Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลสตรีตั้งครภ์ที่มีความผิดปกติของรกน้ำคร่ำ และความผิดปกติของทารกในค…
การพยาบาลสตรีตั้งครภ์ที่มีความผิดปกติของรกน้ำคร่ำ และความผิดปกติของทารกในครรภ์
ภาวะน้ำคร่ำผิดปกติ (Polydramnios/Oligohydramnios)
1.ภาวะน้ำคร่ำมากผิดปกติ หรือการตั้งครรภ์แฝดน้ำ (Hydramnios/polyhydramnios)
คือ การตั้งครรภ์ที่มีน้ำคร่ำมากผิดปกติ เกิดเปอร์เซ้นไทล์ที่ 95 หรือ 97.5 ของแต่ละอายุครรภ์ โดยมีปริมาณน้ำคร่ำมากกว่า 2,000 มล.
สาเหตุ
ที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าอาจเกิดจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
ด้านมารดา ได้แก่ เป็นโรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์แฝด
ด้านทารก มีความสัมพันธ์กับการกลืนของทารก ความผิดปกติของระบบประสาท การอุดกั้นของระบบทางเดินอาหาร ความพิการของทารกในครรภ์ เช่น ทารกหัวบาตร
ไม่ทราบสาเหตุ พบได้บ่อยสุดร้อยละ 60 วินิจฉัยไม่พบความผิดปกติของมารดาและทารก
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อมารดา
1.ระยะตั้งครรภ์ เกิดความไม่สุขสบายจากการกดทับของมดลูกที่มีขนาดใหญ่ เช่น อึดอัด ท้องอืด
2.อาจเกิดการคลอดก่อนกำหนด
3.ช็อคจากความดันในช่องท้องลดลงอย่างรวดเร็ว
4.ตกเลือดหลังคลอด
5.ติดเชื้อหลังคลอด
ผลต่อทารก
1.เสี่ยงต่อการเกิดภาวะพิการ และการคลอดก่อนกำหนด
2.เกิดภาวะ fetal distress จากการเกิดสายสะดือย้อย
3.ทารกอยู่ท่าผิดปกติและไม่คงที่ เนื่องจากมีปริมาณน้ำคร่ำมาก ทารกจึงหมุนเปลี่ยท่าไปมาได้ง่าย
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
1.ประเมินการเกิดภาวะตั้งครรภ์แฝดน้ำจากการซักประวัติอาการและอาการแสดง การตรวจร่างกาย
2.ดูแลเพื่อบรรเทาอาการอึดอัดแน่นท้อง จากการขยายตัวของมดลูก
ระยะคลอด
1.ให้นอนพักบนเตียง
2.ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
3.ฟัง FHS ในระยะ latent ทุก 30 นาที และระยะ active ทุก 15 นาที
4.ให้ได้รับสารน้ำและอาหารตามแผนการรักษา
5.ขณะแพทย์เจาะถุงน้ำ ต้องระมัดระวังให้น้ำคร่ำไหลออกมาอย่างช้าๆ
ระยะหลังคลอด ให้การพยาบาลเหมือนกับสตรีตั้งครรภ์แฝด โดยเฉพาะดูแลการหดรัดตัวของมดลูก
2.ภาวะน้ำคร่ำน้อย (Oligohydramnios)
คือ การตั้งครรภ์ที่มีน้ำคร่ำน้อยกว่า 300 มล. ภาวะน้ำคร่ำน้อยอาจพบร่วมกับความผิดปกติของทารก ความผิดปกติของโครโมโซม ภาวะเจริญเติบโตช้าในครรภ์ และครรภ์เกินกำหนด
สาเหตุ
1.ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
2.ทารกในครภ์มีภาวะผิดปกติ เช่น ไตตีบ มีถุงน้ำในท่อไต เป็นต้น
3.ความผิดปกติของโครโมโซม เช่น trisomy 18, turner syndrome เป็นต้น
4.รกเสื่อมสภาพ
5.การตั้งครรภ์เกินกำหนด
6.ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อมารดา
มีโอกาสผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้องมากกว่าการตั้งครรภ์ปกติ เนื่องจากทารกในครรภ์เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ fetal distress
ผลต่อทารก
1.มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด ทารกมักมีความพิการรุนแรง
2.ภาวะปอดแฟบ
3.Amniotic band syndrome
4.ทารกอยู่ในภาวะคับขัน
5.ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
การพยาบาล
1.อธิายถึงสาเหตุการเกิดภาวะดังกล่าว และแนวทางการรักษา
2.ดูแลให้ได้รับการใส่สารน้ำเข้าไปในถุงน้ำคร่ำ ตามแผนการรักษา
3.รับฟังปัญหา แสดงความเห็นอกเห็นใจ และกระตุ้นให้ระบายความรู้สึก
ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า (Intra Uterine Growth Restriction : IUGR)
หมายถึง ทารกที่มีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ไม่เป็นไปตามปกติ ถึงแม้อายุครรภ์จะครบกำหนดแล้วก็ตาม โดยน้ำหนักแรกคลอดของทารกต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 10 ที่อายุครรภ์นั้นๆ
สาเหตุ
ด้านมารดา
1.มารดามีรูปร่างเล็ก
2.ภาวะขาดสารอาหาร
3.ภาวะโลหิตจางรุนแรง
4.มารดามีภาวะติดเชื้อ
5.โรคของมารดา เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไตเรื้อรัง
6.ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมของมารดา เช่น การใช้สารเสพติด การใช้ยาบางชนิด
7.การตั้งครรภ์แฝด
ด้านทารก
1.ความพิการแต่กำเนิด เช่น ทารกไม่มีกะโหลกศีรษะ ผนังหน้าท้องไม่ปิด
2.การติดเชื้อในระยะตั้งครรภ์
3.ความผิดปกติของโครโมโซม เช่น trisomy 21, trisomy 13, trisomy 18
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
1.แนะนำเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือสารเสพติด
2.แนะนำให้พักผ่อนมากๆ โดยการนอนตะแคงซ้าย
3.ติดตามสุขภาพของทารกในครรภ์ โดยให้นับลูกดื้นทุกวัน
ระยะคลอด
1.ควรติดตาม ประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด เพราะทารกมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ feta distress สูง
2.ติดตามประเมินความก้าวหน้าของการคลอดอย่างใกล้ชิด
3.ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกและเสียงหัวใจทารกทุก 1/2 -1 ชั่วโมง
4.หลีกเลี่ยงการให้ยาแก้ปวด
5.กุมารแพทย์ และเตรียมอุปกรณ์ในการช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิด
ระยะหลังคลอด ให้การดูแลทารกเพื่อเฝ้าระวัง และป้องกันการเกิดภาวะ hypoglycemia,hypothermia เป็นต้น
การตั้งครรภ์ที่ทารกมีจำนวนมากกว่า 1 คน (Multiple/Twins pregnancy)
หมายถึง การตั้งครรภ์ที่มีทารกในโพรงมดลูกมากกว่า 1 คนขึ้นไป ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มการตั้งครภ์ที่มีความเสี่ยงสูง พบภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ทั้งต่อมารดาและทารกได้มากกว่าครรภ์ปกติ
ชนิดและสาเหตุการตั้งครรภ์แฝด
1.แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวหรือแฝดแท้
สาเหตุการตั้งครรภ์ชนิดนี้เป็นไปตามธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านอายุ เชื้อชาติ หรือพันธุกรรม
2.แฝดที่เกิดจากไข่คนละใบหรือแฝดเทียม
สาเหตุการเกิดแฝดชนิดนี้ มีดังนี้
เชื้อชาติ พบมากในคนผิวดำ
พันธุกรรม
อายุมารดามากกว่า 35 ปี
ปัจจัยด้านภาวะโภชนาการ มารดามีรูปร่างใหญ่
มารดามีประวัติใช้ยากระตุ้นเร่งการตกไข่
จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อมารดา
ระยะตั้งครรภ์
1.มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนมาก
2.มีภาวะโลหิตจาง
3.การตกเลือดก่อนคลอด
4.เกิดภาวะความดันโลหิตสูง
5.ไม่สุขสบายจากอาการปวดหลัง
6.เสี่ยงต่อการแท้งสูง หรือคลอดก่อนกำหนด
7.เกิดถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
8.ตั้งครรภ์แฝดน้ำ
9.เบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์
ระยะคลอด
1.กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวผิดปกติ
2.รกลอกก่อนกำหนด
ระยะหลังคลอด
1.ตกเลือดหลังคลอด
2.การติดเชื้อหลังคลอด
3.การเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา
ผลต่อทารก
1.การแท้ง
2.ทารกตายในครรภ์
3.ภาวะคลอดก่อนกำหนด
4.ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
5.ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ
6.ทารกขาดออกซิเจน
7.Twin-twin transfusion syndrome
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
1.ดูแลให้ได้รับอาหารอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
2.เฝ้าระวังการเกิดภาวะโลหิตจางอาจให้โฟลิคเสริม
3.เฝ้าระวังความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์
4.ควรงดมีเพศสัมพันธ์
5.ติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
6.ป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
ระยะคลอด
1.พิจารณาวิธีการคลอด
2.รายที่ได้รับการประเมินจากสูติแพทย์ให้คลอดทางช่องคลอด ให้การดูแลดังนี้
2.1ตลอดระยะเวลาการเจ็บครรภ์คลอด ให้ติดเครื่อง EFM
2.2ตรวจความเข้มข้นของเลือด และเตรียมให้เลือด
2.3ให้งดน้ำ อาหาร และให้สารน้ำ
2.4การให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกควรให้ด้วยความระมัดระวัง
2.5การช่วยเหลือการคลอดแฝดครรภ์แรก
2.6ช่วยเหลือการคลอดของแฝดคนที่สอง ทำคลอดเหมือนตั้งครรภ์ปกติ
2.7ถ้าเป็นท่าหัว ให้กดมดลูกหรือรอจนศีรษะเข้าสู่ช่องเชิงกราน แล้วจึงเจาะถุงน้ำ
2.8ถ้าเป็นท่าก้น ให้ทำ total breech assisitin
2.9ถ้าเป็นท่าขวาง ให้ทำ external cephalic version
2.10ระยะเวลาที่เหมาะสมระหว่างรอให้แฝดคนที่สองคลอด รอได้ถึง 30 นาที
ระยะหลังคลอด
1.เฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอด
2.ป้องกันการติดเชื้อโดยให้ได้รับยาปฏิชีวนะ
3.แนะนำการดูแลบุตร การเลี้ยงทารก
4.แนะนำวิธีการคุมกำเนิด
ทารกพิการ (Fetal anormaly)
หมายถึง
ความผิดปกติของร่างกายทารกแรกเกิดที่พบได้ โดยมีความพิการที่สามารถสังเกตได้จากลักษณะภายนอกหรือความพิการที่อยู่ในอวัยวะภายใน ความพิการแต่กำเนิดในบางรายสามารถแก้ไขข้อบกพร่องได้ แต่บางรายไม่สามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ ความพิการที่เกิดขึ้นอาจเป็นที่อวัยวะเดียว หรือหลายอวัยวะก็ได้
สาเหตุ
1.ปัจจัยด้านพันธุกรมม ได้แก่ สตรีตั้งครรภ์มีอายุมากกว่า 35 ปี มีประวัติบุคคลในครอบครัวให้กำเนิดทารกพิการ
2.สิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดความผิดปกติแก่ทารก ส่วนใหญ่จะเกิดในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เช่น การใช้ยา การติดเชื้อ สภาพของมารดา และปัจจัยจากมดลูก
ความผิดปกติของทารกสามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มดังนี้
1.Malformation
คือ ความผิดปกติทางรูปร่างของอวัยวะหรือส่วนของอวัยวะเป็นผลมาจากขบวนการของการพัฒนา เช่น ความผิดปกติที่เกิดจากยีนและโครโมโซม ได้แก่ ปากแหว่ง เพดานโหว่
2.Disruption
คือ ความผิดปกติทางรูปร่างของอวัยวะหรือส่วนของอวัยวะเป็นผลมาจากปัจจัยภายนอกมาขัดขวางขบวนการเจริญเติบโตของอวัยวะนั้น เช่น เชื้อโรค สารเคมี ยา การขาดเลือด
3.Deformation
คือ ความผิดปกติทางรูปร่างหรือโครงสร้างของอวัยวะของร่างกายเดิมเคยปกติมาก่อน มีผลมาจากแรงภายนอกทำให้โครงสร้างที่กำลังพัฒนาผิดรูปไป เช่น ความผิดปกติของรูปร่างของมดลูก การตั้งครรภ์แฝด
4.Dysplasis
คือ ความผิดปกติทางรูปร่างอวัยวะหรือส่วนของอวัยวะอันเป็นผลมาจากความผิดปกติของการจัดระเบียบของเซลล์ที่จะเจริญไปเป็นเนื้อเยื่อ
การป้องกัน
1.ให้คำแนะนำปรึกษาทางพันธุศาสตร์ ในรายที่มีภาวะเสี่ยง ดังนี้
1.1ก่อนการตั้งครรภ์ จะต้องได้รับการให้คำแนะนำปรึกษาทางพันธุศาสตร์ตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์
1.2เมื่อตั้งครรภ์ ทำการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด เพื่อค้นหาความพิการแต่กำเนิด
1.3ให้คำปรึกษาภายหลังการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด หากพบว่าทารกพิการ ให้ครอบคระวสามารถเผชิญปัญหาและตัดสินใจเกี่ยวกับการมีลูก
1.4หลีกเลี่ยงการสัมผัส เช่น เชื้อหัดเยอรมัน ยาบางชนิด บุหรี่ สารเสพติด เป็นต้น
ทารกตายในครรภ์ (Fetal demise)
สาเหตุ
ด้านมารดา
1.มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน SLE โรคไตชนิดรุนแรง เป็นต้น
2.มารดาอายุมากกว่า 35 ปี
3.ภาวะทางสูติกรรม เช่น คลอดก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด
4.ไม่มาฝากครรภ์ หรือฝากครรภ์ไม่ครบกำหนด
5.มีภาวะรกลอกก่อนกำหนด รกเกาะต่ำ
6.ความผิดปกติของสายสะดือ
7.ได้รับอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บขณะตั้งครรภ์
8.ยาหรือสารเสพติดอื่นๆ
ด้านทารก
1.มีภาวะพิการแต่กำเนิด เช่น ความผิดปกติของโครโมโซม หรืออื่นๆ เช่น spina bifida, gastroschisis
2.ทารกมีภาวะเจริญเติบโตช้าในครรภ์
3.มีการกดทับสายสะดือจากสายสะดือย้อย
ด้านรก
1.รกลอกตัวก่อนกำหนด การติดเชื้อในโพรงมดลูก เส้นเลือดอุดกั้นในสายสะดือ
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
1.ด้านร่างกาย
ถ้าทารกตายในครรภ์เป็นเวลาตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป จะมีโอกาสเกิดภาวะเลือดไม่แข็งตัว อาจเรียกว่า fetal death syndrome เป็นผลมาจาก tissue thromboplastin จากรก น้ำคร่ำ และทารก
2.ด้านจิตใจ
ทำให้เกิดความรู้สึกสูญเสีย ตกใจ ซึมเศร้า โทษตัวเอง อาจพบว่ามีการใช้บุหรี่ สุรา สารเสพติด หรือยากล่อมประสาทสูงกว่าประชากรทั่วไป
การพยาบาล
1.ให้การประคับประคองทางด้านจิตใจ ให้คำสุภาพที่สุด
2.แนะนำให้สามีและครอบครัวให้กำลังใจ ปลอบใจ
3.ประเมินความต้องการสัมผัสกับทารกแรกคลอดที่เสียชีวิต
4.ดูแลให้ได้รับการสิ้นสุดการตั้งครรภ์ ตามแผนการรักษาของแพทย์
5.ติดตามผลการตรวจเลือด เพื่อหาระยะการแข็งตัวของเลือด
6.ให้ได้รับยายับยั้งการหลั่งน้ำนม ตามแผนการรักษาของแพทย์