Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีความผิดปกติ ของรกน้ำคร่ำ และความผิดปกติของทารก…
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีความผิดปกติ
ของรกน้ำคร่ำ และความผิดปกติของทารกในครรภ์
ภาวะน้ำคร่ำผิดปกติ(Polydramnios/ Oligohydramnios)
ภาวะน้ำคร่ำมากผิดปกติ หรือการตั้งครรภ์แฝดน้ำ (Hydramnios/ polyhydramnios)
สาเหตุ
มารดาเป็นโรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์แฝด ความผิดปกติของระบบประสาท การอุดกั้นของระบบทางเดินอาหาร ความพิการของทารกในครรภ์
อาการและอาการแสดง
แน่นอึดอัด หายใจลำบาก เจ็บชายโครง มีอาการบวมบริเวณเท้า ขา และปากช่องคลอด น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
พยาธิสรีรวิทยา
ในช่วงหลังของการตั้งครรภ์มักจะสัมพันธ์กับปริมาณ
ปัสสาวะของทารก การสร้างของเหลวจากปอด การกลืน และการดูดซึมผ่านทางเนื้อเยื่อของทารก ดังนั้นความผิดปกติของปริมาณน้ำคร่ำจะสัมพันธ์กับความสมดุลของปริมาณของเหลวที่เข้า
และออกจากถุงน้ำคร่ำ มากหรือน้อยขึ้นกับความรุนแรงที่เกิดขึ้น
ผลต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อมารดา อึดอัด หายใจลำบาก ท้องอืด เนื่องจากมีการขยายตัวของมดลูกมากเกินไป ช็อคจากความดันในช่องท้องลดลงอย่างรวดเร็ว ตกเลือดหลังคลอด
ผลต่อทารก เสี่ยงต่อการเกิดภาวะพิการ และการคลอดก่อนกำหนด เกิดภาวะ fetal distress จากการเกิดสายสะดือย้อย
ทารกอยู่ท่าผิดปกติและไม่คงที่ เนื่องจากมีปริมาณน้ำคร่ำมาก
ความหมาย
การตั้งครรภ์ที่มีน้ำคร่ำมากผิดปกติ
มีปริมาณน้ำคร่ำมากกว่ากว่า 2,000 มล.
วัดค่า Amniotic fluid Index: AFI ด้24 - 25 ซม. ขึ้นไป
การดูแลรักษา
การรักษาด้วยยา prostaglandin synthetase inhibitors
การเจาะดูดน้ำคร่ำออก (amnioreduction)
ให้ยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก (tocolytic drug)
การเจาะถุงน้ำในระยะคลอด ให้น้ำคร่ำไหลช้าที่สุด
รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง
การพยาบาล
เฝ้าระวังและตรวจติดตามสุขภาพของทารกในครรภ์
ขณะแพทย์เจาะถุงน้ำ ต้องระมัดระวังให้น้ำคร่ำไหลออกมาอย่างช้าๆ แล้วควรจัดให้มารดานอนพักบนเตียงเพื่อป้องกันภาวะสายสะดือย้อย
ดูแลเพื่อบรรเทาอาการอึดอัดแน่นท้อง จากการขยายตัวของมดลูก
ให้ได้รับสารน้ำและอาหารตามแผนการรักษา
ประเมินการเกิดภาวะตั้งครรภ์แฝดน้ำจากการซักประวัติอาการและอาการแสดง การตรวจร่างกาย
ภาวะน้ำคร่ำน้อย (oligohydramnios)
ความหมาย
หมายถึงการตั้งครรภ์ที่มีน้ำคร่ำน้อยกว่า 300 มิลลิลิตร
สาเหตุ
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด ทารกในครรภ์มีภาวะผิดปกติ โดยเฉพาะระบบของไตและระบบทางเดินปัสสาวะ
ความผิดปกติของโครโมโซม รกเสื่อมสภาพ การตั้งครรภ์เกินกำหนด
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อมารดา
มีโอกาสผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้องมากกว่าการตั้งครรภ์ปกติ
เนื่องจากทารกในครรภ์ เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ fetal distress
ผลต่อทารก
ภาวะปอดแฟบ (pulmonary hypoplasia) Amniotic band syndrome ทารกอยู่ในภาวะคับขัน ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
การรักษา
การดื่มน้ำมากๆ ทำให้ปริมาณน้ำคร่ำเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และได้ผลชั่วคราวเท่านั้น
การประเมินภาวะความผิดปกติแต่กำเนิด และการรักษาภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
การเติมน้ำคร่ำ (amnioinfusion) ด้วย normal saline/ ringers lactate 5% glucose
การพยาบาล
ดูแลให้ได้รับการใส่สารน้ำเข้าไปในถุงน้ำคร้ำ (amnioinfusion) ตามแผนการรักษาของแพทย์
รับฟังปัญหา แสดงความเห็นอกเห็นใจ และกระตุ้นให้ระบายความรู้สึก
อธิบายถึงสาเหตุการเกิดภาวะดังกล่าว และแนวทางการรักษา
ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า (Intra Uterine Growth Restriction: IUGR)
ทารกที่มีขนาดเล็กกว่าอายุครรภ์
ทารกที่มีขนาดเล็กตามธรรมชาติ
(constitutionally small) หมายถึงทารกที่มีขนาดเล็ก
เนื่องมาจากมารดาตัวเล็ก หรือปัจจัยทางพันธุกรรม
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
(Intra Uterine Growth Restriction: IUGR/ Fetal
growth restriction: FGR) ทารกที่มีการเจริญเติบโตช้าผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากภาวะทุพโภชนาการ
สาเหตุ
ด้านมารดา
มารดามีรูปร่างเล็ก ภาวะขาดสารอาหาร โรคของมารดา
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมสุขภาพของมารดา
ด้านทารก
ความพิการแต่กำเนิด ความผิดปกติของโครงสร้าง และอวัยวะของร่างกาย การติดเชื้อในระยะตั้งครรภ์
การจำแนกประเภทของ IUGR
ทารกโตช้าในครรภ์แบบได้สัดส่วน (Symmetrical IUGR) ทารกในกลุ่มนี้จะมีการเจริญเติบโตช้าทุกระบบของร่างกาย
ทารกโตช้าในครรภ์แบบไม่ได้สัดส่วน (Asymmetrical IUGR) พบว่าอัตราการเจริญเติบโตของส่วนท้อง (AC) จะช้ากว่าส่วนศีรษะ (HC)
การรักษา
ตรวจเฝ้าระวังสุขภาพของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด โดยการตรวจ U/S ทุก 2-3 สัปดาห์
กำหนดเวลาการคลอดที่เหมาะสม
. ค้นหาและลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดอันตราย และภาวะแทรกซ้อนกับทารกในครรภ์
การพยาบาล
แนะนำมารดาเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือสารเสพติด
แนะนำให้มารดาพักผ่อนมาก ๆ โดยเฉพาะการนอนตะแคงซ้าย
ควรติดตาม ประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด
หลีกเลี่ยงการให้ยาแก้ปวด เนื่องจากยาจะกดการหายใจของทารกได้
ในระยะหลังคลอด ให้การดูแลทารกเพื่อเฝ้าระวัง และป้องกันการเกิดภาวะhypoglycemia, hypothermia, polycythemia
ทารกตายในครรภ์(Fetal demise)
dead fetus in utero (DFU) ทารกเมื่อคลอดแล้วไม่มีอาการแสดงของการมีชีวิตอาจรวมถึงทารกที่คลอดออกมาถึงตายทันทีด้วย
สาเหตุ
ด้านมารดา
มารดาอายุมากกว่า 35 ปี ภาวะทางสูติกรรม
. ไม่มาฝากครรภ์ หรือมาฝากครรภ์ไม่ครบตามกำหนด
ได้รับอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บขณะตั้งครรภ์ ยาหรือสารเสพติดอื่น ๆ
ด้านทารก
มีภาวะพิการแต่กำเนิด ทารกมีภาวะเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR) มีการกดทับสายสะดือจากสายสะดือย้อย
ด้านรก
รกลอกตัวก่อนกำหนด การติดเชื้อในโพรงมดลูก เส้นเลือดอุดกั้นในสายสะดือ สายสะดือ
ผิดปกติ เช่น knot หรือ entanglement
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ด้านร่างกาย
จะมีโอกาสเกิดภาวะเลือด ไม่แข็งตัว (coagulopathy) หรืออาจเรียกว่าภาวะ “fetal death syndrome”
ด้านจิตใจ
ทำให้เกิดความรู้สึกสูญเสีย ตกใจ ซึมเศร้า โทษตัวเอง
การรักษา
ช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ เหน็บยา prostaglandin ได้แก่ PGE2 และ misoprostol
ทางช่องคลอด หรือให้ oxytocin ทางหลอดเลือดดำ
ไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ ให้ oxytocin ปริมาณความเข้มข้นสูง ทางหลอดเลือดดำ
ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ขนาดของมดลูกโตไม่เกิน 14 สัปดาห์ทำการ dilatation and
curettage หรือ suction curettage
การพยาบาล
ประเมินความต้องการสัมผัสกับทารกแรกคลอดที่เสียชีวิต
ติดตามผลการตรวจเลือดเพื่อหาระยะการแข็งตัวของเลือด clotting time
ให้การประคับประคองทางด้านจิตใจ แสดงความเห็นอกเห็นใจ ใช้คำพูดที่สุภาพ และนุ่มนวล
ให้ได้รับยายับยั้งการหลั่งน้ำนมตามแผนการรักษาของแพทย์
ทารกพิการ (Fetal anormaly)
ปากแหว่งเพดานโหว่
โรคปากแหว่ง
หมายถึงโรคที่มีความผิดปกติแต่กำเนิดบริเวณริมฝีปากเพดานส่วนหน้าแยกจาก
กัน เพดานส่วนหลังจะเจริญสมบูรณ์เมื่อทารกอยู่ในครรภ์มารดาช่วง 4-7 สัปดาห์
โรคเพดานโหว่
หมายถึง โรคที่มีความผิดปกติแต่กำเนิด บริเวณเพดานส่วนหลังแยกจากกัน
ซึ่งเกิดขึ้นได้ระยะทารกอยู่ในครรภ์มารดาช่วง 12 สัปดาห์
สาเหตุ
กรรมพันธุ์ มารดาติดเชื้อหัดเยอรมันในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก มารดาขาดวิตามินและสารโฟเลท มารดาสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ทำให้ลูกมีโอกาสเกิดโรคปากแหว่งเพิ่มขึ้น 2 เท่า
อาการและอาการแสดง
ทารกที่มีปากแหว่งเพียงอย่างเดียว จะไม่สามารถอมหัวนมหรือจุกนมได้สนิท มีลมรั่ว เข้าไปขณะดูดนม
ทารกที่มีเพดานโหว่มักจะสำลักน้ำนมขึ้นจมูกและเข้าช่องหูชั้นกลางหรือสำลักนมเข้าปอดได้
การพยาบาลทารกแรกเกิด
ทารกที่มีภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่สามารถดูดนมแม่ได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ
ให้นิ้วโป้งปิดบริเวณช้องปากที่แหว่ง เมื่อทารกงับหัวนมและลานนมแล้วหรืออาจจุดันเต้านมของมารดาเพื่อปิดช่องโหว่ของริมฝีปากทารก
ทารกที่มีภาวะเพดานโหว่จะดูดนมแม่ประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งด้านแม่และด้านทารก
ท่านอน ให้มารดานอนตะแคง ส่วนทารกนอหงาย แล้วมารดาประคองเต้านม เพื่อให้ทารกงับหัวนมและลานนม
กรณีที่ทารกไม่สามารถดูดนมแม่ได้
ให้ใช้ขวดนมพิเศษที่เป็นพลาสติกอ่อน ใช้ช้อนหรือแก้ว ใช้ syringe ต่อกับท่ออย่างนิ่ม
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลทารกแรกเกิดที่พบปัญหาปากแหว่ง เพดานโหว่
ภายหลังการให้ทารกดูดนมหรือให้นมต้องไล่ลมเป็นระยะ ๆ ทุก 15-30 นาที และจัดท่านอนหัวสูงและนอนตะแคงขวาให้ใบหน้าตะแคง
ดาวน์ซินโดรม
อาการ
ศีรษะและตา มีศีรษะแบนกว้าง และท้ายทอยแบน ตายาวรี จมูกและหู มีจมูกไม่มีสัน ปากและคอ มีเพดานปากโค้งนูน ท้อง มีหน้าท้องยื่น มือและเท้า มีมือกว้างและสั้น ปัญญาอ่อน
การรักษา
การรักษาในปัจจุบันเป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ มุ่งเน้นให้เด็กสามารถช่วยเหลือตัวเองได้
สาเหตุ
เกิดจากการมีโครโมโซมเกินไป 1 แท่ง คือโครโมโซมคู่ที่ 21 มี 3 แท่ง
แทนที่จะมี 2 แท่งตามปกติ ความผิดปกตินี้เรียกว่า trisomy 21
เยื่อหุ้มไขสันหลังยื่น (Spina bifida)
ความหมาย
ความผิดปกติของท่อประสาทตั้งแต่แรกเกิดจากพัฒนาการที่ผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง
อาจเกิดความผิดปกติได้ตลอดตามความยาวของไขสันหลังตั้งแต่บริเวณศีรษะถึงกระดูกก้นกบ
ชนิดของกระดูกสันหลังโหว่
spin bifida occulta เป็นความผิดปกติของกระดูกสันหลังตรงตำแหน่ง vertebal arches
spina bifida cystica เป็นความผิดปกติของส่วนโค้งกระดูกสันหลัง
meningocele
myelomeningocele
การรักษา
ถ้าเป็นชนิด spina bifida cystica มีวิธีการรักษาโดยการผ่าตัดปิดซ่อมแซมรอยโรคภายใน 24-48 ชั่วโมงภายหลังคลอด
กระดูกสันหลังโผล่ชนิด spin bifida occulta ไม่จำเป็นต้องรักษา
การพยาบาล
ให้การพยาบาลตามอาการ และการพยาบาลก่อนผ่าตัดในรายที่เป็นน้อย
อธิบายให้มารดาเข้าใจเกี่ยวกับสภาพทารก
ให้การพยาบาลทารกแรกเกิดโดยทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะท่านอนให้นอนในท่าตะแคง หรือนอนคว่ำ
การให้folic acid ในสตรีตั้งครรภ์จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคกระดูกสันหลังโหว่ได้
ทารกศีรษะบวมน้ำหรือภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง (Hydrocephalus)
พยาธิสภาพ
เมื่อมีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของส่วนประกอบใดส่วนประกอบหนึ่ง ส่วนประกอบที่เหลือก็จะมีการปรับตัวเพื่อให้ เกิดความสมดุล ให้สมองสามารถทำงานได้ตามปกติแต่ถ้ามีการปรับเปลี่ยนที่ไม่สมดุล จะส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของความดันในกะโหลกศีรษะ
การรักษา
. อาจพิจารณายุติการตั้งครรภ์กรณีเป็นรุนแรงมาก
. รักษาด้วยการใส่ shunt ในครรภ์ ต้องพิจารณาทำในรายอายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์
สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
ให้การพยาบาลทารกแรกเกิดโดยทั่วไป ได้แก่ ท่านอน การหายใจ การให้ความอบอุ่น
บันทึกอาการและการพยาบาล
ภาวะที่มีการคั่งของน้ำไขสันหลังในกะโหลกศีรษะบริเวณเวนตริเคิล (ventricle) ของสมอง และ subarachnoid space มากกว่าปกติ น้ำไขสันหลังที่คั่งปริมาณจะทำให้เกิดความดันภายในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น
ทารกศีรษะเล็ก (Microcephaly)
พยาธิสภาพ
สมองของทารกจะมีขนาดเล็ก น้ำหนักน้อยกว่าปกติ จำนวนและความหยักของเนื้อสมองจะลดลง สมองส่วน Frontal lobe จะมีขนาดเล็กและไม่ได้สัดส่วนกับ Cerebellum ซึ่งมีขนาดใหญ่ลึกของคลื่นหรือรอย
การรักษา
ไม่สามารถรักษาให้ศีรษะมีขนาดศีรษะเท่ากับปกติ แต่การรักษามุ่งเน้นให้เด็กสามารถมีชีวิต อยู่ได้นานมากขึ้น และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อชีวิตเด็กได้เท่านั้น
ความหมาย
ภาวะศีรษะเล็กหรือสมองเล็กเป็นความพิการของสมอง
ซึ่งอาจเกิดจากสมองเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ หรือหยุดการเจริญเติบโต
การพยาบาล
สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ และอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาทของทารกเกี่ยวกับระบบ Motor และ Mental retardation
อธิบายให้บิดามารดาเข้าใจเกี่ยวกับสภาพของทารก
ให้การพยาบาลทารกแรกเกิดโดยทั่วไป และตามอาการและอาการแสดง
บันทึกอาการแลอาการแสดง
ภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defects: NTDs)
Open type NTDs
คือมีการเปิดของ neural tissue กับสิ่งแวดล้อมภายนอก
Closed type NTDs
หรือ spina bifida occulta คือ NTD ที่มีผิวหนังภายนอกคลุมไว้
และไม่มี expose ของ neural tissue ออกมาภายนอก
สาเหตุของการเกิด NTDs
Genetic factors: 95% ของมารดาที่ให้กำเนิดทารก NTD
Environmental factors: ปัจจัยภายนอกที่อาจเกี่ยวข้องกับการเกิด NTD
Folate deficiency
การให้folate supplementation ในสตรีที่กำลังจะตั้งครรภ์ หรืออยู่ระหว่างตั้งครรภ์ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด NTD ได้
การตั้งครรภ์ที่ทารกมีจำนวนมากกว่า 1 คน (Multiple/Twins pregnancy)
ชนิดและสาเหตุการตั้งครรภ์แฝด
แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวหรือแฝดแท้ เกิดจากการปฏิสนธิจากไข่ 1 ใบ และตัวอสุจิ 1 ตัว แล้วมีการแบ่งตัวในระยะเวลาต่าง ๆ กันภายใน 14 วันหลังจากการปฏิสนธิ ทารกแฝดชนิดนี้จะมีรูปร่าง หน้าตา เพศ และลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกัน
แฝดที่เกิดจากไข่คนละใบ หรือแฝดเทียม (dizygotic twins/ fratemal) เป็นการตั้งครรภ์แฝด
ที่เกิดจากไข่ 2 ใบผสมกับอสุจิ 2 ตัว amnion 2 อัน และ chorion 2 อัน มีรก 2 อัน
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อมารดา
มีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก การตกเลือดก่อนคลอด กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวผิดปกติเนื่องจากมีการยืดขยายมากเกินไป รกลอกตัวก่อนกำหนด
ผลต่อทารก
การแท้ง ทารกตายในครรภ์ ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ
Twin-twin transfusion syndrome (TTTS) ในรายที่เป็น monochoion
แนวทางการดูแลรักษา
ต้องวินิจฉัยให้ได้เร็วที่สุด (early diagnosis) เพื่อสามารถวางแผนการอย่างเหมาะสม
ป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะอันตรายต่อทารกในระยะคลอด และทารกแรกคลอดได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ
ดูแลการเจริญเติบโตของทารกอย่างใกล้ชิด ตรวจหาและวินิจฉัยภาวะ IUGR
การพยาบาล
ให้มารดางดน้ำ งดอาหาร และให้สารน้ำ
การให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกควรให้ด้วยความระมัดระวัง
เฝ้าระวังการเกิดภาวะโลหิตจางอาจให้โฟลิคเสริม
เฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
ป้องกันการติดเชื้อโดยดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาและประเมินการติดเชื้อ