมสุขภาพของมารดา เช่น การใช้สารเสพติด 7. การตั้งครรภ์แฝด มักทำให้มวลของรกต่อทารกแต่ละคนลดลง
้ด้านทารก
ความพิการแต่กำเนิด ความผิดปกติของโครงสร้างและอวัยวะของร่างกาย เช่น ทารกไม่มี
กะโหลกศีรษะ (anencephalus) ผนังหน้าท้องไม่ปิด (gastroschisis)2. การติดเชื้อในระยะตั้งครรภ์ เช่น cytomegalovirus, rubella, toxoplasma gondii3. ความผิดปกติของโครโมโซม เช่น trisomy 21, trisomy 13, trisomy 18
การจำแนกประเภทของ IUGR
ทารกโตช้าในครรภ์แบบได้สัดส่วน (Symmetrical IUGR) ทารกในกลุ่มนี้จะมีการเจริญเติบโต
ช้าทุกระบบของร่างกาย ทั้งส่วนที่กว้างของศีรษะ (BPD) เส้นรอบศีรษะ (HC) เส้นรอบท้อง (HC)ความยาวกระดูกต้นขา (FL) มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำในอายุครรภ์นั้น ๆ ทารกประเภทนี้มักเกิดจาก
ความผิดปกติของตัวทารกเอง
ทารกโตช้าในครรภ์แบบไม่ได้สัดส่วน (Asymmetrical IUGR) ทารกที่มีการเจริญเติบโตช้า
แบบไม่ได้สัดส่วน พบได้ร้อยละ 80 ซึ่งทารกจะเจริญเติบโตช้าในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งมีผลต่อขนาดของเซลล์มากกว่าจำนวนเซลล์ พบว่าอัตราการเจริญเติบโตของส่วนท้อง (AC) จะช้ากว่าส่วน
ศีรษะ
การรักษา
ค้นหาและลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดอันตราย และภาวะแทรกซ้อนกับทารกในครรภ์ เช่น การ
ซักประวัติของมารดา2. ตรวจเฝ้าระวังสุขภาพของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด โดยการตรวจ U/S ทุก 2-3 สัปดาห3. กำหนดเวลาการคลอดที่เหมาะสม
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
1.1 แนะนำมารดาเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือสารเสพติด1.2 แนะนำให้มารดาพักผ่อนมาก ๆ โดยเฉพาะการนอนตะแคงซ้าย1.3 ติดตามสุขภาพของทารกในครรภ์ โดยแนะนำให้มารดานับลูกดิ้นทุกวัน การทำ NST,
OCT
ระยะคลอด
2.2 ควรติดตาม ประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด เพราะทารก มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ fetal distress ได้สูง2.3 ติดตามประเมินความก้าวหน้าของการคลอดอย่างใกล้ชิด
2.4 ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกและเสียงหัวใจทารกทุก ½ - 1 ชั่วโมง2.5 หลีกเลี่ยงการให้ยาแก้ปวด เนื่องจากยาจะกดการหายใจของทารกได้
2.6 กุมารแพทย์ และเตรียมอุปกรณ์ในการช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิดไว้ให้พร้อม
ระยะหลังคลอด ให้การดูแลทารกเพื่อเฝ้าระวัง และป้องกันการเกิดภาวะ
hypoglycemia, hypothermia, polycythemia เป็นต้น
การตั้งครรภ์ที่ทารกมีจำนวนมากกว่า 1 คน (Multiple/Twins pregnancy)
คือ การตั้งครรภ์ที่มีทารกในโพรงมดลูกมากกว่า 1 คนขึ้นไป ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม
การตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงการตั้งครรภ์แฝด 2 คน เรียกว่า twins
การตั้งครรภ์แฝด 3 คน เรียกว่า tripletsการตั้งครรภ์แฝด 4 คน เรียกว่า quadruplets
การตั้งครรภ์แฝด 5 คน เรียกว่า quintuplets
ชนิดและสาเหตุการตั้งครรภ์แฝด
แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวหรือแฝดแท้ (monozygotic twins / identical twins) เป็นแฝดที่
เกิดจากการปฏิสนธิจากไข่ 1 ใบ และตัวอสุจิ 1 ตัว
แฝดที่เกิดจากไข่คนละใบ หรือแฝดเทียม (dizygotic twins/ fratemal) เป็นการตั้งครรภ์แฝด
ที่เกิดจากไข่ 2 ใบผสมกับอสุจิ 2 ตัว amnion 2 อัน และ chorion 2 อัน มีรก 2 อัน
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อมารดา
ระยะตั้งครรภ์1. มีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก เนื่องจากมีฮอร์โมน hCG มากกว่าครรภ์เดี่ยว2. มีภาวะโลหิตจางเนื่องจากครรภ์แฝดมีการเพิ่มขึ้นของ blood volume มากกว่า
ครรภ์เดี่ยวปกติ 3. การตกเลือดก่อนคลอด เช่น รกเกาะต่ำ 4. เกิดภาวะความดันโลหิตสูงเนื่องจากตั้งครรภ์พบมากกว่าครรภ์เดี่ยวและมีแนวโน้มเป็น
เร็วและรุนแรง5. ไม่สุขสบายจากอาการปวดหลัง หายใจลำบาก เส้นเลือดขอด เป็นต้น
เสี่ยงต่อการแท้งสูงหรือคลอดก่อนกำหนดซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อย7. เกิดถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด8. ตั้งครรภ์แฝดน้ำ
เบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์ (gestational diabetes)
ระยะคลอด
กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวผิดปกติเนื่องจากมีการยืดขยายมากเกินไป2. รกลอกตัวก่อนกำหนด
ระยะหลังคลอด
ตกเลือดหลังคลอด พบได้มากกว่าครรภ์เดี่ยวเนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดีหรือมีภาวะรกค้าง2. การติดเชื้อหลังคลอด
การเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอาจเกิดความยาดลำบาก
ผลต่อทารก
การแท้ง
ทารกตายในครรภ3. ภาวะคลอดก่อนกำหนด
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)5. ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ
ทารกขาดออกซิเจน (asphyxia)7. Twin-twin transfusion syndrome (TTTS) ในรายที่เป็น monochoion เป็นการเชื่อม
กันของเส้นเลือดที่รกของแฝดทั้งสอง มีการไหลเวียนของเลือดจากแฝดหนึ่งไปยังอีกแฝดหนึ่งแบบไม่
สมดุลและเป็นการไหลเวียนเลือดทางเดียวผ่านทาง artery –vein anastomosis ทำให้เลือดส่วนใหญผ่านจากเส้นเลือดแดงของแฝดผู้ให้ (donor) เข้าสู่แฝดผู้รับ (recipient)
แนวทางการดูแลรักษา
ต้องวินิจฉัยให้ได้เร็วที่สุด (early diagnosis) เพื่อสามารถวางแผนการอย่างเหมาะสม2. ป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
ดูแลการเจริญเติบโตของทารกอย่างใกล้ชิด ตรวจหาและวินิจฉัยภาวะ IUGR4. ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะอันตรายต่อทารกในระยะคลอด และทารกแรกคลอดได้รับการดูแล
จากผู้เชี่ยวชาญ
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ดูแลให้ได้รับอาหารอย่างเพียงพอ2. เฝ้าระวังการเกิดภาวะโลหิตจางอาจให้โฟลิคเสริม เช่น ธาตุเหล็กวันละ 60-90 mg กรดโฟลิ
ควันละ 1 mg3. เฝ้าระวังการความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์
ควรงดมีเพศสัมพันธ์เพื่อลดความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดในไตมาสที่ 35. ติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ 6. ป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
ระยะคลอด
1.การพิจารณาวิธีการคลอดการคลอดทางช่องคลอด ทารกแฝดมีส่วนนำกลุ่มท่าหัว-ท่าหัว หรือท่าหัว-ไม่ใช่ท่าหัว
(ก้น-ขวาง) ถ้าน้ำหนักทารกมากกว่า 1,500 กรัมการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง กลุ่มที่ไม่ใช่หัว-หัวหรือไม่ใช่หัว- ไม่ใช่หัว ให้การผ่าตัด
คลอดทางหน้าท้องทุกราย
ระยะหลังคลอด
เฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี โดยให้ oxytocin drug2. ป้องกันการติดเชื้อโดยดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาและประเมินการติดเชื้อ
แนะนำการดูแลบุตร การเลี้ยงทารกด้วยนมมารดา4. แนะนำวิธีการคุมกำเนิด
ทารกพิการ (Fetal anormaly)
คือความผิดปกติของร่างกายทารกแรกเกิดที่พบได้ โดยมีความพิการที่สามารถังเกตได้จากลักษณะภายนอกหรือความพิการที่อยู่ในอวัยวะภายใน ความพิการแต่กำเนิดในบางราย
สามารถแก้ไขข้อบกพร่องได
สาเหตุ
ปัจจัยด้านพันธุกรรมความผิดปกติของโครโมโซม ความผิดปกติของยีนเดียว เป็นโรคที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนใดยีนหนึ่ง โรค
ที่พบบ่อยเช่น ธาลัสซีเมีย, G-6-PDความผิดปกติชนิดพหุปัจจัย เกิดจากความผิดปกติของยีนหลายตัวร่วมกับปัจจัย
ทางสิ่งแวดล้อม เช่น โรคที่มีความผิดปกติของระบบประสาท neural tube โรคปากแหว่ง เพดานโหว่
เป็นต้น
สิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดความผิดปกติแก่ทารก ส่วนใหญ่ความพิการจะเกิดในช่วง 3 เดือน
แรกของการตั้งครรภ์ เช่น การใช้ยา การติดเชื้อ สภาพของมารดา และปัจจัยจากมดลูก
ความผิดปกติของทารกสามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม
Malformation หมายถึง เป็นความผิดปกติทางรูปร่างของอวัยวะหรือส่วนของอวัยวะ2. Disruption หมายถึง ความผิดปกติทางรูปร่างของอวัยวะหรือส่วนของอวัยวะ3. Deformation หมายถึง ความผิดปกติของรูปร่างหรือโครงสร้างของอวัยวะของร่างกาย
เดิมเคยปกติมาก่อน 4. Dysplasia หมายถึง ความผิดปกติทางรูปร่างของอวัยวะหรือส่วนของอวัยวะ
การป้องกัน
1.1 ก่อนการตั้งครรภ์ในรายที่มีภาวะเสี่ยง จะต้องได้รับการให้คำแนะนำปรึกษาทาง
พันธุศาสตร์ตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจเลือดคู่สามีภรรยา เพื่อ
วิเคราะห์โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม รวมถึงการทำพงศาวลี (pedigree)1.2 เมื่อตั้งครรภ์ จะทำการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด1.3 การให้คำปรึกษาภายหลังการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด1.4 หลีกเลี่ยงการสัมผัส teratogen เช่น เชื้อหัดเยอรมัน ยาบางชนิด บุหรี่ สารเสพติด
ปากแหว่งเพดานโหว
ความหมาย เป็นความพิการแต่กำเนิดของเพดานซึ่ง หมายถึง ริมฝีปาก เหงือกส่วนหน้า เพดาน
แข็ง และเพดานอ่อน
อาการและอาการแสดง
ทารกที่มีปากแหว่งเพียงอย่างเดียว จะไม่สามารถอมหัวนมหรือจุกนมได้สนิท มีลมรั่ว2. ทารกที่มีเพดานโหว่มักจะสำลักน้ำนมขึ้นจมูกและเข้าช่องหูชั้นกลางหรือสำลักนมเข้า
ปอดได้3. การได้ยินผิดปกติ
การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนต้น
การพยาบาลทารกแรกเกิด
ดูแลด้านจิตใจสำหรับบิดา มารดา ที่ทารกมีปัญหาปากแหว่าง เพดานโหว2. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลทารกแรกเกิดที่พบปัญหาปากแหว่ง เพดานโหว3. ดูแลการให้นมแมเพื่อให้การดูดนมมีประสิทธิภาพควรสอนมารดให้นิ้วโป้งปิดบริเวณ
ช้องปากที่แหว่งเมื่อทารกงับหัวนมและลานนมแล้วหรืออาจจุดันเต้านมของมารดาเพื่อปิดช่องโหว่ของ
ริมฝีปากทารกการดูดนมและกลืนน้ำนมแม่อาจต้องให้นมแม่ด้วยการป้อนช้อน หรือหยดด้วย syringe ที่ต่อกับสาย
ยางนิ่มท่านอน ให้มารดานอนตะแคง ส่วนทารกนอหงาย แล้วมารดาประคองเต้านม
เพื่อให้ทารกงับหัวนมและลานนมท่านอนขวางตักประยุกต์และท่าฟุตบอล สามารถนำมาใช้ในทารกที่มีปัญหาปาก
แหว่งไดแนะนำมารดาให้ใช้เพดานเทียมปิดเพดานเพื่อปิดไม่ให้ลมรั่วและป้องกันการสำลัก
ช่วยให้ทารกดูดนมมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ดาวน์ซินโดรม
เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมที่มีภาวะปัญญา
อ่อนที่พบบ่อยที่สุดเด็กกลุ่มนี้จะมีศีรษะค่อนข้างเล็ก เบน ตาเฉียงขึ้น ดั้งจมูกแบน ปากเล็ก ลิ้นมักยื่น
ออกมา เรียกว่า “mongoloids face”
สาเหตุ
เกิดจากการมีโครโมโซมเกินไป 1 แท่ง คือโครโมโซมคู่ที่ 21 มี 3 แท่ง แทนที่จะมี 2 แท่งตามปกติ ความผิดปกตินี้เรียกว่า trisomy 21
อาการ
1.1 ศีรษะและตา มีศีรษะแบนกว้าง และท้ายทอยแบน ตายาวรี เฉียงออกด้านนอกและ
ชี้ขึ้นบน1.2 จมูกและหู มีจมูกไม่มีสัน ใบหูเล็กอยู่ต่ำกว่าปกติ1.3 ปากและคอ มีเพดานปากโค้งนูน บางรายอาจโหว่ ขากรรไกรบนเจริญเติบโตไม่เต็มท1.4 ทรวงอกและหัวใจ มีกระดูกซี่โครงสั้นกว่าปกติ และอาจมีความพิการแต่กำเนิดของ
หัวใจร่วม1.5 ท้อง มีหน้าท้องยื่น กล้ามเนื้อหน้าท้องหย่อนยาน มีการแยกแตกของกล้ามเนื้อ
rectus และมักมีไส้เลื่อนสะดือ1.6 มือและเท้า มีมือกว้างและสั้น มักมีเส้นลายนิ้วมือตัดขวางหรือตัดกลาง1.7กล้ามเนื้อและกระดูก ตัวเตี้ย เหยียดออกมากผิดปกติ กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกมักพบความพิการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น โรคหัวใจแต่กำเนิด การเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ ในผู้ชายมีองคชาติขนาดเล็กหว่าปกติ ผลิตสเปิร์มไดน้อย แต่ในผู้หญิงสามารถมีบัตรได้แม้รอบเดือนจะมาไม่สม่ำเสมอ
การรักษา
การรักษาในปัจจุบันเป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ มุ่งเน้นให้เด็กสามารถ
ทารกศีรษะบวมน้ำหรือภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง (Hydrocephalus)
ความหมาย
ภาวะที่มีการคั่งของน้ำไขสันหลังในกะโหลกศีรษะบริเวณเวนตริเคิล(ventricle) ของสมอง
และ subarachnoid space มากกว่าปกติน้ำไขสันหลังที่คั่งปริมาณจะทำให้เกิดความดันภายใน
กะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น
การรักษา
ขณะตั้งครรภ์ครรภ์
รายไม่รุนแรงและไม่ความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วยมักแนะนำให้ติดตามการเปลี่ยนแปลง2. อาจพิจารณายุติการตั้งครรภ์กรณีเป็นรุนแรงมาก 3. อาจเลือกยุติการตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ยังน้อยซึ่งไม่สามารถเลี้ยงรอดได้4. รักษาด้วยการใส่ shunt ในครรภ์ ต้องพิจารณาทำในรายอายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์
ซึ่งมีโครโมโซมปกต
การดูแลทารก
ให้การพยาบาลทารกแรกเกิดโดยทั่วไป ได้แก่ ท่านอน การหายใจ การให้ความอบอุ่น2. ให้การพยาบาลตามอาการ วัดขนาดของรอบศีรษะทารกทุกวัน3. สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
อธิบายให้บิดามารดาเข้าใจสภาพของทารก5. บันทึกอาการและการพยาบาล
ทารกศีรษะเล็ก (Microcephaly)
ความหมาย
ภาวะศีรษะเล็กหรือสมองเล็กเป็นความพิการของสมองซึ่งอาจเกิดจากสมองเจริญเติบโตช้า
กว่าปกติ หรือหยุดการเจริญเติบโต
อาการและอาการแสดง จากลักษณะทั่วไป พบว่า ขนาดของศีรษะเล็กกว่าปกติ หน้าผากเล็ก
ใบหูใหญ่
การรักษา
ไม่สามารถรักษาให้ศีรษะมีขนาดศีรษะเท่ากับปกติ แต่การรักษามุ่งเน้นให้เด็กสามารถมีชีวิต
อยู่ได้นานมากขึ้น
การพยาบาล
ให้การพยาบาลทารกแรกเกิดโดยทั่วไป ได้แก่ การดูแลเกี่ยวกับท่านอน การหายใจ 2. ให้การพยาบาลตามอาการและอาการแสดง3. สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ และอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาทของทารก4. อธิบายให้บิดามารดาเข้าใจเกี่ยวกับสภาพของทารก
บันทึกอาการแลอาการแสดง
ภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defects: NTDs)
ความหมาย
เป็นความผิดปกติแต่กำเนิดของระบบประสาทสามารถเกิดได้ทุกขั้นตอนของการพัฒนาแต่ในช่วงแรกของการพัฒนาหรือช่วงการสร้างและผิดของ neural tube
สาเหตุของการเกิด NTDs
Genetic factors: 95% ของมารดาที่ให้กำเนิดทารก NTD ไม่มีประวัติในครอบครัวมาก่อนแต่มีหลายหลักฐานที่ระบุว่า NTD มีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางพันธุกรรม ได้แก่ การที่ NTDสามารถพบร่วมกับโรคทางพันธุกรรมทั้ง chromosomal และ single gene disorders
Environmental factors: ปัจจัยภายนอกที่อาจเกี่ยวข้องกับการเกิด NTD มีหลายปัจจัย อาทิ geography, ethnicity, nutrition, maternal illness, maternal age and parity,previous abortions, multiple gestations, obesity, parental socioeconomic status,parental occupational exposure
เยื่อหุ้มไขสันหลังยื่น (Spina bifida)
ความหมาย
เยื่อหุ้มไขสันหลังยื่น หมายถึง ความผิดปกติของท่อประสาทตั้งแต่แรกเกิดจากพัฒนาการทผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง อาจเกิดความผิดปกติได้ตลอดตามความยาวของไขสันหลังตั้งแต่
บริเวณศีรษะถึงกระดูกก้นกบ
ชนิดของกระดูกสันหลังโหว่
spin bifida occulta เป็นความผิดปกติของกระดูกสันหลังตรงตำแหน่ง vertebal
arches ทำให้เกิดช่องโหว่ระหว่างแนวกระดูกสันหลัง2. spina bifida cystica เป็นความผิดปกติของส่วนโค้งกระดูกสันหลัง ทำให้มีการยื่นของไข
สันหลังหรือเยื่อหุ้มสมองผ่านกระดูกสันหลังออกมา
การพยาบาล
ให้การพยาบาลทารกแรกเกิดโดยทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะท่านอนให้นอนในท่าตะแคง หรือ
นอนคว่ำ2. ให้การพยาบาลตามอาการ และการพยาบาลก่อนผ่าตัดในรายที่เป็นน้อย ซึ่งอาจช่วยได้3. สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
อธิบายให้มารดาเข้าใจเกี่ยวกับสภาพทารก5. บันทึกอาการและการพยาบาล
การให้ folic acid ในสตรีตั้งครรภ์จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคกระดูกสันหลังโหว่ได
ทารกตายในครรภ์ (Fetal demise)
ชนิดของทารกตายในครรภ
การตายของทารกในระยะแรก (early fetal death) คือ การตายก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์2. การตายของทารกในระยะกลาง (intermediate fetal death) คือการตายระหว่างอายุครรภ์
20-28 สัปดาห3. การตายของทารกในระยะสุดท้าย (late fetal death) คือการตายตั้งแต่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์
ขึ้นไป บางครั้งหมายถึงทารกตายคลอด
สาเหต
ด้านมารดา
มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์โรคทางอายุรศาสตรเช่น โรคความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน SLE2. มารดาอายุมากกว่า 35 ปี
ภาวะทางสูติกรรม เช่น คลอดก่อนกำหนด4. ไม่มาฝากครรภ์ หรือมาฝากครรภ์ไม่ครบตามกำหนด
มีภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด รกเกาะต่ำ6. ความผิดปกติของสายสะดือ7. ได้รับอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บขณะตั้งครรภ์
ยาหรือสารเสพติดอื่น ๆ
ด้านทารก
มีภาวะพิการแต่กำเนิด เช่น ความผิดปกติของโครโมโซม2. ทารกมีภาวะเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
มีการกดทับสายสะดือจากสายสะดือย้อย (prolapsed cord)
ด้านรก
รกลอกตัวก่อนกำหนด การติดเชื้อในโพรงมดลูก เส้นเลือดอุดกั้นในสายสะดือ สายสะดือผิดปกติ เช่น knot หรือ entanglement
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ
ด้านร่างกาย ถ้าทารกตายในครรภ์เป็นเวลาตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป จะมีโอกาสเกิดภาวะเลือด
ไม่แข็งตัวนอกจากนั้นยังพบว่ามารดาจะมีภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำลง การทำหน้าที่ของ T-cell ลดต่ำลง มี
โอกาสติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ง่ายขึ้น2. ด้านจิตใจ ทำให้เกิดความรู้สึกสูญเสีย ตกใจ ซึมเศร้า โทษตัวเอง อาจพบว่ามีการใช้บุหรี่ สุรา
สารเสพติดหรือยากล่อมประสาทสูงกว่าประชากรทั่วไป
การรักษา
ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ขนาดของมดลูกโตไม่เกิน 14 สัปดาห์ ทำการ dilatation andcurettage หรือ suction curettage2. ช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ เหน็บยา prostaglandin ได้แก่ PGE2 และ misoprostolทางช่องคลอด หรือให้ oxytocin ทางหลอดเลือดดำ3. ไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ ให้ oxytocin ปริมาณความเข้มข้นสูง ทางหลอดเลือดดำ
การพยาบาล
ให้การประคับประคองทางด้านจิตใจ แสดงความเห็นอกเห็นใจ ใช้คำพูดที่สุภาพ และนุ่มนวล2. แนะนำให้สามีและครอบครัวให้กำลังใจ ปลอบใจ เพื่อให้มีกำลังใจและการปรับตัวอย่างเหมาะสม3. ประเมินความต้องการสัมผัสกับทารกแรกคลอดที่เสียชีวิต4. ดูแลให้ได้รับการสิ้นสุดการตั้งครรภ์ ตามแผนการรักษาของแพทย์5. ติดตามผลการตรวจเลือดเพื่อหาระยะการแข็งตัวของเลือด clotting time ระดับของfibrinogen ในกรณีที่ทารกตายในครรภ์เกิน 2 สัปดาห์6. ให้ได้รับยายับยั้งการหลั่งน้ำนมตามแผนการรักษาของแพทย