Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
อหิวาตกโรค, วิธีรักษาอหิวาตกโรค - Coggle Diagram
อหิวาตกโรค
-
การพยาบาล
ผู้ป่วยอหิวาตกโรคควรแยกไว้ต่างหากใน Ward หรือในโรงพยาบาลสำหรับโรคติดต่อถ้า ทำได้ ควรเตรียมการไว้ล่วงหน้าเมื่อคาดว่าจะมีการระบาด ในชนบทอาจใช้สถานที่ของโรงเรียน จัดเป็นโรงพยาบาลเอกเทศชั่วคราว ทั้งนี้เพราะเมื่อมีการระบาดจะมีผู้ป่วยพร้อมกันเป็นจำนวนมาก
ผู้ป่วยหนักหรือช็อคต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว ถ้าต้องรับผู้ป่วยจากบ้านควรให้นํ้าเกลือ ระหว่างขนย้าย เตียงผู้ป่วยควรจัดเตียงมีช่องตรงกลางให้ผู้ป่วยนอนถ่ายได้ โดยมีถังสำหรับรอง รับที่สามารถดูลักษณะและวัดปริมาณอุจจาระได้
สำหรับผู้ป่วยที่เสียนํ้า แร่ธาตุ Na, K, Cl และด่างไปกับอุจจาระให้พยายามทดแทนปริมานเท่าที่เสียไป
อหิวาตกโรคในเด็ก ต้องดูแลผู้ป่วยเป็นพิเศษ เด็กมักมีอาการเปลี่ยนแปลงง่าย เพราะระบบ acid – base Meachanism ยังทำงานไม่เต็มที่ อาจต้องเปลี่ยนแปลงปริมาณนํ้าเกลือที่ให้ตามอาการและในเด็กควรให้นํ้าเกลือผสม Dextrose 5% ด้วย
การดูแลตนเอง
1.รักษาสุขอนามัยพื้นฐานโดยการปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติให้ดี เพื่อช่วยลดโอกาสการติดเชื้อต่าง ๆ
2.ดื่มน้ำสะอาดหรือน้ำต้มสุกหรือได้รับการฆ่าเชื้อแล้ว และน้ำนมสัตว์ที่ดื่มจะต้องผ่านกรรมวิธีการฆ่าเชื้อหรือพาสเจอไรซ์ก่อน หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำคลองหรือดื่มน้ำบ่อแบบดิบ ๆ และไม่กินน้ำแข็งหรือไอศกรีมที่เตรียมไม่สะอาด
3.ตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ ล้างมือด้วยน้ำกับสบู่ให้สะอาดก่อนเตรียมอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร และหลังการขับถ่ายอุจจาระทุกครั้ง
4.หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยที่เป็นโรคอหิวาตกโรค แต่ถ้ามีผู้ป่วยเป็นอหิวาตกโรคในบ้าน ทุกคนในบ้านจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าว ที่สำคัญคือ
-
-ล้างมือด้วยน้ำกับสบู่ให้สะอาดบ่อย ๆ ก่อนเตรียมอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ และหลังการดูแลผู้ป่วย
-
-ควรนำอุจจาระและสิ่งที่ผู้ป่วยอาเจียนออกมาไปเทใส่ส้วมหรือฝังลงดินให้มิดชิด (ที่ฝังจะต้องห่างจากแหล่งน้ำดื่ม) อย่าเทลงตามพื้นหรือเทลงแม่น้ำลำคลอง หรือนำไปทำลายด้วยการใส่น้ำยาฆ่าเชื้อคลอรีนหรือตามคำแนะนำของแพทย์หรือพยาบาล
อาการและอาการแสดง
- เป็นอย่างไม่รุนแรง พวกนี้มักหายภายใน 1 วัน หรืออย่างช้า 5 วัน มีอาการถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำ วันละหลายครั้ง แต่จำนวนอุจจาระไม่เกินวันละ 1 ลิตร ในผู้ใหญ่อาจมีปวดท้องหรือ คลื่นไส้อาเจียนได้
- เป็นอย่างรุนแรง อาการระยะแรก มีท้องเดิน มีเนื้ออุจจาระมาก ต่อมามีลักษณะเป็นน้ำซาวข้าว เพราะว่ามีมูกมาก มีกลิ่นเหม็นคาว ถ่ายอุจจาระได้โดยไม่มีอาการปวดท้อง บางครั้งไหลพุ่งออกมาโดยไม่รู้สึกตัว มีอาเจียนโดยไม่คลื่นไส้ อุจจาระออกมากถึง 1 ลิตร ต่อชั่วโมง สูญเสียน้ำอย่างรวดเร็วจนเกิดภาวะเป็นกรดในเลือด และการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว อาการจะหยุดเองใน 1 - 6 วัน ถ้าได้น้ำและเกลือแร่ชดเชยอย่างเพียงพอ แต่ถ้าได้น้ำและเกลือแร่ทดแทนไม่ทันกับที่เสียไป จะมีอาการขาดน้ำอย่างมาก ลุกนั่งไม่ไหว ปัสสาวะน้อย หรือไม่มีเลย อาจมีอาการเป็นลม หน้ามืด จนถึงช็อค ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
สาเหตุของอหิวาตกโรค
เชื้อที่เป็นสาเหตุ เกิดจากเชื้ออหิวาต์ ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมลบที่มีชื่อว่า “วิบริโอคอเลอเร” (Vibrio cholerae) ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายกลุ่มหลายชนิด สามารถแบ่งกลุ่มต่าง ๆ ได้มากกว่า 200 ซีโรกรุ๊ป แต่กลุ่มที่มีความสำคัญทำให้เกิดการระบาดได้ คือ ซีโรกรุ๊ป O1 (Vibrio cholerae serogroup O1) และซีโรกรุ๊ป O139 (Vibrio cholerae serogroup O139) และในแต่ละซีโรกรุ๊ปยังแบ่งย่อยออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดคลาสสิก (Classical biotype) และชนิดเอลเทอร์ (El Tor biotype) ซึ่งมีอาการไม่รุนแรง ส่วนซีโรกรุ๊ปอื่น ๆ มักเรียกรวมกันว่า V. cholerae non-O1/non-O139 อาจทำให้เกิดอาการอุจจาระร่วงได้ แต่ไม่พบว่าทำให้เกิดการระบาด
เชื้อก่อโรคที่พบบ่อย สำหรับตัวก่อโรคที่สำคัญในปัจจุบัน คือ เชื้อชนิดเอลเทอร์ (El Tor) ที่เริ่มพบในปี พ.ศ.2504 ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มวิบริโอคอเลอเร ซีโรกรุ๊ป O1 (ซึ่งแบ่งออกเป็นชนิดคลาสสิกที่เป็นตัวก่อโรคระบาดร้ายแรงมาแต่เดิม และชนิดเอลเทอร์ซึ่งก่อโรคที่มีความรุนแรงน้อย แต่การระบาดในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2516 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะเกิดจากเชื้อชนิดเอลเทอร์เป็นหลัก แทบไม่พบชนิดคลาสสิกเลย) และวิบริโอคอเลอเร ซีโรกรุ๊ป O139 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่เกิดการระบาดครั้งใหญ่ในอินเดียและบังกลาเทศเมื่อปี พ.ศ. 2535-2536
-
การวินิจฉัยโรค
แพทย์สามารถวินิจฉัยอหิวาตกโรคได้จากประวัติอาการ ประวัติการสัมผัสโรค ลักษณะของอุจจาระ การตรวจอุจจาระ สำหรับการตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อ V. cholerae สามารถทำได้โดยการเพาะเชื้อจากอุจจาระในอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีชื่อว่า thiosulfate citrate bile salts sucrose (TCBS) (การตรวจยืนยันด้วยการเพาะเชื้อจากอุจจาระจะได้ผลแน่นอนที่สุด ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน แต่อาจเพียงช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรคได้เท่านั้น เพราะอาการของผู้ป่วยอาจหายก่อน) ในผู้ป่วยที่มีอาการถ่ายเป็นน้ำพุ่งไหลไม่หยุด ลักษณะเหมือนน้ำซาวข้าว ร่วมกับอาเจียน ที่อยู่ในถิ่นที่มีการระบาดแพทย์จะสงสัยว่าเป็นอหิวาตกโรคไว้ก่อน (เพื่อจะได้รักษาได้ทันท่วงที) และจะให้การรักษาโดยการให้ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ (ORS) หรือให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดทันทีถ้าไม่ได้ผลหรือได้ผลเร็วไม่เพียงพอหรือผู้ป่วยดื่มไม่ได้
ผลการรักษา
หากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็มักจะหายได้ภายใน 3-6 วัน หลังจากได้รับยาปฏิชีวนะ อาการท้องเดินมักจะหายได้ใน 48 ชั่วโมง ปัจจุบันพบว่า อัตราการเสียชีวิตต่ำกว่า 1% เนื่องจากผู้ป่วยได้รับการทดแทนสารน้ำและเกลือแร่ได้เพียงพอและรวดเร็วก่อนที่จะเกิดภาวะขาดน้ำรุนแรงและช็อก (แต่ในรายที่มีอาการรุนแรงและไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ภายในเวลา 2-3 ชั่วโมง ซึ่งจะมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 50-60% เพราะผู้ป่วยอาจถ่ายอุจจาระได้ถึงวันละ 10-20 ลิตร แต่ทั้งนี้ความรุนแรงของโรคก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อด้วย
อหิวาตกโรค คือ โรคติดต่อที่เกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรีย เข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทานเข้าไป เชื้อจะไปอยู่บริเวณลำไส้ และจะสร้างพิษออกมา ทำปฏิกิริยากับเยื่อบุผนังลำไส้เล็ก ทำให้เกิดอาการท้องเดินอย่างมาอุจจาระเป็นสีน้ำซาวข้าว ร่างกายเสียน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็ว และ รุนแรง อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ ผู้ที่ได้รับเชื้อ จะเกิดอาการได้ตั้งแต่ 24 ชั่วโมง ถึง 5 วัน แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะเกิดอาการภายใน 1 - 2 วัน
วิธีรักษาอหิวาตกโรค
การรักษา คือ การปรับสมดุลสารน้ำและเกลือแร่ โดยการให้สารน้ำในรูปของ (Ringer lactate) หรือ (Acetar) แต่ถ้าไม่มีอาจใช้ (NSS) แทน โดยให้ในปริมาณที่สามารถทดแทนให้เพียงพอกับความต้องของร่างกายผู้ป่วย (ในกรณีที่ผู้ป่วยช็อกแพทย์จะให้ในขนาด 20-40 มิลลิลิตร/กิโลกรัม อย่างเร็ว ๆ จนกว่าความดันโลหิตจะกลับมาเป็นปกติ และมีความรู้สึกตัวดี) และให้กินโพแทสเซียมคลอไรด์ หรือให้ทางหลอดเลือดดำถ้าผู้ป่วยอาเจียน
ถ่ายเป็นน้ำรุนแรง อาเจียนรุนแรง รับประทานอาหารไม่ได้ หรือมีภาวะขาดน้ำรุนแรง การรักษาจะต้องให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำโดยเร็ว ซึ่งแพทย์จะรับตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาลแพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยการตรวจอุจจาระและเพาะเชื้อจากอุจจาระ (Rectal swab culture) ตรวจดูความสมดุลของอิเล็กโทรไลต์ และประเมินภาวะขาดน้ำ
- ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีภาวะขาดน้ำรุนแรง และยังรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำได้ดี
แพทย์จะให้การรักษาแบบอาการท้องเสียหรืออาหารเป็นพิษทั่วไป คือ การให้ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ (ORS) ทดแทนให้ได้เท่ากับปริมาณที่ถ่ายออกมาในแต่ละครั้ง (ซึ่งอาจต้องถึง 1 ลิตรต่อชั่วโมง) เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ แล้วเก็บอุจจาระส่งเพาะเชื้อ เมื่อทราบผลการตรวจว่าเป็นโรคนี้ (หรือในรายที่แพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยอาจเป็นโรคนี้ เช่น เป็นผู้สัมผัสผู้ป่วยที่เป็นอหิวาตกโรค หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค) แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้ออหิวาตกโรคในลำไส้เล็ก ซึ่งจะช่วยลดระยะของโรคให้สั้นลง ลดการสูญเสียน้ำ ตลอดจนลดระยะของการแพร่เชื้อลงได้โดยทั่วไปอาการมักจะดีขึ้นภายใน 1-5 วัน แต่ถ้าดูแล 2-3 วันแล้วอาการยังไม่ทุเลาหรือเป็นรุนแรงขึ้น เช่น อาเจียนบ่อย รับประทานอาหารไม่ได้ หรือมีภาวะขาดน้ำมากขึ้น การรักษาจะต้องให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดโดยเร็ว
-