Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิวัฒนาการของนาฏศิลป์ และการละครไทย - Coggle Diagram
วิวัฒนาการของนาฏศิลป์
และการละครไทย
2.สมัยสุโขทัย
พบหลักฐาน การละครและฟ้อนรำ ปรากฏอยู่ในศิลาจาลึก ของพ่อขุนรามคำแหง กล่าวว่า เมื่อจักเข้ามาเรียงกันแต่อรัญญิกพู้นเท้าหัวลานด้วยเสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียงเลื้อน เสียงขับ ใครจักมักเหล้น เหล้นใครจักมักหัว หัวใครจักมักเลื้อน เลื้อน
จึงทำให้รับวัฒนธรรมของอินเดีย ผสมผสานกับวัฒนธรรมไทย มีการบัญญัติศัพท์ขึ้นใหม่ เพื่อใช้เรียกศิลปะการแสดงของไทย ว่า โขน ละคร ฟ้อนรำ !
นายอภิสิทธิ์ ปลอดทองสม
https://sites.google.com/site/bluestampnew/bth-thi-1-kar-lakhr-thiy/1-1-wiwathnakar-khxng-kar-lakhr-thiy-tangtae-xdit-thung-paccuban
1.สมัยน่านเจ้า
การศึกษาเรื่องการละคร และนาฏศิลป์ไทยในสมัยนี้ พบว่า ไทยมีนิยายเรื่องหนึ่ง คือ เรื่อง\”มโนห์รา” ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังมีอยู่ในประเทศจีนตอนใต้ในอาณาจักรน่านเจ้าเดิมนั่นเอง นิยายเรื่องนั้น คือ นามาโนห์รา เป็นนิยายของพวกไต พวกไตคือไทยเรานี่เอง แต่เป็นพวกที่ไม่อพยพลงมาจากดินแดนเดิม เรื่องนามาโนห์รานี้จะนำมาเล่นเป็นละครหรือไม่นั้นยังไม่มีหลักฐานปรากฎเด่นชัด ส่วนการละเล่นของไทยน่านเจ้านั้นมีพวกระบำอยู่แล้ว คือ ระบำหมวก และระบำนกยูง
นายภูวสิษฏ์ ด้วงหวัง
https://sites.google.com/site/bluestampnew/bth-thi-1-kar-lakhr-thiy/1-1-wiwathnakar-khxng-kar-lakhr-thiy-tangtae-xdit-thung-paccuban
สมัยธนบุรี
สมัยนี้บทละครในสมัยอยุธยาได้สูญหายไป สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงรวบรวมศิลปิน บทละคร ที่เหลือมาทรงพระราชนิพนธ์บทละคร เรื่อง รามเกียรติ์ อีก 5 ตอนได้แก่
1.ตอนอนุมานเกี้ยวนางวานริน
2.ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ
3.ตอนทศกันฐ์ตั้งพิธีทรายกรด
4.ตอนพระลักษมณ์ถูกหอกกบิลพัท
5.ตอนปล่อนม้าอุปการ
นอกจากทรงพระราชนิพนธ์ บทละครในเรื่องรามเกียรติ์ด้วยพระองค์เองแล้ว พระองค์ยังทรง ฝึกซ้อม ด้วยพระองค์เองอีกด้วย
นายสุวิจักขณ์ รัตนะบุรี
https://sites.google.com/site/bluestampnew/bth-thi-1-kar-lakhr-thiy/1-1-wiwathnakar-khxng-kar-lakhr-thiy-tangtae-xdit-thung-paccuban
3.สมัยอยุธยา
มีการแสดงละครชาตรี ละครนอก ละครใน แต่เดิม ที่เล่นเป็นละครเร่ จะแสดงตามพื้นที่ว่างโดยไม่ต้องมีโรงละคร เรียกว่า ละครชาตรี ต่อมาได้มีการวิวัฒนาการ เป็นละครรำ เรียกว่า ละครใน ละครนอก โดยปรับปรุงรูปแบบ ให้มีการแต่งการที่ประณีตงดงามมากขึ้น มีดนตรีและบทร้อง และมีการสร้างโรงแสดง
ละครในแสดงในพระราชวัง จะใช้ผู้หญิงล้วน ห้ามไม่ให้ชาวบ้านเล่น เรื่องที่นิยมมาแสดงมี 3 เรื่องคือ อิเหนา รามเกียรติ์ อุณรุท ส่วนละครนอก ชาวบ้านจะแสดง ใช้ผู้ชายล้วนดำเนินเรื่องอย่างรวดเร็ว
สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 เป็นสมัยที่โขนเจริญรุ่งเรื่องเป็นอย่างมาก มีละครเรื่องใหญ่ๆ อยู่ 4 เรื่อง คือ อิเหนา รามเกียรติ์ อุณรุท ดาหลัง
นายอนัฐพงษ์ จันทระ
https://sites.google.com/site/bluestampnew/bth-thi-1-kar-lakhr-thiy/1-1-wiwathnakar-khxng-kar-lakhr-thiy-tangtae-xdit-thung-paccuban
บุคคลสำคัญในวงการนาศิลป์และการละครของไทยที่ควรรู้จัก
นางลมุล ยมะคุปต์ เกิดเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2448 ที่จังหวัดน่าน เมื่ออายุได้ 5 ขวบ บิดาได้พามาถวายตัวที่วังสวนกุหลาบ ฝึกหัดนาฏศิลป์ด้วยความอดทนและตั้งใจจริง รวมทั้งมีพรสวรรค์เป็นพิเศษจึงได้รับการคัดเลือกให้ฝึกหัดเป็นตัวพระตั้งแต่แรกเริ่ม ขณะที่อยู่ในวังสวนกุหลาบท่านได้รับเกียรติให้เป็นตัวนายโรงของทุกเรื่อง ทั้งละครนอก ละครใน ละครพันทาง จากนั้นท่านได้สมรสกับนายสงัด ยมะคุปต์ ซึ่งมีความสามารถในเรื่องปีพาทย์และขับเสภา นางลมุล ได้ติดตามสามีไปเป็นครูนาฏศิลป์ในคุ้มพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ได้ปรับปรุงท่ารำต่างๆ และนำหารแสดงของภาคเหนือ เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเงี้ยว มาเผยแพร่ที่กรุงเทพฯ ใน พ.ศ. 2477 เริ่มรับราชการที่โรงเรียนนาฏดุริยาคศาสตร์ ดำรงตำแหน่งครู ครูพิเศษ และตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ ประจำวิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร ท่านได้ถ่ายทอดท่ารำและประดิษฐ์คิดค้นท่ารำที่งดงามไว้มากมาย เช่น รำแม่บทใหญ่ รำวงมาตรฐาน รำเถิดเทิง ระบำกฤดภินิหาร ระบำโบราณคดีชุด ทวารวดี ศรีวิชัย เชียงแสน ลพบุรี ท่านเป็นผู้วางหลักสูตรนาฏศิลป์ภาคปฏิบัติให้กับวิทยาลัยนาฏศิลป และวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา คณะนาฏศิลป์และดุริยางค์ ท่านจากไปอย่างสงบเมื่อ พ.ศ. 2526
นางเฉลย ศุขะวณิช เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447 ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญการสอนและ การออกแบบนาฏศิลป์ไทยแห่งวิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร ท่านมีความสามารถสูงในกระบวนท่ารำทุกประเภท และได้สร้างสรรค์ประดิษฐ์ผลงานด้านนาฏศิลป์ขึ้นใหม่มากมาย จนถือเป็นแบบอย่างในปัจจุบัน ท่านได้รับปริญญาครุศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานาฏศิลป์สหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จนได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์)
เมือ พ.ศ. 2530
นายกรี วรศะริน เกิดเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2457 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นศิลปินที่เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ โขน ของวิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร ท่านมีความสามารถในการแสดงโขนทุกประเภท โดยเฉพาะโขนตัวลิง อีกทั้งยังสร้างสรรค์และประดิษฐ์ผลงานด้านโขน-ละครหลายชุด จนเป็นที่ยอมรับนับถือในวงการนาฏดุริยางคศิลป์ นายกรี วรศะริน ได้รับการยกย่องเชิดชุเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์-โขน) เมื่อ พ.ศ. 2531
นางสุวรรณี ชลานุเคราะห์ เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 ที่จังหวัดนนทบุรี ท่านเป็นนาฏศิลป์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย ทั้งแบบพื้นเมืองและแบบราชสำนัก บทบาทที่ท่านได้รับการยกย่องมากที่สุดคือ ตัวพระ จากเรื่องอิเหนา สังข์ทอง พระไวย ไกรทอง แสดงเป็นนางเอกในเรื่อง ละเวงวัลลา รวมทั้งได้สร้างสรรค์ประดิษฐ์ชุดการแสดงต่าง ๆ และนำไปแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในหลาย ๆ ประเทศ จนได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์-ละครรำ) เมื่อ พ.ศ. 2533
ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี นามเดิมว่า แผ้ว สุทธิบูรณ์ เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2446 ในขณะที่อายุได้ 8 ขวบได้ถวายตัวในสมเด็จพระบรมวงศ์เอเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมกลวงนครราชสีมา โดยได้รับการฝึกหัดนาฏศิลป์ในราชสำนักจากเจ้าจอมมารดาวาด และเจ้าจอมมารดาเขียน ในรัชกาลที่ 4 เจ้าจอมมาดาทับทิมในรัชกาลที่ 5 ท่านเป็นผู้หนึ่งที่ร่วมฟื้นฟูนาฏศิลป์ไทยในสมัยที่แสดง ณ โรงละครศิลปากร ท่านทำหน้าที่ในการฝึกสอน อำนวยการแสดงไม่ว่าจะเป็น โขน ละคร ฟ้อน รำ ระบำ เซิ้ง และท่านยังเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นท่ารำต่าง ๆ มากมาย ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติสาขานาฏศิลป์ เมื่อ พ.ศ. 2528
นายอนัฐพงษ์ จันทระ
นางสาวณัฐวดี ชัยสงคราม
https://sites.google.com/site/natasintk/course-outline/hnwy-kar-reiyn-ru-thi-4
บุคคลสำคัญในสมัยต่างๆ
บุคคลสำคัญสมัยอยุธยา
บุคคลสำคัญของวงการนาศิลป์และการละครของไทยในสมัยอยุธยา ได้แก่ ตำรวจ มหาดเล็ก ซึ่งแสดงโขนกลางสนาม ปรากฎอยู่ในตำราพระราชพิธีอินทราภิเษก โดยใช้ตำรวจแสดงเป็นฝ่ายอสูร 100 คน ทหารมหาดเล็กเป็นฝ่ายเทพยดา 100 คน เป็นพาลี
สุครีพ มหาชมพูและบริวารวานรอีก 103 คน การแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์ ฝ่ายอสูรชักหัว เทพยดาชักหาง และวานรอยู่ปลายหาง รวมผู้เล่นประมาณ 300 กว่าคน แต่ไม่มีการกล่าวถึงชื่อผู้แสดง ทางด้านการรำไทยมีกล่าวถึงตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยจากศิลาจารึกหลักที่ 8 แต่ไม่มีการอ้างถึงเป็นรายบุคคล
บุคคลสำคัญในสมัยธนบุรี
ในสมัยนี้เป็นช่วงต่อเนื่องจากสงครามในสมัยอยุธยา ทำให้ศิลปินกระจายไปในที่ต่าง ๆ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ปราบดาภิเษกกรุงธนบุรี จึงมีการฟื้นฟูละครใหม่และรวบรวมศิลปินต่าง ๆ ให้มาอยู่รวมกัน พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นอีก 5 ตอน และมีคณะละครหลวง คณะละครเอกชนเกิดขึ้นหลายโรง เช่น ละครหลวงวิชิตณรงค์ ละครไทยหมื่นเสนาะภูบาล
นางสาวปาริชาติ ทิพย์สงคราม
https://sites.google.com/site/natasintk/course-outline/hnwy-kar-reiyn-ru-thi-4