Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ธรรมชาติของผู้ใช้ยาเสพติด, นางสาวปณิตา โสมาบุตร เลขที่ 66 รหัส 61113301066…
ธรรมชาติของผู้ใช้ยาเสพติด
ยาเสพติด คือ สารเคมีหรือวัตถุใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยวิธีใดตาม เช่น รับประทาน สูบ ดมหรือฉีดแล้ว จะก่อให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ
มีความต้องการเสพสารนั้นอย่างรุนแรงทั้งร่างกายและจิตใจ
ต้องเพิ่มขนาดหรือปริมาณการเสพสารนั้นมากขึ้นเป็นลำดับ
เมื่อหยุดเสพสารนั้นจะเกิดอาการถอนยา
สุขภาพของผู้เสพสารนั้นเป็นเวลานาน จะทรุดโทรมลง
วงจรการติดยา
ตัวกระตุ้น
ความคิด
ความอยากยา
เสพยา
กระบวนการคิดของผู้ใช้ยาเสพติด
ระยะเริ่มต้นใช้ยา
2.ระยะคงการใช้ยา
ระยะหมกมุ่น
ระยะวิกฤต
ขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม STAGE OF CHANGE
ขั้นเมินเฉย (Pre-contemplation)
ลักษณะ
ไม่คิดว่าตนเองมีปัญหาจากการใช้แอลกอฮอล์หรือเสพติด
คิดว่าตนเองควบคุมการใช้แอลกอฮอล์และสารเสพติดได้ จะหยุดเมื่อไรก็ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการของตนเอง
รู้สึกชื่นชอบในความสุขที่ได้รับจากแอลกอฮอล์และสารเสพติด
ไม่สนใจการตรวจเช็คสุขภาพ ไม่คิดว่าตนเองมีปัญหาสุขภาพ
มองไม่เห็นผลเสียที่เกิดขึ้นจากการใช้แอลกอฮอล์หรือสารเสพติด
มักโทษบุคคลรอบข้างหรือโทษสิ่งแวดล้อมว่าทำให้ตนเองเครียด จึงต้องใช้แอลกอฮอล์หรือสารเสพติดเป็นทางระบาย
การตอบสนองที่เหมาะสม
การให้ข้อมูลสะท้อนกลับ (Feed Back) และการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง (Information)
การให้ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผู้ป่วยอย่างตรงไปตรงมา เน้นข้อเท็จจริง เป็นเหตุเป็นผล เป็นกลาง ไม่ชี้นำหรือครอบงำ หรือขู่ให้กลัว
ขั้นลังเลใจ (Contemplation)
ลักษณะ
ผู้ป่วยมักประสบกับผลกระทบในทางลบจากการใช้แอลกอฮอล์หรือสารเสพติดบ้างแล้วแต่อาจจะไม่รุนแรงมากนัก เช่น มีปัญหาสุขภาพ ถูกจับกุม มีปัญหากับญาติ ผู้บังคับบัญชาตักเตือน เป็นต้น
ผู้ป่วยยังเห็นว่าแอลกอฮอล์หรือสารเสพติดมีคุณมากกว่าโทษ
ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองยังควบคุมการใช้แอลกอฮอล์หรือสารเสพติดได้ พยายามควบคุมตนเองมากขึ้นแต่ก็ยังใช้แอลกอฮอล์หรือสารเสพติดอยู่
การตอบสนองที่เหมาะสม
พูดคุยถึงข้อดี ข้อเสีย ของการใช้แอลกอฮอล์หรือสารเสพติดและการเลิกแอลกอฮอล์หรือสารเสพติด
การพูดคุยถึงข้อดีข้อเสีย ผู้บำบัดควรเป็นกลางและเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ตรวจสอบทั้ง 4 ประเด็น ในขณะตรวจสอบ ผู้บำบัดอาจให้ข้อมูลที่ถูกต้องไปด้วย
ขั้นตัดสินใจ (Determination)
ลักษณะ
ผู้ป่วยมักประสบกับโทษภัยของแอลกอฮอล์หรือสารเสพติดที่รุนแรง
ตระหนักถึงปัญหาการใช้แอลกอฮอล์หรือสารเสพติด
ต้องการเลิกแอลกอฮอล์และสารเสพติด
การตอบสนองที่เหมาะสม
ให้ทางเลือกในการเลิกแอลกอฮอล์และสารเสพติด (Menu) ไม่ควรมีหนทางเลือกมากจนสับสน หรือน้อยเกินไปเหมือนถูกบังคับ
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยเลือกได้อย่างอิสระ เน้นความรับผิดชอบในการเลือกของผู้ป่วยเอง (Responsibility) และส่งเสริมศักยภาพในการกระทำได้ (Self-efficacy) ของผู้ป่วย
ขั้นลงมือปฏิบัติ (Action)
ลักษณะ
กำลังลงมือหยุดแอลกอฮอล์และสารเสพติดแต่ยังไม่สำเร็จ
ระยะเวลามักอยู่ในช่วง 6 เดือนแรก
ผู้ป่วยได้พยายามทำตามวิถีทางที่ตนเองได้เลือกเพื่อให้เลิกแอลกอฮอล์และสารเสพติดได้ ผู้ป่วยอาจกระทำได้ไม่สม่ำเสมอในบางช่วง
การตอบสนองที่เหมาะสม
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยกระทำตามวิธีการที่ตนเองเลือกได้อย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมความเข้าใจในวิธีการ ความชำนาญในการกระทำ ขจัดอุปสรรคที่อาจทำให้กระทำได้ไม่ต่อเนื่อง
ขั้นกระทำต่อเนื่อง (Maintenance)
ลักษณะ
ผู้ป่วยมักเลิกแอลกอฮอล์หรือสารเสพติดมาได้ประมาณ 6 เดือน
อารมณ์ ความคิดค่อนข้างมั่นคง กระทำตามวิธีการที่ตนเองเลือกได้อย่างต่อเนื่อง
มีความมั่นใจว่าตนเองเลิกแอลกอฮอล์และสารเสพติดได้
การตอบสนองที่เหมาะสม
การป้องกันการกลับไปใช้แอลกอฮอล์และสารเสพติดซ้ำ
การมีวิถีชีวิตที่สมดุล ชีวิตที่มีคุณค่า การออกกำลังกาย การบริหารเวลา การผ่อนคลายความเครียด การดูแลสุขภาพตนเอง อาหารที่เป็นประโยชน์
การควบคุมสิ่งเร้าที่ทำให้อยากยา การหมั่นสังเกตสัญญาณที่สื่อถึงการกลับไปติดซ้ำ เป็นต้น
ขั้นเสพซ้ำ (Relapse)
ลักษณะ
นำพาตัวเองเข้าไปสู่สถานการณ์ที่เสี่ยงปล่อยให้ตนเองมีความเปราะบางทางอารมณ์จิตใจ
ไม่สามารถจัดการกับอาการอยากยา ความประมาทเลินเล่อ เผลอใจกลับไปใช้แอลกอฮอล์และสารเสพติดซ้ำ
ปฏิกิริยาทางจิตใจที่ตามหลังจากการเผลอใจไปใช้ เช่น รู้สึกผิด ซ้ำเติมตนเอง ไม่เคารพนับถือตนเอง เป็นต้น จนควบคุมการใช้ไม่ได้ กลับไปมีปัญหาติดแอลกอฮอล์และสารเสพติดอีก
การตอบสนองที่เหมาะสม
การดึงผู้ป่วยให้กลับไปสู่หนทางแห่งการหยุดแอลกอฮอล์และสารเสพติดให้เร็วที่สุด (Recovery Process)
การประคับประคอง การให้กำลังใจ การยอมรับความอ่อนแอของตนเอง การสารภาพผิด มองสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา
การสรุปบทเรียน การมุ่งมั่นในการเลิกแอลกอฮอล์และสารเสพติดต่อไป
นางสาวปณิตา โสมาบุตร เลขที่ 66 รหัส 61113301066