Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่6 การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีความผิดปกติ ของรกน้ำคร่ำ…
บทที่6 การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีความผิดปกติ
ของรกน้ำคร่ำ และความผิดปกติของทารกในครรภ์
6.1 ภาวะน้ำคร่ำผิดปกติ
(Polydramnios/ Oligohydramnios)
6.1.1 ภาวะน้ำคร่ำมากผิดปกติ หรือการตั้งครรภ์แฝดน้ำ (Hydramnios/ polyhydramnios)
ความหมาย
การตั้งครรภ์ที่มีน้ำคร่ำมากผิดปกติ โดยมีปริมาณน้ำคร่ำมากกว่ากว่า2,000 มล.
พยาธิสรีรวิทยา
ความผิดปกติของปริมาณน้ำคร่ำจะสัมพันธ์กับ
ความสมดุลของปริมาณของเหลวที่เข้าและออกจากถุงน้ำคร่ำ
สาเหตุ
ด้านมารดา ได้แก่ มารดาเป็นโรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์แฝด
ด้านทารก ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการกลืนของทารก ความผิดปกติของระบบประสาท การ
อุดกั้นของระบบทางเดินอาหาร ความพิการของทารกในครรภ์ เช่น GI tract obstruct
ไม่ทราบสาเหตุ เป็นกลุ่มที่พบได้บ่อยที่สุดถึงร้อยละ 60 ซึ่งวินิจฉัยไม่พบความผิดปกติของ
มารดาและทารกในครรภ์ จะพบความรุนแรงของภาวะครรภ์แฝดน้ำได้เล็กน้อยถึงปานกลาง
การจำแนกชนิด แบ่งเป็น 2 ชนิด
ภาวะน้ำคร่ำมากอย่างเฉียบพลัน (Acute hydramnios) พบได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 20-24 สัปดาห์
ภาวะน้ำคร่ำมากเรื้อรัง (chronic hydramnios)
ส่วนใหญ่จะพบเมื่ออายุครรภ์ 30 สัปดาห์ขึ้นไป
ผลต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อมารดา
ระยะตั้งครรภ์ เกิดความไม่สุขสบายจากการกดทับของมดลูกที่มีขนาดใหญ่ เช่น อึดอัดหายใจลำบาก ท้องอืด เนื่องจากมีการขยายตัวของมดลูกมากเกินไป
อาจเกิดการคลอดก่อนกำหนด
ช็อคจากความดันในช่องท้องลดลงอย่างรวดเร็ว
ตกเลือดหลังคลอด
ติดเชื้อหลังคลอด
ผลต่อทารก
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะพิการ และการคลอดก่อนกำหนด
เกิดภาวะ fetal distress จากการเกิดสายสะดือย้อย (prolapsed umbilical cord)
ทารกอยู่ท่าผิดปกติและไม่คงที่ เนื่องจากมีปริมาณน้ำคร่ำมาก ทารกจึงหมุนเปลี่ยนท่าไปมา
อาการและอาการแสดง
แน่นอึดอัด หายใจลำบาก เจ็บชายโครง
มีอาการบวมบริเวณเท้า ขา และปากช่องคลอด
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย
2.1 หน้าท้องขยายใหญ่
2.2 คลำหาส่วนต่างๆของทารกได้ลำบาก
2.3 ฟังเสียง FHS ไม่ได้ยินหรือได้ยินไม่ชัดเจน
2.4 น้ำหนักตัวมารดาเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วมากกว่า 1 กิโลกรม/สัปดาห์
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
amniotic fluid index (AFI)
การซักประวัติอาการ และอาการแสดงการเกิดภาวะครรภ์แฝดน้ำ
การดูแลรักษา
ให้ยาขับปัสสาวะหากพบมีภาวะบวม
การเจาะถุงน้ำในระยะคลอด
รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง
การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องในรายที่มีส่วนนำและท่าของทารกที่ผิดปกต
ในระยะหลังคลอดหากมารดามีอาการตกเลือด ให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
การรักษาด้วยยา prostaglandin synthetase inhibitors
การเจาะดูดน้ำคร่ำออก (amnioreduction)
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ประเมินการเกิดภาวะตั้งครรภ์แฝดน้ำจากการซักประวัติอาการและอาการแสดง การตรวจร่างกาย
ดูแลเพื่อบรรเทาอาการอึดอัดแน่นท้อง จากการขยายตัวของมดลูก
ระยะคลอด
ให้นอนพักบนเตียง เพื่อป้องกันภาวะน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
ฟัง FHS ในระยะ latent ทุก 30 นาที และระยะ active ทุก 15 นาที
ให้ได้รับสารน้ำและอาหารตามแผนการรักษา
ขณะแพทย์เจาะถุงน้ำ ต้องระมัดระวังให้น้ำคร่ำไหลออกมาอย่างช้าๆ แล้วควรจัดให้มารดานอนพักบนเตียงเพื่อป้องกันภาวะสายสะดือย้อย
ระยะหลังคลอด
ให้การพยาบาลเหมือนกับสตรีตั้งครรภ์แฝด โดยเฉพาะดูแลการหดรัดตัวของมดลูกเพื่อป้องกัน
การตกเลือดหลังคลอด
6.1.2 ภาวะน้ำคร่ำน้อย (oligohydramnios)
ความหมาย
การตั้งครรภ์ที่มีน้ำคร่ำน้อยกว่า 300 มิลลิลิตร
สาเหตุ
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด ทำให้เกิดภาวะนี้ได้ 26-35 %
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อมารดา
มีโอกาสผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้องมากกว่าการตั้งครรภ์ปกติ
เนื่องจากทารกในครรภ์เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ fetal distress
ผลต่อทารก
ภาวะปอดแฟบ (pulmonary hypoplasia) พบได้บ่อยที่สุด
การวินิจฉัย
การวัดโพรงน้ำคร่ำที่ลึกที่สุดในแนวดิ่ง หากพบว่า MVP มีค่าน้อยกว่า 1 หรือ 2 เซนติเมตร ให้ถือว่ามีภาวะน้ำคร่ำน้อย
การวัดดัชนีน้ำคร่ำ amniotic fluid index (AFI) มีค่าน้อยกว่า 5 เซนติเมตร
การรักษา
ให้พิจารณาตามอายุครรภ์
การพยาบาล
ดูแลให้ได้รับการใส่สารน้ำเข้าไปในถุงน้ำคร้ำ (amnioinfusion) ตามแผนการรักษาของแพทย์
รับฟังปัญหา แสดงความเห็นอกเห็นใจ และกระตุ้นให้ระบายความรู้สึก
อธิบายถึงสาเหตุการเกิดภาวะดังกล่าว และแนวทางการรักษา
6.2 ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า
(Intra Uterine Growth Restriction: IUGR)
ทารกที่มีขนาดเล็กกว่าอายุครรภ์ แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม
ทารกที่มีขนาดเล็กตามธรรมชาติ (constitutionally small) หมายถึงทารกที่มีขนาดเล็ก เนื่องมาจากมารดาตัวเล็ก หรือปัจจัยทางพันธุกรรม โดยไม่ได้มีปัญหาเกี่ยวกับการเจริญเติบโตผิดปกติ
2 ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ หมายถึงทารกที่มีการเจริญเติบโตช้าผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งไม่ได้คำนึงถึงขนาดของทารกเพียงอย่างเดียว
สาเหตุ
ด้านมารดา
มารดามีรูปร่างเล็ก
ภาวะขาดสารอาหาร น้ำหนักของมารดาไม่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์
ภาวะโลหิตจางรุนแรง เช่น โรคธาลัสซีเมีย
มารดามีภาวะติดเชื้อ
โรคของมารดา เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมสุขภาพของมารดา เช่น การใช้สารเสพติด
การตั้งครรภ์แฝด มักทำให้มวลของรกต่อทารกแต่ละคนลดลง
ด้านทารก
การติดเชื้อในระยะตั้งครรภ์
ความผิดปกติของโครโมโซม เช่น trisomy 21, trisomy 13, trisomy 18
ความพิการแต่กำเนิด
การจำแนกประเภทของ IUGR
ทารกโตช้าในครรภ์แบบได้สัดส่วน
ทารกในกลุ่มนี้จะมีการเจริญเติบโตช้าทุกระบบของร่างกาย ทั้งส่วนที่กว้างของศีรษะ (BPD) เส้นรอบศีรษะ (HC) เส้นรอบท้อง (HC) ความยาวกระดูกต้นขา(FL)
ทารกโตช้าในครรภ์แบบไม่ได้สัดส่วน
ทารกที่มีการเจริญเติบโตช้า แบบไม่ได้สัดส่วน "หัวจะโต ท้องจะเล็ก"
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย ได้แก่ การตรวจครรภ์ การชั่งน้ำหนักของสตรีตั้งครรภ์
การตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง (ultrasound)
การซักประวัติ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน
การรักษา
ค้นหาและลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดอันตราย และภาวะแทรกซ้อนกับทารกในครรภ์
ตรวจเฝ้าระวังสุขภาพของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด โดยการตรวจ U/S ทุก 2-3 สัปดาห์
กำหนดเวลาการคลอดที่เหมาะสม
การพยาบาล
ระยะคลอด
ควรติดตาม ประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด
ในระยะหลังคลอด
ให้การดูแลทารกเพื่อเฝ้าระวัง และป้องกันการเกิดภาวะ hypoglycemia, hypothermia, polycythemia
ระยะตั้งครรภ์
แนะนำมารดาเกี่ยวกับการรับประทานอาหารและการพักผ่อน
6.3 การตั้งครรภ์ที่ทารกมีจำนวนมากกว่า 1 คน (Multiple/Twins pregnancy)
ชนิดและสาเหตุการตั้งครรภ์แฝด
แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวหรือแฝดแท้
(monozygotic twins / identical twins)
เป็นแฝดที่เกิดจากการปฏิสนธิจากไข่ 1 ใบ และตัวอสุจิ 1 ตัว ทารกแฝดชนิดนี้จะมีรูปร่าง หน้าตา เพศ และลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกัน
แฝดที่เกิดจากไข่คนละใบ หรือแฝดเทียม
(dizygotic twins/ fratemal)
เป็นการตั้งครรภ์แฝดที่เกิดจากไข่ 2 ใบผสมกับอสุจิ 2 ตัว amnion 2 อัน และ chorion 2 อัน มีรก 2 อัน
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อมารดา
ระยะคลอด
กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวผิดปกติเนื่องจากมีการยืดขยายมากเกินไป . รกลอกตัวก่อนกำหนด
ระยะหลังคลอด
. ตกเลือดหลังคลอด, การติดเชื้อหลังคลอด ,การเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอาจเกิดความยาดลำบาก
ระยะตั้งครรภ์
มีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก มีภาวะโลหิตจางเนื่องจากครรภ์แฝด การตกเลือดก่อนคลอด
ผลต่อทารก
การแท้ง ทารกตายในครรภ์ ภาวะคลอดก่อนกำหนด เป็นต้น
การประเมินหรือการวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย ตรวจหน้าท้อง ตรวจภายใน
การตรวจพิเศษ ตรวจด้วยอัลตราซาวด์
การซักประวัติ เช่น ประวัติการตั้งครรภ์แฝดในครอบครัว
แนวทางการดูแลรักษา
ต้องวินิจฉัยให้ได้เร็วที่สุด (early diagnosis) เพื่อสามารถวางแผนการอย่างเหมาะสม
ป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
ดูแลการเจริญเติบโตของทารกอย่างใกล้ชิด ตรวจหาและวินิจฉัยภาวะ IUGR
ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะอันตรายต่อทารกในระยะคลอด
หลักการพยาบาล
ระยะคลอด
การพิจารณาวิธีการคลอด
ระยะหลังคลอด
เฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอด ป้องกันการติดเชื้อโดยดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาและประเมินการติดเชื้อ
ระยะตั้งครรภ์
ดูแลให้ได้รับอาหารอย่างเพียงพอ
เฝ้าระวังการเกิดภาวะโลหิตจางอาจให้โฟลิคเสริม
6.4 ทารกพิการ (Fetal anormaly)
ความผิดปกติของทารกสามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มดังนี้
Disruption
ปัจจัยดังกล่าวเช่น เชื้อโรค สารเคมี ยา การขาดเลือดมาเลี้ยงหรืออุบัติเหตุ
Deformation
ความผิดปกติของรูปร่างของมดลูก การตั้งครรภ์แฝด ภาวะ
น้ำคร่ำน้อย เช่น ภาวะเท้าปุก
Malformation
ความผิดปกติที่เกิดจากยีนและโครโมโซม ได้แก่ ปากแหว่ง เพดานโหว่
Dysplasia
ความผิดปกติทางรูปร่างของอวัยวะหรือส่วนของอวัยวะอันเป็นผลมาจากความผิดปกติของการจัดระเบียบของเซลล์ที่จะเจริญไปเป็นเนื้อเยื่อ
6.4.1 ปากแหว่งเพดานโหว่
อาการและอาการแสดง
ทารกที่มีเพดานโหว่มักจะสำลักน้ำนมขึ้นจมูกและเข้าช่องหูชั้นกลางหรือสำลักนมเข้าปอดได้
การได้ยินผิดปกติ
ทารกที่มีปากแหว่งเพียงอย่างเดียว จะไม่สามารถอมหัวนมหรือจุกีลมรั่วเข้าไปขณะดูดนม ทารกต้องออกแรงมากในการดูดนม จะพบอาการท้องอืดหลังจากดูดนมนมได้สนิท
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยโรคปากแหว่ง พบตั้งแต่ทารกแรกเกิด การตรวจร่างกายในครรภ์ด้วย อัลตร้าซาวน์ สามารถตรวจพบได้เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 13-14 สัปดาห์ สามารถยืนยันผลได้ 100%
การตรวจร่างกาย
การตรวจร่างกายพบทารกมีความพิการริมฝีปากบนแหว่งตั้งแต่แรกเกิด ส่วนทารกที่มีเพดานโหว่จะตรวจโดยสอดนิ้วตรวจเพดานภายในปาก หรือตรวจในขณะทารกร้องไห้ อ้าปาก จะพบเพดานโหว่ได้
การพยาบาลทารกแรกเกิด
ดูแลการให้นมแม่
กรณีที่ทารกไม่สามารถดูดนมแม่ได้แนะนำมารดา ให้ใช้ขวดนมพิเศษที่เป็นพลาสติกอ่อน
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลทารกแรกเกิดที่พบปัญหาปากแหว่ง เพดานโหว
ภายหลังการให้ทารกดูดนมหรือให้นมต้องไล่ลมเป็นระยะ ๆ ทุก 15-30 นาที และจัดท่านอนหัวสูงและนอนตะแคงขวาให้ใบหน้าตะแคงเพื่อป้องกันอาการท้องอืด อาเจียน และสำลัก
ดูแลด้านจิตใจสำหรับบิดา มารดา
6.4.2 ดาวน์ซินโดรม
สาเหตุ
เกิดจากการมีโครโมโซมเกินไป 1 แท่ง คือโครโมโซมคู่ที่ 21 มี 3 แท่งแทนที่จะมี 2 แท่งตามปกติ ความผิดปกตินี้เรียกว่า trisomy 21
อาการที่เห็นได้ชัด
ศีรษะและตา มีศีรษะแบนกว้าง และท้ายทอยแบน ตายาวรี เฉียงออกด้านนอกและชี้ขึ้นบน จมูกและหู มีจมูกไม่มีสัน ใบหูเล็กอยู่ต่ำกว่าปกติ
. ปัญญาอ่อน จะมีพัฒนาการช้าหว่าเด็กธรรมกา มี IQ เฉลี่ย 25-50
การวินิจฉัย
การตรวจโครโมโซมโดยวิธี chorionic villusเมื่ออายุครรภ์ 9-12 สัปดาห์ หรือการทำamniocentesis เมื่ออายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์
การซักประวัติครอบครัว หรือ มารดาที่มีอายุมากกว่า 35 ปี
การรักษา
การรักษาในปัจจุบันเป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ มุ่งเน้นให้เด็กสามารถช่วยเหลือตัวเองได้
6.4.3 ทารกศีรษะบวมน้ำหรือภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง (Hydrocephalus)
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
1.1 ประวัติการติดเชื้อโรคบางชนิด
1.2 ประวัติการได้รับยาขณะตั้งครรภ์ได้แก่ Aminophyrine หรือ Amethopterin
1.3 ตรวจพบปริมาณน้ำคร่ำมากผิดปกติ
การตรวจร่างกาย
ตรวจหน้าท้องและการตรวจพิเศษ เช่น skull X – ray, Ultrasound
การรักษา
ขณะตั้งครรภ์ครรภ์
รายไม่รุนแรงและไม่ความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วยมักแนะนำให้ติดตามการเปลี่ยนแปลง
อาจพิจารณายุติการตั้งครรภ์กรณีเป็นรุนแรงมาก
การดูแลทารก
ให้การพยาบาลทารกแรกเกิดโดยทั่วไป ได้แก่ ท่านอน การหายใจ การให้ความอบอุ่น
ให้การพยาบาลตามอาการ วัดขนาดของรอบศีรษะทารกทุกวัน
สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
อธิบายให้บิดามารดาเข้าใจสภาพของทารก
บันทึกอาการและการพยาบาล
6.4.4 ทารกศีรษะเล็ก (Microcephaly)
การรักษา
การรักษามุ่งเน้นให้เด็กสามารถมีชีวิต
อยู่ได้นานมากขึ้น และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อชีวิตเด็กได้
การพยาบาล
ให้การพยาบาลตามอาการและอาการแสดง
สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ และอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาทของทารก เกี่ยวกับระบบ Motor และ Mental retardation
ให้การพยาบาลทารกแรกเกิดโดยทั่วไป
อธิบายให้บิดามารดาเข้าใจเกี่ยวกับสภาพของทารก
บันทึกอาการแลอาการแสดง
6.4.5 ภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defects: NTDs)
สาเหตุของการเกิด NTDs
Genetic factors:
เมื่อครอบครัวที่เคยมีบุตรเป็น NTD แล้ว ครรภ์ต่อไปจะมีความเสี่ยงที่จะเกิด NTD ซ้ำ
Environmental factors
geography, ethnicity, nutrition, maternal illness, maternal age and parity, previous abortions, multiple gestations, obesity, parental socioeconomic status parental occupational exposure แต่ปัจจัยมีความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างมีผลการศึกษาเยอะ
6.4.6 เยื่อหุ้มไขสันหลังยื่น (Spina bifida)
การวินิจฉัย
2.การซักประวัติ ได้รับยาบางชนิดขณะตั้งครรภ์ ได้แก่ Valproic acid
อาการและอาการแสดง ที่พบว่าทารกมีก้อนสีแดงนุ่มตรงบริเวณช่องต่อระหว่างกระดูกของกระดูกสันหลังหรือบริเวณสะโพกและบริเวณบั้นเอว
อาการแสดงโดยตรง พบมีกระดูกสันหลังแยก
การพยาบาล
ให้การพยาบาลทารกแรกเกิดโดยทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะท่านอนให้นอนในท่าตะแคง หรือนอนคว่ำ
ให้การพยาบาลตามอาการ และการพยาบาลก่อนผ่าตัดในรายที่เป็นน้อย ซึ่งอาจช่วยได้
3.สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
4.อธิบายให้มารดาเข้าใจเกี่ยวกับสภาพทารก
บันทึกอาการและการพยาบาล
6.การให้folic acid ในสตรีตั้งครรภ์จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคกระดูกสันหลังโหว่ได้
6.5 ทารกตายในครรภ์(Fetal demise)
สาเหตุ
ด้านมารดา
มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์โรคทางอายุรศาสตร์ เช่น โรคความดันโลหิตสูง
มารดาอายุมากกว่า 35 ปี
ภาวะทางสูติกรรม เช่น คลอดก่อนกำหนด
ด้านทารก
มีภาวะพิการแต่กำเนิด เช่น ความผิดปกติของโครโมโซม
ทารกมีภาวะเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
มีการกดทับสายสะดือจากสายสะดือย้อย (prolapsed cord)
การวินิจฉัย
จากการซักประวัติมารดาพบทารกไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อยลง
การตรวจร่างกาย
2.1 น้ำหนักตัวของมารดาคงที่หรือลดลง เต้านมมีขนาดเล็กลง
2.2 คลำยอดมดลูกพบว่าไม่สัมพันธ์กับอายุครรภ์
2.3 ฟังเสียงหัวใจทารกไม่ได้
2.4 พบสิ่งคัดหลั่งสีน้ำตาลไหลออกทางช่องคลอด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยการ ultrasound
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ด้านร่างกาย
อาจเรียกว่าภาวะ “fetal death syndrome”
ด้านจิตใจ
ทำให้เกิดความรู้สึกสูญเสีย ตกใจ ซึมเศร้า โทษตัวเอง
การรักษา
ช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์
เหน็บยา prostaglandin ได้แก่ PGE2 และ misoprostol
ทางช่องคลอด หรือให้ oxytocin ทางหลอดเลือดดำ
ไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์
ให้ oxytocin ปริมาณความเข้มข้นสูง ทางหลอดเลือดดำ
ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
ทำการ dilatation and
curettage หรือ suction curettage
การพยาบาล
ให้การประคับประคองทางด้านจิตใจ แสดงความเห็นอกเห็นใจ ใช้คำพูดที่สุภาพ และนุ่มนวล
2.แนะนำให้สามีและครอบครัวให้กำลังใจ ปลอบใจ เพื่อให้มีกำลังใจและการปรับตัวอย่างเหมาะสม
ประเมินความต้องการสัมผัสกับทารกแรกคลอดที่เสียชีวิต
ดูแลให้ได้รับการสิ้นสุดการตั้งครรภ์ ตามแผนการรักษาของแพทย์
ติดตามผลการตรวจเลือดเพื่อหาระยะการแข็งตัวของเลือดclotting time ระดับของfibrinogen ในกรณีที่ทารกตายในครรภ์เกิน 2 สัปดาห์
ให้ได้รับยายับยั้งการหลั่งน้ำนมตามแผนการรักษาของแพทย์
ชนิดของทารกตายในครรภ์
การตายของทารกในระยะกลาง (intermediate fetal death)คือการตายระหว่างอายุครรภ์20-28 สัปดาห์
การตายของทารกในระยะสุดท้าย (late fetal death)คือการตายตั้งแต่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป บางครั้งหมายถึงทารกตายคลอด
การตายของทารกในระยะแรก (early fetal death) คือ การตายก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์