Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ละครรำ
ละครรำ เป็นศิลปะการแสดงของไทย ที่ประกอบด้วยท่ารำ ดนตรีบรรเลง…
ละครรำ
ละครรำ เป็นศิลปะการแสดงของไทย ที่ประกอบด้วยท่ารำ ดนตรีบรรเลง และบทขับร้องเพื่อดำเนินเรื่อง ละครรำมีผู้แสดงเป็นตัวพระ ตัวนาง และตัวประกอบ แต่งองค์ทรงเครื่องตามบท งดงามระยับตา ท่ารำตามบทร้องประสานทำนองดนตรีที่บรรเลงจังหวะช้า เร็ว เร้าอารมณ์ให้เกิดความรู้สึกคึกคัก สนุกสนาน หรือเศร้าโศก ตัวละครสื่อความหมายบอกกล่าวตามอารมณ์ด้วยภาษาท่าทาง โดยใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย วาดลีลาตามคำร้อง จังหวะและเสียงดนตรี
รูปแบบการแสดงที่ดำเนินเรื่องราว เป็นศิลปะที่อาจเกิดจากการนำภาพจากจินตนาการ ประสบการณ์หรือเรื่องราวต่าง ๆ มาผูกเป็นเรื่อง มีเหตุการณ์เชื่อมโยงเป็นตอนๆ ตามลำดับ โดยดำเนินเรื่องราวจากผู้แสดงเป็นผู้สื่อความหมายต่อผู้ชม ละครไทยเป็นละครที่มีรูปแบบการแสดงหลายลักษณะวิวัฒนาการตามยุคสมัยจัดประเภทละครไทยได้ ดังนี้
-
ละครที่พัฒนาขึ้นใหม่ ได้แก่ ละครร้อง ละครสังคีต และละครพูด ละครอิงประวัติศาสตร์ ละครเพลง ละครเวที ละครวิทยุ ละครโทรศัพท์
เป็นละครประเภทที่ใช้ศิลปะการร่ายรำดำเนินเรื่อง มีการขับร้องและเจรจา เป็นกลอนบทละคร ละครรำแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
-
ละครรำแบบปรับปรุง ได้แก่
ละครดึกดำบรรพ์ เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 นำแบบอย่างมาจากละครโอเปร่า (Opera) ของยุโรป ลักษณะการแสดงละครดึกดำบรรพ์ คือ ผู้แสดงร้องและรำเอง ไม่มีการบรรยายเนื้อร้อง ผู้ชมต้องติดตามฟังจากการร้องและบทเจรจาของผู้แสดง
ละครพันทาง เกิดหลังละครดึกดำบรรพ์ เป็นละครรำแบบละครนอกผสมละครในมีศิลปะของชาติต่าง ๆ เข้ามาปะปนตามท้องเรื่อง ทั้งศิลปะการร้อง การรำ และการแต่งกาย ผสมกับศิลปะไทย โดยยึดท่ารำไทยเป็นหลัก นิยมแสดงเรื่องที่เกี่ยวกับต่างชาติ เช่น พระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผน พระลอ ราชาธิราช สามก๊ก พญาน้อย ฯลฯ จึงมีลีลาของต่างภาษาตามท้องเรื่อง
: เกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นละครที่พระเจ้า บรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ได้ทรงปรับปรุงขึ้นใหม่ โดยทรงนำเอาเสภารำมาผสมกับละครพันทาง และยึดรูปแบบของการแสดงละครพันทางเป็นหลัก
รูปแบบวิธีการแสดง การแสดงละครเสภาจะดำเนินเรื่องด้วยการขับเสภา โดยมีต้นเสียงกับลูกคู่เป็นผู้ขับเสภา ส่วนถ้อยคำที่เป็นบทขับเสภาหรือบทขับร้องของผู้แสดง ผู้แสดงจะต้องขับเสภาหรือร้องเอง
บุคคลสำคัญ
นางลมุล ยมะคุปต์ :
ฝึกหัดนาฏศิลป์ด้วยความอดทนและตั้งใจจริง รวมทั้งมีพรสวรรค์เป็นพิเศษจึงได้รับการคัดเลือกให้ฝึกหัดเป็นตัวพระตั้งแต่แรกเริ่ม ขณะที่อยู่ในวังสวนกุหลาบท่านได้รับเกียรติให้เป็นตัวนายโรงของทุกเรื่อง ทั้งละครนอก ละครใน ละครพันทาง เริ่มรับราชการที่โรงเรียนนาฏดุริยาคศาสตร์ ดำรงตำแหน่งครู ครูพิเศษ และตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ ประจำวิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร ท่านได้ถ่ายทอดท่ารำและประดิษฐ์คิดค้นท่ารำที่งดงามไว้มากมาย เช่น รำแม่บทใหญ่ รำวงมาตรฐาน รำเถิดเทิง ระบำกฤดภินิหาร ระบำโบราณคดีชุด ทวารวดี ศรีวิชัย เชียงแสน ลพบุรี ท่านเป็นผู้วางหลักสูตรนาฏศิลป์ภาคปฏิบัติให้กับวิทยาลัยนาฏศิลป และวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา คณะนาฏศิลป์และดุริยางค์
ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี
ขณะที่อายุได้ 8 ขวบได้ถวายตัวในสมเด็จพระบรมวงศ์เอเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมกลวงนครราชสีมา โดยได้รับการฝึกหัดนาฏศิลป์ในราชสำนักจากเจ้าจอมมารดาวาด และเจ้าจอมมารดาเขียน สมัยที่แสดง ณ โรงละครศิลปากร ท่านทำหน้าที่ในการฝึกสอน อำนวยการแสดงไม่ว่าจะเป็น โขน ละคร ฟ้อน รำ ระบำ เซิ้ง และท่านยังเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นท่ารำต่าง ๆ มากมาย
นางเฉลย ศุขะวณิช
: ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญการสอนและ การออกแบบนาฏศิลป์ไทยแห่งวิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร ท่านมีความสามารถสูงในกระบวนท่ารำทุกประเภท และได้สร้างสรรค์ประดิษฐ์ผลงานด้านนาฏศิลป์ขึ้นใหม่มากมาย จนถือเป็นแบบอย่างในปัจจุบัน ท่านได้รับปริญญาครุศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานาฏศิลป์สหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จนได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์)
นายกรี วรศะริน
เป็นศิลปินที่เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ โขน ของวิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร ท่านมีความสามารถในการแสดงโขนทุกประเภท โดยเฉพาะโขนตัวลิง อีกทั้งยังสร้างสรรค์และประดิษฐ์ผลงานด้านโขน-ละครหลายชุด จนเป็นที่ยอมรับนับถือในวงการนาฏดุริยางคศิลป์ นายกรี วรศะริน ได้รับการยกย่องเชิดชุเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์-โขน)
นางสุวรรณี ชลานุเคราะห์
เป็นนาฏศิลป์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย ทั้งแบบพื้นเมืองและแบบราชสำนัก บทบาทที่ท่านได้รับการยกย่องมากที่สุดคือ ตัวพระ จากเรื่องอิเหนา สังข์ทอง พระไวย ไกรทอง แสดงเป็นนางเอกในเรื่อง ละเวงวัลลา
-
-
-