Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Placenta Previa - Coggle Diagram
Placenta Previa
-
-
ภาวะแทรกซ้อน
รกเกาะต่ำ เป็นสาเหตุของการตกเลือดก่อนคลอดในระยะครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ หรือเมื่ออายุครรภ์ 20 สัปดาห์เป็นต้นไป (late antepartum hemorrhage) ที่มีความรุนแรงและเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของมารดาและทารก โดยมีภาวะแทรกซ้อนและผลกระทบต่อมารดา และทารก ดังนี้
ภาวะแทรกซ้อนและผลกระทบต่อมารดา ทั้ง ต่อด้านร่างกาย และจิตสังคม ได้แก่ การเสียเลือดมากใน ระยะก่อนคลอดเนื่องจากมีภาวะเลือดออกทางช่องคลอด ซึ่งเป็นลักษณะเป็นๆ หายๆ หรือต่อเนื่องยาวนาน โดยเลือด ที่ออกอาจหายไปได้เองจากระบวนการแข็งตัวของเลือด และออกได้อีก หากได้รับการกระตุ้น หรือการกระทบ กระเทือน
ภาวะแทรกซ้อนและผลกระทบต่อทารก เนื่องจากสตรีตั้งครรภ์มีการสูญเสียเลือดปริมาณมาก หรือ เรื้อรังส่งผลให้ทารกในครรภ์ได้รับสารอาหารและออกซิเจน ปริมาณน้อย อาจมีภาวะซีด ภาวะพร่องออกซิเจน การ เจริญเติบโตช้าในครรภ์ คลอดก่อนกำหนด
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
-
-
กิจกรรมการพยาบาล:
ให้ผู้คลอดนอนพักบนเตียง ห้ามลุกจากเตียง นอนท่าศีรษะสูง 20-30 องศา เพื่อให้ส่วนนําของทารกกดรกไว้ช่วยให้เลือดออกน้อยลง
-
ประเมินสีของเยื่อบุตา ริมฝีปากเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของภาวะซีด บันทึกการหดรัดตัวของมดลูกและอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ ทุก 30 นาทีบันทึกสัญญาณชีพทุก 1 ชั่วโมง งดตรวจทางช่องคลอดหรือทวารหนัก และงดสวนอุจจาระเจาะเลือด
-
-
ความหมาย
รกเกาะต่ำ หมายถึง ภาวะที่รกเกาะต่ำกว่าปกติ มีลักษณะทางคลินิกคือ เลือดออกทางช่องคลอด มักไม่เจ็บครรภ์ ไม่มีการหดรัดตัวของมดลูก หรือมดลูกแข็งเกร็ง กดไม่เจ็บ เสียงหัวใจทารกส่วนใหญ่จะปกติ ส่วนนำทารกไม่ลงอุ้งเชิงกราน ทารกอาจอยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ท่าก้น หรือ ท่าขวาง การวินิจฉัยยืนยันด้วยการตรวจอัลตราซาวด์ (ทางหน้าท้อง หรือ ทางช่องคลอด) การตรวจภายใน เป็นวิธีที่วินิจฉัยโรคได้แม่นยำที่สุด แต่อาจทำให้เกิดการตกเลือดอย่างรุนแรงได้ จึงต้องทำการตรวจแบบ double setup ในห้องผ่าตัด
สาเหตุของรกเกาะต่ำ
ารตั้งครรภ์โดยปกติรกจะอยู่ด้านบนของมดลูกและห่างจากปากมดลูก ภาวะรกเกาะต่ำรกจะปกคลุมปากมดลูกเพียงบางส่วนหรือปกคลุมทั้งหมด ในปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่สามารถบอกได้ถึงสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดภาวะรกเกาะต่ำ
การวินิจฉัยรกเกาะต่ำ
ภาวะรกเกาะต่ำส่วนมากมักจะเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์ โดยแพทย์จะวินิจฉัยด้วยการอัลตราซาวด์เมื่อถึงเวลานัดหมายของการฝากครรภ์ หรือหลังจากพบว่ามีเลือดไหลออกจากช่องคลอด ซึ่งเป็นอาการของภาวะรกเกาะต่ำ โดยอัลตราซาวน์มี 2 วิธีหลัก ดังต่อไปนี้
-
ตรวจทางหน้าท้อง โดยแพทย์จะทาเจลที่บริเวณหน้าท้อง จากนั้นจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า ตัวแปลงสัญญาณ (Transducer) เพื่อตรวจอวัยวะในอุ้งเชิงกราน และหาตำแหน่งของรก
-
อ้างอิง ผศ.ดร.บังอร ศุภวิทิตพัฒนา และ ดร.ปิยะพร ประสิทธิ์วัฒนเสรี.(บรรณาธิการ).(2562).การพยาบาลและการผดุงครรภ์สตรีที่มีภาวะเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน.คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่